No. 961 ชื่นชมคนหนึ่ง.. @ จันทบุรี |
 |
หลายปีก่อนจะทำงานอยู่ในบริษัทระยอง ไปพบปะลูกค้าทั่วไปเป็นบางครั้งติดตามงานของ พนง.เก็บเงินกับตัวแทนเป็นหลัก |
ยามเย็นก็นัดกับเพื่อน สมยศที่ทำงานธนาคารออมสินเพื่อนที่ค้าขายผ้า |
ร้านค้าขาย/ซ่อมจักรยาน ทนายความส่วนใหญ่พวกเราจะ |
ไปอยู่ร้านลมโชยคอสะพานปากน้ำระยอง กับอีกแห่งร้านแถว บ้านเพ |
|
กลับมาจากป่าจันทบุรีก็นั่งเคลียงานที่ค้างยังเพลียจากเดินทางในป่า บ้านหนองคล้าจันทบุรี นั่งง่วงมากกว่า 555 หลับ ๆ ตื่น ๆ |
เสียงโยนปึกกระดาษลงที่โต๊ะทำงานอย่างแรง ลืมตาเจอเฮียแจ๋ เพื่อนเจ้าของร้านค้าส่งเหล้าในระยอง |
เอ้าอ่านหนังสือพิมพ์ซะ เมิงไปทำไรมา |
|
คลี่หนังสือดูเห็นพาดหัวโตว่า เจอค่ายนรก ทารุณคนงานไร่มันสำปะหลังบางตาย ให้กินอดยาก |
|
เสี่ยเสรีไปดักต้อนคนภาคอีสานจอดรถ บขส.หน้าโรงพยาบาลระยองหลอกไปทำงาน |
เข้าทำไร่ในป่า ให้กินอยู่อดยากทุบตีคนงาน เบี้ยวค่าแรง เสี่ยเสรีให้หัวหน้าคนงานทุบตีคนงาน่เจ็บทั้งทีคนงานป่วยเป็นไข้ |
มาเลเรียทำงานไม่ไหวก็ตี คนงานผอมโซ ข้อเท้ามีรอยโซ่ตรวน หลบหนีมาได้ 2 คน |
ตำรวจกำลังตามจับคาดว่าคงจะจับได้ในเร็ววัน |
|
อ้าว ๆไม่ใช่ผมนา ดูนี่ คนชื่อเสรี ต้อนคนงานเข้าไร่มันสัมปะหลัง อ.บ้านค่าย ระยองนะเฮีย |
ผมอยู่ อ.ท่าใหม่ จันทบุรี นี่ไงดูซิ บ้านค่าย |
เหรอ คิดว่าเมิงซะอีก 555 กะว่าจะซื้อข้าวผัดโอเลี้ยงไปเยี่ยม |
โธ่เฮียผมไม่ทำหรอก ไปร้านลมโชยดีกว่า เปรี้ยวปาก ต้องเปลี่ยนชื่อใหม่ชื่อเสรี ชื่อโหล นั่นยศมาแล้ว ปะไปกัน |
//////// |
นั่งนึกถึง ช่วงชีวิตที่ใช้อย่างคุ้มค่า สนุก ตื่นเต้น แต่เหนื่อยสุด ๆ ได้พบเห็นป่าดิบชื้น น้ำในลำห้วยไหลลัดเลาะ |
ผ่านกิ่งไม้ โขดหินที่คดเคี้ยวไปมา |
 |
ยามใดที่ขี่มอเตอร์ไซค์ลงสู่พื้นราบ ในฤดูแล้ง แม้ใบไม้จะยังเขียวแต่ดินแห้ง แม้ไม่ถึงกับแตกระแหงใบไม้บางต้นแห้ง |
สีน้ำตาล เอนลู่แนบกับดินอย่างน่าใจหาย |
เสียงชาวสวนเดินเครื่องปั้มน้ำ เข้าท่อน้ำส่งไปยังต้นไม้ในสวนน้ำที่สำรองไว้ในสระใหญ่น้ำมีไม่มากตามที่ต้องการ |
ชาวสวนต้องเดินไปปิดวาล์วน้ำ บางจุดไว้ก่อน มิให้สูญเสียน้ำไปมากนัก |
พี่ ไม่ปล่อยน้ำไปทีเดียวทั้งสวนเหรอ |
ไม่ได้หรอก... น้ำมีน้อย.. เราต้องให้น้ำเงาะ ซีกนี้ก่อน แล้วค่อยปล่อยน้ำไปอีกซีก |
เว้นสามวันครั้ง... นะคุณ... |
ใช่แล้วครับ พื้นที่จันทบุรี ฤดูฝน น้ำฝนจะตกหนักมาก ไหลล้นจากที่สูงสู่ที่ต่ำ ดินจะดูดซับไว้แต่ยามแล้งมาเยือน ดินกลับแห้ง |
น้ำใต้ดินไม่ค่อยมี |
ถ้าเพื่อน ๆ ไปเที่ยวจันทบุรี เห็นสวนผลไม้ สวนยางจะอยู่พื้นที่ราบ แม้จะเป็นเนินก็ไม่สูงนักพื้นที่จะได้การออกโฉนด |
หรือหนังสือสำคัญให้เฉพาะพื้นที่ เอียงหรือสูงชันไม่เกิน 45 องศาตามกฏหมาย  |
ช่วงเวลาที่ทำงานจันทบุรีชาวสวนผลไม้เดือดร้อนเรื่องต้องจ่ายเงิน ค่าซื้อน้ำไปใส่สวนมากเหมือนกัน ไม่ใช่เพิ่งขาดน้ำนะครับ |
ทราบข่าวว่ามี ชาวสวนแถว อ.ขลุง คิดค้นวิธีประหยัดน้ำในการให้น้ำต้นผลไม้เหมือนกัน |
แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไรมากเพราะไม่ใช่อาชีพโดยตรงได้กลับไปเที่ยวจันทบุรีบ้าง |
อีกหลายปีต่อมา |
ต้องเตรียมหาทางหากินเพิ่มเพราะ ฟองสบู่ไทยเริ่มแตกปี 2538 - 2540 เข้าหักล้างถางพงหญ้าที่ อ.แก่งหางแมว |
จันทบุรี 30 กว่าไร่พื้นที่เอียงลาดเก็บน้ำได้เหมือนกันแต่ต้องขุดบ่อสระน้ำกว้างไว้แต่เสียดายน้ำฝนที่ |
ตกไหลจากสวนคนอื่นผ่านสวนตนเองไป ผ่านต้นผลไม้ที่เราปลูกไว้เสียดายมากและก็วิตกว่าน้ำจะไม่พอ ต้นไม้ตายแน่ |
เลยปรึกษาเพื่อนสวนข้างเคียงเขาบอกว่า  พี่ใช้สปริงเกลอร์หูกระต่าย หรือน้ำหยดก็ได้ |
ซื้อที่ไหนได้ |
อ๋อ พี่ดูตลาดนายายอามก็มีเยอะแยะไปหมดเขาว่า ลุงดำคน อ.ขลุงเป็นคนต้นคิดนะ |
กลับกรุงเทพเข้าอินเตอร์เน็ต ดูข้อมูลปรากฏว่า ลุงดำน้ำหยดเป็นคนริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2500 กว่าแล้วลองผิดลองถูกและมีคนคิด |
ชุดหัวเหวี่ยงน้ำแบบหูกระต่ายไม่รู้ใครเหมือนกัน และสวนลุงดำใช้น้ำน้อยไม่เดือดร้อนเหมือนสวนอื่น  |
เข้าไปอ่านเกี่ยวกับ น้ำหยด หรือแบบหัวเหวี่ยงหูกระต่ายคนใช้เยอะ แต่ระบบน้ำหยดมีจุดอ่อนคือน้ำในท่อที่วางทอดยาวไปใน |
สวนเจอแดดเกิด ตะไคร่เขียวในท่อเกิดการอุดตัน เลยมีการพัฒนาใช้ท่อยางสีดำแก้ได้ |
ปรีกษาหลายคนเพราะ ท่อยางดำราคาแพง  ชาวสวนเลยใช้ท่อเกษตรสีเทาดำและใช้หัวเหวี่ยงชนิดหูกระต่ายแทน ใช้เครื่องปั้มน้ำดูด |
น้ำดันท่อไปในสวน... ผมเลยทำตามใช้ได้ดีเลยน้ำในสระ 3 ลูกพอไหว |
ที่น่าสนใจคนคิดระบบน้ำหยดคือ ลุงดำน้ำหยด |
ลุงดำเรียนจบธรรมดาพอ ๆ กับพวกชาวสวน น่าจะไม่เคยติดต่อ ชาวต่างชาติเลยแต่ลุงดำ ทดลองคิดค้นได้เอง |
อีกหลายสิบปีต่อมา เราได้อ่านข่าวว่า ข้าราชการไทยได้ทุนไปเรียน การปลูกพืชประเทศที่แห้งแล้งมีน้ำน้อยคือ อิสราเอล |
เขาใช้ระบบน้ำหยด/สปริงเกลอร์เหมือนกัน |
เลยสงสัยว่า ใครเป็นคนต้นคิด ระบบน้ำหยด ลุงดำ หรือ อิสราเอล |
ช่างเถอะลุงดำน้ำหยด รวยไม่รู้เรื่องด้านี้ |
 |
|
คนไทยพบอะไรแปลกหลายอย่าง ตั้งแต่เรา ๆ เป็นเด็กรู้ข่าวว่า สวนยางพาราต้องทำในภาคใต้เท่านั้นเพราะฝนตกมาก |
พอไปอยู่จันทบุรีก็ตอนทำงานเป็นหนุ่มแล้ว เห็นสวนยางพารามากมาย  |
เคยไปพบลูกค้าในสวนยาง แถวอำเภอขลุงอยู่จนมืด ขี่มอไซค์กลับขับวนเวียนอยู่ในสวนยางพาราหาทางออกไม่ได้ เขาปลูก |
ยางพารากันกว้างขวาง อยู่ในสวนยางมันมืดไม่เห็นแสงอะไรเลยขี่ลดเลี้ยวไปตามถนนเล็ก |
จนกระทั่งขี่ไปพบบ้านคนรู้จักเลยต้องให้เขาช่วยขี่นำทางออกสู่ถนนสุขุมวิท และจันทบุรีเป็นเมืองที่ฝนตกหนักมาก บางวัน |
ตกติดต่อกัน 3 - 4 วัน แสดงว่าภาคตะวันออกปลูกยางพาราได้ |
หลายคนบอกว่าภาคอิสานปลูกยางพาราไม่ได้หรอก เขาขู่ไว้.. ปี 2549 ผมทำสวนยางพารามียางพันธ์ที่ปลูกบนที่ดอนได้ |
คือเขาพัฒนาพันธ์เรียกว่าพันธ์ 600 ไม่ต้องใช้น้ำฝนมากนัก |
จังหวัดในอิสานปลูกยาพารากันเยอะแยะ กรีดยางขายกันสบาย ๆ คนอิสานไม่ต้องไปเป็นคนงานสวนยาง ปักษ์ใต้หรือ |
ในภาคตะวันออกอีก... |
แต่ไม่รู้เป็นไงราคายางแผ่น ตกเอา ๆ น่าใจหายแทนชาวสวน บางรัฐบาลก็หาตลาดให้ชาวสวนราคาสูงขึ้นน่าพอใจอยู่นาน |
พอเปลี่ยนรัฐบาล ราคาขึ้นลงน่าใจหายอีก ทักท้วงกันก็บอกว่า |
กลไกการตลาดยางผันผวน เป็นไปตามตลาดโลก ผมงี้เป็น งง..เหมือนกัน |
วันนี้เขียนเล่า ๆ เรื่องที่ผ่านมา กับเรื่องราวปัจจุบันแต่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ คือ |
ระบบการเกษตรน้ำหยด ลุงดำเป็นคนต้นคิดหรือไม่เพราะอ่านหนังสือว่าลุงดำทำมา 60 ปีแล้ว หรือว่าประเทศอิสเรล |
เป็นคนคิดคนไทยไป ศีกษาหลายรุ่นแล้ว (ประเทศนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี คศ.1949 หรือพศ. 2492) |
|
ขอบคุณเพื่อนที่ให้ใช้ภาพประกอบ |
L |
st. |
= |
ขอบคุณเพื่อนที่แวะมาเยือน กรุณาทิ้งร่องรอยไว้นิด ผมจะได้กลับไปเยือนได้ถูกครับ |
|
Diarist |
|
หลังๆไม่ต้องลากสายยางแล้ว ลุงวางระบบน้ำหยดทั้งสวน ว่างงานมาก อิอิ