Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
14 พฤษภาคม 2555
 
All Blogs
 
สมองของเด็กหญิง-ชาย พัฒนาต่างกันอย่างไร

เขียนโดย มนต์ชยา

ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน และเป็นสังคมวัตถุนิยม เช่นทุกวันนี้ สิ่งที่พ่อแม่ปรารถนาคือการมีลูกที่มีร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี มีสมองดี มีสติปัญญาดีเฉลียวฉลาด มีความประพฤติที่เหมาะสม เป็นเด็กอารมณ์ดี แจ่มใสเบิกบาน เป็นคนดีทำให้ทั้งตัวเองและคนรอบข้าง อยู่อย่างมีความสุขได้ ไม่ว่าโลกอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่พ่อแม่ จะต้องเรียนรู้ถึงความสำคัญของการพัฒนาสมองของลูกน้อย ในแต่ละช่วงวัย เพราะคุณภาพของสมอง จะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพทางการศึกษาคุณภาพใช้ชีวิต และความสำเร็จของอนาคตลูกต่อไป

พ่อแม่หลายๆ คนยังคงมีข้อสงสัยอีกว่า ระหว่างลูกชายกับลูกหญิงจะเลี้ยงอย่างไร และสมองของเด็ก : หญิง-ชายล่ะต่างกันอย่างไร ต้องสนับสนุนอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า… จากข้อมูลเบื้องต้นคงจะเป็นแนวทางให้คุณพ่อ คุณแม่ พอจะรู้ว่าสมองส่วนใดของลูกสำคัญ นอกจากนี้ยังสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนาสมองลูกน้อยให้ฉลาดสมวัยต่อไป

สมองลูกเติบโตไม่หยุดยั้งเมื่อหลังคลอด
ในสมองของเด็กแรกเกิดที่คลอดครบกำหนดมีน้ำหนักประมาณ 500 กรัม จะมีเซลล์ประสาทอยู่ประมาณ 1 แสนล้านเซลล์ ซึ่งจะไม่มีการสร้างเพิ่มเติมหลังคลอด ถึงแม้ว่าเซลล์ประสาทบางส่วนจะถูกทำลายจากการขาดเลือดมาเลี้ยงหรือถูกกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ ก็จะไม่มีการสร้างเซลล์ประสาทขึ้นมาใหม่แต่เซลล์ประสาทที่เหลืออยู่จะพยายามทำหน้าที่ชดเชยให้
สมองหลังคลอดจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมากในช่วง 2-3 ปีแรก สมองของเด็ก 2-3 ขวบ จะมีขนาดประมาณ 80% ของสมองผู้ใหญ่เพราะว่าในช่วง 2-3 ปีแรกนี้จะมีการสร้างเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อหรือซีนแนปส์ขึ้นมามากมาย และยังมีการสร้างไขมันหรือมันสมองหุ้มล้อมรอบเส้นใยประสาทด้วยนอกจากนี้ยังมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วของเกลียดเซลล์ทำให้ขนาดและน้ำหนักของสมองเพิ่มขึ้น
มีการชั่งน้ำหนักสมองคร่าวๆ ของเด็กวัยต่างๆ พบว่าทารกในครรภ์อายุ 5 เดือนจะมีน้ำหนักสมองแค่ประมาณ 100 กรัมหรือ 1 ขีด และเมื่อแรกเกิดสมองจะหนักประมาณ 500 กรัมหรือครึ่งกิโลกรัม อายุ 18 เดือนจะหนัก 800 กรัมหรือ 8 ขีด และเมื่อ 3 ขวบจะหนักประมาณ 1,100 กรัม ในขณะที่สมองผู้ใหญ่จะหนักประมาณ 1.3-1.5 กิโลกรัมเท่านั้น
เปรียบเทียบน้ำหนักสมองของทารก
ทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักสมองประมาณ 25% ของน้ำหนักสมองผู้ใหญ่ อายุ 6 เดือน น้ำหนักสมองเพิ่มเป็น 50% อายุ 1 ปี น้ำหนักสมองเพิ่มเป็น 70% และ 2 ขวบน้ำหนักสมองเกือบเท่าผู้ใหญ่คือ 90%

รู้จักโครงสรร้างสมองของลูกน้อย

  • ฟรอนทัลโลบ (Frontal Lobe) มีหน้าที่ควบคุมดูแลระบบการคิด และพฤติกรรมบางอย่างเช่นการเดิน การพูด การแก้ปัญหา การวางแผน การสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการับรู้ ตอบสนอง และตื่นตัวทางพฤติกรรม
  • ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) มีหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับความจำ ซึ่งจะเกิดขึ้นตั้งแต่เกิดประมาณ 40% อีก 50% เกิดภายหลังคลอด ประมาณ 6 สัปดาห์ และจะมีครบสมบูรณ์เมื่อลูกอายุ 18 เดือน
  • เทมพอรัลโลบ (temporal lobe) ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการได้ยิน การดมกลิ่น ความสามารถทางภาษา ความจำ อารมณ์ โดยเฉพาะความกลัว
  • เบรนสเตม (Brainstem) ทำหน้าที่ควบคุมดูแลปฏิกิริยาอัตโนมัติ เช่น การร้องไห้ การดูดนม การสะดุ้งตกใจ ควบคุมดูแลการทำงานของอวัยวะพื้นฐาน เช่น การหายใจ ความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ การกรอกตาไปมายามหลับ ทั้งควบคุมดูแลด้านอารมณ์โดยเฉพาะ ความวิตกกังวล และการสงบสติอารมณ์ด้วย
  • ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) จะควบคุมดูแลระบบประสาทอัตโนมัติ และต่อมไร้ท่อต่างๆ ที่ตอบสนองด้านอารมณ์และสัญชาตญาณ โดยเฉพาะในยามที่ลูกนอนหลับลึก โครงสร้างสมองส่วนไฮโปทาลามัสจะทำหน้าที่เสมือนชาร์จแบตเตอรี่ให้ตัวลูก หลังจากแต่ละวันแห่งการพัฒนาการการเจริญเติบโตของลูกผ่านไป เพื่อที่ลูกจะสามารถพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ ที่จะได้พบในวันรุ่งขึ้น
  • พาไรทัลโลบ (Parietal Lobe) ดูแลเรื่องประสาทสัมผัสต่างๆ โดยเฉพาะการรับรู้รส การสัมผัส ความสามารถในการจดจำการทำงานประสานกันของมือและตา การจดจำหมายรู้ เช่น รู้และเข้าใจว่าตนกำลังมองอะไรอยู่
  • ออกซิพิทัลโลบ (Occipital Lobe) ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการมองเห็น การรับรู้และความสามารถในการแปรความเข้าใจในสิ่งที่เห็นนั้น
  • ซีรีเบลลัม (Cerebellum) ทำหน้าที่ควบคุมการรักษาสมดุลการทรงตัวและช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานสัมพันธ์กันยามเคลื่อนไหว

สมองแบ่งการทำงานอย่างไร
สมองของเราไม่ทำงานแยกกันเป็นส่วนๆ แต่เป็นการทำงานประสานกันคล้ายทีมฟุตบอลที่ต้องทำงานร่วมกัน แบ่งหน้าที่การทำงาน และทำงานแทนกันได้เมื่อจำเป็น อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งส่วนประกอบของสมองส่วนต่างๆ ตามหน้าที่หลักดังต่อไปนี้
สมองส่วนหน้า (Fore brain)
1. สมองส่วนเซรีบรัม (Cerebrum) มีหน้าที่สั่งการและรับรู้ความรู้สึกต่างๆ เป็นส่วนที่มีหน้าที่ประมวลผลระดับสูงและมีการเจริญเติบโตและซับซ้อนที่สุดในมนุษย์
2. สมองส่วนเบซอล-แกงเกลีย (Basal ganglia) ควบคุมและประสานการเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกาย
3. สมองส่วนลิมบิค (Limbic system) ควบคุมการแสดงออกของอารมณ์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบการจำและควบคุมการแสดงออกของอารมณ์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบความจำและควบคุมเรื่องความกลัวและความรุนแรง

ก้านสมอง (Brain stem)
1. สมองส่วนได-เอน-เซ-ฟาลอน (Diencephalon) ประสานงานพฤติกรรมที่เกิดจากสัญชาตญาณพื้นฐานต่างๆ ได้แก่ การควบคุมอุณหภูมิ พฤติกรรมทางเพศและการรับประทาน
2. สมองส่วนกลาง (Midbrain) ควบคุมระบบการรับฟังการมองเห็นและการเดิน
3. สมองส่วนหลัง (Hindbrain) ทำหน้าที่ประสานการเคลื่อนไหวและสนับสนุนการทรงตัวระหว่างการเคลื่อนที่

เมื่อรู้ว่าสมองทำงานอย่างไรและการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไรเราก็สามารถออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาศักยภาพของสมองได้

ลูกคุณถนัดสมองซีกซ้ายหรือซีกขวา
สมองคนเรามีสองซีก คือซีกซ้ายและซักขวา ซึ่งทำงานพร้อมๆ กัน แต่ทำหน้าที่แตกต่างกัน มีบางเรื่องสมองซีกซ้ายเป็นผู้สั่งการอย่างเดียว หรือสมองซีกขวาสั่งการอย่างเดียว แต่ไม่ว่าจะสั่งการโดยสมองซีกใด มันจะหลอมเป็นความรู้สึกเดียวกันในตัวเรา เด็กแรกเกิดจนถึง 2 ขวบ สมองซีกซ้ายจะเป็นสมองที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่วนสมองซีกขวาจะค่อยๆ มาเจริญเร็วขึ้น และมาตามทันเมื่อราวเด็กอายุประมาณ 3-4 ขวบ
สมองซีกซ้าย จะควบคุมการสั่งการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ความถนัดของเด็กในช่วงแรก ทำให้เกิดกำลัง และทำให้เด็กสามารถรับรู้ความรู้สึก แล้วเปลี่ยนความรู้สึกเหล่านั้นจากสิ่งที่รับจากภาพที่เห็นจากเสียงที่ได้ยินเป็นรูปธรรมต่างๆ ได้จะทำให้เด็กรู้ว่าสิ่งที่ตนสัมผัสเป็นอย่างไร มีรูปร่างอย่างไร สมองซีกซ้ายจะทำงานที่มีรูปร่าง หรือมีการเคลื่อนไหวเป็นฐาน และต้องมีรูปธรรมที่ชัดเจน กล่าวคือ สมองซีกซ้ายจะทำให้เด็กพูดภาษาได้ ได้ยินเสียงและเข้าใจความหมายของภาษาเข้าใจด้านคำนวณ วิทยาศาสตร์ ความรู้ต่างๆ ที่เป็นหลักการที่ต้องให้เหตุผล
สมองซีกขวา จะทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนามธรรม เรื่องจริยธรรม ดนตรี วัฒนธรรม ความรัก เรื่องอุปนิสัยใจคอ อารมณ์ การสร้างจินตนาการเป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ
เมื่อดูการทำงานของสมองแต่ละซีกแล้วจะเห็นว่าสมองซีกขวาและซีกซ้ายมีความสัมพันธ์ หากเด็กได้รับการพัฒนาในช่วงวัยที่แตกต่างกันก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสมองซีกซ้ายและขวา และการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันของสมองนี้จะไปส่งผลต่อการกำหนดอุปนิสัยของเด็กซึ่งถ้าเกิดปัญหาในระหว่างที่สมองซีกซ้ายกำลังเจริญเติบโตหรือมีการสะดุด พัฒนาการด้านคำนวณ ภาษา และความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ เหล่านี้จะถูกกด ทำให้ความสำคัญด้านนี้ของเด็กด้อยลงไป ในขณะเดียวกันถ้าสมองซีกซ้ายของลูกได้การส่งเสริมและพัฒนาอย่างดีก็จะทำให้ความสามารถด้านนี้โดดเด่น และมีแนวโน้มที่เป็นแพทย์ นักวิทยาศาสตร์หรือว่าวิศวกรได้ในอนาคต ในทำนองเดียวกัน ถ้าสมองซีกขวาไม่ได้รับการพัฒนาในระหว่างการเจริญเติบโต ก็จะทำให้ความสามารถด้านศิลปะ จินตนาการต่างๆ มีปัญหาไปด้วยแต่ถ้าได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างดีก็มีแนวโน้มที่จะทำให้เด็กเติบโตเป็นศิลปิน นักแสดง หรือเป็นนักเขียนได้
แนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการพัฒนาส่งเสริมสมองซีกซ้าย และซีกขวา ควรจะทำไปพร้อมพร้อมๆ กัน เพื่อที่เด็กจะได้มีความสามารถ มีสติปัญญา มีความคิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ มีความซื่อสัตย์ มีจิตใจที่ดีงาม และรักเพื่อนมนุษย์ และมีจริยธรรมในจิตใจ ไม่ใช้เด็กที่เกิดมาเก่งแต่ขาดคุณธรรมในจิตใจก็จะทำให้อยู่กับเพื่อนในสังคมไม่ได้
ฉะนั้น การพัฒนาและการกระตุ้นเด็กในช่วงเวลาต่างๆ จึงมีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองซีกซ้ายและขวา การเจริญเติบโตของสมองทั้งสองซีก มีผลต่อการกำหนดอุปนิสัยใจคอมนุษย์มากทีเดียว แล้วลูกคุณล่ะ ถนัดสมองซีกไหน…!

สมองพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างไร
สมองเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายเด็กที่เติบโตอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะในวัยแรกของชีวิต คือ 0-6 ปี ทั้งนี้เพราะว่าสมองกับระบบประสาทไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียงอวัยวะธรรนดา อย่างหนึ่งในร่างกายเท่านั้น แต่มันเป็นอวัยวะหนึ่งซึ่งเป็นตัวควบคุมและจัดระเบียบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายที่จะพัฒนาขึ้นมานั้นจะถูกเหนี่ยวนำหรือกระตุ้นโดยสมองจึงจะพัฒนาการตามปกติ สมองจะรับรู้ว่ามีอวัยวะต่างๆ เกิดขึ้น และจะทำหน้าที่ส่งเส้นประสาทไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดการรับความรู้สึก เส้นประสาทจะไปควบคุมการเคลื่อนไหวการทำงานของกล้ามเนื้อ ถ้าพัฒนาการของสมองล้มเหลวหรือระบบประสาทพิการขึ้น อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับมันจะหายไปหรือไม่พัฒนาเลย จะเห็นว่าสมองกับระบบประสาทในทารกแรกเกิดไม่ได้เป็นเพียงอวัยวะที่ทำหน้าที่อิสระเพื่อทำหน้าที่อย่างหนึ่งของมันเท่านั้นแต่ว่าเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการของอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย
เมื่อสมองเป็นอวัยวะที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก จึงต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งไม่เพียงแต่ด้านโภชนาการอาหารที่จะเป็นเชื้อเพลิง เป็นพลังงานเป็นโครงสร้างเท่านั้น หากแต่ยังต้องอาศัยปัจจัยด้านพันธุกรรมภายในเซลล์ของร่างกาย และปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมที่จะไปกระตุ้นไปเร่งเร้าและควบคุมการเจริญเติบโตให้มาก อาจกล่าวได้ว่ากระบวนการกระตุ้นเร่งเร้าเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงประมาณ 6 ขวบปีแรก ช่วงนี้ถือเป็นช่วงสำคัญที่สุดของชีวิตเลยทีเดียว ในช่วงนี้หากไม่สามารถให้การค้ำจุนหรือส่งเสริมการพัฒนาการช่วงนี้ได้แล้ว นับว่าเป็นการพลาดโอกาสที่สำคัญที่สุดในชีวิตเช่นกัน

พัฒนาสมองลูกให้ฉลาดตามวัยได้อย่างไร
สมองของเด็กที่เจริญเติบโตขึ้นจะต้องการเรียนรู้และต้องการสิ่งกระตุ้นให้เด็กจะแสดงออกมาทางร่างกายที่เราพอจะสังเกตเห็นได้ การเข้าใจพัฒนาการทางร่างกายด้วยจะช่วยให้เราให้สิ่งกระตุ้นกับเด็กได้อย่างเหมาะสม ไม่เร่งเร็วเกินไปหรือละเลยเกินไป พัฒนาการของเด็ก ตั้งแต่อายุ 0-6 ขวบ จะเป็นช่วงที่เราจะให้ตัวกระตุ้นต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
พัฒนาสมองวัย 0-1 ขวบ
สมองของเด็กที่อยู่ในครรภ์นั้น ก็เริ่มมีการเรียนรู้แล้ว โดยเฉพาะ 3 เดือนก่อนคลอดความรู้สึกและอารมณ์ของแม่จะส่งผ่านไปถึงลูกในท้องได้แม่จึงควรที่จะทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสไม่เคร่งเครียด ลูกที่ออกมาก็จะมีจิตใจดีตามไปด้วย ในช่วงที่พ่อแม่บางรายอาจจะเริ่มกระตุ้นลูกด้วยการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง พูดคุยกับลูกทั้งๆ ที่ลูกยังอยู่ในท้อง เป็นต้น
เมื่อลูกเกิดออกมาในระยะแรก เขาจะสามารถรับการกระตุ้นได้แล้วจากการมองเห็น การได้ยินเสียง และจะเรียนรู้ปฏิกิริยาตอบโต้จากพ่อแม่ได้ เช่น เมื่อเขาร้องไห้จะต้องมีคนมาอุ้ม เขาอาจใช้วิธีนี้ในการเรียกร้องความสนใจจนกลายเป็นเด็กขี้แยต่อไปได้ ฉะนั้น พ่อแม่ควรที่จะพิจารณาดูในเรื่องนี้ด้วย ถ้าการร้องไห้นั้นไม่มีเหตุผลที่สมควร เราอาจจะอยู่เฉยๆ ก็ได้ เด็กก็จะเรียนรู้ได้ว่า วิธีร้องไห้ไม่ได้ผลทุกครั้งก็จะเลิกร้องไห้ แล้วพยายามหาวิธีใหม่ต่อไป
ในช่วงระยะนี้ เป็นช่วงที่เด็กจะจำหน้าคนได้ สิ่งกระตุ้นที่สำคัญจากพ่อแม่คือให้ลูกได้เห็นหน้าบ่อยๆ พูดคุยกับลูก และหาสิ่งกระตุ้นในการมองเห็น เช่น ของเล่น โมบาย ฯลฯ แต่ไม่ควรจะมีสิ่งกระตุ้นมากเกินและลูกจะสับสน ไม่รู้จะสนใจอะไรดีคอยพาลเบื่อไปเลย ปกติลูกจะมีปฏิกิริยาตอบโต้ได้บ้าง การยิ้ม มองตา ส่งเสียง ฯลฯ และชอบเลียนแบบคนใกล้ชิดได้บ้างแล้ว
เรื่องเปลที่ลูกนอน ควรจะเป็นเปลที่โล่ง ที่เด็กสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ มิใช่เปลแบบเดิมที่ปิดรอบด้าน เด็กมองไม่เห็นอะไรเลย เรื่องนี้สำคัญมากเพราะสิ่งแวดล้อมรอบตัวลูกจะช่วยให้ลูกเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่พบเห็นได้อย่างมากมาย เป็นการพัฒนาสมองของลูกในช่วงนี้ได้อย่างดีที่สุด
พอถึงช่วงที่ลูกพดจะเริ่มเคลื่อนไหวตัวได้ คลานได้ ลูกจะสนใจของเล่นมากขึ้นการให้ของเล่นลูกในช่วงนี้ ควรระวังเรื่องการปลอดภัยเพราะเด็กมักจะชอบหยิบของเข้าปาก นอกจากนี้ของเล่นไม่ควรมีมากชิ้น เด็กจะเสียสมาธิ ไม่รู้จะเล่นอะไรดี ของเล่นที่น้อยจะทำให้เด็กพยายามศึกษาของเล่นนั้นอย่างละเอียด มีสมาธิในการเล่น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานการทำงานที่ทีสมาธิต่อไปในอนาคต
พัฒนาสมองวัย 1-2 ขวบ
ช่วงนี้เด็กจะมีกล้ามเนื้อแขนขาที่แข็งแรงมากขึ้น สามารถจะเดินได้ ทรงตัวได้ดีขึ้น และมีการทำงานที่ละเอียดเล็กๆ ได้มากขึ้น มีการประสานงานของกล้ามเนื้อต่างๆ ได้ดี เริ่มหยิบดินสอเขียนเส้นขยุกขยิกได้ รู้จักแยกความแตกต่างของอวัยวะของร่างกายได้ กินอาหารเองได้บ้าง
การพัฒนาสมองด้วยการกระตุ้นในช่วงวัยนี้จะฝึกตามพัฒนาการทางร่างกายของลูกให้ลูกได้มีโอกาสฝึกหัดหยิบจัดจับสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง สิ่งใดที่ไม่เป็นอันตรายให้ลูกได้ลองผิด ลองถูก พ่อแม่ไม่ควรช่วยลูกไปเสียทุกเรื่อง ให้เขาได้หัดเดิน แม้จะล้มลุกคลุกคลานไปบ้าง กระตุ้นให้หยิบของ กินอาหาร ฯลฯ เด็กจะยังทำได้ไม่ดีนัก แต่ก็ได้การเรียนรู้ซึ่งมีค่ามหาศาลทีเดียว
สอนให้เด็กรู้จักอวัยวะต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่เด็กกำลังสนใจ เพิ่มเติมเรื่อง การทำงานของกล้ามเนื้อ โดยให้การเล่นของเล่น หรือกิจกรรมง่ายๆ พูดคุยกับลูก ให้ลูกได้ออกเสียงฝึกพูดบ่อยๆ เริ่มกระตุ้นการมองเห็นได้มากขึ้น พบปะพูดคุยได้มากขึ้นจะเป็นการฝึกเข้าสังคมให้กับลูก
พัฒนาสมองวัย 2-6 ขวบ
เด็กวัยนี้จะมีความแข็งแรงมากขึ้น สามารถเดินได้ดี วิ่งเล่นได้แล้ว ในช่วงนี้เด็กจะเริ่มเข้าสังคมไม่แยกตัวเหมือนตอนเป็นเด็กเล็ก จะชอบเล่นกับเพื่อน ชอบกิจกรรมต่างๆ เกือบทุกชนิด เริ่มมีความคิดทางนามธรรมบ้าง แยกสิ่งที่แตกต่างได้เริ่มคิดถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
เด็กวัยนี้จะมีคำถามมากมายที่จะถามพ่อแม่เพราะต้องการเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง พ่อแม่จึงควรที่จะตอบคำถามลูกทุกคำถาม แต่ไม่ต้องตอบลึกซึ้งนักเด็กต้องการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์เบื้องต้นเท่านั้นการตอบคำถามลูกจะช่วยให้ลูกมีแนวคิด ซึ่งเป็นการพัฒนาสมองให้ลูกมีสติปัญญาดี การตัดบทไม่ตอบคำถาม จะทำให้ความคิดของลูกที่กำลังจะเริ่มสร้างขึ้นถูกทำลายลงไป
การให้ของเล่นช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงเป็นจักรยาน 3 ล้อ เป็นสิ่งที่จะช่วยเด็กพัฒนาทางด้านร่างกายให้แข็งแรง การให้เด็กหัดต่อบล็อคไม้ ต่อภาพต่อหรืออ่านหนังสือ จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษา รู้จักความหมายของสิ่งต่างๆ มากขึ้น จะสามารถแยกความแตกต่าง และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นบานของเด็กฉลาดนั่นเอง
การช่วยส่งเสริมจินตนาการให้กับลูกในวัยนี้เป็นสิ่งที่ควรกระทำเพราะลูกจะสามารถใช้มือในการวาดภาพ หรือปั้นดินน้ำมันได้ดีพอใช้ การได้คิดได้จินตนาการจะช่วยให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความฉลาด สิ่งแวดล้อมมีผลต่อลูกมากทั้งจากบ้านและโรงเรียน การเลือดสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับลูก ลูกจะไม่ต้องวิตกกังวลในการปรับตัวมากนักจะได้ใช้สมองในการสร้างสรรค์งานต่างๆ ได้เต็มที่พัฒนาการทุกด้าน
เมื่อพูดถึงความฉลาด เรามักจะนึกถึงเด็กที่เรียนเก่ง มีสติปัญญาดี มีความสามารถสูง แต่การพัฒนาทางด้านสติปัญญาอย่างเดียวนั้น ยังไม่เพียงพอต่อการที่จะทำให้ลูกของเราเป็นคนฉลาดอย่างสมบูรณ์ได้จะต้องมีการพัฒนาอย่างครบถ้วนทั้ง 4 ด้าน คือ
1. พัฒนาทางด้านร่างกาย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงสมบูรณ์ เป็นพื้นฐานของชีวิต
2. พัฒนาการด้านสติปัญญา เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของสมองให้ฉลาด
3. พัฒนาด้านสังคม เพื่อให้กับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม คนฉลาดที่ทำงานกับผู้อื่นไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์กับสังคม
4. พัฒนาการด้านอารมณ์ เด็กจะต้องสามารถควบคุมอารมณ์ได้ปรับเปลี่ยนอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมซึ่งจะทำให้ตัวเองมีความสุขและเข้ากับผู้อื่นได้ดี

เมื่อลูกของเราได้รับการพัฒนาทุกด้านไปพร้อมๆ กันจะทำให้ลูกเป็นเด็กฉลาดที่มีประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไปดังที่พ่อแม่ปรารถนา และสิ่งที่จะทำให้เกิดผลดีต่อสังคมคือการมีสังคมที่แข็งแรงนั่นเอง

สมองเด็ก หญิง-ชาย ต่างกันอย่างไร
สมองเริ่มเติบโตตั้งแต่ทารกปฏิสนธิขึ้นในครรภ์จากเซลล์เดียวของแม่ผสมกับสเปิร์มจากพ่อ แล้วเกิดการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็ว อายุครรภ์ได้ 6 สัปดาห์ ทารกเริ่มงอกตุ่มของแขน ขน เล็กๆ ขึ้น ระยะนี้ชีวิตน้อยๆ ได้รับอาหารโดยตรงผ่านทางสายรก ผ่านไปอีก 1 สัปดาห์ เริ่มเห็นการบีบตัว และการเต้นของหัวใจ สมองและลำไส้ เริ่มเจริญเติบโต ถัดมาสัปดาห์ที่ 10 เริ่มเห็น หู ตา นิ้วมือ และนิ้วเท้า จนกระทั่งอายุครรภ์ได้ 3-4 เดือน ทีนี้จะเริ่มชัดแล้วว่าทารกมีเพศอะไรและรูปร่างสมบูรณ์ครบทุกส่วน
ผศ.ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ ประธานโครงการศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็ก กล่าวถึงการพัฒนาสมองของเด็กเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง คุณพ่อคุณแม่ควรเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เรื่องสมองมีความสลับซับซ้อน แม้กระทั่งสมองของเด็กเพศหญิงและเพศชายก็แตกต่างกัน ทำให้พฤติกรรมความถนัดในแต่ละด้านไม่เท่ากัน
เด็กผู้หญิงเมื่อแรกเกิดจน 7 ขวบ จะมีความก้าวหน้าทางภาษามากกว่าเด็กผู้ชาย พัฒนาการของสมองซีกขวาจะเติบโตเร็วกว่า จึงไม่สงสัยเลยว่าลูกสาวทำไมช่างพูดช่างเจรจา ออดอ้อนเป็นนกน้อยๆ อยู่ได้ตลอดวัน ในขณะที่เด็กผู้ชายมีการพัฒนาทางสมองซีกขวาดีกว่า ในเรื่องระยะทางความแตกต่างนี้จะเห็นได้ชัดเมื่อเด็กทั้ง 2 เพศ มีอายุ 4 ปี ผลงานวิจัยของประสาทวิทยาศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกและมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้พบความแตกต่างกันระหว่างเด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชายว่า เซลล์สมองของเด็กผู้หญิงจะเติบโตรวดเร็วกว่าเด็กผู้ชาย แต่พอหลัง 14-16 ปี ผู้ชายกลับเจริญรวดเร็วกว่าเด็กผู้หญิง ดังนั้น ระบบเคมีชีวะในร่างกายทุกส่วนทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ทั้งระบบฮอร์โมน และอื่นๆ รวมทั้งสมองก็ไม่มีการแยกส่วนทำงาน จึงทำให้คนที่ต่างเพศก็มีพฤติกรรมทางสมองต่างกันและมีนักวิจัยหลายท่านได้ทำการศึกษาความแตกต่างกันและนักวิจัยหลายท่านได้ทำการศึกษาความแตกต่างระหว่างเพศหญิงกับเพศชายไว้ดังนี้
เด็กผู้หญิงจะเก่งกว่าเด็กผู้ชาย
1. การรับรู้ทางสายตา โดยเฉพาะเรื่องรายละเอียดและความละเอียดลออต่างๆ
2. ความเข้าใจ การแสดงออกทางสีหน้าท่าทาง จำหน้าคนได้เก่งกว่า สามารถรับรู้อารมณ์ที่แสดงออกทางเสียงได้ดีกว่า
3. ความสามารถในการอ่านดีกว่า โดยเฉพาะการอ่านที่มีข้อความสัมพันธ์กับความรู้สึกและอารมณ์
4. การมองเห็นในที่มืดได้ดีกว่า
5. มีความคล่องแคล่วทางทักษะด้านภาษา ไวยากรณ์
6. มีความไวต่อ กลิ่น รส การสัมผัส และเสียงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงสูง
7. มีความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมือ-ตา
8. มีความเร็วในเรื่องการสามารถรับข้อมูลและนำมาคิดได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ให้เลือกตอบโดยอาศัยความเร็ว เช่น ข้อสอบแบบมีตัวเลือก
9. มีความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับคน ความรับผิดชอบทางสังคมความรู้สึกเข้าอกเข้าใจคน

เด็กผู้ชายจะเก่งกว่าเด็กผู้หญิง
1. ความสามารถในเรื่องแผนที่และคิดปริศนา หรือเขาวงกตต่างๆ
2. มีความสามารถในเรื่องทักษะมิติสัมพันธ์ที่ดี การรับรู้ เกี่ยวกับมิติต่างๆ ความลึก ทิศทาง ระยะห่าง การรับรู้ วัตถุที่มีสามมิติซ่อนอยู่ในภาพสองมิติได้
3. มองเห็นในเวลากลางวัน
4. มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใหญ่ทำได้อย่างดี
5. มีความสามารถในการวิจัยและค้นคว้า ทดลอง
6. มีความสามารถในเรื่องของคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องตรีโกณและพีชคณิต
7. ความสามารถในการสังเกตสิ่งต่างๆ ดี
8. ความสามารถในการใช้ภาษาที่จะสื่อหรืออธิบายเหตุผลหรือความคิดทางคณิตศาสตร์
9. สามารถจะมองเห็นโครงสร้าง หลักการและนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี
10. มีความคิดที่อิสระในสถานการณ์ต่างๆ มากกว่าเด็กผู้หญิง

อ้างอิงข้อมูลจาก / รายงานสิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี และหนังสือชุดสร้างลูกให้เป็นอัจฉริยะโดย ผศ.ดร.อุษนีย์ อนุรุทธ์วงศ์

[ ที่มา..นิตยสารบันทึกคุณแม่ No.163 February 2007]

//www.sudrak.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2&Itemid=3





Create Date : 14 พฤษภาคม 2555
Last Update : 14 พฤษภาคม 2555 22:00:23 น. 0 comments
Counter : 1314 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ลูกน้ำกว๊าน
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีต้อนรับทุกท่าน นะคะ




อยากมีและอยากรู้จัก เพื่อนที่มีที่มาต่างกัน และอยากร่วมแชร์ ประสบการณ์ให้คนอื่น ได้รับรู้บ้าง เพื่อนๆชาว บลอคแกงค์เป็นอะไรที่ ใช่เลย ที่คอยอยู่ด้วยกัน ตลอดเวลา พอเรา เปิดดูครั้งใดก็จะมีคน นั่งเขียนบลอก นั่งอยู่ที่ หน้าจอ คอยเป็นเพื่อน กันเสมอ รัก ทุกคนใน บลอกแกงค์ ค่ะ
: Users Online
Friends' blogs
[Add ลูกน้ำกว๊าน's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.