happy memories
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2562
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
11 มิถุนายน 2562
 
All Blogs
 

นิทรรศการหมุนเวียนผลงาน ครูจักรพันธุ์ โปษยกฤต








ดองบล็อกไว้ซะนาน หลบมุมไปเขียนบล็อกนี้มาค่ะ เมื่อปลายปีที่แล้วได้ไปชมนิทรรศการหมุนเวียนผลงานของ ครูจักรพันธุ์ โปษยกฤต มา แล้วก็เหมือนทุกครั้งที่ไม่มีเวลาจัดการรูป จนลืมไปเลย ผ่านไปเกือบครึ่งปีถึงได้ฤกษ์อัพ แต่ก็ใช้เวลาเป็นอาทิตย์กว่าจะอัพได้สำเร็จ ดีใจและประทับใจมากที่ได้ไปชมนิทรรศการนี้ โชคดีที่รู้ข่าวไปชมได้ทัน เสียดายที่เขาห้ามถ่ายรูปด้วยกล้อง เลยต้องใช้มือถือแทน ภาพที่เก็บมาเลยมัวซะหลายภาพ กะว่าจะกลับไปเก็บภาพอีกรอบ แต่นิทรรศการหมดเขตไปแล้ว โทรไปถามทางมูลนิธิ เขาบอกว่าเตรียมจะจัดนิทรรศการอีก พอมาดูชื่องานในข้อมูลถึงได้เห็นว่าเป็นนิทรรศการหมุนเวียน อีกไม่นานน่าจะได้ชมงานครั้งต่อไป

เสียดายอีกอย่างคือ เมมโมรี่ในกล้องเหลือน้อย เลยถ่ายรูปมาได้ไม่มาก ต้องขออภัยที่บางภาพไม่ค่อยชัด เพราะใช้โทรศัพท์ถ่ายรูปไม่ค่อยถนัดมือ แสงในสถานที่จัดงานไม่สว่างเท่าไหร่ ที่สำคัญ ผลงานที่จัดแสดงจะใส่กรอบกระจก ไม่ก็อยู่ในตู้กระจก ต้องอาศัยภาพจากสูจิบัตรและการ์ดที่ซื้อมาและค้นในหลายเวบมาเป็นตัวช่วย ภาพในบล็อกไม่ได้เรียงตามลำดับที่ได้ดู เลือกตามความคิดเรา คือภาพพระพุทธรูปและพระบรมฉายาลักษณ์อยู่ใต้ภาพคนธรรมดาคงไม่เหมาะเท่าไหร่เนาะ

กราบขอบพระคุณครูจักรพันธุ์ที่รังสรรค์ผลงานอันประณีต วิจิตรงดงามให้คนไทยได้ชื่นชมด้วยความประทับใจมาตลอดชีวิตท่าน ได้ชมครั้งใดก็เหมือนได้เสพทิพยศิลป์ที่หล่อเลี้ยงหัวใจให้ประณีตงดงามตามไปด้วย ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก ช่วยดลบันดาลให้ครูจักรพันธุ์ มีความสุขและสุขภาพแข็งแรงขึ้นในเร็ววันนะคะ




















ปฏิมากรรม ‘พระพุทธมหาปารมีนุภาพพิสุทธิ์อนุตตร สังคามวิชัย’






















๑๐



๑๑



๑๒



๑๓



๑๔



๑๕


'พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร'
สีปาสเตลบนกระดานบนกระดาษ พ.ศ. ๒๕๒๙ ๕๐ x ๙๐ ซม.



๑๖



๑๗


'สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ'
สีปาสเตลบนกระดานบนกระดาษ พ.ศ. ๒๕๕๑ ๕๐ x ๙๐ ซม.


๑๘


คุณพ่อชุบ โปษยกฤต


๑๙


คุณแม่สว่างจันทร์ โปษยกฤต


๒๐



๒๑


ฉากและหุ่นกระบอกจากเรื่อง 'ตะเลงพ่าย'


๒๒



๒๓



๒๔



๒๕



๒๖


ภาพจากสูจิบัตรนิทรรศการ


๒๗


ภาพจากสูจิบัตรนิทรรศการ


๒๘



๒๙



๓๐



๓๑



๓๒


หุ่นกระบอกชุด "พระอภัยมณี"
ภาพจาก hellomagazine.com



๓๓


ภาพจาก hellomagazine.com


๓๔


ภาพจาก hellomagazine.com


๓๕



๓๖



๓๗


ภาพจาก hellomagazine.com


๓๘



๓๙


หุ่นกระบอกสามก๊ก ตอนโจโฉแตกทัพเรือ พ.ศ. ๒๕๓๒
ฉาก 'เล่าปี่อพยพพลเมือง' มีหุ่นสำคัญคือ จูล่ง บิฮูหยิน เล่าปี่ เตียวหุย


๔๐



๔๑



๔๒



๔๓



๔๔



๔๕



๔๖



๔๗



๔๘



๔๙



๕๐


ภาพจากสูจิบัตรนิทรรศการ


๕๑


ภาพจากสูจิบัตรนิทรรศการ


๕๒


ภาพจากสูจิบัตรนิทรรศการ


๕๓



๕๔



๕๕



๕๖







๕๗



๕๘


ภาพจากสูจิบัตรนิทรรศการ


๕๙


ประติมากรรมต้นแบบทศกัณฐ์จากเรื่อง 'รามเกียรติ์'
ภาพจาก matichon.co.th



๖๐



๖๑



๖๒



๖๓







๖๔







๖๕



๖๖



๖๗



๖๘



๖๙


















“ชื่อว่า ‘ช่างเขียน’ จะมีบทความใดบอกเล่าชีวิตได้ดีกว่าผลงานภาพเขียน”

 
ในช่วงชีวิตของคนหนึ่งคน อาจยาวนานหรือแสนสั้นชั่วพริบตา ถูกจดจำหรือลืมเลือนราวกับไม่เคยมีตัวตน ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่หรือปล่อยให้เวลาผ่านไปอย่างเลื่อนลอย ๗๕ ปีของ “จักรพันธุ์ โปษยกฤต” มีความหมายยิ่งไปกว่านั้น ข้อความนี้ถูกปรินต์แปะไว้ที่ด้านหน้าทางเข้า ‘จักรพันธุ์ โปษยกฤตนิทรรศการ’ นิทรรศการหมุนเวียนครั้งใหม่ในรอบ ๑๕ ปีของอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต อ่านแล้วก็อดพยักหน้าเห็นด้วยไม่ได้




จากเด็กน้อย เติบโตเป็นนักเรียนศิลปะ เป็นช่างเขียน เป็นศิลปิน และเป็นครู สร้างผลงานราวภาพฝัน อ่อนช้อย ละเมียดละไม ลึกซึ้งด้วยความหมาย วิจิตรงดงามอย่างอุดมคติ ทั้งยังหลอมรวมประสมประสานศาสตร์และศิลป์หลากหลาย ไม่จำกัดเพียงจิตรกรรมที่สร้างชื่อสู่ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ พุทธศักราช ๒๕๔๓ และเป็นหนึ่งในช่างเอก ๕๒ ท่านแห่งแผ่นดินรัตนโกสินทร์ที่เชี่ยวชาญศิลปะไทยหลายด้านหลายแนว ทั้งจิตรกรรมร่วมสมัย จิตรกรรมแนวไทยประเพณี ครอบคลุมทั้งงานวาดทิวทัศน์ งานวาดพอร์เทรต งานประติมากรรม และงานหุ่นกระบอกที่ผสานทั้งงานประณีตศิลป์ นาฏดุริยางคศิลป์ และผลงานวรรณกรรมที่ลึกซึ้งทั้งในการทำงานศิลปะและการถ่ายทอดที่แสนประณีต วิจิตรงดงาม




นิทรรศการครั้งแรกในรอบ ๑๕ ปีของอาจารย์ครั้งนี้ ทางมูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต ได้คัดเลือกเอาผลงานชิ้นมาสเตอร์พีซที่อาจารย์ได้รังสรรค์ไว้มาจัดแสดงให้สาธารณชนที่สนใจได้เข้าชมในพื้นที่ของมูลนิธิเอง โดยได้ปรับปรุงจากสถานที่ซ้อมหุ่นกระบอกภายในบ้านของอาจารย์ให้เป็นห้องจัดแสดงเล็กๆ และตั้งใจจะหมุนเวียนเปลี่ยนผลงานที่จัดแสดงทุก ๆ ๔ เดือน

คว้ารางวัลเป็นหางว่าว จนไม่อาจกล่าวได้หมดสิ้น ทำหน้าที่สำคัญด้านการอนุรักษ์งานประณีตศิลป์โบราณมากมาย อาทิ ตู้วรรณคดี หุ่นหลวง ตุ๊กตาล้ำค่า ได้รับยกย่องเป็น “นายช่างเอกในรอบ ๒๐๐ ปีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์” หนึ่งใน ๕๒ คนนับแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช




อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ในงานวันเกิดครบรอบ ๗๕ ปี ณ มูลนิธิ จักรพันธุ์ โปษยกฤต


ท่ามกลางเกียรติยศ ชื่อเสียง คำสรรเสริญ เจ้าตัวยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง แม้ล่วงสู่วัยชรา ราวกับเวลาไม่เคยหมดไป

เช้าตรู่ของวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๑ ในวันที่อายุครบ ๗๕ ปีเต็ม บ้านเลขที่ ๔๙/๑ ในซอยเอกมัย คลาคล่ำไปด้วยผู้คนหลากหลายวงการ โดยเฉพาะแวดวงศิลปะ ที่ตั้งใจเดินทางมาร่วมทำบุญเลี้ยงพระ ทั้งเนื่องในวันคล้ายวันเกิดของศิลปินคนสำคัญแห่งยุคสมัย และพร้อมกันนั้นยังเป็นวันเปิดนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกในรอบ ๑๕ ปีที่คัดสรรผลงาน “ชิ้นเอก” มาให้ได้รับชมอย่างใกล้ชิด อีกทั้งบางชิ้นยังไม่เคยจัดแสดงที่ใดมาก่อน

เที่ยง ๙ นาที จักรพันธุ์ โปษยกฤต ปรากฏตัวด้วยรอยยิ้มอ่อนโยน สีหน้าแจ่มใส แม้อยู่ในวีลแชร์ หลังล้มป่วยด้วยอาการเส้นเลือดในสมองตีบ




ครูจักรพันธุ์ โปษยกฤต ดึงริบบิ้นดอกไม้เปิดนิทรรศการ


จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ถวายเครื่องไทยธรรมแด่ภิกษุสงฆ์ แล้ว “ดึงริบบิ้นดอกไม้” เปิดนิทรรศการอย่างเป็นทางการในห้องเล็ก ๆ แต่เปี่ยมด้วยมนต์ขลัง เพราะเดิมเป็นพื้นที่ซ้อมหุ่นกระบอกซึ่งถูกปรับเปลี่ยนเป็นห้องหับสำหรับโชว์ผลงานระดับมาสเตอร์พีซ อาทิ จิตรกรรมสีน้ำมัน “พระแม่คงคา” พ.ศ. ๒๕๓๓, หุ่นกระบอกชุด “สามก๊ก” ตอนโจโฉแตกทัพเรือ พ.ศ.๒๕๓๒, หุ่นกระบอกชุด “ตะเลงพ่าย” พร้อมแม่พิมพ์ต้นแบบที่หาชมยากยิ่ง อีกทั้งประติมากรรมต้นแบบทศกัณฐ์จากเรื่อง รามเกียรติ์ ซึ่งตั้งตระหง่านหน้าพื้นที่จำลอง บรรยากาศห้องทำงานของศิลปินเจ้าของผลงานซึ่งให้ความรู้สึกสงบ เรียบง่าย สีหน้าและแววตาของความมุ่งมั่นระหว่างที่อาจารย์จักรพันธุ์บรรจงแต่งแต้มสีสันบนใบหน้าของ “อิเหนา” ซึ่งรับบทโดย ครูเวณิกา บุนนาค ฉายแจ่มชัดบนภาพถ่ายเก่าสีจางในมุมหนึ่งของห้อง




เชิด ‘ไหว้ครู’ รำลึกคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อแม่และอาจารย์ ในวันเปิดนิทรรศการ


และนอกจากหุ่นกระบอกแล้วยังมีผลงานวาดของอาจารย์ที่แสดงให้เห็นความเชี่ยวชาญศิลปะหลายแขนง เพราะไม่ใช่ลายเส้นแบบไทยประเพณีเท่านั้น แต่ยังมีลายเส้นร่วมสมัยและลายเส้นแบบตะวันตกแบบที่หลายคนอาจจะไม่คุ้นตา ส่วนด้านในสุดของนิทรรศการได้จัดวางหุ่นประติมากรรมต้นแบบทศกัณฐ์ขนาดเท่าคนจริง และโต๊ะวาดภาพที่จำลองพื้นที่ทำงานของอาจารย์จักรพันธุ์ให้ได้ชมด้วย

“ขอต้อนรับ” คำกล่าวสั้น ๆ ด้วยเสียงแหบพร่า ทว่ามีรอยยิ้มแห่งความสุข ท่ามกลางวงล้อมอันอบอุ่นของลูกศิษย์ลูกหาและผู้ศรัทธาในผลงาน




วัลลภิศร์ สดประเสริฐ


จากนั้น วัลลภิศร์ สดประเสริฐ รองประธานมูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต รับหน้าที่บอกเล่าถึงนิทรรศการสำคัญครั้งนี้แทน โดยระบุว่า จัดขึ้นภายใต้โครงการ “จักรพันธุ์ โปษยกฤต นิทรรศการ” เพื่อให้ประชาชนได้เข้าชมและหาความรู้จากงานศิลปกรรมของอาจารย์จักรพันธุ์ในรูปแบบนิทรรศการหมุนเวียน ประกอบด้วย ภาพเขียน หุ่นกระบอก ประติมากรรม และงานประณีตศิลป์ หมุนเวียนทุก ๔ เดือน เริ่มแสดงผลงานชุดแรกนับแต่บัดนี้จนถึง ๒๕ ธันวาคม

“ในนิทรรศการมีทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม หุ่นกระบอก ซึ่งโยงกับดนตรีนาฏศิลป์ เนื่องจากอาจารย์จักรพันธุ์ศึกษาศิลปะหลากหลายแขนง และด้วยความเป็นคนตั้งใจทำอะไรแล้ว ทำจริง จึงทำได้ดีทุกอย่าง และทำให้งานศิลปะมีความสมบูรณ์มากขึ้น ถ้าเยาวชนได้เห็น ได้ดูงานเหล่านี้จะมีประโยชน์มาก”




ด้วยเหตุนี้ นอกจากมีภาพวาด คุณแม่สว่างจันทร์-คุณพ่อชุบ โปษยกฤต บิดามารดาผู้ให้กำเนิด ตั้งบนโต๊ะหมู่บูชาหน้าห้องจัดแสดง ยังมีภาพถ่ายครูบาอาจารย์ด้านศิลปะมากมายหลายแขนงวิชา อาทิ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทย, ครูบุญยงค์ เกตุคง ครูระนาด “เทวดา”, อาจารย์เยื้อน ภาณุทัต ปรมาจารย์งานประณีตศิลป์ และครูอร่าม อินทรนัฏ โขน “ทศกัณฐ์” ในตำนาน เป็นต้น




พิพิธภัณฑ์จักรพันธุ์ โปษยกฤตที่กำลังก่อสร้าง


นิทรรศการในครั้งนี้เป็นเหมือนนิทรรศการโหมโรงในขณะที่มูลนิธิกำลังสร้างพิพิธภัณฑ์จักรพันธุ์ โปษยกฤต แถวถนนสุขาภิบาล ๕ ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี ๒๕๖๒ โดยตั้งเจตนาให้เป็นพิพิธภัณฑ์ถาวรที่เก็บรวบรวมศิลปวัตถุสำคัญของชาติเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านวัฒนธรรมแก่คนรุ่นต่อไป ด้วยผลงานที่เชื่อว่ามีมากมายหลักหมื่นชิ้น แนวคิดการสร้างสถานที่รวบรวมผลงานเพื่อเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้และแรงบันดาลใจให้คนรุ่นหลังจึงถือกำเนิดขึ้น







พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก
ภาพจาก บล็อกนิทรรศการภาพสีน้ำฉลอง ๑oo ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก ศิลปินสีน้ำชื่อดัง เล่าถึงความคืบหน้าของการเนรมิต “พิพิธภัณฑ์จักรพันธุ์ โปษยกฤต” บนถนนสุขาภิบาล ๕ ย่านสายไหม กรุงเทพฯ ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี ๒๕๖๒ โดยคาดหวังให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปะ โดยนอกจากจะรวบรวมงานศิลป์ชิ้นสำคัญแล้ว ยังมีโรงมหรสพสำหรับแสดงหุ่นกระบอกด้วยระบบเวที แสง สี เสียง อย่างเต็มรูปแบบ สมบูรณ์ที่สุดแห่งแรกในแผ่นดินไทย




อีกหนึ่งกรุสมบัติที่ไม่เอ่ยถึงไม่ได้ คือผลงานหนังสือ “จักรพันธุ์ โปษยกฤต ๖ รอบ” ชุด ๒ เล่มอันเป็นไอเท็มสุดเลอค่าที่เป็นขุมทรัพย์ทางความรู้ที่นักเรียนศิลปะและผู้สนใจควรมีไว้เป็นสมบัติส่วนตัวเพื่อศึกษาอย่างลุ่มลึก

“จุดประสงค์เดียวคือเพื่อเป็นสมบัติของแผ่นดิน” พันธุ์ศักดิ์ย้ำถึงจุดประสงค์ของการรวบรวมและจัดพิมพ์หนังสือชุดดังกล่าว ซึ่งถูกรวบรวมและคัดสรรอย่างประณีตก่อนตีพิมพ์เผยแพร่




ไม่ต้องมีคำบรรยายมากมาย ดังเช่นถ้อยความเขียนด้วยลายมือของเจ้าตัวที่ถูกขยายใหญ่ไว้หน้าทางเข้านิทรรศการว่า


“ชื่อว่าช่างเขียน จะมีบทความใดบอกเล่าชีวิตได้ดีกว่าผลงานภาพเขียน”

นี่คือช่วงชีวิตของช่างเขียนแห่งประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์นาม “จักรพันธุ์ โปษยกฤต”


นิทรรศการหมุนเวียนผลงานจักรพันธุ์ โปษยกฤต
จัดแสดงที่มูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต สุขุมวิท ๖๓ (เอกมัย) กรุงเทพฯ ตรงข้ามบิ๊กซี เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ ๑๙ สิงหาคม ถึง ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น. ไม่มีวันหยุด ค่าธรรมเนียมเข้าชม ประชาชนทั่วไป ๑๐๐ บาท นักเรียน นิสิต นักศึกษาในเครื่องแบบ หรือแสดงบัตรประจำตัว ๕๐ บาท เด็กเล็กเข้าฟรี สถาบันการศึกษาขอเช้าชมเป็นหมู่คณะ ทำหนังสือล่วงหน้า ๗ วันถึงมูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต ไม่เสียค่าธรรมเนียม โดยจะเปิดให้ชมในช่วงเช้า เวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐ น. สอบถามเพิ่มเติมโทร ๐-๒๓๙๒-๗๗๕๔ หรือ ๐๘-๗๓๓๒-๕๔๖๗ หรือ chakrabhand.org







เสื้อยืดภาพผลงานครูจักรพันธุ์ที่วางขายในงาน



ภาพและข้อมูลจาก
thestandard.co
matichon.co.th
readthecloud.co
hellomagazine.com
เพจ Sermkhun Kunawong



ลิงค์ของอีกหลายบทความที่เขียนถึงครูจักรพันธุ์ค่ะ

๗๕ ปี จักรพันธุ์ โปษยกฤต นายช่างเอกในรอบ ๒๐๐ ปีรัตนโกสินทร์ฯ
ภาพสะท้อน ‘จักรพันธ์ุ โปษยกฤต’ ผ่านผู้เป็นศิษย์ ‘วัลลภิศร์ สดประเสริฐ’
วิธีคิดอันวิจิตรของ ‘จักรพันธุ์ โปษยกฤต’ Renaissance Man แห่งกรุงรัตนโกสินทร์














บีจีจากคุณยายกุ๊กไก่ กรอบจากคุณ goffymew

Free TextEditor




book



ticket




 

Create Date : 11 มิถุนายน 2562
0 comments
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2562 17:38:22 น.
Counter : 12305 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณALDI, คุณtoor36, คุณSweet_pills, คุณสองแผ่นดิน, คุณMDG, คุณnewyorknurse, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณณ มน, คุณสันตะวาใบข้าว, คุณหอมกร, คุณสาวไกด์ใจซื่อ, คุณtuk-tuk@korat, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณผีเสื้อยิปซี, คุณวลีลักษณา, คุณRinsa Yoyolive, คุณกะว่าก๋า, คุณTui Laksi, คุณญามี่, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณmultiple, คุณ**mp5**, คุณตะลีกีปัส, คุณInsignia_Museum, คุณSai Eeuu, คุณเริงฤดีนะ, คุณmcayenne94, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณตุ๊กจ้ะ, คุณchinging, คุณเรียวรุ้ง, คุณเนินน้ำ, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณJinnyTent, คุณThe Kop Civil, คุณชีริว, คุณTonunsoyer, คุณอุ้มสี, คุณwicsir


haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.