Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
14 พฤษภาคม 2555
 
All Blogs
 
หนูจะมีน้องแล้ว แล้วหนูล่ะจะเป็นอย่างไร?

เขียนโดย มนต์ชยา

การมีลูกคนใหม่เป็นสิ่งที่น่ายินดีสำหรับครอบครัว แต่คุณสมควรต้องเตรียมตัว เตรียมใจให้กับลูกคนโต ให้พร้อมที่จะรับน้องใหม่ด้วย เรามีวิธีการอย่างไร ติดตามทางนี้ค่ะ

วิธีเตรียมลูกผู้ที่พร้อมเพื่อลูกคนใหม่เป็นการช่วยให้บรรยากาศในบ้านราบรื่น เมื่อแม่กลับจาก โรงพยาบาลหลังคลอดพร้อมน้อง คุณพ่อคุณแม่นั้นพยายามให้ลูกเข้าใจว่าเขาจะมีน้องแล้ว แต่คนในบ้านและเพื่อนบ้านที่สนิทบางคนจะกระซิบบอกลูกว่า “อีกหน่อยเถอะ มีน้องแล้วหนูจะเป็นหมาหัวเน่า” ซึ่งลูกก็จะงงว่าแปลว่าอะไร ถ้าไม่เข้าใจก็โชคดีไป แต่ผู้ใหญ่บางคนใจร้าย บอกเด็กว่าถ้าเขามีน้องแล้ว คนรอบข้างจะไม่สนใจเขาต่อไป ซึ่งเป็นอันตรายต่อจิตใจของเด็ก ผู้ใหญ่ควรจะต้องตกลงกัน และร่วมมือกันช่วยให้ลูกยอมรับน้องเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัวอย่างดีใจ มากกว่าอย่างกลัวว่าจะหมดคนมารัก มาสนใจ

คำแนะนำสำหรับช่วยลูกในการรับน้องใหม่มีดังนี้ค่ะ

- อย่าบอกลูกว่า เขาจะได้เพื่อนเล่นคนใหม่ “น้องในท้องเมื่อเกิดมาแล้วจะเป็นเพื่อนเล่นของหนู” ซึ่งไม่เป็นความจริง เด็กจะมองระยะสั้น พอน้องแรกเกิดกลับมาก็เล่นอะไรไม่ได้ เอาแต่นอน ร้อง กิน แล้วก็ทำเปื้อน ไม่เห็นจะเล่นอะไรด้วยกันได้ เขาไม่เข้าใจว่าต้องรอให้โตก่อน
- ทำให้ลูกเข้าใจว่าลูกทุกคนเป็นบุคคลพิเศษสำหรับพ่อแม่ เมื่อตระเตรียมของให้น้องควรมีสักชิ้นสองชิ้นให้ลูกผู้พี่ด้วย
- อย่าทอดทิ้งลูกผู้พี่ พยายามให้เวลาลูกผู้พี่บ้าง เมื่อลูกคนใหม่เกิด คุณแม่อาจจะยุ่งมาก คุณพ่อและผู้ใหญ่ควรช่วยเล่นดูแลด้วย แต่ต้องทำพอดี พอดี ไม่ถึงกับต้องชดเชย
- บอกลูกว่า ต่อไปจะเป็นอย่างไร เมื่อน้องเกิด แม่จะต้องเลี้ยงน้องใกล้ชิดเพียงไรเพราะน้องยังเล็ก ช่วยเหลือตังเองไม่ได้ แม่ต้องให้นมกินเปลี่ยนผ้าอ้อม กล่อมให้น้องนอน
- ชักชวนให้ลูกผู้พี่มาช่วยตระเตรียมของให้น้อง

ลูกผู้พี่สามารถช่วยได้แล้วแต่อายุ ถ้าโตหน่อยก็ให้วาดภาพติดผนังห้อง หรือเตียงของน้องเล็กหน่อยก็ช่วยจัดผ้าอ้อม ขวดนม ให้เขามีส่วนร่วม

เมื่อเตรียมเช่นนี้ ก็ยังมีโอกาสที่ลูกยังอาจผลักน้องออกจากตักคุณแม่ แล้วขึ้นมานั่งแทน หรือร้องกวน กระพริบตา ฉี่รดที่นอนทั้ง ๆ ที่ไม่ฉี่รดมานานแล้ว ถ้าเป็นเช่นนี้คุณพ่อคุณแม่จะต้องให้ความสนใจเขาเพิ่มขึ้นไปอัก อุ้มกอด พาไปเที่ยว เล่านิทานให้ฟัง เป็นเพื่อเล่นหมากรุก ต่อจิกซอด้วยกัน เล่นกีฬา ต่าง ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อย่าทิ้งเขาไว้ตามลำพังกับน้องเล็ก ๆ นะคะ เขาอาจทักน้องแรง ๆ เกิดบาดเจ็บได้

เมื่อลูก ๆ โตขึ้น ยิ่งอายุไล่เลี่ยกันจะมีเรื่องแหย่ ถกเถียงต่อสู้กันไม่หยุดหย่อน คุณพ่อคุณแม่จะต้องพยายามกล่อมเกลาลูก ๆ ให้รักและเมตตาต่อกัน
- อย่าเปรียบเทียบว่าน้องเก่งกว่าพี่ หรือพี่ดีกว่าน้อง
- การที่จะให้ลูกทำอะไรก็บอกตรง ๆ ไม่ต้องบอกว่าให้ทำเหมือนพี่หรือน้อง เช่นให้นั่งนิ่ง ๆ เหมือนพี่ ลูกผู้น้องก็จะเริ่มไม่ชอบ
- อย่าเข้าข้าง แบ่งพวก
คุณพ่อคุณแม่ ควรวางตัวเป็นกลาง เมื่อมีเรื่องที่ขัดแย้งกันระหว่างลูก ๆ ถ้ามีเรื่องแล้วผู้ใหญ่จะเข้าข้างคนหนึ่ง เด็กก็จะจัดการกันเองให้เสร็จเรื่องไปมากกว่า มาขอเหตุผลว่าจะทำอย่างไรดีกับปัญหาที่เขาเห็นไม่ตรงกัน บางครั้งผู้ใหญ่อาจต้องเฉย ให้เด็กตกลงกันเอง ซึ่งเขาก็มักจะตกลงกันได้เสมอ แต่ถ้าเขาทำอย่างสันติไม่ได้ถึงกับต่อสู้กัน คุณพ่อคุณแม่ ต้องยุติเรื่อง ต้องทำโทษทั้งสองฝ่าย โดยการงดค่าขนม งดดูโทรทัศน์ เป็นต้น
- อยู่ในความสงบ
ลูก ๆ กำลังโกรธ เหตุผลต่าง ๆ ที่ยับยั้งการต่อสู้ดูเหมือนจะหายไปหมด คุณพ่อคุณแม่จะต้องอยู่ในความสงบและเข้าไปควบคุมให้ลูกสงบลง ถ้าคุณโกรธฉุนเฉียวด้วยจะไม่ช่วยให้อะไรต่าง ๆ ดีขึ้น
- ต้องไม่ตั้งชื่อลูกตามความบกพร่องเมื่อคุณโกรธ
การถูกเรียกชื่อตามความบกพร่องของร่างกายจะทำให้ลูกเจ็บ เสียใจ เรียกว่าลูก “เจ้าหูกางหยุดนะ เจ้าฟันเกก็เหมือนกัน แม่บอกให้หยุด” เด็กเขาทะเลาะกันเดี๋ยวก็ดีกันตามปกติ แต่เขาจะโกรธนานถ้าคุณเปลี่ยนชื่อเขาจนหมดรูป
- ต้องไม่ตี หรือผลักลูก
ถ้าอยากให้ลูกหยุดให้จับมือ 2 ข้าง แล้วมองตาลูกด้วยท่าทางเอาจริงจังให้เขาหยุด หรือกอดไว้จนกว่าเขาสงบลง โดยแยก 2 คนให้ห่างกัน
- ให้เวลานอกกับลูก
เด็กชอบจะจู่โจมซึ่งกันและกัน เวลาอยู่ใกล้กันนาน ๆ คุณอาจต้องจับแยกให้ไปเล่นกันคนละแห่ง จนกว่าจะรู้สึกเหงา อยากเล่นด้วยกันอีก ต้องสอนให้เล่นกันดี ๆ
- ต้องเป็นคนมีอารมณ์ขัน
หัวเราะ ช่วยให้คุณระบาย และสงบสติอารมณ์ลงได้ดีกว่าเก็บอารมณ์บูดไว้

สอนให้ลูกเล่นกันด้วยดี
- เด็กที่เล่นด้วยกัน บางครั้งเกิดชอบของเล่นอย่างเดียวกัน ก็จะต่อสู้แย่งกันจนเป็นเรื่อง
- การแบ่งกันเล่น สำหรับเด็กแล้วเป็นเรื่องยาก ยิ่งยากมากขึ้นที่เด็กบางคนเห็นของเล่นในมือคนอื่นดีกว่าในมือของตัวเองตลอด
- สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำ ถ้าจะสอนให้ลูกรู้จักแบ่งปันกันเล่นก็คือ ซื้อของเล่นเหมือนกัน2 ชุด หรือหลายชุดสำหรับทุกคน เช่น ชุดเล่นเกมต่าง ๆ แต่ถ้าเป็นจักรยานอาจจำเป็นเพราะเด็กจะสนุกที่จะขี่จักรยานไปด้วยกัน
- การสอนให้แบ่งกันเล่นอีกแบบคือ ต้องมีการแลกกัน จะเอาของเล่นของคนอื่นฝ่ายเดียวไม่ได้ แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ยอมแลก คนที่อยากแลกอาจต้องรอให้อีกฝ่ายหนึ่งเบื่อที่จะเล่นของชิ้นนั้นก่อน

[ที่มา: เว็บไซต์ lovekid.com]




Create Date : 14 พฤษภาคม 2555
Last Update : 14 พฤษภาคม 2555 22:31:04 น. 0 comments
Counter : 861 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ลูกน้ำกว๊าน
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีต้อนรับทุกท่าน นะคะ




อยากมีและอยากรู้จัก เพื่อนที่มีที่มาต่างกัน และอยากร่วมแชร์ ประสบการณ์ให้คนอื่น ได้รับรู้บ้าง เพื่อนๆชาว บลอคแกงค์เป็นอะไรที่ ใช่เลย ที่คอยอยู่ด้วยกัน ตลอดเวลา พอเรา เปิดดูครั้งใดก็จะมีคน นั่งเขียนบลอก นั่งอยู่ที่ หน้าจอ คอยเป็นเพื่อน กันเสมอ รัก ทุกคนใน บลอกแกงค์ ค่ะ
: Users Online
Friends' blogs
[Add ลูกน้ำกว๊าน's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.