ให้เด็กเล่นนอกบ้าน ลดความเสี่ยงสายตาสั้นได้
 นักวิจัยของรัฐบาลออสเตรเลียกล่าวว่าแสงแดดอาจช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเคมีที่ปกป้องการเติบโตผิดรูปของลูกตาซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะสายตาสั้นได้ ทั้งนี้ นักวิจัยได้เปรียบเทียบความสามารถในการมองเห็นกับพฤติกรรมของเด็กอายุ 6-7 ขวบ ในสิงคโปร์และออสเตรเลีย โดยให้เด็กทั้งสองกลุ่มใช้เวลาอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์และเล่นเกมคอมพิวเตอร์เท่ากัน แต่เด็กออสเตรเลียใช้เวลาเล่นนอกบ้านเฉลี่ยวันละประมาณ 120 นาที ซึ่งมากกว่าเด็กเอเชียประมาณ 90 นาที ศาสตราจารย์เอียน มอร์แกน จากศูนย์เพื่อการมองเห็นของสภาวิจัยแห่งออสเตรเลีย กล่าวว่า "ภาวะสายตาสั้นแพร่หลายมากขึ้นในเด็กทั่วโลก โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในเมือง ซึ่งอาจเป็นเพราะ เด็กใช้เวลาอยู่กลางแจ้งน้อยลง ซึ่งแสงจากธรรมชาติจะมีความสว่างกว่าแสงภายในอาคารเป็นร้อยเท่าและกระตุ้นให้สมองหลั่งสารโดพามีนออกมา ซึ่งสารนี้ช่วยระงับไม่ให้ลูกตาโตขึ้นมาผิดรูป ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้น" นอกจากนี้ การวิจัยยังพบว่าภาวะสายตาสั้นในมนุษย์มักจะเพิ่มขึ้นเมื่อเริ่มเข้าโรงเรียนและใช้เวลาอยู่กลางแจ้งน้อยลง ดังนั้น เด็กที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่นอกบ้านจะมีสายตาดีกว่าเด็กที่อยู่แต่ภายในอาคาร ซึ่งการอยู่ในแสงธรรมชาติวันละ 3 ชั่วโมง จะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสายตาสั้นลงได้ครึ่งหนึ่ง
Create Date : 01 กรกฎาคม 2555 |
|
1 comments |
Last Update : 1 กรกฎาคม 2555 13:48:30 น. |
Counter : 1972 Pageviews. |
|
 |
|