Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
16 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
อาหารแม่ตั้งครรภ์….ข้อมูลใหม่ในเรื่องเก่า

อาหารแม่ตั้งครรภ์….ข้อมูลใหม่ในเรื่อง เก่า (momypedia)
โดย: รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์

เมื่อตั้งครรภ์คุณแม่ส่วนใหญ่จะเริ่มกังวลเกี่ยวกับเรื่องอาหารขึ้นมาทันที ไม่ว่าราคาจะแพงหรือรสชาติไม่น่ารับประทานเพียงใด ก็จะฝืนใจซื้อหามาให้ได้ จุดประสงค์เดียวเพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ สมบูรณ์แข็งแรง ปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับอาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์จาก สื่อต่างๆ มีมากมายจนทำให้สับสนว่าจะเชื่อใครดี ควรรับประทานอะไรหรืองดรับประทานอะไรดี บทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับเรื่องอาหาร สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างง่าย ๆ เพื่อให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับตัวเอง เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งแม่และลูกในท้องได้

ความจำเป็นของอาหารขณะตั้งครรภ์

เมื่อตั้งครรภ์ความต้อง การ อาหารของแม่จะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากต้องนำอาหารส่งไปให้ลูกในครรภ์ การเจริญเติบโตของลูกในครรภ์มี 2 รูปแบบ คือ 2. การพัฒนาเกี่ยวกับระบบการทำงานของร่างกาย เช่น หลังคลอดจะเป็นเด็กที่แข็งแรงและจะเฉลียวฉลาดหรือไม่

การเจริญเติบโตทางโครง สร้าง หมายถึงการที่ลูกจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน จะเป็นการดูว่าลูกในครรภ์มีการเจริญเติบโตทางโครงสร้างเป็นอย่างไร ตัวโตดีหรือไม่ สามารถตรวจได้ไม่ยาก โดยใช้การวัดขนาดมดลูกเป็นระยะๆ ตามเวลาที่มาฝากครรภ์ซึ่งอาจทำด้วยการคลำขนาดมดลูก หรือตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์

การพัฒนาเกี่ยวกับระบบ การทำงานของร่างกาย เช่น หลังคลอดจะเป็นเด็กที่แข็งแรงและจะเฉลียวฉลาดหรือไม่ ซึ่งการตรวจความแข็งแรงและความฉลาดของลูกนี้ ยังเป็นเรื่องที่ตรวจได้ยาก

ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ จะมี น้ำหนักเพิ่มขึ้นรวมประมาณ 12-14 กิโลกรัม น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแบ่งได้คือ น้ำหนักตัวลูก 3,300 กรัม รก 680 กรัม น้ำคร่ำ 900 กรัม มดลูกที่ขยายขนาดขึ้น 900 กรัม เต้านมที่ขยายขนาดขึ้น 900 กรัม เลือดและน้ำในร่างกายที่เพิ่มปริมาณขึ้น 1,800 กรัม ไขมันและโปรตีนของตัวคุณแม่ 4,000กรัม โดยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเมื่อแบ่งตามช่วงอายุครรภ์จะพบว่าในช่วง 3 เดือนแรก น้ำหนักคุณแม่อาจจะเพิ่ม เพียง 1-1.50 กิโลกรัม หรือบางรายไม่เพิ่มเลย ไม่ต้องตกใจครับ เพราะช่วงแรกส่วนใหญ่จะแพ้ท้องและรับประทานอาหารได้น้อย ในช่วง 3เดือนต่อมาน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นประมาณ 4-5 กิโลกรัม และช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอดน้ำหนักจะเพิ่มประมาณ 5-6 กิโลกรัมหรือประมาณครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์

ด้วยเหตุนี้เอง คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ที่จะนำไปสร้างหรือเพิ่มขนาดของอวัยวะของลูก คุณแม่บางท่านเกรงว่าหากรับประทานอาหารมากเกินไปจะทำให้เสียทรวดทรง ลูกตัวโตทำให้คลอดยาก จึงพยายามควบคุมอาหาร เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะลูกจะคลอดยากหรือง่ายนั้นไม่ได้อยู่ที่ขนาดของลูกอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับขนาดของเชิงกรานคุณแม่และการหดรัดตัวของมดลูกขณะเจ็บท้องคลอด ด้วย แล้วการพยายามควบคุมอาหารอาจทำให้ลูกที่คลอดออกมาตัวเล็กกว่าปกติและไม่แข็ง แรง

ในปัจจุบัน มีข้อมูลทางการแพทย์ยืนยันค่อนข้างแน่ชัดแล้วว่า เด็กที่คลอดออกมาแล้วน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ เช่น น้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม เมื่อเด็กเติบโตขึ้นมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคความหัวใจได้มากกว่าคนที่ช่วงแรกเกิดมีน้ำหนักปกติ เชื่อกันว่าเป็นเพราะเด็กที่คลอดออกมาน้ำหนักน้อย จะคลอดออกมาพร้อมกับขนาดอวัยวะที่สำคัญ เช่น ตับ ไต หัวใจเล็กกว่าปกติ ถึงแม้เมื่อโตขึ้นจะมีน้ำหนักใกล้เคียงกับเด็กที่มีน้ำหนักปกติตอนแรกเกิด แต่อวัยวะสำคัญเหล่านี้ก็จะไม่โตตามสัดส่วนของน้ำหนักที่เพิ่ม ทำให้เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่อวัยวะต่างๆ เหล่านี้จึงต้องทำงานหนักกว่าปกติ คล้ายกับการใช้เครื่องปั๊มน้ำขนาดเล็กปั๊มน้ำจำนวนมากไม่นานเครื่องก็พัง ดังนั้นการควบคุมไม่ให้น้ำหนักของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์มากหรือน้อยเกินไปจึง เป็นเรื่องสำคัญมาก

สารอาหารสำคัญสำหรับแม่

เมื่อรับประทานอาหาร เข้าสู่ ร่างกายแล้ว จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด โดยจะอยู่ในรูปของสารอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งในกลุ่มเหล่านี้ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ และน้ำ อาหารแต่ละกลุ่ม มีประโยชน์และความจำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่เท่ากัน ดังต่อไปนี้


1. โปรตีน สารอาหารที่มีความสำคัญในการสร้างอวัยวะ และส่งเสริมการเจริญเติบโตของลูก และจำเป็นในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของตัวคุณแม่ด้วย อาหารในกลุ่มนี้ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว หรือเนื้อปลา ไข่ (ควรรับประทานวันละประมาณ 1 ฟอง ควรหลีกเลี่ยงไข่ที่ไม่สุกเพราะอาจจะมีเชื้อโรคและทำให้ท้องเสียได้) , ถั่ว รวมไปถึงนมถั่วเหลืองและน้ำเต้าหู้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคุณแม่ที่ดื่มนมไม่ได้ ซึ่งอุดมไปด้วยโปรตีนปริมาณมาก

นม สำหรับคุณแม่ที่ดื่มนมเป็นประจำก่อนตั้งครรภ์ควรจะดื่มนมในปริมาณเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนคุณแม่ที่ไม่เคยดื่มนมเลย หรือดื่มนมบางครั้งไม่สม่ำเสมอ ควรจะดื่มนมเพิ่มเติมบ้างอาจจะในลักษณะวัน เว้น วันหรือเว้น 2 วัน แต่ละครั้งควรดื่มครั้งละ 1 แก้ว ไม่ควรดื่มมาก ส่วนนมที่ควรงดคือ นมข้นหวานเพราะมีโปรตีนน้อยมาก ส่วนมากจะเป็นไขมันและน้ำตาลซึ่งไม่มีประโยชน์สำหรับคุณแม่

แม้จะมีข้อมูลชัดเจนว่า การดื่มนมมีประโยชน์ในการเสริมสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของลูก แต่ในปัจจุบัน ก็มีข้อมูลเพิ่มเติมที่ชัดเจนเช่นเดียวกันว่า คุณแม่ทั้งที่เคยดื่มนมและไม่เคยดื่มนมมาก่อนที่จะตั้งครรภ์ เมื่อมาโหมดื่มนมสารพัดชนิด ขณะตั้งครรภ์เพื่อหวังให้ลูกเฉลียวฉลาดและแข็งแรง ผลกลับพบว่าลูกของคุณแม่พวกนี้ภายหลังคลอดออกมากลับไม่แข็งแรงและขี้โรค ซึ่งโรคที่เป็นก็มักจะเรื้อรังด้วย เช่น เป็นโรคภูมิแพ้ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งน้ำมูกไหล หูน้ำหนวก หอบหืดและผื่นที่ผิวหนัง เป็นต้น การที่เป็นเช่นนี้เชื่อกันว่า เพราะนมที่คุณแม่ดื่มส่วนมากเป็นนมวัว หรือนมแพะ ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญเป็นสารพวกโปรตีน แต่โปรตีนที่ว่าต่างจากโปรตีนในคน ภายหลังการดื่มนมดังกล่าว โปรตีนเหล่านี้จะเข้าไปในกระแสเลือดแม่แล้วผ่านรกไปยังลูกในครรภ์ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ลูกสร้างสารภูมิต้านทานที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ขึ้นในเลือด ฃลูก เมื่อลูกคลอดออกมาแล้วคุณแม่ยังเลี้ยงลูกด้วยนมวัวต่อ โปรตีนจากนมวัวที่ลูกได้รับเข้าไปใหม่หลังคลอดจะไปทำปฏิกิริยากับสารภูมิ ต้านทานในเลือดลูกทำให้เกิดสารพัดอาการของโรคภูมิแพ้ขึ้นในตัวลูกได้

2. คาร์โบไฮเดรต อาหารกลุ่มที่ทำหน้าให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย ทั้งแป้งและน้ำตาล เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมหวาน คุณแม่ควรรับประทานอาหารกลุ่มนี้ให้น้อยลง เพราะระหว่างตั้งครรภ์ร่างกายจะใช้อาหารกลุ่มนี้น้อยลง สำหรับคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกายต้องระวังเพราะจะทำให้อ้วนได้ง่ายๆ

3. ไขมัน แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1. อาหาร ในกลุ่มที่ย่อยสลายแล้วให้กรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันอิ่มตัวพบในอาหารที่ได้จากไขมันสัตว์ น้ำมันสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ถึงให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย เช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรต แต่ควรหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณลงเพราะย่อยยาก ทำให้อึดอัด อืดแน่นท้องได้ง่าย ถ้ารับประทานมากจะไปจับตามส่วนต่างๆ ของร่างกายทำให้แม่อ้วนแต่ลูกอาจไม่ได้อ้วนด้วย นอกจากนี้ ยังไปอุดหลอดเลือดทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ในอนาคตถ้ารับ ประทานมากและเป็นประจำ

2. อาหารในกลุ่มที่ย่อยสลายแล้วให้กรดไขมันไม่อิ่มตัว กรดไขมันไม่อิ่มตัวพบในอาหารที่ได้จากปลาทะเล สาหร่ายทะเล และน้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกทานตะวัน กรดไขมันชนิดนี้มี สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการสมองของลูกน้อยในครรภ์ เช่น ดี เอช เอ และ เอ อาร์ เอ เป็นต้น จึงควรรับประทานเพิ่มขึ้น

4. วิตามิน สารอาหารที่มีบทบาทและเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานของร่างกาย เช่น เป็นตัวช่วยให้กระบวนการย่อยอาหารเป็นไปอย่างราบรื่น และช่วยให้ร่างกายสามารถนำสารอาหารในกลุ่มโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการทำงานของจอตาเพื่อการมองเห็นภาพที่ชัดเจน รวมทั้งช่วยให้กลไกการป้องกันโรค และสภาพแวดล้อมของร่างกายเป็นไปด้วยดี การขาดวิตามินจะทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานไม่เป็นไปตามปกติ เจ็บป่วยได้ง่าย แต่หากได้รับวิตามินมากเกินไปร่างกายก็จะทำงานผิดปกติและเกิดโรคได้

วิตามิน ที่ร่างกายต้องการมีมากมายหลายชนิด เช่น วิตามิน เอ บี ซี ดี กรดโฟลิคหรือโฟเลต และวิตามินที่เรียกชื่อยาก ๆ อีกหลายชนิด วิตามินเหล่านี้ร่างกายต้องการในปริมาณที่เหมาะสมไม่มาก และน้อยเกินไป หากคุณแม่กินอาหารครบถ้วนทั้งเนื้อสัตว์ ไข่ นม เนย ถั่ว ฟักทอง ผัก และผลไม้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องกินยาวิตามินในรูปของยาเม็ดเพราะวิตามินชนิดต่าง ๆ ปนอยู่ในปริมาณอาหารที่มากพออยู่ตามที่ร่างกายต้องการแล้ว

มีข้อมูลที่ควร ทราบคือ วิตามินชนิดเม็ดที่มีขายอยู่นั้น ผลิตขึ้นมาด้วยจุดประสงค์แตกต่างกัน บางชนิดเหมาะสาหรับเด็ก บางชนิดเหมาะสำหรับคนท้อง ในขณะที่บางชนิดเหมาะสำหรับคนสูงอายุ การซื้อวิตามินมารับประทานเองจะต้องเลือกให้ถูกประเภท ปัจจุบัน คุณแม่จำนวนไม่น้อยที่รับประทานวิตามินเสริมมากเกินไปเนื่องจาก เชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อลูก ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกายของคุณแม่และลูกน้อยในท้องได้ เช่น การรับประทานวิตามินเอในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยในการทำงานของจอตา แต่ถ้ารับประทานมากเกินอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ จากประสบการณ์ผมพบว่ามีคุณแม่จำนวนไม่น้อยซื้อวิตามินเอ ในรูปของเม็ดยามารับประทานเองวันละหลายเม็ด โดยเชื่อว่าจะช่วยบำรุงสายตา แต่ผลการศึกษาทางการแพทย์พบแล้วว่า การได้รับวิตามินเอมากเกินไปจะทำให้ลูกมี ความผิดปกติของกระดูกได้


ขอขอบ คุณข้อมูลจาก

momypedia



ลิงค์ : //guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=7757
เนื้อหา :อาหารแม่ตั้งครรภ์….ข้อมูลใหม่ในเรื่องเก่า


Create Date : 16 พฤษภาคม 2554
Last Update : 16 พฤษภาคม 2554 23:25:24 น. 0 comments
Counter : 1018 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ลูกน้ำกว๊าน
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีต้อนรับทุกท่าน นะคะ




อยากมีและอยากรู้จัก เพื่อนที่มีที่มาต่างกัน และอยากร่วมแชร์ ประสบการณ์ให้คนอื่น ได้รับรู้บ้าง เพื่อนๆชาว บลอคแกงค์เป็นอะไรที่ ใช่เลย ที่คอยอยู่ด้วยกัน ตลอดเวลา พอเรา เปิดดูครั้งใดก็จะมีคน นั่งเขียนบลอก นั่งอยู่ที่ หน้าจอ คอยเป็นเพื่อน กันเสมอ รัก ทุกคนใน บลอกแกงค์ ค่ะ
: Users Online
Friends' blogs
[Add ลูกน้ำกว๊าน's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.