: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - เซนแห่งการบำบัด :
: เซนแห่งการบำบัด :เขียน : Mark Epstein แปล : นารีรัตน์ บุญช่วย
นายแพทย์มาร์ก เอปชไตน์เป็นจิตแพทย์ที่ทำงานด้านการให้คำปรึกษามายาวนาน จุดที่แตกต่างออกไปจากจิตแพทย์ทั่วไป คือ นายแพทย์มาร์ก เอปชไตน์ ให้ความสนใจในหลักการของศาสนาพุทธ มีความตั้งใจในการใช้การฝึกสมาธิ ควบคู่ไปกับการบำบัดด้วยการแพทย์สมัยใหม่ หนังสือเล่มนี้ คือ บทบันทึกที่มาที่ไปในการเริ่มต้นสนใจ ที่จะใช้หลักธรรมมารักษาบำบัดคนไข้ซึ่งมีปัญหาทางจิต
ในบทที่ 2 นายแพทย์มาร์ก เอปชไตน์ยกตัวอย่างการรักษาคนไข้ด้วยวิธีพุทธแบบเซน คนไข้ที่เข้ามาปรึกษามีหลายรูปแบบ มีทั้งที่รักษาง่ายและรักษายาก เมื่ออ่านไปเรื่อย ๆ จะพบว่าการรักษาคนไข้นั้น ไม่สามารถใช้แนวทางใดแนวทางหนึ่ง หรือยึดหลักวิธีรักษาเพียงแนวทางเดียว แต่ต้องแก้ไขปัญหาไปตามสถานการณ์เฉพาะหน้า
มนุษย์ทุกคนมีช่วงเวลาที่ได้อยู่กับตัวเองโดยลำพัง ความคิดและความกังวลซึ่งเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันทำให้เราสับสนและเป็นทุกข์
เห็นแต่ไม่รู้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ? รับรู้ว่าอารมณ์ความรู้สึกต่างๆเกิดขึ้น แต่ไม่รู้ว่าจะจัดการกับอารมณ์เหล่านั้นอย่างไร ? ทุกข์...เพราะไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใคร ? เหมือนที่ใครบางคนกล่าวไว้ว่า“คุณไม่ใช่คนที่คุณคิดว่าคุณเป็น”ใช่ --- แล้วเราเป็นใคร ?
มีหลายสิ่งหลายอย่างมากมายในชีวิตที่เราควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าจะพยายามมากแค่ไหน สถานการณ์ต่าง ๆ เหตุการณ์บางอย่าง ความรู้สึกที่คนอื่นมีกับตัวเรา ฯลฯ สิ่งที่เราทำได้คือ การกำหนดท่าที และ มุมมอง ในการรับรู้ส่งต่างๆ เหล่านั้น และเลือกวิธีการตอบสนองกับอารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้น ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันออกไป
เพราะจุดประสงค์ของการมีชีวิต คือ การมีความสุข ความสุขที่แท้จริง มาจากความสงบอันเรียบง่าย และทัศนคติของตัวเราเอง เป็นตัวกำหนดท่าทีของความสุขที่เรามี โดยไม่ต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อมรอบตัวหรือผู้อื่น ก่อนเปลี่ยนแปลงสิ่งอื่น เราต้องเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนความคิดที่อยู่ภายในตัวเราก่อนเป็นอันดับแรก
ไม่ว่าจะเป็นการบำบัดรักษาทางจิต หรือ การฝึกฝนทางธรรม ล้วนนำไปสู่การบรรเทาความทุกข์ที่อยู่ในจิตใจทั้งสิ้น เมื่อไม่ทุกข์ ย่อมไม่เห็นธรรม ไม่ต้องการศึกษาเรียนรู้ธรรมะใดใด เพราะหากมีความสุขอยู่แล้ว ก็ย่อมสนใจแต่สุขของตน แต่เมื่อใดเกิดปัญหาขึ้นมาในชีวิต นั่นแหละ ผู้คนจึงย้อนคิดและมองหา ‘ธรรมะ’ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเยียวยาบรรเทาความเจ็บปวดของตนเอง
จิตวิเคราะห์ในเชิงจิตวิทยา กับการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนา ก็คือ การสืบค้นไปยัง ‘รากเหง้าแห่งความทุกข์’ อะไรคือปัญหาที่เกิดขึ้น ? มันเกิดขึ้นเพราะเหตุใด ? และจะต้องทำอย่างไรมันจึงจะได้รับการแก้ไข ? ดีที่ยิ่งกว่านั้น ทำอย่างไรมันจึงจะไม่เกิดขึ้นอีก ?
ในทางการรักษาของจิตแพทย์และนักบำบัด คือ การพาคนไข้ออกจากความทุกข์ทรมานทางจิตประสาท และกลับสู่ทุกข์ธรรมดาทั่วไปที่ทนรับมือได้
ในขณะที่พุทธศาสนาพร้อมจะทำให้เราเป็นอิสระจากการร้อยรัดจากทุกข์ทั้งปวง ด้วยหลักธรรม และการตระหนักรู้ในความจริงแห่งชีวิต
สาระสำคัญของการนำหลักการทำสมาธิเข้ามาผนวกกับการรักษาบำบัด คือ การทำให้ ‘บางสิ่งบางอย่าง’ ที่ซ่อนเร้นอยู่ในความคิดหรือจิตใต้สำนึกเผยตัวออกมา มีตัวอย่างของคนไข้ที่ถามคุณหมอว่า
“สาระสำคัญของการนั่งสมาธิคืออะไร ?” คุณหมอตอบว่า “ไม่มีสาระสำคัญอะไร” ก่อนจะอธิบายเพิ่มเติมว่า “เพียงแค่นั่งอยู่ตรงนั้น บางสิ่งจะปรากฏออกมาให้คุณเห็น บางสิ่งที่คุณอาจเข้าไม่ถึงและไม่มีทางทำให้มันเกิดขึ้นได้”
วิธีการซึ่งนำไปสู่การทำให้คนไข้ได้เห็น ‘บางสิ่งบางอย่าง’ นั้น อาจเป็น ‘คำตอบสำคัญ’ ของการค้นพบว่า ‘บางสิ่งบางอย่าง’ นี้ ไม่จำเป็นต้องมีอิทธิพลเหนือจิตใจของเรา ชีวิตเราไม่จำเป็นต้องถูกกำหนดด้วยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้
ธรรมะนำเราไปสู่การมองเห็น ‘มโนภาพแห่งตน’ ทำให้เราเห็นตัวเองเหมือนการมองกระจกเงา สะท้อนบุคลิก วิธีคิด วิธีโต้ตอบกับสถานการณ์ต่างๆ วิธีการรับมือกับอารมณ์อันไม่พึงใจทั้งปวง ทำให้เราสามารถอธิบายได้ว่า เราเป็นใคร กำลังทำสิ่งที่ถูกต้องอยู่หรือไม่ และถ้าไม่...เราจะต้องทำอย่างไรให้กลับมาอยู่ในจุดที่ถูกที่ควรของชีวิต
หนังสือเล่มนี้คล้ายหนังสือวิชาการเฉพาะทาง ไม่ได้อ่านง่ายสำหรับผม ซึ่งไม่มีความรู้ทางด้านจิตแพทย์ หรือหลักปรัชญาในการบำบัดผู้ป่วย เกือบทุกบท เต็มไปด้วยการวิเคราะห์ การเชื่อมโยงหลักการของการรักษากับธรรมะ ซึ่งบางครั้งเมื่ออ่านแล้วก็ยังมองไม่เห็นจุดเชื่อมโยงเท่าที่ควร
แต่สิ่งที่ผมรู้สึกได้ชัดเจนกว่า นั่นคือ เมื่อแพทย์คนหนึ่งสนใจศาสตร์อะไรก็ตาม เช่นในกรณีของนายแพทย์มาร์ก เอปชไตน์ ซึ่งสนใจเซน สนใจพุทธศาสนา และ วัชรยาน เขาได้นำหลักการที่ตนเองเรียนรู้ มาทดลองใช้กับคนไข้ของตน และแน่นอน...ไม่ใช่คนไข้ทุกคนจะมีพื้นความรู้เกี่ยวกับศาสนาพุทธ หรือเห็นทางเยียวยาตนเองในทันที ที่สุดแล้ว ในการบำบัดแต่ละกรณี ก็ยังคงต้องใช้หลักการรักษาทางการแพทย์เป็นหลักอยู่ดี
ในประเทศตะวันตกการพบจิตแพทย์หรือนักบำบัดไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรือน่าอายใดใด การเยียวยาจิตใจตั้งแต่เริ่มรู้สึกแย่ ย่อมดีกว่าการปล่อยให้มันทำร้ายจิตใจเราไปเรื่อย ๆ เพราะสุดท้ายมันจะส่งผลต่อการใช้ชีวิต ส่งผลต่อครอบครัว ต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ยิ่งรักษาเร็ว ก็ยิ่งมีโอกาสหายดีเร็วขึ้นนั่นเอง
เลือกบางประโยคที่ชอบจากหนังสือเล่มนี้มาฝากกันด้วยครับ
Create Date : 04 พฤศจิกายน 2567 |
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2567 5:21:59 น. |
|
10 comments
|
Counter : 604 Pageviews. |
|
|
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณtanjira, คุณหอมกร, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณmultiple, คุณอุ้มสี, คุณปัญญา Dh, คุณกะริโตะคุง, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณThe Kop Civil, คุณmcayenne94, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณปรศุราม, คุณสองแผ่นดิน |
โดย: tanjira วันที่: 4 พฤศจิกายน 2567 เวลา:6:30:26 น. |
|
|
|
โดย: หอมกร วันที่: 4 พฤศจิกายน 2567 เวลา:6:50:31 น. |
|
|
|
โดย: multiple วันที่: 4 พฤศจิกายน 2567 เวลา:10:16:33 น. |
|
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 4 พฤศจิกายน 2567 เวลา:11:25:59 น. |
|
|
|
โดย: กะริโตะคุง วันที่: 4 พฤศจิกายน 2567 เวลา:13:46:14 น. |
|
|
|
โดย: mcayenne94 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2567 เวลา:20:11:08 น. |
|
|
|
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 4 พฤศจิกายน 2567 เวลา:22:15:43 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 4 พฤศจิกายน 2567 เวลา:22:48:44 น. |
|
|
|
| |
การไม่ยึดมั่นถือมั่น ทำให้เราไม่เป็นทุกข์นะคะ
อาจไม่ง่ายนัก แต่ก้ไม่ยากเกินไปค่ะ
ไม่มีอะไรเป็นของเรา แม้กระทั่งตัวเรานะคะ
......
ตอนนี้แม่กับพ่อดาริญก็จะบันเทิงๆหน่อยล่ะค่ะ
เพราะดาริญก็แสบเอาเรื่อง
แต่ถ้าพ่อเขาอยู่ด้วย เขาจะไม่ค่อยออกฤทธิ์ออกเดชค่ะ
พี่เป็นหวัดรอบนี้น่าจะหลายวันเลย เพราะอากาศเริ่มเย็นด้วย
แถมมีฝนอีก ร่างกายปรับไม่ทัน แต่อย่าหอบล่ะกันเนาะ 555
พี่มาก่อนคุณหอมกรนะคะเช้านี้