มีนาคม 2568
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
4 มีนาคม 2568

: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - เอฟิล :


: เอฟิล :
เขียน : รัฐพล เพชรบดี









‘เอฟิล’ ในชื่อภาษาอังกฤษ คือ ‘efil’
ผมมองดูหน้าปก แล้วอ่านชื่อ ‘efil’ ซ้ำๆ
ผมอ่านเป็นคำว่า ‘life’

เมื่ออ่านเนื้อหาภายในเล่ม
สิ่งที่น่าสนใจมาก ๆ คือ การจัดรูปเล่ม
การจัดวางตัวอักษรและกลุ่มคำใน ‘แนวตั้ง’
ทำให้เกิดอรรถรสใหม่ในการอ่าน

ปกติเราจะอ่านหนังสือใน ‘แนวนอน’ ไล่จากซ้ายไปขวา
พอต้องอ่านจากบนลงล่าง ผมรู้สึกถึงรูปแบบของ ‘หยดน้ำ’
หยดน้ำที่มีความหนักเบาในการไหลรินลงมา



ตัว
อัก
ษร
กลาย
เป็น
หยด
น้ำ

บท
กวี
กลาย
เป็น
สิ่ง
ใด
?





ยิ่งอ่านต่อไปเรื่อย ๆ
ยิ่งพบ ‘คำถาม’ มากมายปรากฏอยู่
ในหลายบทกวี
คำถามเชิงความคิด ความรู้สึก
การดำรงอยู่ การแตกสลาย
ฯลฯ


หลายคำถามที่อาจารย์รัฐพลตั้งคำถาม
ไม่ได้เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ...ผมรู้สึกอย่างนั้น
มันเหมือนงาน Conceptual
ที่ไม่ได้ต้องการให้คนดู ‘รู้เรื่อง’ ตามความตั้งใจของคนสร้างงาน
หากแต่ปล่อยให้ ‘จินตนาการและความรู้สึก’ ของผู้ชม
เลื่อนไหลไปตาม ‘ความคิด’ ที่ถูกเขย่าให้สั่นไหวไปทีละนิด ๆ


‘บทกวี’ ภายในเล่มกำลังทำหน้าที่เช่นนั้น
อ่าน คิด --- อ่าน ไม่คิด
อ่าน ตีความ --- อ่าน ไม่ตีความ
อ่าน รู้สึก --- อ่าน ไม่ต้องเข้าใจ
ไม่ต้องกลัวว่าจะอ่านแล้วไม่เข้าใจ
อ่านไปเรื่อย ๆ ตามความรู้สึกของตนเอง



คำ
ถาม
แล้ว
คำ
ถาม
เล่า
ไม่
มี
คำ
ตอบ
เพื่อ
ตอบ
ความ
สงสัย




ในบางบทที่มีการจัดหน้ากระดาษ
เรียงลงมา 4-5 คอลัมน์
รู้สึกได้ถึงความแคบ การบีบอัด
ยิ่งต้องอ่านจากบนลงล่าง ทีละคำ ทีละคำ
ยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนเดินอยู่ในทางเดินแคบ ๆ
มีเพียงเงาสลัว ๆ ต้องเดินไปเรื่อย ๆ
โดยไม่รู้ว่าจุดหมายปลายทางคืออะไร ?
เมื่อไปสุดทางจะพบเจอสิ่งใด ?


เทคนิคการใช้คำซ้ำ และการสลับตำแหน่งของคำ
ยิ่งขับเน้นให้บทกวียิ่งน่าสนใจ
ชวนให้ค้นหาความหมายซึ่งซ่อนอยู่ในแต่ละวรรคแต่ละตอน



สำหรับผม...หนังสือบทกวีเล่มนี้
สามารถเป็นได้ทั้งหนังสือและงานศิลปะ
โดยใช้ตัวอักษร...แทนผืนผ้าใบและหยดสี

หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการปิดท้ายการอ่านประจำปีนี้ของผม
ที่ทำให้รู้สึกถึงความยอดเยี่ยมมาก ๆ เลยครับ
อ่านจบรอบแรก ยังรู้สึกอยากกลับไปอ่านซ้ำอีกรอบในทันที !





































Create Date : 04 มีนาคม 2568
Last Update : 4 มีนาคม 2568 5:26:44 น. 17 comments
Counter : 651 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณหอมกร, คุณtanjira, คุณnewyorknurse, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณkae+aoe, คุณmultiple, คุณปัญญา Dh, คุณกะริโตะคุง, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณอุ้มสี, คุณnonnoiGiwGiw, คุณThe Kop Civil, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณSleepless Sea, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณปรศุราม, คุณสองแผ่นดิน, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณSweet_pills


 
ทำไมคุณก๋าไม่เขียนชื่อหนังสือว่าไลฟ์หละ
ไปเขียนชื่อหนังสือเขาให้มึนๆ แบบนี้
ยิ่งทำให้หนังสือเขาขายอยากขึ้นไปใหญ่
ป.ล.ป่านนี้คุณธัญน่าจะตื่นแล้วนะ



โดย: หอมกร วันที่: 4 มีนาคม 2568 เวลา:6:20:39 น.  

 
จะว่าไปก็เจ้าของหนังสือ
เขาตั้งชื่อของเขาแบบนั้น
เองหนะนะดูจากหน้าปกนั่น



โดย: หอมกร วันที่: 4 มีนาคม 2568 เวลา:6:22:59 น.  

 
สวัสดียามเช้าค่ะก๋า

เป็นการอ่านที่ทำให้เรามองหาแต่คำตอบนะคะ


...

แม่อยากให้ลูกมีสมาธิ ก็ส่งลูกไปเรียนศิลปะ
ลูกมีสมาธิกับการระบายสีในที่เรียน พอกลับบ้านลูกก็เหมือนเดิม
คำถามคือแล้วทำไมพ่อแม่ไม่ลองระบายสีร่วมกับลูกเวลาอยู่บ้าน

ปู่ย่าอยากให้หลานอยู่นิ่งๆไม่ซน แล้วทำไมปู่ย่าไม่ลองนั่งเล่นกับหลานดู

บางเรื่องก็ผลักไปเป็นปัญหานั้นเกิดจากเด็กนะคะ


เช้านี้ตื่นก่อน6โมงค่ะคุณหอมกร



โดย: tanjira วันที่: 4 มีนาคม 2568 เวลา:6:32:41 น.  

 


โดย: หอมกร วันที่: 4 มีนาคม 2568 เวลา:6:38:33 น.  

 
ขอบคุณที่แบ่งปันนะคะ


โดย: kae+aoe วันที่: 4 มีนาคม 2568 เวลา:8:22:52 น.  

 
ข้อคิดในหนังสือเล่มนี้ เหมือนกับ การทำงาน งานศิลปะเลยนะครับ
เพราะมีการจัด Composition ซึ่งแต่ละหน้าก้ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ไล่ไปตั้งแต่

สัดส่วนของภาพ (Proportion)
ความสมดุลของภาพ (Balance)
จังหวะลีลาของภาพ (Rhythm)
การเน้นหรือจุดเด่นของภาพ (Emphasis)
เอกภาพ (Unity)
ความขัดแย้ง (Contrast)
ความกลมกลืน (Harmony)

แต่คนที่น่าจะปวดหัวที่สุด คือ คนตรวจ ปรู๊ฟ ตรวจ Layout เวลาจะส่งพิมพ์นะครับ 555

ส่วนเรื่องพระเครื่อง นี่อาจารย์เต๊ะ รู้แค่ว่า แม้จะมีองค์ประกอบจากดินหินธาตุต่างๆ แต่ก็เป็นมวลสารที่มีราคาแพงมหาศาล
มากกว่าที่ดิน ทำเลทองกลางกรุงอีกนะครับนี่ 555



โดย: multiple วันที่: 4 มีนาคม 2568 เวลา:8:44:40 น.  

 
แหม่ หนังสือนี่น่าจะเขียนให้อ่านจากขวาไปซ้ายให้มันรู้เรื่องรู้ราวซะเลยเนอะ

ช่วงที่ผมไปทำงานต่างประเทศ นิสัยการอ่านผมเปลี่ยนไปเยอะครับ จริงๆผมชอบอ่านจากหนังสือมากกว่า มีการจับ การกรีดกระดาษเปิดไปหน้าถัดไป ตัวหนังสือหรือเนื้อกระดาษก็ไม่มี back light ส่องหน้าจนปวดตา รู้สึกดีกว่าครับ แต่ด้วยความที่เดินทางบ่อยการที่จะขนหนังสือ(การ์ตูน ) ไปอ่านด้วยมันก็มากเกินไปหน่อย โหลดใส่ ipad ไปอ่าน เลือกเวลา สถานที่ให้เหมาะสมไม่ทรมานสายตาก็เป็นทางเลือกที่ต้องทำครับ


โดย: กะริโตะคุง วันที่: 4 มีนาคม 2568 เวลา:8:58:19 น.  

 
เล่มนี้เยี่ยมเลยจ้าน้องก๋า


โดย: อุ้มสี วันที่: 4 มีนาคม 2568 เวลา:9:41:23 น.  

 
พอต้องใช้จินตนาการและความรู้สึกในการอ่านทำให้ผมย้อนนึกไปถึงสมัยตอนเรียน ป.ตรี ผมได้ไปฝึกงานที่แม่สอด ได้ไปนอนในแคมป์ก่อสร้างตรงค่ายทหาร ติดชายแดนพม่า เสาร์ อาทิตย์ไม่มีไรทำ ก็ไปซื้อหนังสือร้านดอกหญ้าในตลาดแม่สอดมาอ่านกันคนละเล่ม ผมได้หนังสือชาวเขื่อน ต้นส้มแสนรัก จักรยานแดงในรััวเขียวมา ตอนนั้นชอบบรรยากาศมาก ๆ ครับ รำลึกความหลังอีกละครับ 555


โดย: The Kop Civil วันที่: 4 มีนาคม 2568 เวลา:10:32:19 น.  

 
สว้สดี จ้ะ น้องก๋า

"‘เอฟิล’ ชื่อ แปลกดีสมกับรูปแบบในการเขียนบทกวี เห็น
แล้วคิดถึงนักเขียนที่ชื่อว่า จ่างแซ่ตั้ง (ผู้ริเริ่ม วรรณรูป) แต่ของ
จ่าง แซ่ตั้ง มีรูปแบบหลากหลายกว่า จ้ะ
โหวดหมวด แนะนำหนังสือ


โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 4 มีนาคม 2568 เวลา:10:40:12 น.  

 
สวัสดีตอนพักเที่ยงครับคุณก๋า

ตัวอักษรจัดวางได้เท่มากครับ
ชื่อหนังสือเขียนย้อนกลับด้วยครับ



โดย: Sleepless Sea วันที่: 4 มีนาคม 2568 เวลา:12:02:36 น.  

 
ข้อเสียของผมเลย คือ ซื้อหนังสือมาอ่านจบแล้ว เก็บไม่เป็นที่ พอมีคนมายืมอ่านแล้วจำไม่ได้ว่าใครยืมไป แล้วหนังสือมันหายไปตอนไหนนะ เผลอลืมไปละ


โดย: The Kop Civil วันที่: 4 มีนาคม 2568 เวลา:15:56:23 น.  

 
สวัสดียามบ่ายค่ะ พี่ก๋า

แดดดีตั้งแต่เช้ายันเย็นเลยค่ะ
เดินไป6โล เยี่ยมมากค่ะพี่
วันนี้หนูต้องไปเดินบ้างแล้ววว
ขี้เกียจมาหลายวันแล้วค่ะ




โดย: โฮมสเตย์ริมน้ำ วันที่: 4 มีนาคม 2568 เวลา:16:24:22 น.  

 
สวัสดีครับคุณก๋า

ผมมองว่าหนังสือเล่มนี้เหมือนงานศิลปะชิ้นนึงเลยนะครับ
เป็นงานศิลปะที่จูงใจผู้อ่าน
กระตุ้นความคิด ความรู้สึกในใจ ในสมอง
ให้ออกมาทำงาน มากกว่าทั่วไป
พอเป็นคำแนวตั้ง ให้ความรู้สึกเหมือนแนวญี่ปุ่น เซน เซน นิ่งๆ นะครับ
และปกสวย เท่ครับ


โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 4 มีนาคม 2568 เวลา:17:52:33 น.  

 
ดูแปลกตาดีครับ สำหรับการจัดรูปเล่มลักษณะนี้

มันก็น่าคิดเหมือนกันว่าอยู่ไปเพื่ออะไร มีชีวิตอยู่พาลแต่จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่โลกและสังคม


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 4 มีนาคม 2568 เวลา:21:25:34 น.  

 
อ่านจากบนลงล่างได้ความรู้สึกไปอีกแบบ

อุตุบอกมีพายุฝนฤดูร้อน ฟ้าผ่า แต่ยังไม่มีมาครับ อยากให้มีฝนมากกว่ามีพายุ



โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 4 มีนาคม 2568 เวลา:22:39:39 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณก๋า

การวางอักษรในแนวตั้งหรือแนวทะแยง
มีผลต่อการกวาดสายตาของเรานะคะ
เหมือนต้องจดจ่อมากกว่าวางในแนวนอนปกติน่ะค่ะ

พูดถึงการสลับคำ เคยเจอบทความสลับคำน่าจะเพื่อนส่งทางไลน์
แปลกค่ะคุณก๋าที่เรายังอ่านออก

รูปแบบและสีสันปกก็น่าสนใจด้วยค่ะ

คุณก๋าฝันดีนะคะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 5 มีนาคม 2568 เวลา:0:31:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กะว่าก๋า
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 395 คน [?]




มองฉันอีกครั้ง
เธออาจเห็นฉัน
หรืออาจไม่เห็นฉัน

ฉันแค่แวะผ่านทางมา
และอาจไม่หวนกลับมาทางนี้อีกแล้ว

เราเคยรู้จักกัน
และมันจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป

มองดูฉันอีกครั้ง
เธออาจเห็นฉัน
และฉันอาจมองไม่เห็นเธอ.





[Add กะว่าก๋า's blog to your web]