|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
งานศิลป์แผ่นดิน

พระที่นั่งอนันตสมาคม ภาพจากเวบ sanook.com
มาแว้ววว บล็อกแรกตัวจริงของปีนี้ เริ่มเขียนตั้งแต่ปีที่แล้ว (ฟังแล้วเหมือนนาน ที่แท้เขียนก่อนสิ้นปีอาทิตย์เดียว ) จะชวนเพื่อน ๆ ไปชมงานศิลป์แผ่นดินกันค่ะ จัดที่พระที่นั่งอนันต์ฯ งานจัดติดต่อกันมาเป็นปีที่หกแล้ว อยากจะไปตั้งแต่ปีแรกเลย แต่ไม่ได้จังหวะซะที ปีนี้ตั้งใจไปมาก แวะไปสองรอบแล้วแต่ก็ยังไม่ได้เข้าชม หนแรกแวะไปตอนไปเที่ยวงานเพื่อนพึ่งภาที่วังสวนกุหลาบตอนใกล้วันเฉลิมฯ แต่วันเปิดเลื่อนออกไป แวะไปอีกรอบตอนปีใหม่ก็ปิดอีก แต่ไม่เป็นไร นิทรรศการยังเปิดให้ชมโดยยังไม่มีกำหนดปิด เสียดายอยู่อย่างคือ ได้ข่าวว่าเขาห้ามถ่ายภาพ แต่ไม่มีปัญหา หาภาพและข้อมูลมาเขียนบล็อกได้ไม่ยาก นสพ.กรุงเทพธุรกิจฉบับวันอาทิตย์เพิ่งจะลงคอลัมน์เมื่อปลายเดือนที่แล้ว ลงภาพงาม ๆ กับข้อมูลค่อนข้างละเอียด แฮ้บมาอัพบล็อกทั้งหมดเลย อ้อ แล้วมีภาพจากหนังสือ Luxury อีกเล่มนึงด้วย
ผลงานศิลปะไทย ๆ อันวิจิตรงดงามแบบนี้ ขนาดชมจากภาพยังรู้สึกตื่นตาตื่นใจ คงไม่ต้องบรรยายความรู้สึกถ้าได้ไปชมของจริง แล้วน่าทึ่งตรงที่เป็นผลงานของลูกหลานชาวไร่ชาวนาทั้งนั้น การเดินทางไปพระที่นั่งอนันต์ฯ สะดวกมาก ขับรถไปก็มีที่จอดรถแบบสบาย ๆ ค่าเข้าชมก็ถูกเหลือเกิน งานนี้ใครมีเวลาก็อย่าพลาดไปชมกันนะคะ 
อ่านข่าวงานศิลป์และนิทรรศการศิลปะดี ๆ ได้ที่บล็อกนี้ค่ะ เสพงานศิลป์ ๒๒


สมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดนิทรรศการ พระฉายาลักษณ์จากเวบ naewna.com
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเปิดนิทรรศการ ศิลป์แผ่นดิน ครั้งที่ ๖ งานแสดงผลงานศิลปะหัตถกรรมอันวิจิตรงดงามจากสถาบันสิริกิติ์ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต
ปีนี้มีผลงานศิลปะชิ้นงานใหม่ จำนวน ๙ ชิ้น จัดแสดงภายในพระที่นั่งอนันตสมาคม รวมกับผลงานชิ้นเก่าที่สามารถทำให้การเข้าชมงานศิลป์ น่าตื่นตาตื่นใจยิ่งขึ้น โดยผลงานทั้งหมดสร้างสรรค์จากฝีมือลูกหลานชาวนาชาวไร่ที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานโอกาสเข้ามาเรียนรู้ ฝึกฝน สร้างสรรค์งานศิลปะแขนงต่าง ๆ ที่โรงฝึกศิลปาชีพ สวนจิตรลดา

อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ภาพจากเวบ watchari.net
ครั้งหนึ่ง อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ เคยเล่าว่า...เริ่มแรกครั้ง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัด มีชาวนาชาวไร่เฝ้ารับเสด็จฯ และกราบทูลขอให้ทรงรับเลี้ยงลูก ๆ เพราะยากจน เลี้ยงดูไม่ไหว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงโปรดฯ อุปการะลูกหลานของชาวนาชาวไร้ไว้จำนวนหนึ่ง ต่อมาก็เริ่มมีหลายคน มีมากขึ้น ๆ ทุกปี สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงมีพระดำริฝึกงานให้กับลูกหลานชาวนา เช่น เมื่อทรงรับซื้อผ้าไหม ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำมาตัดเย็บหรือประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จนในที่สุดเกิดเป็นมูลนิธิส่งเสิรมศิลปาชีพ สวนจิตรลดา มีที่อยู่ ที่กิน มีเงินเดือนประจำ บางคนฝึกงาน ทำงานจนเชี่ยวชาญอยากออกไปประกอบอาชีพอื่นก็ได้ แต่หลายคนก็อยู่ประจำในศูยน์ศิลปาชีพฯ สร้างงาน สร้างรายได้ อยู่ตั้งแต่เด็กจนโต...
ตลอดระยะเวล ๓o ปี โรงฝึกศิลปาชีพ สวนจิตรลดาได้ผลิตช่างฝีมือสร้างสรรค์งานประณีตศิลป์ชั้นสูงเป็นจำนวนมาก จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓ รัฐบาลไทยได้ประกาศยกสถานะโรงฝึกศิลปาชีพ สวนจิตรลดา ขึ้นเป็น สถาบันสิริกิติ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสทรงพระเจริญพระชนมพรรษา ๘o พรรษา

ข้อมูลจากเวบ artsofthekingdom.com
และในปีมหามงคลที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗ รอบ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘o พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ สถาบันสิริกิติ์ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ได้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นเอกชิ้นใหม่ เพื่อจัดแสดงในงาน "ศิลป์แผ่นดิน ครั้งที่ ๖" ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต
สำหรับงานศิลป์ประณีตชิ้นใหม่ ๙ ชิ้นงาน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ห้องปีกแมลงทับ

กลอนศิลป์แผ่นดินคร่ำทอง
๑. ห้องปีกแมลงทับ และ กลอนศิลป์แผ่นดินคร่ำทอง เมื่อแรกย่างก้าวเข้าชมงานศิลป์แผ่นดิน ณ บริเวณชั้นสองของพระที่นั่งอนันตสมาคม จะเดินผ่านห้องปีกแมลงทับที่ตกแต่งภาพประดับปีกแมลงทับสีเขียวสะท้อนแสงแวววาว ที่นำไปประดิษฐ์เป็นวัสดุต่าง ๆ ภายในห้องปีกแมลงทับมีงานชิ้นใหม่คือ กลอนศิลป์แผ่นดินคร่ำทอง ประดิษฐ์ด้วยลายมือเขียนตามแบบตัวอักษรทรงประดิษฐ์ของ สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ตกแต่งด้วยคร่ำทองอย่างประณีตงดงาม บทกลอนบรรยายถึงความทุกข์ยากแร้นแค้นของชาวนาไทยที่ต้องเผชิญมรสุมแห่งความยากลำบาก จวบจนได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงอุทิศพระวรกายช่วยเหลือราษฎรผู้ยากไร้ ขาดโอกาส ให้กลับมีความหวัง พึ่งพาตนเองได้
กลอนศิลป์แผ่นดินคร่ำทองอยู่ในกรอบรูปกว้าง ๑.o๘ เมตร ยาว ๖.๕๘ เมตร จำนวนช่างฝีมือ ๖ คน ระยะเวลาจัดทำ ๖ เดือน ๗ วัน

วานเรศบวรอาสน์
๒. วานเรศบวรอาสน์ พระที่นั่งกงมีลักษณะเป็นพระราชอาสน์ขนาดเล็ก เรียกชื่อตามลักษณะของราวที่วางพาดพระกร ซึ่งโค้งเป็นวงเหมือนกงรถ โอบด้านหลังไว้ติดกับกระดานพิง มีขนาดกระทัดรัด น้ำหนักเบา จึงใช้ได้ทั้งเป็นพระราชบัลลังก์ และพระราชยาน ในบางโอกาส วานเรศบวรอาสน์ หรือ พระที่นั่งกงคร่ำทอง สร้างจำลองแบบจากพระที่นั่งกงไม้แกะสลักลงรักปิดทอง ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และปรากฏหลักฐานว่าเคยใช้เป็นพระที่นั่งบนเรือคราวเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค และใช้เป็นพระราชยานในพระราชบรมราชาภิเษกของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเวลาต่อมา
งานศิลปะคร่ำทอง




งานช่างฝีมือนี้มีโครงสร้างเป็นเหล็ก ลวดลายเป็นศิลปะงานคร่ำทองทั้งองค์ องค์พระที่นั่งเป็นสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ลดชั้นถึงฐานที่ประทับ มีฐานสองชั้น ชั้นล่างเป็นฐานสิงห์ ชั้นบนเป็นหน้ากระดานบัวบน ประดับด้วยรูปวานเรศโดยรอบห้องไม้ แทนความหมายของปีวอก ซึ่งเป็นปีนักกษัตรประจำปีของพระราชสมภพของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ หน้ากระดานปากฐานส่วนบนประดับด้วยกระจัง ปฏฺิญาณทั้งสามด้าน ด้านหลังมีกระดานพิงประกอบกับราวกงมีก้านบัวรับ ลวดลายงานคร่ำทองอันประณีตเป็นลายไทยออกแบบผูกลายขึ้นใหม่ เป็นลายคร่ำทองศิลปะสมัยรัชกาลปัจจุบัน ทรงคุณค่าด้วยงานคร่ำทองที่มีเส้นลายทอง ดูราวมีชีวิต แล้วซับด้วยปีกแมลงทัับสร้างสีสันสวยงามอย่างยิ่ง
วานเรศบวรอาสน์ ขนาดกว้าง ๑.o๕ เมตร ยาว ๑.๕๓ เมตร สูง ๖๕ เซนติเมตร (ไม่รวมกงและพนักพิง) จำนวนช่างฝีมือ ๘o คน เวลาจัดทำ ๑ ปี ๔ เดือน ๙ วัน

ตรีพิธพรรณบุษบก
๓. ตรีพิธพรรณบุษบก บุษบกคือมณฑปขนาดเล็ก มีด้านข้างโปร่ง ใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี หรือเป็นที่ประดิษฐานปูชนียวัตถุ เช่น พระพุทธรูป หรือ พระไตรปิฎก ผลงานชิ้นสำคัญที่สถาบันสิริกิติ์จัดสร้างขึ้นจากแรงบันดาลใจของความงดงามของพรหมวิหารที่หน้าบันพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และนำมาสร้างสรรค์ขึ้นเป็นบุษบกทอง โดยรวบรวมงานฝีมือเชิงช่างศิลป์ไทยไว้มากที่สุดชิ้นงานหนึ่ง ผูกแบบให้ช่างจำหลักทองมีรูปเป็นบุษบก ๓ ยอด เรียกันดุจพิมานองค์ใหญ่ เคียงประดับด้วยบุษบกองค์น้อยซ้ายขวาข้างละองค์ ผังบุษบกนั้นย่อเหลี่ยมมุมไม้สิบสอง ยอดทั้งสามปลายปักพุ่มข้าวบิณฑ์ทองคำลงยา ฐานบุษบกเป็นงานจำหลักไม้ เสาบุษบกด้านนอกเป็นงานทองคำลงยา เสาบุษบกด้านในเป็นงานคร่ำทอง
ตรีพิธพรรณบุษบก ขนาดกว้าง ๗๙ เซนติเมตร ยาว ๑.๔๓ เมตร สูง ๒.๙๑ เมตร จำนวนช่างฝีมือ ๑๙๗ คน เวลาจัดทำ ๑ ปี ๗ เดือน

ฉากจำหลักเรื่อง สังข์ทอง

งานแกะสลักไม้

เงาะและรจนา
๔. ฉากจำหลักไม้เรื่อง สังข์ทอง เป็นผลงานการแกะสลักไม้สักที่มีความแตกต่างและพิเศษ ด้วยการเชื่อมต่อเรื่องราวของฉากทั้งสองด้านเข้าด้วยกัน ฉากจำหลักไม้เล่าเรื่องสังข์ทอง ตามบทพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ปั้นต้นผูกตามชิ้นฟักซึ่งนางจัน พระมารดาพระสังข์ลอบเข้าไปเป็นวิเสททำเครื่องต้นแกะชิ้นฟักจำหลักเรื่อง บั้นปลายผูกจำหลักเป็นตอนรจนาทิ้งพวงมาลัย ตีคลี ถอดรูป และเลียบนคร เป็นที่สุด ดังจะได้เห็นขบวนวิธีจำหลักรูปพระราชวัง พิมานอันวิจิตรงดงาม สมจริง ลอยเด่นด้วยการฉลุไม้ปรุตลอดทะลุไปใช้ร่วมกับฉากอีกด้านหนึ่งในเมืองหรือวิมานเดียวกัน อีกทั้งการจำหลักรูปท้าวพระยา มาตยา ไพร่พล กลึงกลมอย่างน่าประหลาดใจ กรอบฉากหลากหลายด้วยเหล่านาคนิกรเกี้ยวกระหวัดกันเป็นมณฑลโดยรอบ ด้วยเป็นปีมหามงคลมะโรงนักกษัตร ที่ฐานสิงห์จำหลักรูปเงาะและรจนาอยู่ข้างละรูป

ฉากจำหลักเรื่อง หิมพานต์
๕. ฉากจำหลักไม้เรื่อง หิมพานต์ ผูกแบบจำหลักไม้ตามเค้าภาพของฉากด้านหน้าเรื่องสังข์ทอง ในฉากเมืองและวิมานเดียวกัน แต่แบ่งเป็น ๒ เรื่อง ซึ่งจะได้ชมวิมานหรือปราสาทองค์เดิมในเรืองหิมพานต์ มีหมู่สัตว์ในป่าหิมพานต์ ทั้งจตุบท ทวิบาท ครุฑ นาค และไม้นานาพันธุ์ บรรดาเทพยดานิกรบำเรอสุรินทร หมู่อสูรยักษ์ ขุมสมบัติ ไกรลาสผา อันเป็นสถิตของพระอิศวร กรอบฉากนี้ผูกลายเดียวกันกับอีกด้านเรื่องสังข์ทอง แต่ที่ฐานสิงห์นาคเกี้ยวด้านนี้จำหลักรูปกินเรศรูปมนุษย์ชายข้างหนึ่ง รูปกินรีรูปมนุษย์หญิงข้างหนึ่ง ติดปีกหางอย่างกินนร
ขนาด ๖.oo เมตร สูง ๕.๒o เมตร กว้าง ๓๖ เซนติเมตร จำนวนช่างฝีมือ ๗๙ คน เวลาจัดทำ ๒ ปี ๗ เดือน

ฉากถมทองเรื่อง รามเกียรติ์

๖. ฉากถมทองเรื่อง รามเกียรติ ผูกแบบสำหรับทำถมเป็น ๓ ฉาก ฉากละตอน ฉากสำคัญที่โดดเด่นทีสุดเป็นฉากลงสวน ด้วยการวางขบวนพยุหยาตราของทศกัณฐ์ พร้อมหมู่สุรางคนิกร พลอสุรยักษ์ยาตรามาสวนขวัญที่สำนักของนางสีดา เข้าเกี้ยวพานางสีดา เป็นภาพพระมหาปราสาทอันวิจิตรด้วยการจำหลักเงินบุดุนให้ลอยเด่นออกจากพื้น ทาทอง ซับแผ่นทองแดง บางแห่งให้เห็นหลากจากแบบเดิม จำหลักตัวภาพพระยายักษ์เกี้ยวนางสีดาอยู่ในปราสาท และจะได้ชมภาพราชรถอันสง่างามดุจหลุดลอยเหมือจริงขบวนยาตราของทศกัณฐ์
ด้านขวาของฉากลงสวนเป็นฉากลักนางสีดา เป็นภาพจำหลักเงิน ทาทอง บางแห่งทิ้งเป็นเนื้อเงินถมดูงดงามแปลกตา ฉากด้านซ้ายผูกแบบเป็นฉากจับม้าอุปราการ ช่างถมได้จำหลักบุดุนเงิน ทาทอง ถมเงินบ้าง จนตัวภาพนูนแจ่มชัดวิเศษกว่าแต่ก่อน ความโดดเด่นคือใช้เทคนิคการหนุนดุนลาย ทั้งในด้านส่วนของตัวละครและฉากบรรยากาศที่เป็นพื้นหลัง
ขนาดยาว (ฉากซ้าย-ขวา) ๙o เซนติเมตร ฉากกลาง ๙o เซนติเมตร สูง (ฉากซ้าย-ขวา) ๒.๔๕ เมตร ฉากกลาง ๒.๗o เมตร จำนวนช่างฝีมือ ๑๑๗ คน เวลาจัดทำ ๑ ปี ๖ เดือน

ฉากปักไหมน้อยเรื่อง อิเหนา

๗. ฉากปักไหมน้อยเรื่อง อิเหนา งานปักผ้าด้วยวิธี "ปักซอย" เป็นงานประณีตศิลป์ของไทยแต่โบราณ ช่างปักจะบรรจงปักเรียงด้วยเส้นไหมที่ละเอียดที่สุด มีขนาดเล็กเท่าเส้นผม ไล่ระดับสีและแสงเงา ฉากปักไหมน้อยเรื่อง อิเหนา เป็นผลงานแผนกปักผ้า สถาบันสิริกิติ์ ได้นำวิธีการปักหนุนตัวภาพให้นูนขึ้นอย่างสมจริง ตัวภาพพระ-นางหนุนปักประดับด้วยดิ้นเลื่อมอย่างโบราณ ซึ่งนิยมกันในสมัยรัชกาลที่ ๕ ดังจะเห็นได้จากพัดรองการพระราชพิธีสมโภชสิริราชสมบัติครบหมื่นวันของพระองค์ ที่ปักเป็นรูปพระราชลัญจกรและตราประจำกระทรวงต่าง ๆ

งานปักฝีมือประณีต

ฉากปักไหมน้อย
งานปักผ้าครั้งนี้ ผูกแบบปักรวม ๑๘ ตอน ปักหนุนด้วยไหมน้อยย้อมสี สอดดิ้นเลื่อมเงิน-ทอง ลูกปัดสี ผู้ชมจะเห็นภาพพระมหาปราสาท ศาลบนเขาวิลิศมาหรา ขบวนพยุหยาตรา หมู่นกไม้ โขดเขา ชลธาร กรอบฉากปักเนรูปพระคุธพ่าห์ ประกแบพระมหามงกุฎ
ขนาด ๙.๖๑ เมตร สูง ๔.๒๙ เมตร จำนวนช่างฝีมือ ๑๔๓ คน เวลาจัดทำ ๔ ปี




เรือพระที่นั่งศรีประภัศรไชย จำลอง
๘. เรือพระที่นั่งศรีประภัศรไชย จำลอง สร้างจำลองมาจากเรือพระที่นั่งศรีประภัศรไชยที่สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นเรือพระที่นั่ง องค์เดิมเสียหายจากระเบิดเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒ โครงเรือและคานเรือทำด้วยเงินทาทอง กงเรือเป็นงานไม้จำหลักปิดทองคำเปลว ท้องเรือและลำเรือทั้งสองข้างถมทองเขียนลายดอกพุดตาม หน้าเรือจำหลักทองลงยารูปหน้าเหรา และท้ายเรือสลักด้วยทองคำ ลงยาสี ตอนกลางลำเรือพระที่นั่งทอดพระมหาสุวรรณบุษบกบัลลังก์จำหลักทองคำลงยา วิสุตรทองคำฉลุลายลงยาประดับเพชรทั้งสี่ด้าน พื้นเรือส่วนที่รองรับฐานบุษบก ตกแต่งด้วยแผ่นทองคำฉลุลาย ซับปีกแมลงทับ ปักฉัตรจำหลักฉลุทอง ๗ ชั้น ขนาบสองข้างบุษบก ถัดออกมาปักฉัตรจำหลักฉลุทอง ๕ ชั้น ที่ด้านหน้าเรือพระที่นั่ง ๓ คัน ด้านหลัง ๒ คัน เรือพระที่นั่งจำลององค์นี้วางบนฐานจำหลักไม้รูปนาคเกี้ยวอย่างงดงาม
ขนาดกว้าง ๒๓ เซนติเมตร ยาว ๓.๒๕ เมตร สูง ๘๖ เซนติเมตร จำนวนช่างฝีมือ ๙o คน เวลาจัดทำ ๑ ปี ๘ เดือน


เรือพระที่นั่งมงคลสุบรรณ จำลอง และ เรือพระที่นั่งศรีประภัศรไชย จำลอง
๙. เรือพระที่นั่งมงคลสุบรรณ จำลอง ผลงานจากแผนกเครื่องเงินเครื่องทอง แกะสลักไม้ ถมทองลงยาสี ตกแต่งปีกแมลงทับ สร้างจำลองจากเรือพระที่นั่งมงคลสุบรรณเรือพระที่นั่งกิ่ง ที่สร้างสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งแต่เดิมหัวเรือมีรูปพญาสุบรรณหรือพญาครุฑยุดนาคเท่านั้น ส่วนองค์จำลองนี้ โครงเรือกระดูกงูและคานเรือทำด้วยเงินทาทอง โขนเรือรุปคุรฑขึ้นรูปด้วยทองคำลงยา มือกางจับนาคทองคำลงยาไว้ข้างละตัว เท้าจับนาคไว้ข้างละตัว เท้าทั้งสองจับหัวเรือ ระหว่างเท้ามีช่องทอดปืนใหญ่ทำด้วยเงิน หน้าและท้ายเรือจำหลักทองคำลายดอกพุดตานเทศลงยาพื้นแดง ประกดอยู่ทั้งซ้ายขวา ท้องลำเรือด้วนในกระดูกงูและกงเรือเงินทาทอง ซับในกงจำหลักไม้ปิดทอง กระทงเว้นกระทง ท้องเรือด้านนอกเขียนลายกัดกรดถมทอง กลางลำเรือทอดพระมหาสุวรรณบุษบกบัลลังก์ทองคำจำหลักลงยา ถัดบุษบกบัลลังก์ด้านหน้า-ด้านหลัง ปักฉัตรจำหลักทองประดับเพชร ๗ ชั้น ด้านหน้าเรือปักฉัตรทองจำหลักฉลุประดับเพชชร ๕ ชั้น อีก ๓ ด้าน ด้านหลักปักฉัตรจำหลักฉลุทองประดับเพชร ๕ ชั้น ๒ คัน ถัดออกไปมีที่นั่งนักสราช (ผู้ถือธงท้ายเรือ) เกรินปักธงสามชายทองฉลุโปร่งทะลุ ๒ ด้านลงยา ท้ายเรือประกอบหางปลายกนกจำหลักทองลงยา
ขนาดกว้าง ๒๔ เซนติเมตร ยาว ๓.๓๕ เมตร สูง ๘๘ เซนติเมตร จำนวนช่างฝีมือ ๙๘ คน เวลาจัดทำ ๒ ปี ๗ เดือน

ขอเชิญคนไทยร่วมชื่นชมผลงานประณีตศิลป์อันวิจตรงดงามในนิทรรศการ "ศิลป์แผ่นดิน ครั้งที่ ๖" ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป บัตรราคา ๑๕o บาท นักเรียนนักศึกษาราคา ๗๕ บาท (แสดงบัตรประจำตัว) เวลาเข้าชม ๑o.oo - ๑๗.oo น. (ปิดการจำหน่ายบัตรเวลา ๑๖.oo น.) ปิดทุกวันจันทร์ เทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ ผู้เข้าชมกรุณาแต่งกายสุภาพ สตรีใส่กระโปรงหรือผ้าซิ่น ห้ามใส่เสื้อไม่มีแขนและกางเกงขาสั้น สุภาพบุรุษใส่กางเกงขายาว ห้ามใส่ยีนส์และกางเกงขาสั้น
สอบถามโทร. o๒-๒๘๓-๙๔๑๑, o๒-๒๘๓-๙๑๕๘ เวบไซด์ : artsofthekingdom.com การเดินทางมาชมงาน : รถประจำทางสายที่ผ่านพระที่นั่งอนันตสมาคม ได้แก่ ๕o๕, ๕o๓, ๕o๙, ๗o, ๗๒, ๒๓, ๑๘, ๑๖ หากนำรถมาเอง จอดรถได้ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า สนามเสือป่า และลานจอดรถพระที่นั่งวิมานเมฆ
ภาพและข้อมูลจาก นสพ.กรุงเทพวันอาทิตย์ กรุงเทพธุรกิจ ๒๓ ธ.ค. ๒๕๕๕ นิตยสาร Luxury กรุงเทพธุรกิจ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๔ rakbankerd.com
บีจีจากคุณยายกุ๊กไก่ ไลน์จากคุณญามี่
Free TextEditor
Create Date : 09 มกราคม 2556 |
Last Update : 22 มกราคม 2556 9:41:59 น. |
|
76 comments
|
Counter : 24292 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 9 มกราคม 2556 เวลา:22:04:36 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 มกราคม 2556 เวลา:23:24:23 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 10 มกราคม 2556 เวลา:1:11:09 น. |
|
|
|
โดย: อาคุงกล่อง วันที่: 10 มกราคม 2556 เวลา:2:11:52 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 10 มกราคม 2556 เวลา:6:06:52 น. |
|
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 10 มกราคม 2556 เวลา:7:06:41 น. |
|
|
|
โดย: tui/Laksi วันที่: 10 มกราคม 2556 เวลา:7:29:16 น. |
|
|
|
โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 10 มกราคม 2556 เวลา:12:30:11 น. |
|
|
|
โดย: mastana วันที่: 10 มกราคม 2556 เวลา:12:50:22 น. |
|
|
|
โดย: ณ ปลายฉัตร วันที่: 10 มกราคม 2556 เวลา:14:37:48 น. |
|
|
|
โดย: sawkitty วันที่: 10 มกราคม 2556 เวลา:15:41:29 น. |
|
|
|
โดย: เป็ดสวรรค์ วันที่: 10 มกราคม 2556 เวลา:17:20:26 น. |
|
|
|
โดย: ฝากเธอ วันที่: 10 มกราคม 2556 เวลา:19:06:06 น. |
|
|
|
โดย: ญามี่ วันที่: 10 มกราคม 2556 เวลา:20:45:51 น. |
|
|
|
โดย: ญามี่ วันที่: 10 มกราคม 2556 เวลา:20:49:03 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 10 มกราคม 2556 เวลา:22:25:32 น. |
|
|
|
โดย: ป่ามืด วันที่: 10 มกราคม 2556 เวลา:23:42:34 น. |
|
|
|
โดย: find me pr วันที่: 11 มกราคม 2556 เวลา:1:11:09 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 11 มกราคม 2556 เวลา:6:06:55 น. |
|
|
|
โดย: Dingtech วันที่: 11 มกราคม 2556 เวลา:9:38:48 น. |
|
|
|
โดย: panwat วันที่: 11 มกราคม 2556 เวลา:11:03:11 น. |
|
|
|
โดย: AppleWi วันที่: 11 มกราคม 2556 เวลา:17:28:25 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 มกราคม 2556 เวลา:5:42:47 น. |
|
|
|
โดย: haiku วันที่: 12 มกราคม 2556 เวลา:9:11:05 น. |
|
|
|
โดย: chinging วันที่: 12 มกราคม 2556 เวลา:14:26:51 น. |
|
|
|
โดย: ถปรร วันที่: 12 มกราคม 2556 เวลา:19:10:18 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 มกราคม 2556 เวลา:6:00:46 น. |
|
|
|
โดย: หมีปุ๊ วันที่: 13 มกราคม 2556 เวลา:19:18:02 น. |
|
|
|
โดย: ณ มน วันที่: 13 มกราคม 2556 เวลา:21:03:42 น. |
|
|
|
โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 14 มกราคม 2556 เวลา:1:02:35 น. |
|
|
|
โดย: ประกายพรึก วันที่: 14 มกราคม 2556 เวลา:17:27:16 น. |
|
|
|
โดย: Suessapple วันที่: 14 มกราคม 2556 เวลา:22:56:40 น. |
|
|
|
โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 15 มกราคม 2556 เวลา:21:39:30 น. |
|
|
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 15 มกราคม 2556 เวลา:22:32:36 น. |
|
|
|
โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 16 มกราคม 2556 เวลา:1:24:18 น. |
|
|
|
โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 16 มกราคม 2556 เวลา:2:09:10 น. |
|
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 16 มกราคม 2556 เวลา:10:13:31 น. |
|
|
|
โดย: tui/Laksi วันที่: 16 มกราคม 2556 เวลา:11:18:00 น. |
|
|
|
โดย: jamaica วันที่: 16 มกราคม 2556 เวลา:16:17:13 น. |
|
|
|
โดย: diamondsky วันที่: 16 มกราคม 2556 เวลา:16:58:56 น. |
|
|
|
โดย: sawkitty วันที่: 16 มกราคม 2556 เวลา:19:44:45 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 มกราคม 2556 เวลา:20:34:12 น. |
|
|
|
โดย: คนบ้า(น)ป่า (nulaw.m ) วันที่: 16 มกราคม 2556 เวลา:21:11:07 น. |
|
|
|
โดย: find me pr วันที่: 16 มกราคม 2556 เวลา:22:06:56 น. |
|
|
|
โดย: **mp5** วันที่: 16 มกราคม 2556 เวลา:22:11:22 น. |
|
|
|
โดย: pantawan วันที่: 17 มกราคม 2556 เวลา:0:09:59 น. |
|
|
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 17 มกราคม 2556 เวลา:0:10:14 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 มกราคม 2556 เวลา:6:15:35 น. |
|
|
|
โดย: JewNid วันที่: 17 มกราคม 2556 เวลา:9:01:35 น. |
|
|
|
โดย: ถปรร วันที่: 17 มกราคม 2556 เวลา:10:41:16 น. |
|
|
|
โดย: Dingtech วันที่: 17 มกราคม 2556 เวลา:11:40:30 น. |
|
|
|
โดย: AppleWi วันที่: 18 มกราคม 2556 เวลา:0:06:50 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 มกราคม 2556 เวลา:5:58:34 น. |
|
|
|
โดย: haiku IP: 110.171.86.30 วันที่: 21 มกราคม 2556 เวลา:20:46:38 น. |
|
|
|
โดย: คนพันแท้2500 IP: 171.96.12.103 วันที่: 7 พฤษภาคม 2556 เวลา:6:21:04 น. |
|
|
|
|
|
|
|
นับเป็นศิลป์แผ่นดินจริงๆ ค่ะคุณไฮกุ