: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - เมฆบ้า : เซนนอกรีต ขบถ และนักปฏิรูป :
: เมฆบ้า : เซนนอกรีต ขบถ และนักปฏิรูป :เขียน : Perle Besserman & Manfred Steger แปล : วุสิตวันต์
“เมฆบ้า” เป็นหนึ่งในนามปากกาของท่านอิคคิว พระเซนชาวญี่ปุ่น และสะท้อนรูปแบบความคิดของอาจารย์เซนทั้ง 8 ท่านในหนังสือเล่มนี้ ชีวประวัติของอาจารย์ทั้ง 8 มี ผังอวิ้น ฆราวาสชาวจีน กับ 7 อาจารย์เซนชาวจีนและญี่ปุ่น รินไซ (หลินจี้) , บัสซุย , อิคคิว , บันเกอิ, ฮากูอิน , นีโอเจน เซนซากิ และ โซเอ็น
อาจารย์เซนทุกท่านเติบโตมาในยุคสงคราม ยุคของการเปลี่ยนผ่านรูปแบบการเมืองการปกครอง บางคนเกิดขึ้นมาในยุคที่มีการบังคับให้พระสึกออกมาเป็นฆราวาส บ้างอยู่ในยุคที่ศาสนาพุทธและนิกายเซนถูกกวาดล้างอย่างหนัก แต่ทั้งหมดก็ผ่านยุคสมัยอันยุ่งเหยิงวุ่นวายเหล่านั้นมาได้ โดยมอบรูปแบบการสอนอันแปลกแหวกแนวแบบเซน
รูปแบบการศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรมแบบเซน ดูเป็นเรื่องแปลกประหลาดและยากจะทำความเข้าใจได้โดยง่าย ด้วยเพราะ “สภาวธรรม” นั้นเป็นเรื่องปัจจัตตังอย่างยิ่ง คือ พึงรู้ได้ด้วยตนเอง บอกหรืออธิบายอย่างไรก็ยากที่คนธรรมดาสามัญจะเข้าใจได้ แต่อาจารย์เซนเหล่านั้นก็พร้อมจะสอนสั่งลูกศิษย์อย่างเข้มงวดกวดขัน เพื่อกระตุ้นเตือนให้ลูกศิษย์ตระหนักรู้ในความเป็นจริงของชีวิตด้วยตนเอง
ประสบการณ์แห่งการตื่นรู้ หรือ “ซาโตริ” ในวิถีเซน จึงต้องทำไป รู้ไป ทำเอง รู้เอง โดยมีอาจารย์เป็นผู้ชี้แนะ สั่งสอน ให้บทเรียน มอบบททดสอบครั้งแล้วครั้งเล่า รวมทั้งเป็นผู้ตรวจสอบผลแห่งการปฏิบัตินั้นอย่างเข้มงวด
รวมทั้งในบางคราว...อาจารย์เซนก็เป็นผู้ยืนต้านกระแสแห่งความเสื่อม อันเกิดจากพระสงฆ์จำนวนมากซึ่งประพฤติตนมิอยู่ในร่องในรอยอันถูกต้องสมควร แนวคิดทางศาสนาซึ่งพร้อมยอมเปลี่ยนหลักการเพื่อรับใช้กลุ่มอำนาจทางการเมืองการปกครอง ไม่สามารถเปลี่ยนตัวตนของอาจารย์เซนผู้หนักแน่นในหลักธรรมได้ แม้แต่ผู้เป็นใหญ่ที่สุดในแผ่นดิน ก็ไม่อาจโน้มน้าวเปลี่ยนแปลงหลักการอันถูกต้องได้ หากเหล่าอาจารย์เซนเห็นว่านั่นมิใช่วิถีทางที่ถูกต้อง ท่านอาจเลือกแม้แต่การสละชีวิต เพื่อรักษาหลักการเอาไว้โดยไม่ยี่หระต่อความตาย
ที่สุดแล้ว...เซนมิได้เกิดและเติบโตขึ้นเฉพาะแผ่นดินจีนหรือญี่ปุ่น แต่เมล็ดพันธุ์แห่งปัญญา งอกและเติบโตไปทุกผืนแผ่นดินแห่งธรรม ไม่ว่าจะเป็นเอเชีย ยุโรปหรือแม้แต่อเมริกาก็ยังเปิดรับแนวคิดเซน เพื่อปรับใช้กับวิถีชีวิตของตน
เซนยังคงดำรงอยู่ แม้ในปัจจุบันอาจเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ และการปฏิบัติธรรมไปตามแต่ละสำนัก ตามแต่แนวคิดของครูบาอาจารย์แต่ละคน แต่หลักใหญ่ใจความของเซนหาได้ละลายหายไปกับกาลเวลาไม่ คำสอนในรูปแบบโกอานของเหล่าอาจารย์เซนในอดีต ยังคงทำหน้าที่เป็นคู่มือในการขบคิดปริศนาธรรมแม้เวลาจะผ่านไปเป็นร้อยเป็นพันปี การนั่งซาเซน หรือ การทำสมาธิยังคงเป็นกิจกรรมหลักที่ผู้ฝึกฝนตนทุกคนต้องลงมือทำ มอนโดเซน หรือ การถามตอบระหว่างศิษย์และอาจารย์ก็ยังคงเป็นการตรวจสอบความคิดทางธรรมอันเข้มข้นอยู่เสมอ
หรือแม้แต่ฆราวาสที่ไม่ได้บวชในวัด ก็ยังคงสามารถบรรลุธรรมตามหลักการที่เคยมีปรากฏในอดีต และจะยังคงอยู่สืบไปไม่ว่าในอนาคต “เซน” จะถูกเรียกขานว่าอย่างไรก็ตาม
Create Date : 25 ตุลาคม 2567 |
Last Update : 25 ตุลาคม 2567 6:27:21 น. |
|
9 comments
|
Counter : 505 Pageviews. |
|
|
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณ**mp5**, คุณหอมกร, คุณtanjira, คุณhaiku, คุณทนายอ้วน, คุณmultiple, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณtuk-tuk@korat, คุณThe Kop Civil, คุณmcayenne94, คุณปรศุราม, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณสองแผ่นดิน, คุณtoor36, คุณnewyorknurse |
โดย: หอมกร วันที่: 25 ตุลาคม 2567 เวลา:6:44:09 น. |
|
|
|
โดย: tanjira วันที่: 25 ตุลาคม 2567 เวลา:6:51:35 น. |
|
|
|
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 25 ตุลาคม 2567 เวลา:8:21:31 น. |
|
|
|
โดย: multiple วันที่: 25 ตุลาคม 2567 เวลา:9:03:01 น. |
|
|
|
โดย: mcayenne94 วันที่: 25 ตุลาคม 2567 เวลา:18:28:23 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 25 ตุลาคม 2567 เวลา:22:21:59 น. |
|
|
|
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 25 ตุลาคม 2567 เวลา:22:32:27 น. |
|
|
|
| |
มึนกลับไปแต่เช้าเลยทีเดียว
ป.ล. วันนี้คุณธัญไปไหนนะเนี่ย