happy memories
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
27 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 
Corrado Feroci






Santa Lucia - Elvis Presley




คอร์ราโด เฟโรชี
(พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๕o๕)


คอร์ราโด เฟโรชี หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม ศิลป์ พีระศรี เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕ ที่เมืองฟลอเรนซ์ บิดาเป็นคนหัวรุนแรง จึงไม่สามารถจุนเจือครอบครัวได้ดีนัก ในวัยเด็ก แทนการหย่อนใจด้วยวิธีการที่สิ้นเปลืองเงินทอง บิดาจะพาไปชมวิหารและพิพิธภัณฑ์เมืองฟลอเรนซ์ ทำให้เฟโรชีซาบซึ้งและแสดงพรสวรรค์ทางด้านศิลปะมาแต่เยาว์วัย ครอบครัวจึงพยายามสนับสนุนและส่งเสริมอย่างเต็มความสามารถ จนเฟโรชีสามารถเข้าเรียนที่สถาบันวิจิตรศิลป์ได้เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี




ภาพถ่ายและบทความเกี่ยวกับครูศิลป์


เฟโรชีศึกษาที่สถาบันนี้รวมเวลา ๗ ปี และเมื่อบวกกับสิ่งที่เรียนรู้จากผลงานทางศิลปะประดามีที่อยู่ในเมืองฟลอเรนซ์ ก็นับว่าเฟโรชีมีพร้อมทั้งความรู้และเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอนที่กรุงเทพฯ ในภายหลัง




รูปปั้นครูในสวนของมหาวิทยาลัยศิลปากร


ศาสตรจารย์ประหยัด พงษ์ดำ จิตรกรและอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นศิษย์ของเฟโรชีเมื่อ ๔o ปีมาแล้ว เล่าถึงวิธีการสอนของเฟโรชีไว้ว่า "เราเรียนโดยยึดการฝึกฝนทุกวันเป็นพื้น ปีแรกเรียนเรื่องโครงสร้างร่างกายมนุษย์ ปีที่ ๒ เรื่องกล้ามเนื้อตามภาพวาดของเลโอนาร์โด ดา วินซี ปีที่ ๓ เรียนเกี่ยวกับสัตว์ และปีสุดท้ายเรื่องแสงและเงา โดยเรียนจากธรรมชาติ




ห้องทำงานของครูศิลป์




พิมพ์ดีดตัวเก่งของครู




ครูศิลป์เขียนบทความศิลปะภายในห้องทำงาน


อาจารย์ศิลป์ พีระศรี มักพาเราไปตามชายทะเล ภูเขา และพวกเราก็ดีอกดีใจตามอาจารย์ไปทุกแห่ง อาจารย์สอนเรื่องศิลปะโรมัน กอธิค ศิลปะยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา สอนเกี่ยวกับสไตล์และรสนิยมของยุคสมัยที่ล่วงเลยเนิ่นนานมาแล้ว..." และยังกล่าวถึงบุคลิกของคอร์ราโดในขณะนั้นว่า "อาจารย์เฟโรชีรูปหล่อ เป็นเทพบุตรกรีกสำหรับลูกศิษย์สาว ๆ และเป็นครูสำหรับพวกเราทุกคน"




โรมาโน บุตรชายซึ่งปัจจบุันเป็นอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ กล่าวถึงความเป็นครูของบิดาในลักษณะเดียวกัน "คุณพ่อจะให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่ลูกศิษย์ แต่ก็ต้องการให้พวกเขาพยายามเรียนรู้อย่างมากที่สุดเป็นการตอบแทน..."




โต๊ะรูปทรงโค้งที่ครูออกแบบ อยู่ในโรงแรม Royal กรุงเทพฯ




ก่อนหน้าลูกศิษย์คนไทย เฟโรชีมีลูกศิษย์อิตาเลียนด้วยเช่นกัน เนื่องจากได้เข้าสอนสถาบันวิจิตรศิลป์ที่ฟลอเรนซ์ แต่ขณะเป็นอาจารย์ที่นี่เอง เฟโรชีได้รับการว่าจ้างให้เข้ารับราชการ ในตำแหน่งช่างปั้นสังกัดกรมศิลปากรที่กรุงเทพฯ ในพ.ศ. ๒๔๖๖ ขณะอายุได้ ๓๑ ปี




ตราประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์




เมื่อเริ่มทำงานที่กรมศิลปากรใหม่ ๆ เฟโรชีประสบปัญหาทั้งทางกายซึ่งเกิดจากห้องทำงานที่คับแคบ เพราะต้องใช้ร่วมกับช่างปั้นชาวไทยอีก ๒ คน และในทางปัญญาอันเนื่องมาแต่วิธีคิดที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับศิลปะ เพราะในเมืองไทยขณะนั้นยังยึดติดอยู่กับประเพณี และรูปแบบที่เคยปฏิบัติตาม ๆ กันมาโดยไม่ยอมรับของใหม่




บ้านนรสิงห์ ผลงานการออกแบบของครูศิลป์


ในช่วงนี้เองที่เฟโรชีได้สร้างผลงานชิ้นสำคัญ ซึ่งทำให้เขามีชื่อเสียง คือการปั้นพระบรมรูปสัมฤทธิ์ครึ่งองค์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านริศรานุวัตติวงศ์ พระบรมรูปนี้แลดูมีพลัง เอาการเอางาน แต่ในขณะเดียวกันก็บ่งบอกถึงพระปรีชาญาณอันแรงกล้าขององค์ต้นแบบอย่างพอเหมาะอีกด้วย




พระบรมรูปสัมฤทธิ์ครึ่งองค์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์


หลังจากนั้น เป็นการปั้นพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ ซึ่งล้วนครองราชย์ในยุคที่ประเทศประสบความวิกฤต คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย




พระบรมรูปรัชกาลที่ ๑




รูปปั้นพระบรมรูปทรงม้า




พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี


เพียงชั่วเวลา ๑o ปี เฟโรชีก็มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะศิลปิน ผลงานชิ้นสำคัญคือการก่อตั้งโรงเรียนศิลปากรขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๗ โดยเป็นทั้งผู้บริหารและอาจารย์ จากเดิมที่เป็นอาจารย์และช่างปั้น อันเป็นบทบาทที่กระตุ้นให้มีการศึิกษาศิลปะในรูปแบบใหม่ นักศึกษารุ่นแรกมีด้วยกันทั้งหมด ๗ คน ที่ภายหลังมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างสรรค์ศิลปะไทยสมัยใหม่ คือ เฟื้อ หริพิทักษ์, พิมาน มูลประมุข และสิทธิเดช แสงหิรัญ ซึ่งสำเร็จการศึกษาในพ.ศ. ๒๔๘๑




โลโก้งานนิทรรศการครบรอบร้อยปีศิลป์ พีระศรี




โปสเตอร์นิทรรศการ




แสตมป์ที่ระลึก




ของที่ระลึกวันฉลองครบรอบร้อยปี ศิลป์ พีระศรี


แต่แม้จะมีชื่อเสียง ก็ใช่ว่าเฟโรชีจะมีฐานะร่ำรวย ความร่ำรวยเพียงประการเดียวที่เขาเห็นจะเป็นความรักที่มีต่อลูกศิษย์เท่านั้น ในห้องทำงานนั้นมีสิ่งของเครื่องใช้อยู่เพียงไม่กี่ชิ้น คือพิมพ์ดีดเก่า ๆ ๑ เครื่อง เครื่องเล่นแผ่นเสียง ๑ เครื่อง ลูกโลก ๑ อัน และพระพุทธรูป ๑ องค์ เท่านั้น พิมพ์ดีดโอลิมเปียเครื่องเก่า ๆ นี้เองที่เฟโรชีพิมพ์บรรดาตำราต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ศิลปะของประเทศไทย ได้แก่ "ทฤษฎีสี" (พ.ศ. ๒๔๘๘) "ทฤษฎีแห่งองค์ประกอบ" (พ.ศ. ๒๔๘๗) "คู่มือศัพท์" "ศิลปะอังกฤษ - ไทย" (พ.ศ. ๒๔๘๗) "ศิลปกับวัฒนธรรม" (พ.ศ. ๒๔๙๖) "ศิลปะเป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่" (พ.ศ. ๒๕o๑) "สุดโต่งในศิลปะ" (พ.ศ. ๒๕o๓) "รูปเปลือยและศิลปะอนาจาร" (พ.ศ. ๒๕o๔)




พระพุทธรูปที่ครูปั้น


นอกจากผลงานเกี่ยวกับศิลปะตะวันตกเหล่านี้แล้ว ยังมีงานเขียนเกี่ยวกับศิลปะไทยอีกหลายเล่ม เช่น "จิตรกรรมไทย" "ประติมากรรมพุทธศาสนา" "ที่มาและพัฒนาการจิตรกรรมฝาผนังของไทย" และ "การเข้าถึงศิลปะสุโขทัย" ซึ่งแสดงถึงแนวคิดพื้นฐานที่ว่า ค่านิยมทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมจะต้องอยู่ร่วมกับลักษณะสร้างสรรค์ของศิลปะสมัยใหม่ ๆ ผลงานของศิลปินไทยจะต้องเป็นไทยอยู่ ต่างจากงานศิลปินชาติอื่น ๆ ที่มีวัฒนธรรมผิดแผกออกไป งานเขียนเหล่านี้แสดงว่าเฟโรชีสามารถเข้าถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างลึกซึ้ง โดยที่มิได้ขาดจากวัฒนธรรมเดิมของตน แน่นอนว่าปัญหาที่ยังโต้เถียงกันอยู่ก็คือ การก่อให้เกิดความกลมกลืนกันระหว่างโลกศิลปะที่ต่างกันจนยากที่จะรวมกันได้เช่น ตะวันออกกับตะวันตกนี้ ในทางปฏฺิบัติแล้วสามารถทำได้หรือไม่


ผลงานของครู






รูปปั้นบรอนซ์ คุณมาลินี พีระศรี ค.ศ. ๑๙๕๘


อนุสาวรรีย์ประชาธิปไตยเป็นตัวอย่างของงานในลักษณะนี้ เฟโรชีได้รับมอบหมายให้ออกแบบอนุสาวรีย์นี้ ซึ่งสร้างประมาณช่วงท้ายของพุทธศตรวรรษที่ ๒๔ รายละเอียดที่น่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือ ลูกศิษย์ของเฟโรชีเองเป็นแบบสำหรับการปั้นรูปบุคคลที่เป็นส่วนหนึ่งของอนุสาวรีย์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การให้ศิลปินเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยและมีบทบาทในสังคม อันเป็นสิ่งที่เฟโรชีพยายามให้เกิดขึ้นนับแต่มาถึงเมืองไทย พ.ศ. ๒๔๖๗ นั้น ได้บรรลุผลอย่างแท้จริงในการสร้างอนุสาวรีย์แห่งนี้เอง ศิลปินและสังคมได้ประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน และนำไปสู่ความสูงส่งทางด้านจิตวิญญาณ




อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย




ลายปูนปั้นนูนต่ำ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย


ในพ.ศ. ๒๔๘๖ โรงเรียนประณีตศิลปกรรมได้รับการยกสถานะเป็นมหาวิทยาลัย และเฟโรชีได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีแห่งกำเนิดศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย ในพ.ศ. ๒๔๘๗ เฟโรชีเปลี่ยนชื่อเป็น ศิลป พีระศรี กลายเป็นคนไทยซึ่งมีความผูกพันกับประเทศไทยเช่นเจ้าของประเทศคนหนึ่ง




ลายปูนปั้นนูนต่ำ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย



ลวดลายน้ำพุอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย


ศิลปะในประเทศไทยก็ได้พัฒนา ต่อมามีการจัดงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติใน พ.ศ. ๒๔๙๒ ครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๔๙๓ ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การยูเนสโกใน พ.ศ. ๒๔๙๖ และใน พ.ศ. ๒๕o๓ ศิลปินไทยก็ได้เข้าร่วมงานนิทรรศการประติมากรรมนานาชาติ ที่หอศิลป์แห่งลอนดอน ร่วมกับศิลปิน "ใหญ่" เช่น มัวร์ คัลเดอร์ ฟอนตานา และมารีนี




อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ


ศิลปินไทยมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งที่นิวยอร์คและโตเกียวด้วยเช่นกัน และศิลป์ พีระศรี ก็คงต่อสู้เพื่อให้ศิษย์เด่นดังในระดับนานาชาติจนถึงวาระสุดท้ายในวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕o๕ ขณะกำลังเตรียมโครงการจัดตั้งหอศิลป์สมัยใหม่ ร่างของศิลป์ พีระศรี ถูกนำไปยังเมืองฟลอเรนซ์ มีนักศึกษาและศิลปินจากมหาวิทยาลัยศิลปากรไปคารวะอยู่เป็นเนืองนิจ ในฐานที่ศิลป์ พีระศรี คือบิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทยและเป็นบิดาของพวกเขาด้วย




"พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์" พระพุทธรูปยืนปางลีลาขนาดใหญ่ ประดิษฐาน ณ ใจกลางพุทธมณฑล


ภาพและข้อมูลจากหนังสือ "ชาวอิตาเลียนในราชสำนักไทย"

บีจีจากคุณยายกุ๊กไก่ ไลน์จากคุณญามี่

Free TextEditor





Create Date : 27 ธันวาคม 2553
Last Update : 18 กันยายน 2556 8:44:41 น. 0 comments
Counter : 8001 Pageviews.

haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.