Group Blog
All Blog
<<< "เราต้องเป็นผู้สร้างผลเอง " >>>









"เราต้องเป็นผู้สร้างผลเอง "

หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นหลักของเหตุผล

 ถ้ามีเหตุ ผลก็จะต้องตามมา

 ถ้าไม่มีเหตุผลก็จะไม่ตามมา

ถ้าตอนนี้เรายังไม่มีผลกัน ยังไม่มีมักผลนิพพาน

 ก็แสดงว่าเรายังไม่ได้สร้างเหตุ

ให้ทำให้เกิดผลขึ้นมานั่นเอง

เราต้องหมั่นพยายามสร้างเหตุ

ให้มากขึ้นไปตามลำดับ

 ให้มากไปจนถึงทำให้เกิดผลขึ้นมา

 ถ้าเราหยุดเพราะว่าเราเห็นว่าทำไปแล้วไม่ได้ผล

 ถ้าหยุดมันก็จะยิ่งไม่ได้ผลใหญ่

แต่ถ้าเรารู้ว่าการที่เรายังไม่ได้ผล

เพราะเรายังทำน้อยไป ยังทำไม่มากพอ

เราก็ต้องเพิ่มการปฎิบัติเพิ่มการกระทำของเรา

ให้มีมากเกินไป แล้วผลก็จะปรากฏมากขึ้นไป

มากขึ้นไปตามลำดับ  ผลนี้ไม่ได้เกิดจากคนอื่น

คนอื่นมาสร้างผลให้กับเราไม่ได้

พระพุทธเจ้าพระอรหันตสาวก

ท่านมาสร้างผลให้เราไม่ได้

 เราต้องเป็นผู้สร้างผลเอง ถ้าเรายังไม่มีผล

ก็แสดงว่าเรายังไม่ได้สร้างมันขึ้นมา

 หรือสร้าง แต่ยังสร้างน้อยไป ยังสร้างไม่มากพอ

 เราก็ต้องเพิ่มความเพียรให้มีมากขึ้นนั่นเอง

 เพิ่มการปฏิบัติของเราให้มีมากขึ้น

ในระยะเริ่มต้นเราอาจจะปฏิบัติได้น้อย

 เพราะเรายังไม่มีกำลังมากพอ

 แต่ถ้าเราเริ่มปฏิบัติไปแล้ว

เราจะมีกำลังมากขึ้นไปตามลำดับ

 จะทำให้เราเพิ่มการปฎิบัติให้มีมากขึ้นไปได้เรื่อยๆ

 และจะทำให้เราปฏิบัติได้เต็มรูปแบบ

 แบบเต็มที่เต็มร้อย

ตอนต้นเราอาจจะเริ่มที่ร้อยละสิบ

 แล้วก็เพิ่มเป็นร้อยละยี่สิบ ร้อยละสามสิบ

 เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ แต่มันจะไม่เพิ่มขึ้นไปเอง

 เราต้องเป็นผู้บังคับตัวเราเอง

ให้เพิ่มการปฏิบัติให้มากขึ้น ถ้าเราไม่บังคับ

มันก็อาจจะยังปฏิบัติเท่าเดิม

 หรืออาจจะปฏิบัติน้อยกว่าเดิมก็ได้

 ถ้าเราปล่อยให้เป็นไปตามความรู้สึก

ตามอารมณ์ของเรา

 วันไหนอารมณ์ดีอาจจะปฏิบัติมาก

วันไหนอารมณ์ไม่ดีก็ปฏิบัติน้อย

ถ้าเราปล่อยให้อารมณ์เป็นผู้มากำกับการปฏิบัติ

การปฎิบัติของเราก็จะไม่เพิ่มขึ้นไปตามลำดับ

ก็จะขึ้นๆ ลงๆ ไปตามอารมณ์

 อารมณ์ของเราก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา

 บางทีก็มีอารมณ์อยากปฏิบัติมาก

 บางทีก็มีอารมณ์ไม่อยากจะปฏิบัติ

 แต่เราอย่าให้อารมณ์นี้

มาเป็นตัวกำกับการปฎิบัติของเรา

 เราต้องเอาการบังคับ เราต้องมีการตั้งกฎกติกา

บังคับการปฏิบัติของเรา เช่นกำหนดตารางเวลา

ของการปฏิบัติของเราว่า

 วันหนึ่งเราจะปฏิบัติสักเท่าไหร่ดี สักกี่ชั่วโมงดี

 จะนั่งสมาธิกี่ชั่วโมง จะเดินจงกรมกี่ชั่วโมง

 เราต้องกำหนดเวลาขึ้นมา แล้วก็ต้องมีความจริงใจ

ต่อการตั้งใจของเรา คือเรากำหนดเวลาแล้ว

เราก็ต้องทำตามเวลาที่เรากำหนดไว้

 เช่นเวลากี่โมง เวลากี่โมงเวลานี้จะให้ทำอะไร

 เวลาต่อไปจะให้ทำอะไรเราก็ต้องทำ

ถ้าเรามีการกำหนดตารางเวลา

เราก็จะได้มีการปฏิบัติได้นั่นเอง

ถ้าเราไม่กำหนดตารางเวลาปล่อยให้เหตุการณ์ต่างๆ

 ปล่อยให้อารมณ์ต่างๆ

เป็นผู้กำหนดเวลาการปฏิบัติของเรา

 เราอาจจะไม่มีเวลาปฏิบัติ หรือมีก็น้อยมาก

 ถ้าเราปล่อยให้เหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการงาน

 การกระทำอะไรต่างๆ ถ้าเราไม่มาใช้เหตุใช้ผล

พิจารณาแยกแยะดูว่า การกระทำต่างๆ

ที่เรากระทำกันอยู่ในปัจจุบันนี้มันมีประโยชน์หรือไม่

 เราควรจะทำอันหรือไม่

 ระหว่างการไปทำกิจกรรมอย่างอื่น

กับการมาปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน

เราต้องรู้จักชั่งน้ำหนักดูว่า

อันไหนมีความสำคัญกว่ากัน

 ถ้าเราไม่เห็นความสำคัญของการปฎิบัติธรรมแล้ว

 เราเห็นความสำคัญของกิจกรรมอย่างอื่น

 เราก็จะไม่สามารถมาปฎิบัติธรรมกันได้

 เราจะไม่มีเวลาให้กับการปฎิบัติธรรม

แต่ถ้าลองชั่งน้ำหนักดูแล้วเห็นว่า

การกระทำกิจกรรมต่างๆ กับการปฎิบัติธรรมนี้

 ไม่มีอะไรจะดีเท่ากับการปฎิบัติธรรม

 เราก็จะได้เลือกเอาระหว่างการไปทำกิจกรรมอื่นๆ

 กับการมาปฏิบัติธรรม ถ้าเราสามารถเลือกได้

เราก็จะได้เลือกมาปฏิบัติธรรมกัน

เพราะกิจกรรมต่างๆ ที่เราทำกันนี้

มันให้ผลชั่วคราวเท่านั้นเอง

มันให้ความสุขชั่วคราว

มันไม่ได้ให้ความสุขอย่างถาวร

เหมือนจากการปฎิบัติธรรม

 นี่คือผลที่เราควรที่จะวิเคราะห์กันพิจารณากัน

 เพื่อเราจะได้เลือกกระทำเหตุที่เราควรจะกระทำกัน

เหตุก็คือการปฎิบัติธรรม.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

........................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๐

"ปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้น"







ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 12 กันยายน 2560
Last Update : 12 กันยายน 2560 8:38:26 น.
Counter : 432 Pageviews.

0 comment
<<< "ความสุขที่ยั่งยืนและถาวร" >>>











"ความสุขที่ยั่งยืนและถาวร"

การปฎิบัติธรรมนี้เป็นการปฏิบัติ

ที่จะให้ประโยชน์สุขที่แท้จริงที่ยั่งยืนและถาวร

ส่วนการทำกิจกรรมทางโลก

 การหาลาภยศสรรเสริญ

 หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายนี้

มันเป็นการหาของปลอม หาความสุขชั่วคราว

 เป็นการหาการสูญเสีย เพราะว่าได้มาเท่าไหร่

ในที่สุดก็จะต้องสูญเสียไปหมดอยู่ดี

นี่คือประเด็นที่ทำให้พระพุทธเจ้าพระอรหันต์

ไปเป็นพระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์กัน

และประเด็นที่ทำให้พวกเรายังต้องมาเป็นปุถุชน

 มาเวียนว่ายตายเกิดกันก็คือ

เราไม่ให้ผลที่จะเกิดจากธรรม

การทำกิจกรรมทางโลก

และการปฎิบัติธรรมว่ามีผลแตกต่างกัน

ผลที่เราได้รับจากการปฎิบัติธรรม

จะทำให้เราได้หลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งหลาย

 หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

 หลุดพ้นจากความทุกข์ต่างๆ

ที่เรากำลังมีกันอยู่ในขณะนี้

 ถ้าเรายังมาทำกิจกรรมทางโลกอยู่

ยังมาหาลาภยศสรรเสริญ มาหาความสุข

ทางตาหูจมูกลิ้นกายอยู่ เราก็ยังจะต้องมาเจอ

กับความทุกข์ต่างๆ ที่เรากำลังเจออยู่ในปัจจุบันนี้

อย่างไม่มีวันสิ้นสุด ตายไปเราก็จะกลับมา

ทำกิจกรรมแบบนี้ต่อไป ถ้าเราไปปฎิบัติธรรม

แล้วเราสามารถปฏิบัติจนถึงธรรมขั้นสูงสุดได้

 เราก็จะไม่ต้องกลับมาเกิดอีกต่อไป

 ไม่ต้องมาทำกิจกรรมทางโลกอีกต่อไป

นี่คือเรื่องของการศึกษา

พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

 ศึกษาถึงประวัติของพระพุทธเจ้า

และประวัติของพระอรหันตสาวกทั้งหลาย

ว่าท่านปฏิบัติกันอย่างไร

 และอะไรทำให้ท่านสามารถปฏิบัติได้

 อะไรทำให้เราไม่สามารถปฏิบัติการได้

 ก็คือการวิเคราะห์ความเป็นจริงนั่นเอง

 การวิเคราะห์ของการไม่เที่ยงแท้แน่นอน

 ของชีวิตของพวกเราและสิ่งต่างๆ ที่เราหากัน

ถ้าเราวิเคราะห์แล้วเราก็จะได้เห็นว่า

 ลาภยศสรรเสริญ ความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย

ที่เราหากันนี้ มันเป็นความสุขประเดี๋ยวประด๋าว

 ได้มาแล้วเดี๋ยวก็ต้องหมดไป

 แต่ความสุขที่เราได้รับ

จากการบรรลุมรรคผลนิพพาน

 มันจะเป็นความสุขที่ยั่งยืนและถาวร

 ที่จะทำให้เราไม่ต้องกลับมา

เกิดแก่เจ็บตายกันอีกต่อไป

ถ้าเราเห็นอย่างนี้แล้วเราก็จะได้มีกำลังใจ

มีความยินดีที่จะไปปฎิบัติธรรมกัน

ที่จะสละทุกอย่างที่เรามีอยู่กัน

 เหมือนกับที่พระพุทธเจ้า

และพระอรหันตสาวกทั้งหลายได้สละกัน

 นี่คือสิ่งที่เราควรที่จะหมั่นศึกษา

หมั่นพิจารณากันอยู่เรื่อยๆ แล้วจะทำให้เรามีกำลังใจ

ที่จะออกปฏิบัติกัน แล้วถ้าเราได้ปฎิบัติธรรมกัน

 เราก็จะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน

ได้พบกับความสุขที่แท้จริง

ได้ผลจากความทุกข์ทั้งปวงไปอย่างแน่นอน.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

..........................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๐

"ปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น







ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 12 กันยายน 2560
Last Update : 12 กันยายน 2560 8:15:11 น.
Counter : 589 Pageviews.

0 comment
<<< "ผลที่เราได้รับจากการปฎิบัติธรรม" >>>









"ผลที่เราได้รับจากการปฎิบัติธรรม"

เราต้องศึกษาต้องดูว่าตอนนี้เรากำลังทำอะไรกันอยู่

 เรากำลังให้เวลากับการปฎิบัติธรรม

 หรือเรากำลังให้เวลากับกิจกรรมอย่างอื่น

ที่เป็นกิจกรรมที่ให้ผลเพียงชั่วครั้งชั่วคราว

 ไม่ใช่เป็นผลที่ยั่งยืนถาวร ทำไปแล้วผลที่ได้มาแล้ว

เดี๋ยวมันก็หมดไป เพราะเวลาที่เราตายไป

ผลที่เราได้รับจากกิจกรรมอื่นๆ นั้นมันก็จะหมดไป

 แต่ผลที่เราได้รับจากการปฎิบัติธรรมนี้

มันไม่ได้สูญไปกับความตาย มันจะอยู่กับเราต่อไป

 คุณฉลาดจึงเลือกทำกิจกรรมที่จะอยู่ยังยืน

กิจกรรมที่ไม่ยั่งยืน ที่ไม่ให้ผล ที่ไม่ยั่งยืนก็ตัดมันไป

 กิจกรรมทางโลกที่พวกเราทำกัน

 เช่นหาลาภยศสรรเสริญ

 หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายนี้

เป็นกิจกรรมที่ให้ผลชั่วคราวให้ประโยชน์สุขชั่วคราว

 ให้ขณะที่เรามีชีวิตอยู่เท่านั้น

 พอเราตายไปแล้วประโยชน์สุขที่เราได้

จากกิจกรรมเหล่านี้ก็จะสูญไปหมด

 แต่ถ้าเราปฏิบัติธรรมกัน ประโยชน์สุขที่เราได้รับคือ

มรรคผลนิพพานขั้นต่างๆ จะไม่สูญไปกับความตาย

 เช่นถ้าเราได้มรรคผลนิพพานขั้นที่หนึ่ง

เวลาเราตายไป มรรคผลขั้นที่หนึ่ง

ก็ยังจะอยู่กับเราไม่สูญ

ความสุขประโยชน์สุขที่เราได้รับ

จากมรรคผลขั้นที่หนึ่งก็ยังอยู่กับเรา

 อยู่ที่ใจของพวกเราที่ไม่ตายไปกับร่างกาย

 แล้วพอเรามีโอกาสได้กลับมาเกิดได้มาปฏิบัติต่อ

 เราก็จะสามารถปฏิบัติต่อได้เลย

ไม่ต้องกลับไปเริ่มที่ศูนย์ใหม่

 เหมือนกับกิจกรรมทางโลก

 กิจกรรมทางโลก เช่นลาภยศสรรเสริญ

 เวลาเรามาเกิดเราก็มาเริ่มต้นที่ศูนย์กัน

 มาหาลาภหายศหาสรรเสริญ หารูปเสียงกลิ่นรสกัน

 แล้วเราก็สะสมสิ่งเหล่านี้ได้เป็นจำนวนมาก

บางคนก็ร่ำรวยได้เป็นร้อยล้านพันล้าน

บางคนก็เป็นใหญ่เป็นโต เป็นถึงประธานาธิบดี

 เป็นถึงนายกรัฐมนตรี แต่พอตายไป

ลาภยศสรรเสริญเหล่านี้ก็จะหมดไป

 แล้วพอกลับมาเกิดใหม่ ก็ต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่

 เคยเป็นเศรษฐีร้อยล้านพันล้าน

ก็ไม่มีเงินร้อยล้านพันล้านติดตัวกลับมาเกิด

กลับมาก็ต้องมาเริ่มต้นหาเงินหาทองใหม่

 เคยเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นนายพลเป็นอะไร

กลับมาก็ต้องมาเริ่มต้นใหม่ มาเริ่มต้นที่ศูนย์ใหม่

 แล้วก็ต้องกลับมาอยู่เรื่อยๆ

 เพราะว่ายังอยากได้สิ่งที่สูญไป

พอกลับมาเกิดก็ต้องมาหาใหม่ พอตายไปก็สูญใหม่

 สูญแล้วก็ต้องกลับมาเกิดใหม่ มาเกิดแต่ละครั้ง

ก็ต้องมาทุกข์กับการแสวงหาสิ่งต่างๆ ที่ต้องการ

 แล้วก็ต้องมาทุกข์กับการที่ต้องมาสูญเสีย

มาทุกข์กับความแก่ความเจ็บความตายของร่างกาย

นี่คือผลที่เราจะได้รับ

จากการที่เราไปทำกิจกรรมทางโลกกัน

 กิจกรรมทั้งลาภยศสรรเสริญ

ทางรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

 แต่ถ้าเรามาทำกิจกรรมทางธรรมกัน

 เราจะได้รับผลยั่งยืน แล้วผลที่เราได้รับ

ก็จะทำให้เรากลับมาเกิดน้อยลงไปเรื่อยๆ

 เช่นถ้าเราได้รับผล มรรคผลขั้นที่หนึ่ง

 คือขั้นพระโสดาบันนี้ การจะกลับมาเกิดของเรา

ก็จะเหลือเพียงเจ็ดครั้งเป็นอย่างมาก

 และเราก็จะไม่ต้องกลับมาเกิดอีกต่อไป

 ไม่ต้องกลับมาแก่มาเจ็บมาตาย

มาทุกข์กับเรื่องราวต่างๆ ที่เราทุกข์กันอยู่ในปัจจุบันนี้

 ถ้าเราได้มรรคผลขั้นที่สอง ขั้นพระสกิทาคามี

เราก็จะกลับมาเกิดอีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นเอง

 เพราะเราจะสามารถที่จะปฏิบัติทำให้เราหลุดพ้น

จากการเกิดแก่เจ็บตายได้ขึ้นไปตามลำดับ

พอถึงขั้นพระอนาคามี เราก็ไม่ต้องกลับมาเกิด

เป็นมนุษย์อีกต่อไป เราก็จะไปเกิดเป็นพรหมกัน

 แล้วจากขั้นที่สาม ก็จะก้าวขึ้นไปสู่ขั้นที่สี่ เป็นพระอรหันต์

ก็จะก้าวจากสวรรค์ชั้นพรหมเข้าไปสู่พระนิพพาน

 ไม่ต้องกลับมาเกิดแก่เจ็บตายในไตรภพอีกต่อไป

ไม่ต้องมาทุกข์กับความแก่ความเจ็บความตาย

 ไม่ต้องมาทุกข์กับการพลัดพรากจากกัน

 อย่างที่พวกเรายังต้องพบกันอยู่ในปัจจุบันนี้

และจะพบกันต่อไปเรื่อยๆ ถ้าตราบใดเรายังไม่ได้หยุด

ทำกิจกรรมทางโลกกัน แล้วมาทำกิจกรรมทางธรรมกัน

 ถ้าเราทำกิจกรรมทางโลก คือการหาลาภยศสรรเสริญ

 หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายกัน

เราก็จะกลับมาอยู่เรื่อยๆ

 กลับมาทำกิจกรรมเหล่านี้อยู่เรื่อยๆ

 เพราะมันทำแล้วมันต้องทำต่อไป

ความอยากทำมันจะไม่หมด

พอได้ทำแล้วมันก็อยากจะทำอีก

 พอไม่มีร่างกายก็ต้องรอให้มีร่างกายอันใหม่

 พอได้ร่างกายอันใหม่พอได้มาเกิดใหม่

ก็จะมาทำกิจกรรมอย่างเดิม

 แล้วก็กลับมาทุกข์กับปัญหาเดิมๆ

ที่เราทุกข์กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ชาตินี้เหตุการณ์ต่างๆ

 ที่เราพบกันนี้ไม่ใช่เป็นครั้งแรก

 เป็นครั้งที่ไม่รู้กี่ร้อยล้านครั้งแล้ว

 ภพชาติที่เรามาเกิดกันนี้มันไม่รู้กี่ร้อยล้านชาติแล้ว

 แล้วก็ยังไม่มีวันสิ้นสุด

 ถ้าตราบใดเราไม่หยุดกิจกรรมทางโลกกัน

 ถ้าตราบใดเราไม่มาปฎิบัติธรรมกัน

ไม่มาปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้ากัน

 เราก็ยังจะต้องกลับมาเกิดแก่เจ็บตาย

กลับมาหาลาภยศสรรเสริญ

หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายกันไปอยู่เรื่อยๆ ต่อไป.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

............................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๐

"ปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น"






ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 12 กันยายน 2560
Last Update : 12 กันยายน 2560 7:57:01 น.
Counter : 602 Pageviews.

0 comment
<<< "ควบคุมความคิด" >>>








"ควบคุมความคิด"

เราจึงต้องฝึกควบคุมความคิดของเรา

การฝึกสตินี่แหละเป็นการดึงใจดึงความคิดของเราไว้

เบื้องต้นก็ให้ดึงเข้ามาสู่ความว่าง สู่ความเป็นกลาง

 ทำอะไรก็อย่าไปคิดปรุงแต่ง ให้เพียงสักแต่ว่ารู้

ว่ากำลังทำอะไรอยู่ กำลังรับประทานอาหาร

ก็ให้รู้ว่ากำลังรับประทานอาหาร ไม่ต้องไปปรุงแต่ง

 ให้รู้เฉยๆ สักแต่ว่ารู้ กำลังอาบน้ำ กำลังแปรงฟัน

 กำลังหวีผม กำลังแต่งตัว กำลังทำอะไรอยู่

ก็ให้ใจรู้อยู่กับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น

 ถ้าไม่ดึงใจไว้ให้รู้กับการกระทำของร่างกาย

 ใจจะคิดเรื่อยเปื่อย ร่างกายอยู่ตรงนี้

แต่ใจไปคิดถึงลูกที่อยู่ต่างประเทศโดยไม่รู้สึกตัว

 ทำอะไรก็จะผิดพลาด หรือสงสัยว่าทำไปแล้วหรือยัง

 เพราะใจไม่ได้รู้อยู่กับการกระทำ

ไปรู้อยู่กับเรื่องที่กำลังคิดปรุงแต่ง

อย่างนี้แสดงว่าขาดสติ

ไม่สามารถควบคุมความคิดปรุงแต่งได้

ปล่อยให้คิดเรื่อยเปื่อย ถ้าเป็นอย่างนี้

เวลานั่งทำสมาธิให้ใจสงบก็จะไม่สงบ

 เพราะใจจะสงบได้ต้องหยุดความคิดปรุงแต่ง

ต้องมีสติคอยดึงไว้ เช่นการบริกรรมพุทโธ

 เป็นการดึงความคิดปรุงแต่ง ไม่ให้คิดปรุงแต่ง

ให้คิดแต่คำว่าพุทโธๆอย่างเดียว จะได้ไม่มีอารมณ์

ทำให้ใจเป็นกลาง ทำให้ใจว่าง ทำให้หยุดคิดได้

 รวมเข้าสู่ความสงบได้ ถ้าไม่ชอบคำบริกรรม

ใช้การดูลมหายใจเข้าออกก็ได้ แต่ต้องสักแต่ว่าดู

 สักแต่ว่ารู้ อย่าไปคิดเรื่องอื่น

ให้รู้อยู่กับเรื่องของลมอย่างเดียว

หายใจเข้าก็รู้ว่าหายใจเข้า

 หายใจออกก็รู้ว่าหายใจออก

 ให้รู้อยู่ตรงจุดเดียว อย่าตามลมเข้าตามลมออก

 ให้อยู่แถวปลายจมูก เวลาลมเข้าออก

จะสัมผัสอยู่แถวปลายจมูก ให้รู้อยู่ตรงนั้น

 เฝ้าดูอยู่ตรงนั้น อย่าไปบังคับลมหายใจ

จะหยาบจะละเอียด จะหายใจสั้นหายใจยาว

 ก็ให้รู้ตามความจริง ไม่ต้องบังคับ

ให้ใช้ลมเป็นที่ผูกใจด้วยสติ ถ้าใจเป็นเหมือนเรือ

สติก็เป็นเหมือนเชือก

ลมหายใจก็เป็นเหมือนเสาของท่าเรือ

 ถ้าผูกเรือไว้กับเสา น้ำก็จะไม่พัดพา

ให้เรือลอยไปได้ เรือก็จะจอดนิ่ง

ใจก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีสติรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก

 รู้อยู่กับการบริกรรมพุทโธๆ ไม่ช้าก็เร็วใจก็จะสงบนิ่ง

 พอสงบแล้วก็จะมีความสุขสบายเบาอกเบาใจ

ตอนนั้นจะไม่รับรู้การเจ็บปวดของร่างกาย

ถ้ารู้ก็จะไม่รำคาญใจ รู้ว่าชาหรือเจ็บตรงนั้นมันปวดตรงนี้

 แต่ไม่รู้สึกทรมานใจ เพราะใจไม่มีปฏิกิริยา

กับความเจ็บของร่างกายนั่นเอง

นี่คือการควบคุมความคิดให้เข้าสู่ความสงบ

 แต่ความสงบของสมาธินี้มีระยะเวลา

 อยู่ได้สักระยะหนึ่งแล้วก็จะถอนออกมา

ต้องออกมาปฏิบัติภารกิจอื่นๆ พอถอนออกมา

ใจจะเริ่มคิดปรุงแต่ง ถ้าไม่ต้องคิดเรื่องภารกิจต่างๆ

ก็ให้ใจคิดไปในทางปัญญา

ให้เตรียมรับกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่ยังไม่เกิดขึ้น

แต่จะต้องเกิดขึ้น เช่นให้พิจารณาร่างกาย

ว่าสักวันหนึ่งต้องแก่ลงไป ต้องเจ็บไข้ได้ป่วย

 ต้องตายไป เช่นเดียวกันกับร่างกายของผู้อื่น

ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม จะเป็นคนใกล้ชิด

หรือเป็นคนที่ไม่รู้จัก ก็เป็นเช่นเดียวกัน

 ต้องสอนให้ใจรู้และรับความจริงนี้ให้ได้

ถ้ารู้และรับความจริงได้ก็จะปล่อยวางได้

จะรับว่าเป็นเรื่องปกติ เหมือนกับยอมรับ

กับฝนตกแดดออก ไม่มีปฏิกิริยา

ไม่มีความอยากจะให้ตกหรือไม่ตก

เพราะเรารู้ว่าไม่ใช่วิสัยของเราที่จะไปสั่งได้

 เป็นอย่างไรก็ต้องยอมรับความจริง

 ฉันใดร่างกายของเราหรือร่างกายของผู้อื่น

 ก็เป็นเหมือนกับฝนตกแดดออก

จะต้องแก่ต้องเจ็บต้องตายไปด้วยกันทุกคน

 เราต้องยอมรับ เหมือนกับยอมรับฝนตกแดดออก

 ถ้ายอมแล้วจะสบายอกสบายใจ ไม่เดือดร้อน

ถ้ายังไม่แน่ใจว่ารับได้จริงหรือไม่

ก็ต้องไปหาสถานที่ทดสอบใจ ไปสถานที่ที่เรากลัว

 เพราะความกลัวคือความทุกข์

ที่เกิดจากความคิดปรุงแต่งของเราเอง

ต้องไปหาสถานที่แบบนั้น เพื่อจะได้ทดสอบใจดูว่า

 สามารถควบคุมความคิด ไม่ให้สร้างความกลัวขึ้นมา

หลอกเราได้หรือไม่ ถ้ากลัวผีก็ต้องไปอยู่

สถานที่ที่เราคิดว่ามีผี กลัวสิงสาราสัตว์

ก็ต้องไปอยู่สถานที่ที่มีสิงสาราสัตว์

กลัวความตายก็ต้องไปอยู่สถานที่

ที่ล่อแหลมต่อความตาย จะได้พิสูจน์กันจริงๆ

 ว่ายอมรับความตายได้หรือไม่

เพราะเวลาไปอยู่ในสถานที่เหล่านี้แล้ว

ในเบื้องต้นความกลัวจะต้องเกิดขึ้นมาทันที

 เพราะผู้ที่สั่งให้คิดสร้างความกลัวขึ้นมามีกำลังมากกว่า

 แต่ถ้าเราพยายามต่อสู้

ด้วยการควบคุมบังคับใจด้วยสมาธิ

 หรือสอนใจด้วยปัญญา ก็จะสามารถยับยั้งความคิด

ที่จะคิดไปในทางสมุทัยได้ ถ้ายังไม่รู้จัก

การพิจารณาทางปัญญา

ก็อาศัยอุบายของสมาธิไปก่อน

ด้วยการบริกรรมพุทโธๆหรือสวดมนต์ไป

 สวดบทพุทธคุณธรรมคุณสังฆคุณ

 อย่าไปคิดถึงความกลัว อย่าไปปรุงแต่ง

เรื่องของความกลัว ให้คิดปรุงแต่งอยู่กับบท

พระพุทธคุณพระธรรมคุณพระสังฆคุณ

 อิติปิโสฯ สวากขาโตฯ สุปฏิปันโนฯ

ฝากเป็นฝากตายไว้กับการสวด

 ความกลัวก็จะหายไป เวลาใจสงบตัวลง

ความคิดปรุงแต่งก็จะหยุดชั่วคราว

ตอนนั้นก็จะปรากฏให้เห็นว่า ความกลัวไม่ได้อยู่ภายนอก

 แต่อยู่ในใจของเรานี่เอง อยู่ที่ความคิดปรุงแต่ง

 ได้ยินเสียงอะไรก็ปรุงแต่งว่าเป็นผี เป็นอะไรต่างๆนานา

 แทนที่จะไปคิดอย่างนั้น เราต้องสวดมนต์ไป

หรือบริกรรมพุทโธๆไป อย่าปล่อยให้ใจมีโอกาส

ไปคิดถึงสิ่งที่เรากลัว พอจิตสงบแล้ว

ก็จะรู้ว่าสิ่งที่เรากลัวนั้นไม่ได้มาทำอะไรเราเลย

 เขาไม่รู้เรื่องอะไรของเราเลย เราต่างหากที่ไปกลัวเขาเอง

 นี่เป็นอุบายของสมาธิ คือบริกรรมพุทโธ

หรือสวดมนต์บทใดบทหนึ่งที่เราถนัด

ฝากเป็นฝากตายไว้กับการสวดเลย เหมือนคนที่ใกล้ตาย

 ไม่รู้จะยึดกับอะไรก็ยึดการสวดมนต์

 ถ้าสวดได้อย่างต่อเนื่องจนจิตรวมลงเข้าสู่สมาธิได้

 เวลาตายไปก็จะไปสู่สุคติ ถ้าฝึกมามาก

หรือฝึกจนชำนาญแล้ว เวลาเข้าสู่วาระคับขันจะมีที่พึ่ง

 ด้วยการสวดมนต์นี่แหละ สวดไปจนจิตใจสงบนิ่ง

 ก็จะไม่รู้เรื่องของร่างกาย

 จะหยุดหายใจไปก็ไม่เป็นปัญหา

 จิตตอนนั้นเป็นสุคติแล้ว เป็นฌานเป็นสมาธิ .

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

....................................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๓






ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 07 กันยายน 2560
Last Update : 7 กันยายน 2560 11:17:56 น.
Counter : 652 Pageviews.

0 comment
<<< "เรื่องของเหตุและผล" >>>










"เรื่องของเหตุและผล"

มรรคผลนิพพานนี้เป็นอกาลิโก เป็นของที่ไม่มีวันสูญ

 จะสูญก็สูญที่เหตุ ถ้าเหตุไม่มีผลก็คือ

มรรคผลนิพพานก็จะไม่มี

 เหตุก็คือการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

 ถ้าไม่มีการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผลก็คือ

มรรคผลนิพพานก็จะไม่มี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกาลกับเวลา

 กาลเวลานี้แม้ว่าจะผ่านไปกี่ร้อยล้านปีกี่แสนล้านปี

เช่นในอนาคตที่จะตามมาต่อไป

 อาจจะเป็นล้านปีแสนล้านปี

จะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้พระธรรมอันเดียวกัน

กับที่พระพุทธเจ้าที่พวกเรารู้จักนี้เหมือนกัน

จะมาตรัสรู้ธรรมเหมือนกัน คือทางที่จะนำไปสู่การหลุดพ้น

จากความทุกข์ทั้งหลาย คือวิธีการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

 และท่านก็จะสอนวิธีการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

ให้แก่ผู้ที่ได้พบปะกับพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป

 และถ้าเขานำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป

ไปปฏิบัติอย่างถูกต้องและอย่างพอเพียง

 เขาก็จะได้บรรลุมรรคผลนิพพานเช่นเดียวกัน

นี่คือเรื่องของเหตุและผล ที่จะพาให้สัตว์โลก

ได้หลุดออกจากกองทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด

จะเป็นเหตุและผลที่ไม่มีวันเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย

 ในอดีตกาลอันยาวนานมานี้

 เรามีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้มาประกาศพระธรรมคำสอน

ให้แก่พวกเรา ให้แก่สัตว์โลกอย่างพวกเรานี้

 และสัตว์โลกที่ได้ยินได้ฟังและน้อมนำเอาไปปฏิบัติ

 ก็ได้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดกัน

เป็นจำนวนมากมาย ไม่ว่าจะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้

มาประกาศพระธรรมคำสอนกี่พระองค์ก็ตาม

 การตรัสรู้และการประกาศพระธรรมคำสอน

ก็จะเป็นพระธรรม เป็นธรรมอันเดียวกัน

เป็นเหตุอันเดียวกัน เหตุที่ผู้ปฏิบัติจะต้องบำเพ็ญ

 เพื่อที่จะได้ผลอันเดียวกัน ผลก็คือมรรคผลนิพพาน

 การได้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

พระธรรมคำสอนท่านจึงบอกว่าเป็นอกาลิโก

ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการกับเวลา

 ไม่ได้เสื่อมไปกับการกับเวลากัน

เหตุและผลของพระธรรมคำสอนนี้เป็นอันเดียวกัน

ถ้าเจริญเหตุตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เจริญ

 ผลก็คือมรรคผลนิพพาน การหลุดพ้น

จากการเวียนว่ายตายเกิด ก็จะเป็นผลอันเดียวกัน.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

.........................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๐

"ปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น"






ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 07 กันยายน 2560
Last Update : 7 กันยายน 2560 10:47:05 น.
Counter : 473 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ