No. 917 เหมืองทองให้อะไรแก่ คนไทยบ้าง...? |
|
ดูข่าวทางทีวี กับด้านอื่นเห็นชาวบ้าน อ.แก่งหางแมว โดยเฉพาะชาวบ้าน ต.พวา เรื่องคัดค้านการทำเหมืองทอง |
เท่าที่ฟังน่าจะเป็นเรื่อง ถ้าทำเหมืองจะมีสารพิษ โผล่หรือไหลออกมาจากการขุด |
หรือไม่ก็จากการผลิต ใช้สารไซยาไนด์ในการผลิตได้ทองคำบริสุทธิ์ หรืออาจจะมีปนอยู่ก่อนแล้ว ไม่รู้จริงหรือไม่ |
|
สารพิษอาจทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายสุขภาพของคนที่อยู่ละแวกนั้นหรือแม้กระทั่งละลายไปตามน้ำ เรื่องนี้ก็น่าเห็นใจชาวบ้าน |
และ เรา ๆ ก็ไม่รู้ขั้นตอน การผลิต การกักเก็บสารที่ใช้สะกัด หรือกากที่ เหลือจากการผลิตเก็บแบบไหน |
แล้วน้ำไปใช้ประโยชน์หรือทำลายที่ไหน แบบไหน |
.... |
ถ้ามีการใช้สาร ไซยาไนด์ตามข่าว ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะในไทยมีการใช้อยู่ก่อนแล้ว ซึ่งผู้จำหนายและผู้ใช้ต้องระวัง เหมืองทองคำในประเทศไทย มีหลายแห่งมิใช่มีที่ พิจิตร เพชรบูรณ์ ถ้าเหมืองโบราณหน่อย เราได้ยินเหมืองโต๊ะโมะ ที่ต้นตระกูลของ คุณพนมเทียนเป็นผู้บุกเบิก ตำบลพวาที่ว่า อยู่ติดกับ ต.สามพี่น้อง จขบ.เองก็อยู่บ้าน พวาบนไม่ไกลกันเลยทำสวนผลไม้หลายปี ละแวกที่อยู่ |
เป็นสวนยางพารา มีสวนผลไม้ สวนพริกไทยแทรกเป็นหย่อม ๆ |
ครั้งแรกที่ไปบุกเบิกทำสวนก็เมื่อครั้งเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง งานประจำในกรุงเทพไม่ดีเลยต้องไป ทำสวนผลไม้เป็นทางเลือกอีกทาง |
พื้นที่ 30 กว่าไร่เป็น พื้นที่ สทก. หมายถึงเป็น ป่าเสื่อมโทรม ราชการเลยออกเอกสาร "สิทธิทำกิน" ให้แก่ผู้ครอบครอง |
ห้ามเปลี่ยนมือ.. ที่ได้มาเพราะมีคนติดหนี้เจรจาหลายปีเขาเลยยกที่ดิน สทก.ให้แทน ตำบลพวา กับตำบลสามพี่น้อง เป็นพื้นที่ติดต่อกับ เขาชะเมาที่พวกเราเคยไปเที่ยว น้ำตกสวย |
ผมเลยยอมรับและจ่ายเงินเพิ่มอีกหลายเงินเพราะดูแล้วพื่นที่สวย มีลำห้วยพาดเกือบกลางสวน ไปปรึกษานายอำเภอแก่งหางแมว |
เพราะกลัวจะถูกจับข้อหา บุกรุกป่าเสื่อมโทรม |
คุยกับนายอำเภออยู่นานท่านบอกว่า พี่ไม่ต้องห่วงเรื่องข้อหาบุกรุก พื้นที่ในอำเภอแก่งหางแมวยังไม่มีใครได้ออกโฉนดหรือ |
หนังสือรับรองประโยชน์เลยสักแปลง แม้แต่ที่ตั้งอาคารของตัวอำเภอก็ไม่มีเอกสารสิทธิ.. |
เริ่มลงมือไถปรับที่ดิน ขุดสระน้ำใหญ่ 3 ลูกลึก 6 เมตรสั่งพันธ์ ขนุนทองประเสริฐ เงาะ สะตอดาน น้อยหน่า มะม่วง 3 สายพันธ์ |
ทะยอยปลูกอย่างละ 5 ไร่ พอตั้งตัวได้ หมายถึงต้นผลไม้นะครับ 555 ก็ปลูกบ้านหลังเล็ก 1 หลัง |
|
กว่าจะขอเลขบ้านได้ ยากครับ 555 ต้องถ่ายภาพส้วมไปให้ แพทย์ที่ศูนย์สาธารณะสุขหมู่บ้านดู เขาจึงออกใบรับรองแล้วไป |
ขอเลขบ้านที่ อำเภอแก่งหางแมวได้ |
ย้ายทะเบียนบ้านกับตัวเองไปอยู่ในหมู่บ้านบ้านพวาบน ต.สามพี่น้องอยู่ติดกับ ต.พวา ที่ชาวบ้านกำลังท้วงต่อต้านการอนุญาต |
ให้ทำเหมืองทองคำได้.. แน่นอนผมเป็นพลเมืองที่นั่น ไปลงมติใช้เงินกองทุนหมู่บ้านว่า จะใช้แบบไหน |
ลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. 1 ครั้ง ขึ้นทะเบียนเกษตรกรปลูกอะไรบ้างที่ นั่นแล้วก็ ยื่นเสียภาษีรายได้ เสียภาษีอื่นตามปกติ |
เหมือนคนที่เคยเสียภาษี เพราะทำงานในกรุงเทพด้วย |
พื้นที่แถว ต.พวา ที่ติดกับบ้านอยู่ส่วนใหญ่เป็นสวนยางพารา มีสวนผลไม้ของผม ของชาวบ้าน สวนพริกไทย เรื่องถนนเต็มทน |
ฤดูฝนจะขับรถจากกรุงเทพไปเข้าสวน ต้องเตรียมเสียม จอบติดรถไปด้วย ขุดดินยามรถติดหล่ม |
ถ้าฝนตกต้องรอน้ำในลำห้วย ลดระดับ นั่งคิดนอนคิด เมื่อไหร่ความเจริญจะมา... รอแล้วรอเล่าก็ไม่เห็นสักที |
|
เมื่อรู้ข่าวว่าที่นั่น มีทองคำอยู่ดีใจครับ แต่ผมเปลี่ยนสวนผลไม้ 30 กว่าไร่เป็น สวนยางพาราแล้วก็ขายที่ไปหมดแล้ว |
เสียดายจัง ใจหนึ่งดีใจที่ชาวบ้านแถวนั้นจะได้มีเงิน มีฐานะหรืองานดีขึ้นเพราะเหมืองทอง |
แต่ก็อีกแหละว่า พอลยูฌั่น สิ่งแวดล้อม สารพิษจะอบอวลไปทั่ว ตำบลพวา และตำบลสามพี่น้อง แล้วทำไงดี หรือปล่อยให้เป็นไป |
ตามสิ่งที่ควรจะเป็น เลยเข้าศึกษาเรื่องเหมืองทองเพราะอยากรู้ |
|
ที่ผ่านมามีข้อมูล แจ้งว่าไทยมีรายได้จากค่า ภาคหลวงเหมืองทองคำ ปีงบประมาณ พศ.2555 จำนวน 829 ล้านบาท |
(น้อยจัง) |
รายได้ปีงบประมาณปี พศ. 2558 (นับแต่ 10 ตค 2557 - 30 กย 2558) ได้ค่าภาคหลวง 370 ล้านบาทหรือ |
(370,162,471.68 ล้านบาท) ลดลงอีกแล้ว |
|
ลองเข้าค้นดูเรื่อง ค่าสิทธิประโยชน์หรือค่าภาคหลวงที่รัฐบาลพึงได้ 30 % ของมูลค่าทองคำขุดขึ้นมาถลุงส่งออก |
อัตราสูงดี |
|
ถ้าจะทำเหมืองทองคำ ที่ตำบลพวา อ.แก่งหางแมว จันทบุรี |
ไทยจะได้ส่วนแบ่ง ที่ว่าก็อีกหลายปี เพราะน่าจะอยู่ระหว่างอนุญาตให้ เอกชนรับ อาชญาบัตรประเภท 3 อยู่ |
นั่นคืน เอกชนได้รับสิทธิ ขุดสำรวจ ทดสอบทางเคมีหรืออะไรพวกนั้น 5 ปี |
เอกชนเสียค่าธรรมเนียม สำรวจไร่ละ 28 บาท และเสียเงินประเภทอื่นอีกบางส่วน |
|
|
แต่ยังไม่ได้อนุญาตให้ทำเหมืองนะครับ รัฐบาลไทยจึงจะยังไม่ได้สิทธิประโยชน์ 30 % หรือต่อไปอาจจะปลี่ยนเป็น |
อัตรา 40 -60 % น่าจะใช้เวลาหน่อย |
ยังคิดเลยว่า นี่หรือไม่จึงมีการ ยกเลิกหรือให้ระงับการทำเหมืองทอง อีกฝ่ายขอใช้สัมปทานเดิมที่มีสัญญาอีกหลายปี |
ค่าภาคหลวงจะต้องเปลี่ยนหรือคงเดิม |
|
อีกอย่าง มูลค่าทองคำมีค่ามหาศาลไม่แตกต่างกับ น้ำมันดิบ ประเทศใดมีแร่ทองคำนับว่า โชคดีเช่นเดียวกัน |
|
ประเทศไทยมีทรัพยากร ทางธรรมชาติ เช่น น้ำมัน แก๊ส ถ่านหิน(ลิกไนท์) พลอย |
หิน(สำหรับก่อสร้างถนน/ตึก) น้ำดิบน้ำบาดาล แร่อย่างอื่น และที่สำคัญคือ ทองคำที่อยู่ในดิน |
ถ้าขุดขึ้นมาได้ มันก็หมดไปแต่ เราจะได้ผลประโยชน์มากมาย หรือเหมือนกับแทนขุดเจาะน้ำมัน |
|
ประมาณปีพศ. 2542 ประเทศไทย มีความพยายามค้นหาแร่ทองคำ ตั้งงบประมาณค่าใช้จ่าย ค้นหาแร่ทองคำ |
จำนวน 1,512 ล้านบาท แน่นอนต้องจ้าง เอกชนสำรวจพื้นที่ 36,400 ตารางกิโลเมตร หรือ 22,750,000 ไร่เป็นเวลา 7 ปี |
โดยสำรวจปีพศ. 2543 - 2549 |
แสดงว่าคณะรัฐมนตรีมองการณ์ไกล ใช้เงินเพื่อจุดประกายให้เกิดสัมปทาน รายได้จะเข้ารัฐ(หาเงินเป็น) สร้างงานแก่ประชาชน |
ข้อมูลทั้งหมดคงได้มาหมดแล้วว่า ที่ให้สำรวจมีทองคำหรือไม่ มีปริมาณเท่าใดที่จะอนุญาตให้เอกชน ยื่นเรื่องขอสัมปทาน |
เข้าทำเหมือง หากมีคู่แข่งคงต้องเปิดประมูล |
เวลาค้นหาหรือเข้าเรียนรู้ เลยทำให้รู้ว่าประเทศไทย ก็พยายามค้นหาสินทรัพย์ใต้ดินมากพอสมควร |
และจะได้ผลประโยชน์ คุ้มค่าหรือไม่ คงต้องศึกษาต่อครับ เพราะทองคำ กับน้ำมันดิบ มีค่ามากมายมหาศาล แล้วเราควจจะต่อต้าน หรือ หาทางแก้ไข |
อีกอย่าง ค่าสิทธิประโยชน์หลาย ๆ ล้านที่ ประเทศไทยได้ นำส่งคืนชาวบ้านท้องถิ่น มากน้อยเพียงใด เช่น ชาวบ้าน ตำบลพวา อ.แก่งหางแมว และนำไปจ่ายงบประมาณรายจ่ายแต่ละปี มีงบลงทุน(หาเงิน) กี่เปอร์เซ็นต์ งบป้องกัน(โรค) คงไม่ใช่มีเฉพาะ |
จ่ายเงินเดือนรัฐ ในรูปแบบต่าง ๆ ส.ส. หรือ แหะ ๆ ส.ว อัตราส่วนร้อยละเท่าใดของค่าใช้จ่ายทั้งหมด |
เขียนบทความปน (บ่น) เพื่อเป็นความรู้อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มองหลาย ๆ ด้าน |
|
ขอบคุณเพื่อนที่ให้ใช้ภาพประกอบ |
L |
st. 1,732,402 |
= |
ขอบคุณเพื่อนที่แวะเข้ามาเยือน กรุณาทิ้งร่องรอยไว้นิดผมจะได้กลับไปเยือนได้ถูกครับ |
|
Diarist |
|
.
.
.
ทำให้ผมคิดถึงประเทศญี่ปุ่น..เมืองที่เป็นอุตสาหกรรมมีสารอันตราย รัฐและบริษัท ให้ค่าดูแล รักษาพยาบาล และเลี้ยงดูอุ้มชูประชาชนเขาอย่างดี
.
.
พอหั่นมาดูไทยเรา.. กฏหมายยังตามอีกหลายๆประเทศอยู่... ก็เลยทำอะไรไม่ได้มาก