Group Blog
All Blog
### ละสังโยชน์ 3 ข้อแรก ###





















“ละสังโยชน์ ๓ ข้อแรก”

เราต้องพิจารณาขันธ์ ๕ ด้วยการพิจารณารูปขันธ์เป็นขันธ์แรก

 พิจารณารูปขันธ์ก็คือพิจารณาร่างกาย

 ต้องพิจารณาร่างกายให้เห็นว่าร่างกายนี้ไม่เที่ยง

ร่างกายนี้เกิดแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายไปเป็นธรรมดา

 ถ้าใจไม่มีสมาธิใจจะไม่อยากคิด หรือพอจะพิจารณา

ใจก็เกิดความหดหู่ใจขึ้นมา หรือเกิดความเบื่อหน่าย

แต่ถ้าใจมีสมาธิแล้วนี้ ความหดหู่หรือความเบื่อหน่าย

ในเรื่องการพิจารณาร่างกายนี้จะไม่มี

จะสามารถคอยเตือนใจคอยสอนใจอยู่เรื่อยๆ

การพิจารณานี้ก็ไม่ใช่พิจารณาเพื่อให้เรารู้สิ่งเหล่านี้

ความจริงสิ่งเหล่านี้เรารู้กันอยู่แล้ว

แต่ปัญหาคือเรารู้แล้วมันมักจะลืม

พอเราไม่คิดถึงมันปั๊บเราลืมไปเลยว่า

เราต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายแล้วกิเลสก็จะมาหลอก

ให้เราพยายามทำตัวเรา

ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตายกัน นี่คือปัญหา

 เราจึงจ้องพิจารณาอยู่บ่อยๆ พิจารณาอยู่เรื่อยๆ

เพื่อไม่ให้หลงไม่ให้ลืม ความจริงพวกเราทุกคนรู้กันอยู่แล้ว

ว่าร่างกายนี้เกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายกัน

 แต่ปัญหาของใจก็คือยังไม่ยอมรับความจริงอันนี้

ยังไม่ยอมแก่ ยังไม่ยอมเจ็บไข้ได้ป่วย ยังไม่ยอมตายกัน

 ยังอยากจะเป็นหนุ่มเป็นสาวไปเรื่อยๆ

 ยังอยากจะมีสุขภาพแข็งเเรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย

 ยังอยากจะอยู่ไปเรื่อยๆ ไม่มีวันตาย

พอเจอความแก่ เจอความเจ็บไข้ได้ป่วย เจอความตาย

ก็เกิดความทุกข์ใจขึ้นมาทันที เกิดความกลัวขึ้นมาทันที

ความทุกข์ใจเหล่านี้เกิดจากความอยากไม่แก่

 อยากไม่เจ็บไข้ได้ป่วย อยากไม่ตาย เพราะลืมไปว่าจะต้องแก่

 จะต้องเจ็บ จะต้องตายกัน

 แต่ถ้าหมั่นพิจารณาด้วยปัญญาอยู่เรื่อยๆ

ว่าร่างกายนี้เป็นอนิจจัง เป็นของไม่เที่ยง

เกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย

ไม่มีใครที่จะมายับยั้งห้ามมันไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตายได้

 แต่ใจของเรานี้ไม่ต้องไปกลัวมันไม่ต้องไปทุกข์กับมันได้

 ถ้าเรายอมรับความจริง นี่คือหน้าที่ของปัญญา

 คือพยายามคอยเตือนใจสอนใจให้ยอมรับความจริง

ให้เห็นว่าความจริงนี้ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครที่จะมาเปลี่ยนแปลงได้

แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้

ร่างกายของพระพุทธเจ้าก็ต้องแก่ ก็ต้องเจ็บ ก็ต้องตาย

 ร่างกายของพระอรหันตสาวกทั้งหลายก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย

 แต่ใจของท่านมีปัญญา ใจของท่านปล่อยวางร่างกายได้

 ยอมรับความจริงของร่างกายได้ เพราะมีปัญญาคอยสอนใจ

 อยู่ทุกวินาทีเลยก็ว่าได้ พอเกิดความหลงโผล่ขึ้นมาหลอก

ให้อยากให้ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายนี้ปัญญาก็จะกำจัดทันทีเลย

ว่าเป็นไปไม่ได้ ไอ้ที่อยากจะไม่ตายนี้เป็นไปไม่ได้

ถึงเวลามันตายก็ตายด้วยกันทุกคน

อยากจะไม่เจ็บนี้เป็นไปไม่ได้

ถึงเวลามันเจ็บก็ต้องเจ็บด้วยกันทุกคน

 ถึงเวลาแก่ก็ต้องแก่ด้วยกันทุกคน

ถ้ามีปัญญาคอยสอนใจอยู่เรื่อยๆ

 จนใจไม่หลงไม่ลืม ใจก็จะไม่เกิดตัณหา

ความอยากไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย พอไม่มีตัณหา

ความอยากไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ความทุกข์ก็จะไม่มี

พอไม่มีความทุกข์ใจก็จะหลุดพ้นจากขันธ์ ๕ นี้ได้

จากการหลงไปคิดว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวเราของเรา

มันจะเป็นตัวเราของเราได้อย่างไร เวลาที่มันหายไปแล้ว

 เวลาที่มันตายไปแล้ว เช่นของต่างๆ ที่เรามีอยู่ตอนนี้

มันเป็นของเราอยู่ใช่ไหม แต่ถ้ามันมีคนมาขโมยไปนี้

มันยังเป็นของเราอยู่หรือเปล่า

หรือมันเป็นของคนที่เขาขโมยไปแล้ว

 นั่นแหละ พอร่างกายนี้ตายไปมันก็ไม่ได้เป็นของเราแล้ว

นี่คือการพิจารณาให้เห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเราของเรา

ไม่ช้าก็เร็วก็จะต้องหายไปจากเราไป ไปไหนก็ไปสู่ดินน้ำลมไฟ

ร่างกายนี้ทำด้วยดินน้ำลมไฟ ผลิตด้วยดินน้ำลมไฟ

 พอเวลาตายไปมันก็แยกกลับคืนสู่ ดินน้ำลมไฟไป

ถ้าเราพิจารณาอยู่เรื่อยๆ เราจะเห็นความจริงว่า

เราไม่ได้เป็นร่างกายร่างกายไม่ใช่เรา

ผู้พิจารณากับสิ่งที่ถูกพิจารณานี้เป็นคนละเรื่องคนละอันกัน

 ผู้ที่พิจารณานี้ก็คือใจที่มาครอบครองร่างกาย ไว้ชั่วคราว

 ก็พิจารณาคอยสอนใจเตือนใจว่า เราไม่ใช่ร่างกาย

 เราได้ร่างกายนี้มาจากพ่อจากแม่ แล้วไม่ช้าก็เร็ว

เราก็ต้องคืนร่างกายนี้ให้กับดินน้ำลมไฟไป

 นี่คือเรื่องของการพิจารณาเพื่อละสักกายทิฐิ พิจารณาร่างกาย

เวทนาก็คือความเจ็บไข้ได้ป่วยนี่เองทุกขเวทนา

 เวลาร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วยก็จะมีทุกขเวทนาขึ้นมา

เวลาไม่เจ็บไข้ได้ป่วยก็จะมีสุขเวทนา หรือไม่สุขไม่ทุกขเวทนา

เราก็พิจารณาว่ามันเป็นสิ่งที่เราไปอยาก

ให้เขาเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ไม่ได้

เขาจะเป็นอย่างไรเราก็ต้องยอมรับเพียงอย่างเดียว

เช่นตอนนี้เรามีเวทนาแบบไหน

ตอนนี้เรามีสุขเวทนาหรือมีทุกขเวทนา

 หรือไม่สุขไม่ทุกขเวทนา เราก็รับมันไป

ถ้าเรารับมันเราก็จะไม่เดือดร้อน ตอนนี้เราไม่เดือดร้อนกับเวทนา

เพราะอะไร เพราะว่าเรารับกับความสุขเวทนา

 รับกับความไม่สุขไม่ทุกขเวทนาได้

 แต่ปัญหาของเราอยู่ตรงที่ทุกขเวทนา เราไม่ยอมรับมัน

เรารัก ๒ คน แต่คนที่ ๓ นี้เราไปเกลียดมัน

พอมันโผล่มาทีไรเราจะช๊อคตายทุกที

 เราก็ต้องมาหัดทำใจว่าเราหนีเขาไม่ได้

 เขาก็เป็นเหมือนลูกคนที่ ๓ ของเรา

มีลูก ๓ คน ๒ คนแรกนี้ไม่มีปัญหา

แต่คนที่ ๓ นี้เกเรสร้างความปวดหัวให้กับเราอยู่เรื่อยๆ

แต่มันก็เป็นลูกของเรา เราก็ทิ้งมันไม่ได้ ให้มันหายไปจากเราไม่ได้

 มันเป็นส่วนหนึ่งของเรา มันเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย

มันมากับร่างกาย ทุกขเวทนา สุขเวทนา ไม่สุขไม่ทุกขเวทนา

ทุกขเวทนาก็คือเวลาที่เราเจ็บไข้ได้ป่วยนี่เอง

หรือเวลาที่เราเดินไปเตะอะไรเข้า เหยียบอะไรเข้า

ลื่นหกล้มก็จะเกิดทุกขเวทนาขึ้นมา เราก็ต้องอย่าไปรังเกียจเขา

 เราต้องยอมรับเขาเหมือนกับเรารับสุขเวทนา

กับไม่สุขไม่ทุกขเวทนา

 ถ้าเรามีสมาธิแล้วเรารู้ว่า เราไม่สามารถที่จะไปห้ามไปสั่ง

ไม่ให้เกิดทุกขเวทนาได้ แต่เราอยู่กับมันได้แล้ว

เราจะอยู่อย่างไม่ทุกข์ได้ ถ้าเราไม่มีความรังเกียจ

 ที่เราทุกข์เพราะเรามีความรังเกียจ

เช่นเวลาเราเจ็บไข้ได้ป่วยนี้

เราไม่ได้เจ็บเพียงแต่ร่างกายเท่านั้น

เราเจ็บที่ใจด้วย ไปทุกข์ที่ใจด้วย

เพราะใจเราไม่อยากให้ร่างกายมันเจ็บไข้ได้ป่วย

อยากจะให้มันหาย แต่พอมันยังไม่หายใจก็ทุกข์ขึ้นมา

 แต่ถ้าใจมันยอมรับว่าตอนนี้มันเจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องเจ็บไปก่อน

 รักษาได้ก็รักษาไป กว่าจะหายก็อาจจะต้องใช้เวลาบ้าง

พอรักษาไปเดี๋ยวมันก็หาย  ถ้าเราไปไม่อยากให้มันหาย

เราจะไม่ทุกข์ในขณะที่มันเจ็บไข้ได้ป่วย เราก็จะอยู่กับมันได้

นี่คือเรื่องของการพิจารณาขันธ์ ๕ ตัวที่เป็นปัญหาก็คือ ๒ ตัวนี้

คือ รูปขันธ์กับเวทนาขันธ์ แล้วตัวสังขารก็คือ ความคิดปรุงเเต่ง

ก็ต้องอย่าไปคิดว่ามันเป็นตัวเราของเรา

อย่าไปคิดว่าเราห้ามมันได้สั่งมันได้ เราห้ามไม่ได้

ร่างกายเราห้ามมันไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตายได้

เวทนาเราห้ามไม่ให้มันเกิดทุกข์เวทนาขึ้นมาไม่ได้ มันจะต้องเกิด

เราต้องเปลี่ยนสังขารความคิดของเราใหม่ว่า

เราจะต้องเจอความแก่ ความเจ็บ ความตาย

เราจะต้องเจอทุกขเวทนาเป็นธรรมดา

นี่ที่ท่านสอนให้เราหมั่นพิจารณาอยู่เนืองๆ

ว่า เกิดมาแล้วย่อมมีความแก่เป็นธรรมดา

ย่อมมีความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นธรรมดา

ย่อมมีความตายเป็นธรรมดา

 ล่วงพ้นความแก่ ความเจ็บ ความตายไปไม่ได้

อันนี้ก็เพื่อสอนให้ใจเราอย่าไปรังเกียจมันนั่นเอง

ให้ยอมรับมัน เพื่อเราจะได้ไม่เกิดความอยากให้มันเป็น

 พอไม่มีความอยากใจจะไม่ทุกข์

ที่เราปฏิบัติธรรมปฏิบัติเพื่อมรรคผลนี่

ก็เพื่อดับความทุกข์ใจนี่เอง

มรรคก็จะสอนใจให้ปล่อยวาง

 ปล่อยขันธ์ ๕ ให้ปล่อยวางร่างกาย

 ให้ปล่อยวางเวทนา ให้สังขารคิดไปในทางปล่อยวาง

ให้สัญญาจำไปในทางที่เป็นความจริงก็คือ ร่างกายไม่ใช่ของเรา

 เวทนาไม่ใช่ของเรา ร่างกายไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง

 วิญญาณนี้ไม่มีปัญหา วิญญาณเป็นผู้ที่ทำหน้าที่รับความเจ็บ

 รับความแก่ ความตายของร่างกายมาสู่ใจ

เป็นสะพานเชื่อมระหว่างใจกับขันธ์ ตัวนี้ไม่มีปัญหาอะไร

 เราไม่ต้องทำอะไร ตัวที่มีปัญหาก็คือ

 รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ สัญญาขันธ์

รูปขันธ์เราก็ต้องพิจารณา ด้วยสังขารขันธ์ว่ามันไม่เที่ยง

มันเป็นทุกข์มันไม่ใช่เป็นของเรา

ถ้าพิจารณาบ่อยๆ สัญญาก็จะจำได้ว่า

อ๋อ ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเรา

เวทนาไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเรา อย่าไปอยากควบคุมบังคับเขา

ให้เขาเป็นตาม ความอยากของเรา เพราะจะทุกข์ไปเปล่าๆ

เพราะความทุกข์ของเรานี้เกิดจากความอยากของเราเอง

 ไม่ได้เกิดจากความแก่ ความเจ็บ

ความตายของร่างกายแต่อย่างใด

ผู้ที่มีปัญญาจะไม่มีความทุกข์กับขันธ์ ๕

 เพราะเข้าใจขันธ์ ๕ และปล่อยวางขันธ์ ๕ ได้

ผู้ที่เข้าใจและปล่อยวางขันธ์ ๕ ได้ก็คือผู้ที่ละสักกายทิฐิได้นี่เอง

 ขณะที่พิจารณาเรื่องราวเหล่านี้อยู่เราเรียกว่า กำลังเจริญมรรคกัน

 ถ้าเรากำลังปัญญาเพื่อละสังโยชน์ขั้นที่ ๑ คือโสดาปฏิมรรค

 ถ้าเราพิจารณาเพื่อละสังโยชน์ เราเรียกว่าเรากำลังเจริญมรรค

มรรคขั้นที่ ๑ ก็คือโสดาปฏิมรรค

 พอเราพิจารณาจนปัญญาสอนให้ใจปล่อยวางได้

 ตัดความอยากต่างๆ เกี่ยวกับขันธ์ ๕ ได้

ใจก็จะหายจากความทุกข์ที่ไปเกิดจากการไปยึดติดกับขันธ์ ๕

ไปยึดติดร่างกายไปยึดติดกับเวทนา

 พอใจละได้ปั๊บใจก็จะบรรลุได้

 การบรรลุนี้จะบรรลุได้ทั้ง ๓ ข้อพร้อมๆ กันไปเลย

 เพราะมันมาเป็นพวงเดียวกัน สังโยชน์ ๓ ข้อแรกนี้

สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพตตปรามาสนี้ มันมาเป็นพวงเดียวกัน

 เพราะอะไร เพราะมันเกี่ยวดองกันเกี่ยวเนื่องกัน

เวลาเราพิจารณาละสักกายทิฐิได้ เราก็จะมีดวงตาเห็นธรรม

 เราจะมีปัญญามีสัมมาทิฏฐิ เห็นอริยสัจ ๔

ว่าความทุกข์ของเรานี้เกิดจากตัณหา ความอยากของเราเอง

ที่ไปอยากให้ขันธ์ ๕ ที่ไม่ใช่เป็นตัวเราของเรา

ให้อยู่ภายใต้การควบคุมบังคับของเรา

ซึ่งเราทำไม่ได้เป็นไปไม่ได้

พอเราปล่อยวางมันเราก็จะไม่ทุกข์กับมัน

 เราก็จะเห็นอริยสัจ ๔ เห็นว่าความทุกข์ของเรานี้

เกิดจากความอยากของเรา

อยากให้ขันธ์ ๕ เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้

 แต่พอเราใช้ปัญญาที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พิจารณาว่า

 เขาไม่ใช่เป็นของเรา เราไปสั่งไปห้ามไปบังคับ

ให้เขาเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ไม่ได้

 พอเราปล่อยให้เขาเป็นไปตามเรื่องของเขา

เขาจะแก่ก็ปล่อยเขาแก่ เขาจะเจ็บก็ปล่อยเขาเจ็บ

 เขาจะตายก็ปล่อยเขาตาย พอปล่อยปั๊บความทุกข์ก็จะหายไป

 หายไปนิโรธก็ปรากฏขึ้นมา การดับของความทุกข์

ความทุกข์หายไปเรียกว่านิโรธ หายไปด้วยมรรค คือปัญญา

ที่เห็นว่าขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวเราของเรา ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง

 เกิดแก่เจ็บตาย ก็จะละสังโยชน์ข้อที่ ๑ ได้

พอละสังโยชน์ข้อที่ ๑ ได้ก็มีดวงตาเห็นธรรม

ก็รู้เลยว่าพระพุทธเจ้าเป็นใคร คนที่สอนธรรมะนี้คือใคร

 เมื่อก่อนอาจจะสงสัยว่าพระพุทธเจ้ามีจริง หรือไม่มีจริง

เป็นเรื่องนิยายที่เขาแต่งกันขึ้นมาหรือเป็นเรื่องจริงแท้

 แต่พอเราเอาคำสอนของพระพุทธเจ้า มาปฏิบัติ

จนเราได้รับประโยชน์ได้ผลจากการปฏิบัติเราก็จะไม่สงสัย

ว่า คนสอนมีจริงหรือไม่มีจริง ในเมื่อคำสอนเป็นของจริง

ก็ต้องมีคนสอนจริง เราก็จะไม่สงสัยพระพุทธเจ้าว่ามีจริงหรือไม่

เราจะไม่สงสัยในพระธรรมคำสอนว่า

สามารถนำเอาไปดับกิเลสตัณหา ดับความทุกข์ต่างๆ ได้หรือไม่

ผู้ที่ไม่สงสัยที่มีดวงตาเห็นธรรมก็คือ พระอริยสงฆ์นี่เอง

ผู้ที่บรรลุธรรมขั้นที่ ๑ อริยมรรค อริยผลขั้นที่ ๑ ก็คือพระโสดาบัน

 ก็คือผู้ปฏิบัติที่พิจารณาปัญญาเพื่อละสังโยชน์นี่เอง

ก็จะไม่สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อีกต่อไป

เพราะมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ภายในใจแล้ว

มีธรรมะคืออริยสัจ ๔ มีปัญญาคืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 ก็เลยจะไม่สงสัยว่ามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์หรือไม่

และจะไม่ยึดติด กับสีลัพพตปรามาสก็คือ

การปฏิบัตินอกคำสอนของพระพุทธเจ้า

การปฏิบัตินอกคำสอนนี้เรียกว่าสีลพัพต

 เช่นการไปเปลี่ยนชื่อเวลาทุกข์ใจก็ไปเปลี่ยนชื่อ

เวลาเบื่อสามีก็ไปเปลี่ยนสามีใหม่หรือเปลี่ยนภรรยาใหม่

อันนี้ไม่ใช่เป็นวิธีดับความทุกข์ใจ เดี๋ยวก็เหมือนเดิม

ไปเจอภรรยาใหม่สามีใหม่ก็เป็นคนเก่านั้นแหละ

 เพราะมันเหมือนกันทุกคน ทุกคนมีความโลภ โกรธ หลง

เหมือนกันทั้งหมด ต่างกันตรงที่รูปร่างหน้าตาเท่านั้นเอง

แต่ไส้เหมือนกัน เหมือนกับผลไม้

ส้มแหนะ กี่ลูกๆ มันก็ข้างในเหมือนกันทั้งนั้น

ข้างนอกมันอาจจะมีสีต่างกันบ้าง แต่พอเปิดเข้าไปข้างในแล้ว

มันก็เหมือนกัน อันนั้นไม่ใช่เป็นวิธีแก้ความทุกข์

ด้วยการไปเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนนามสกุล

หรือ ไปทำพิธีกรรมอะไรต่างๆ สะเดาะเคราะห์ต่างๆ

ทำไปมันก็ดับความทุกข์ใจไม่ได้

ความทุกข์ใจมันเกิดจากความอยาก

 มันไม่ได้เกิดจากเหตุการณ์ต่างๆ

 เกิดจากความอยากของใจ

ไม่อยากให้เหตุการณ์ต่างๆเป็นไปตามที่ไม่อยากให้เป็นเท่านั้นเอง

 เช่นไม่อยากให้เสื่อม อยากจะเจริญในลาภยศ สรรเสริญ

 พอเริ่มมีการเสื่อมในลาภยศ สรรเสริญก็วิตกกังวลไม่สบายใจขึ้นมา

ก็ไปหาหมอดู หมอก็บอกว่าให้ไปบูชาพระราหูบ้าง

ทำโน่นทำนี่บ้าง วิธีการเหล่านี้ถือว่าเป็นการสีลัพพตปรามาส

 วิธีการที่ถูกต้องที่จะทำให้ดับความทุกข์ได้ก็คือมาปฏิบัติธรรม

มารักษาศีล ๘ มาเจริญสมาธิ มาเจริญปัญญากัน

เพื่อให้เห็นว่า ความทุกข์ของใจนี้เกิดจาก

ตัณหาความอยากของใจเอง อยากไม่แก่ อยากไม่เจ็บ

อยากไม่ตาย อยากไม่เสื่อมในลาภยศ สรรเสริญ

ทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้ามีปัญญาพิจารณาก็จะเห็นว่า

ความเสื่อมนี้ เป็นเรื่องธรรมดาของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้

ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องเสื่อมหมดไปไม่ช้าก็เร็ว

พอมีปัญญาเห็นแล้วยอมรับความจริง

ใจก็หยุดความอยากไม่เสื่อมได้ ปล่อยให้มันเสื่อมไป

พอยอมรับความเสื่อมได้ใจก็จะไม่ทุกข์กับความเสื่อม

ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปทำอะไร มันจะเสื่อมก็ห้ามมันไม่ได้

ถ้ามันไม่เสื่อมก็ดีไป หรือถ้ามันเสื่อมแล้วยังอยากได้ใหม่ก็หาใหม่ได้

 เวลาเราเกิดมาเราก็มาตัวเปล่าๆ เราก็ไม่ได้เอาอะไรมา

 ถ้าสิ่งที่เรามีอยู่ตอนนี้มันหายไป ถ้าหาใหม่ได้ก็หามาใหม่

หาไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เรามีสิ่งที่ดีกว่ารอเราอยู่

 ก็คือการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

 เพราะเราจะได้รับความสุขที่ดีกว่า

ความสุข ที่เราได้รับจากสิ่งต่างๆ

 ในเวลาที่เราได้ละสังโยชน์แต่ละขั้นนี้

ใจของเราจะมีความสุขเพิ่มขึ้นไปตามลำดับ

นี่ก็คือเรื่องของการเจริญมรรคเพื่อที่จะได้ผล

มรรคผลนี้เป็นของที่เรียกว่าเป็นเหตุและเป็นผล

มรรคเป็นเหตุทำให้เกิดผลขึ้นมา

ถ้าอยากจะได้โสดาปฏิผลก็ต้องละสังโยชน์ ๓ ข้อ

ก็คือ สีลัพพตปรามาส วิจิกิจฉา และสักกายทิฐิ

 วิธีที่จะละก็ให้พิจารณาละแค่สักกายทิฐิ

แล้วอีก ๒ ข้อก็จะตามมาด้วยจะเป็นผลพลอยได้มา

 นี่คือมรรคผลขั้นที่ ๑ที่เรียกว่า โสดาบัน.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

...................................

ธรรมะบนเขา วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๙

“วิธีฟังธรรมเพื่อมรรคผลนิพพาน”










ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 31 มกราคม 2559
Last Update : 31 มกราคม 2559 11:04:49 น.
Counter : 1136 Pageviews.

0 comment
### ชีวิตกับความตายเป็นของคู่กัน ###
















ชีวิตกับความตายเป็นของคู่กัน

การระลึกว่าความตายอาจมาถึงเราเมื่อไรก็ได้

 ยังทำให้เราเห็นถึงคุณค่าของแต่ละวันที่เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้

 เพราะเราไม่รู้เลยว่าวันพรุ่งนี้จะมีหรือไม่

ทำให้เราเห็นถึงคุณค่าของแต่ละวันที่คนรักยังอยู่กับเรา

 เพราะเราไม่รู้เลยว่าวันพรุ่งนี้จะได้พบกันอีกหรือไม่

ทำให้เราชื่นชมกับสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่กับตัวและรอบตัว

 เพราะเราไม่รู้เลยว่าวันพรุ่งนี้เราจะมีโอกาสชื่นชมสิ่งเหล่านั้นหรือไม่

 ทำให้เราติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยความใส่ใจ

เพราะเราไม่รู้เลยว่าพรุ่งนี้จะได้พบกันอีกหรือไม่

กล่าวโดยสรุปการเจริญมรณสติอยู่เสมอ

ช่วยกระตุ้นให้เราขวนขวายในสิ่งที่ชอบผัดผ่อน

 ปล่อยวางในสิ่งที่ชอบยึดติด

และเห็นคุณค่าของทุกสิ่งที่มีอยู่หรือกระทำอยู่ในปัจจุบัน

 ทั้งหมดนี้ไม่เพียงเอื้ออำนวยให้เราสามารถตายอย่างสงบเท่านั้น

แต่ยังช่วยให้อยู่อย่างมีความสุขด้วย

ชีวิตกับความตายเป็นสิ่งที่ไม่ได้แยกจากกัน

ความข้อนี้นอกจากจะหมายความว่า

ชีวิตกับความตายเป็นของคู่กันแล้ว

 ยังหมายความอีกว่าเราอยู่อย่างไร เราก็ตายอย่างนั้น

 ถ้าหากเราต้องการ “ตายดี” ก็ต้องมีชีวิตที่ดีงาม

 กล่าวคือสร้างสมคุณงามความดีหรือบุญกุศล

ถึงพร้อมด้วยประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน

นอกจากการหมั่นบำเพ็ญทาน และรักษาศีล

ตลอดจนช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นแล้ว ที่ขาดไม่ได้ก็คือ

 การเจริญภาวนาเป็นนิจ หมายถึงการฝึกฝนใจ

ให้บังเกิดความสงบและความสว่าง รู้เท่าทันความเป็นจริงของชีวิต

 จนไม่เผลอเป็นทุกข์เพราะความผันผวนปรวนแปรต่าง ๆ

ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต

 

.................................

 


พระไพศาล วิสาโล











ขอบคุณที่มา fb. วัดป่าสุคะโตเพื่อธรรมะและธรรมชาติ
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 30 มกราคม 2559
Last Update : 30 มกราคม 2559 10:56:28 น.
Counter : 933 Pageviews.

0 comment
### ความอยากนี้ใช้ความคิดเป็นเครื่องมือ ###
















“ความอยากนี้ใช้ความคิดเป็นเครื่องมือ”

ความอยากนี้ใช้ความคิดเป็นเครื่องมือ

 พอไม่มีความคิด ความอยากก็หายไป

พอไม่มีความอยากใจก็สงบ เย็นสบาย มีความสุข

พออกจากความสงบมาคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้

 ถึงบุคคลนั้นบุคคลนี้ ก็จะเกิดความอยากขึ้นมา

 แล้วก็จะมาทำให้ความสงบนั้นหายไป

 นี่คือเรื่องของสิ่งที่จะทำให้ใจสงบ กับสิ่งที่จะทำให้ใจไม่สงบ

 สิ่งที่จะทำให้ใจสงบมีความสุขก็คือสติหรือปัญญา

อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้ามีสติก็สงบได้ชั่วคราว

 ถ้ามีปัญญาก็จะสงบได้อย่างถาวร

ในเบื้องต้นเราต้องใช้สติเป็นเครื่องกำกับ ควบคุมใจให้สงบก่อน

 เพราะปัญญานี้อาจจะไม่มี

ถ้าใจยังไม่มีความสงบพอที่จะใช้ปัญญาได้

เช่นมรณานุสติ แทนที่ใจจะสงบ ใจกลับเกิดอาการหดหู่

เกิดอาการท้อแท้เบื่อหน่ายหรือหวาดกลัวขึ้นมา

อย่างนี้ก็จะไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาได้

ต้องรอทำใจให้สงบก่อน ด้วยการเจริญสติแบบอื่น

เช่นพุทธานุสติ หรือกายคตาสติ

เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างต่อเนื่อง

 เพื่อไม่ให้ใจไปคิดถึงเรื่องคนนั้นคนนี้ เรื่องนั้นเรื่องนี้

แล้วเวลานั่งสมาธิก็ดูที่ลมหายใจเข้าออก หรือบริกรรมพุทโธๆไป

 ใจตั้งอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งไม่ช้าก็เร็ว

ใจก็จะรวมเข้าสู่ความสงบได้ พอมีความสงบแล้ว

ทีนี้ อารมณ์หดหู่ต่างๆที่เกิดจากความพิจารณาความจริง

เช่นความตายก็จะถูกความสงบนี้กดเอาไว้

เวลาออกจากสมาธิมาใหม่ๆ ความสงบนี้ยังมีอยู่เต็มที่

 ก็ใช้เวลานั้นพิจารณาความตายได้อย่างสบาย

จะไม่มีความรู้สึกหดหู่แต่อย่างใด แล้วก็จะได้จดจำได้ว่า

ร่างกายนี้ จะต้องตายไม่มีใครที่จะมายับยั้ง

 ความตายของร่างกายได้

ความอยากไม่ตายนี้จะทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาโดยใช้เหตุ

 เมื่อเห็นความเป็นจริงแล้ว พอต้องเจอความตายดี

ก็จะยอมตายดีกว่ายอมทุกข์

ความทุกข์นี้เป็นอันตรายต่อจิตใจ

แต่ความตายนี้ไม่เป็นอันตรายต่อจิตใจ

ความตายนี้เป็นภัยต่อร่างกาย แต่ร่างกายเขาไม่เดือดร้อน

เพราะเขาไม่รู้ว่าเขาเป็นหรือเขาตายนั่นเอง

ดังนั้นพอมีปัญญาแล้ว ก็จะสามารถห้ามใจ

ไม่ให้ไปอยากไม่ตายได้ พอห้ามใจไม่อยากไม่ตายได้

ก็จะไม่ทุกข์กับความตาย จะตายได้อย่างสบาย

นี่คือการปฏิบัติธรรมเพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งหลาย

 ต้องหลุดพ้นจากความทุกข์ ด้วยความพากเพียร

ต้องมีความเพียรตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นจนหลับ

พระพุทธเจ้าสอนพระให้บำเพ็ญ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาเลย

 ตื่นขึ้นมาตีสองตีสามก็ให้เดินจงกรมนั่งสมาธิ

 เจริญปัญญาแล้วแต่ว่า อยู่ในธรรมขั้นไหน

พอถึงเวลาออกไปทำภารกิจต่างๆ ก็ให้มีสติควบคุมใจ

ให้อยู่กับภารกิจการงานที่กำลังทำอยู่

กำลังบิณฑบาต กำลังขบฉันอาหาร กำลังล้างบาตรเช็ดบาตร

 กำลังทำอะไรก็ให้เจริญสติอยู่กับงานที่กำลังทำอยู่

พอเสร็จภารกิจ กลับมาถึงที่พักก็ให้เดินจงกรม นั่งสมาธิต่อไป

สลับกันไป ถ้าเหนื่อย ถ้ามีความเพลีย อ่อนเพลีย

ก็อาจจะนอนพักสักชั่วโมงในช่วงกลางวันก็ได้

พอตื่นขึ้นมาก็ลุกขึ้นมาเดินจงกรม นั่งสมาธิไป

นถึงเวลาทำหน้าที่ปัดกวาดลานวัด ดื่มน้ำปานะ สรงน้ำ ซักผ้า

 เสร็จแล้วก็เข้าทางเดินจงกรม นั่งสมาธิไป

จนถึงระยะเวลา ๔ - ๕ ทุ่ม ก็จะพักผ่อนหลับนอน

ประมาณ ๔ - ๕ ชั่วโมง พอตื่นขึ้นมา ตีสองตีสามก็บำเพ็ญต่อ

นี่คือลักษณะของการมีความเพียรมีความพยายาม

ในการที่จะผลักดันจิตใจให้สร้างธรรมต่างๆขึ้นมาโดยเฉพาะ

สติ สมาธิและปัญญาธรรม ถ้ามีสติ มีสมาธิ มีปัญญาธรรมแล้ว

 การหลุดพ้นจากความทุกข์ ก็จะเป็นผลตามมาอย่างแน่นอน

 เพราะเป็นวิธีการที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลาย

ได้บำเพ็ญมาแล้ว ได้รับผลมาแล้ว แล้วนำเอามาเผยแผ่

สั่งสอนให้แก่พวกเรา ถ้าพวกเรามีศรัทธามีความเชื่อ

แล้วน้อมนำเอาไปปฏิบัติ รับรองได้ว่า

ผลที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายได้รับ

 ก็จะเป็นผลที่เราได้รับเช่นเดียวกัน

 ตอนนี้ผลเหล่านี้ไม่ปรากฏขึ้นมาเพราะอะไร

เพราะเราไม่มีความเพียรเหมือนกับที่พระพุทธเจ้า

และพระอรหันตสาวกทั้งหลายท่านมีกัน

 เรามีความเพียร แต่เพียรไปผิดทิศผิดทาง

แทนที่จะเพียรไปในการสร้างธรรม

 คือสร้างสติ สร้างสมาธิ สร้างปัญญา

 เรากลับไปเพียรสร้างลาภยศสรรเสริญ

ปสร้างความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายกัน

แทนที่เราจะหลุดพ้นจากความทุกข์

เรากลับต้องติดอยู่กับกองทุกข์ต่อไป

กองทุกข์แห่งการเกิด แก่ เจ็บ ตาย

กองทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด

 เพราะความเพียรในการหาลาภยศ สรรเสริญ

หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายนี้จำเป็นจะต้องมีร่างกาย

เป็นเครื่องมือนั่นเอง พอต้องใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือ

 เวลาร่างกายที่มีอยู่ในขณะนี้ตายไป

ความอยากที่จะหาความสุขทางลาภยศ สรรเสริญ

ทางตาหูจมูกลิ้นกายนี้ไม่ได้ตายไปกับร่างกาย

ยังอยู่คู่กับใจอยู่ ความอยากนี้ก็จะเป็นตัวดึงใจ

ให้ไปหาร่างกายอันใหม่ ไปเกิดแก่เจ็บตายอีกรอบหนึ่ง

และอีกหลายๆรอบ จนกว่าที่เราจะหันความเพียรของเรา

จากการไปหาความสุขทางรูปเสียงกลิ่นรส

ความสุขทางลาภยศ สรรเสริญ

ให้มาหาความสุข จากความสงบของใจ

ด้วยการเจริญสติ สมาธิ และปัญญา

ถ้าเราได้หันเหทิศทางของความเพียรของเรา

จากการไปหาความสุขทางลาภยศ สรรเสริญ

 ทางตาหูจมูกลิ้นกาย มาสู่การหาความสุขจากการเจริญสติ

สมาธิปัญญา เพื่อทำให้จิตสงบ

และเพื่อที่จะได้สัมผัสกับความสุขที่เกิดจากความสงบ

เราก็จะหลุดพ้น ออกจากกองทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิดได้

 เพราะว่าเราจะไม่ต้องพึ่งร่างกายอีกต่อไป

เรามีธรรมเป็นที่พึ่ง ธรรมนี้แลที่จะทำให้ใจของเรามีความสุข

ทำให้เราไม่ต้องอาศัยร่างกายเป็นเครื่องมือ

ในการหาลาภยศ สรรเสริญ ในการหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย

 เมื่อเราไม่ต้องใช้ร่างกายแล้ว เราก็ไม่ต้องกลับมาเกิดใหม่อีกต่อไป

 เราก็จะหลุดพ้นจากกองทุกข์ได้อย่างถาวร

นี่คือที่มาของคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า

 หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ด้วยความเพียร

ดังนั้นขอให้พวกท่านทั้งหลายจงตั้งเป้าหมายไว้

อยู่ที่ความเพียร พยายามสอนพยายามเตือนตัวเอง

ว่าต่อไปนี้ เราจะต้องทำความเพียรนับตั้งแต่ที่เราตื่นขึ้นมาเลย

เราสามารถสร้างความเพียรได้ด้วยการเจริญสติอย่างต่อเนื่อง

 ระลึกถึงพุทโธก็ได้ ระลึกถึงความตายก็ได้

 หรือเฝ้าดูการเคลื่อนไหวของร่างกายก็ได้

ถ้าเรามีการกระทำเหล่านี้ ถือว่าเราได้มีการกระทำความเพียรแล้ว

 แล้วถ้าเราทำไปอย่างต่อเนื่อง ผลก็จะปรากฏให้เราเห็น

ความสงบ ก็จะปรากฏขึ้นมา เมื่อเห็นความสงบ เห็นประโยชน์

เห็นความสุขที่ได้จากความสงบก็อยากจะรักษาไว้

ก็จะใช้ปัญญาพิจารณา

ทำลายสิ่งที่จะมาคอยทำลายความสงบที่ได้มา

 พอมีปัญญา ปัญญาก็จะสามารถทำลาย ตัณหาความอยากต่างๆ

ที่เป็นตัวที่จะมาทำลายความสงบ

ทำลายความสุขที่ได้จากความสงบ

 พอตัณหาถูกปัญญาทำลายไปหมดแล้ว

ก็จะไม่มีอะไรมาทำลายความสุขที่ได้จากความสงบ

 ความสุขที่ได้จากความสงบนี้ก็จะเป็นบรมสุขไป

เป็นปรมัง สุขังไป ใจก็เป็นนิพพานไป

ใจก็หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดไป

นี่คือเป้าหมายของชีวิตของพวกเรา เป้าหมายของความเพียร

 เพียรเจริญธรรม เช่นสติ สมาธิ และปัญญา เพื่อวิมุตติ การหลุดพ้น.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

...............................

ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๙

“เพียรระลึกถึงความตาย”












ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 30 มกราคม 2559
Last Update : 30 มกราคม 2559 10:16:15 น.
Counter : 985 Pageviews.

0 comment
### ผู้บำเพ็ญควรระลึกถึงความแก่ ความเจ็บ ความตายอยู่เสมอ ###













“ผู้บำเพ็ญควรระลึกถึงความแก่

 ความเจ็บ ความตายอยู่เสมอ”

เราควรที่จะบำเพ็ญควรที่จะเตือนใจเราอยู่เรื่อยๆ

ก็คือการระลึกถึงความแก่ ความเจ็บ ความตาย

 พระพุทธเจ้าเคยถามพระอานนท์ว่า

อานนท์วันๆหนึ่งเธอระลึกถึงความแก่

ความเจ็บ ความตายสักกี่ครั้งกัน

 พระอานนท์ก็กราบทูลไปว่า กระผมก็ระลึกวันละ ๔ - ๕ ครั้ง

เช้า กลางวัน เย็นและก่อนนอน พระพุทธเจ้าบอกว่า

 อานนท์การระลึกเพียงเท่านี้ยังถือว่าเป็นความประมาทอยู่

ถ้าเธอจะไม่ตั้งอยู่ในความประมาท

เธอจะต้องระลึกถึงความแก่ ความเจ็บ ความตาย

ทุกลมหายใจเข้าออกเลย อย่าปล่อยให้มีช่องว่าง

ที่จะทำให้เธอหลงลืมได้ เพราะเวลาที่เธอลืม

ไม่คิดถึงความแก่ ควมเจ็บ ความตาย เธอก็จะประมาทนอนใจ

จะไม่รีบขวนขวายทำทาน รักษาศีล และภาวนา

นี่คือสิ่งที่พวกเราที่ปรารถนาการหลุดพ้นจากความทุกข์

ของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย จะต้องพยายามบังคับตัวเอง

ให้ระลึกถึงความแก่ ความเจ็บ ความตายอยู่เรื่อยๆ

 เวลาใดที่เราไม่ต้องใช้ความคิดไปในทางการกระทำการงานต่างๆ

 ก็ขอให้เราระลึกถึงความแก่ ความเจ็บ ความตายไว้

 เพื่อที่เราจะได้ไม่ลืมทำหน้าที่คือการทำทาน

รักษาศีล และภาวนา

การทำทาน รักษาศีล และภาวนาที่จะให้เกิดเป็นผล

เกิดเป็นประโยชน์จริงๆนั้น จะต้องทำแบบพระพุทธเจ้า

ทำแบบพระอรหันตสาวก ทานก็คือต้องสละทรัพย์สมบัติ

ข้าวของเงินทองไปให้หมดเลย

 คือจะไม่พึ่งทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง

เป็นเครื่องมือดับความทุกข์

 เหมือนกับที่พวกเรายังใช้ทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง

 เป็นเครื่องมือดับความทุกข์กันอยู่

เช่นเวลาที่เรามีความทุกข์ใจความไม่สบายใจ

 เราก็ใช้เงินทองไปเที่ยวกัน ไปซื้อของฟุ่มเฟือยอะไรต่างๆ

ที่ไม่จำเป็นจะต้องซื้อกัน เพื่อทำให้เราลืมความทุกข์ที่เรามีอยู่

 แต่การใช้เงินใช้ทองนี้ก็ดับได้เพียงเดี๋ยวเดียว

พอกลับมาบ้านหลังจากไปเที่ยวกลับมา

 ก็จะกลับมาเจอความทุกข์อยู่ดี

 เพราะเวลาใดที่เราคิดถึงความแก่ คิดถึงความเจ็บ

 คิดถึงความตายเราก็จะเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา

วิธีที่จะแก้ความทุกข์ใจนี้จะต้องไม่แก้ด้วยการใช้เงินใช้ทอง

 ดังนั้นเรามีเงินทองที่เรามีไว้ใช้สำหรับ แก้ความทุกข์ใจนี้

เราต้องกำจัดมันไปอย่างพระพุทธเจ้าทรงสละพระราชสมบัติ

จะได้ไม่ต้องอาศัยเงินทอง เป็นเครื่องมือ

ในการแก้ความทุกข์ใจที่แก้ไม่ได้

เพื่อจะได้ออกบวชได้ ออกไปรักษาศีลของนักบวช

คือศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ข้อ

 อันนี้เป็นศีลของนักบวชของผู้ที่จะบำเพ็ญจิตตภาวนา

การรักษาศีลก็ต้องรักษาศีลแบบนักบวช

และการภาวนาก็ต้องภาวนาตลอดเวลา

จะไม่มีภารกิจการงานอย่างอื่น

การสละราชสมบัตินี้ก็เท่าสละภารกิจการงานต่างๆ

ถ้ายังอยู่ในพระราชวังก็ยังจะต้องมีภารกิจการงานต่างๆ

ที่จะต้องทำ ก็จะทำให้ไม่มีเวลามาบำเพ็ญจิตตภาวนา

มารักษาศีลให้บริสุทธิ์จึงจำเป็นที่จะต้องสละราชสมบัติ

ถ้าเป็นฆราวาสก็ต้องสละเพศของฆราวาสแล้ว

ก็บำเพ็ญอยู่แบบนักบวช เช่นครูบาอาจารย์ต่างๆ

 ที่พวกเรามีความเคารพมีความเชื่อว่า

ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันตสาวกแล้ว

ท่านก็ล้วนเป็นนักบวชทั้งนั้น ท่านมีเงิน มีทอง

มีสถานภาพทางโลก ทางฆราวาสท่านก็สละไปหมด

จะเป็นข้าราชการ เป็นตำรวจ เป็นทหาร มียศมีตำแหน่ง

มีอะไร ท่านก็ต้องสละยศ สละตำแหน่ง สละลาภยศ สรรเสริญ

 แล้วก็ออกบวชไปอยู่แบบนักบวช เพื่อที่จะได้รักษาศีลให้บริสุทธิ์

เพื่อที่จะได้มีเวลาเจริญจิตตภาวนาได้อย่างเต็มที่

ท่านทำอย่างนี้ท่านจึงจะสามารถ ที่จะเปลี่ยนจิตใจของท่าน

จากจิตที่เวียนว่ายตายเกิดไปสู่จิตที่ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด

ต้องทำอย่างเต็มที่ถึงจะได้ผล

แต่ในเบื้องต้นเราคงจะยังไม่สามารถที่จะทำได้อย่างเต็มที่

เราก็ต้องทำไปตามกำลังของเราที่เรามีอยู่

 ในปัจจุบันนี้ก่อน แล้วก็พุ่งเป้าไปสู่การทำอย่างเต็มที่ต่อไป

ทุกคนจะต้องเริ่มจากเล็กไปหาน้อยก่อน

ครูบาอาจารย์ต่างๆ ท่านก็เป็นฆราวาสเหมือนเรามาก่อน

ท่านก็ทำบุญทำทานไป วันละเล็กวันละน้อยไปก่อน

รักษาศีล ๕ ไปก่อน บางวันก็รักษาได้ บางวันก็รักษาไม่ได้

 เพราะว่ายังมีภารกิจการงานเกี่ยวข้องกับทางโลกอยู่

ก็อาจจะไม่สามารถที่จะรักษาศีลให้สะอาดบริสุทธิ์ได้

ยังไม่สามารถที่จะสละทรัพย์สมบัติ

ข้าวของเงินทองที่มีอยู่ให้หมดไปได้

ก็ยังต้องมีเก็บไว้ใช้ก็ทำได้เพียงบางส่วนก็ทำไปก่อน

 แต่ต้องรู้ว่าถ้าอยากจะได้ผลอย่างที่พระพุทธเจ้า

และ พระอรหันตสาวกได้รับนั้นจำเป็น

ที่จะต้องสละทรัพย์สมบัติข้าวของไปให้หมด

สละสถานภาพของการเป็นผู้ครองเรือนไป

เพื่อไปเป็นนักบวช ไปเป็นเหมือนพระพุทธเจ้า

 และเป็นเหมือนพระอรหันตสาวก บำเพ็ญชีวิตแบบนักบวช

เพราะชีวิตของนักบวชนี้ จะไม่มีภารกิจการงานอย่างอื่น

นอกจากรักษาศีลและการบำเพ็ญจิตตภาวนา

คือการเจริญสมถภาวนาและการวิปัสสนาภาวนา

ที่จะทำให้จิตใจนั้นได้ยุติการเวียนว่ายตายเกิดได้

ไม่มีอะไรในโลกนี้ไม่มีการกระทำอะไรในโลกนี้

ที่จะสามารถยุติการเวียนว่ายตายเกิดได้

นอกจากการรักษาศีลและการเจริญสมภาวนา

 วิปัสสนาภาวนานี้เท่านั้น

พระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวกท่านก็รักษาศีล

 ท่านก็บำเพ็ญจิตตภาวนากัน จนในที่สุดจิตของท่าน

ก็ยุติการเวียนว่ายตายเกิด

 ไม่ต้องกลับมาเกิด แก่ เจ็บ ตายอีกต่อไป

 หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงด้วยการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา

เบื้องต้นนี้ต้องทำทานให้ได้ต้องสละให้หมด

เพราะเปรียบเหมือนกับการที่จะให้เรือออกจากท่าไปได้

เรือจะต้องถอนสมอก่อน

 ถ้าเรือยังไม่ถอนสมอนี้เรือจะไม่สามารถ

ที่จะวิ่งไปไหนมาไหนได้ต้องถอนสมอก่อน

ใจก็เหมือนกันใจที่จะออกจากวัฏฏะแห่งการเกิด แก่ เจ็บ ตายนี้

จะต้องทำทานก่อน จะต้องสละทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองต่างๆ

 จะไม่ใช้เงินทองเป็นเครื่องมือในการดับความทุกข์ใจ

เพราะไม่ได้เป็นเครื่องมือนั่นเอง แต่กลับเป็นตัวถ่วง

เป็นเหมือนสมอเรือที่จะทำให้ใจไม่สามารถ

ที่จะออกไปบำเพ็ญศีล ไปภาวนาได้

แต่พอเราสละสมบัติได้ เราสละเพศของฆราวาสได้

ก็จะสามารถไปบวชได้ หรือไปอยู่แบบนักบวชได้

กรณีของผู้ที่ไม่สามารถบวชได้ เช่นสุภาพสตรี

ก็อยู่ในฐานะของนักบวชได้เหมือนกัน ถือศีล ๘ ศีล ๑๐

 ได้บำเพ็ญจิตตภาวนาได้ แต่จะต้องไม่มีภารกิจการงานอย่างอื่น

 มีภารกิจการงานเพียงอย่างเดียวคือการบำเพ็ญจิตตภาวนา

 เดินจงกรม นั่งสมาธิ และดูแลร่างกายตามอัตภาพ

 ดูแลที่อยู่อาศัยเท่านั้น ภารกิจจะเป็นภารกิจเพียงเล็กๆ น้อยๆ

ที่จำเป็นแต่จะไม่ทำภารกิจแบบฆราวาสทำกัน

 ภารกิจหลักจะเป็นการภาวนา เดินจงกรม นั่งสมาธิ

เพื่อให้เกิดความสงบ เพื่อให้เกิดปัญญา

เมื่อใจสงบและเกิดปัญญาแล้ว ใจก็จะเห็นอริยสัจ ๔

เห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

 เห็นว่าความทุกข์ของใจนี้เกิดจากสมุทัย

สมุทัยก็คือต้นเหตุของความทุกข์.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

....................................

ธรรมะบนเขา วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๘

“เปลี่ยนสถานภาพใจ”







ขอบคุณที่มา fb.พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 29 มกราคม 2559
Last Update : 29 มกราคม 2559 13:24:53 น.
Counter : 790 Pageviews.

0 comment
### ผู้ปฏิบัติไม่ควรมองข้ามความเพียร ###















“ผู้ปฏิบัติไม่ควรมองข้ามความเพียร”

ผู้ปฏิบัติจะเห็นคุณค่าของการเจริญสติ

 หลังจากที่ได้สัมผัสกับการรวมของจิต

หลังจากที่ได้สัมผัสกับสมาธิ

หลังจากที่ได้สัมผัสกับความสุขที่เกิดจากความสงบของใจ

 อยากจะทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ไป

ไม่ว่าจะเป็นบุคคล จะเป็นข้าวของเงินทองอะไรต่างๆ

มันสู้ความสุขที่ได้จากความสงบไม่ได้

รสแห่งธรรมชนะรสทั้งปวง

ผู้ใดได้สัมผัสรสแห่งธรรมแม้แต่เพียงชั่วขณะเดียว

 เหมือนกับลิ้มรสของอาหารเพียงหยดเดียว

ก็จะเกิดความยินดี ที่อยากจะลิ้มรสอาหารชนิดนั้น

จะไม่อยากลิ้มรสจะไม่อยากรับประทานอาหารชนิดอื่นอีกต่อไป

 เพราะรสของอาหารที่ได้ลองลิ้มรสนี้

มันดีกว่ารสอาหารทั้งปวงนั่นเอง

 รสแห่งธรรมก็เป็นอย่างนั้น รสแห่งธรรมก็รสของความสงบนี่เอง

 ความสงบที่เกิดจากการเจริญสติอยู่เรื่อยๆ

ตอนนี้ถ้าเรายังไม่มีความเพียรที่จะเจริญสติ

 เราก็ต้องใช้ความระลึกถึงผลที่เราจะได้รับจากการเจริญสติ

จากการเจริญความเพียร ว่าเราจะได้ผลที่ดีกว่า

สิ่งต่างๆ ที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน

ถ้าเรารู้ว่าถ้าเราทำไปแล้ว เราจะได้รับผลที่ดีกว่าสิ่งที่เรามีอยู่

ก็จะทำให้เรามีกำลังใจที่จะหมั่นเจริญสติอยู่เรื่อยๆ

 หมั่นเพียรเจริญสติอยู่เรื่อยๆ

เมื่อมีความเพียรพยายามอยู่เรื่อยๆ ไม่ช้าก็เร็ว

ผลก็จะต้องปรากฏขึ้นมาอย่างแน่นอน

เพราะความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่น

 อยู่ที่ความเพียรนี่เอง

ผู้ปฏิบัติจึงไม่ควรที่จะมองข้ามความเพียรไป

ควรมีความเพียรนี้ฝังอยู่ในใจเสมอ

พอตื่นขึ้นมาปั๊บ พอได้สติรู้สึกตัวขึ้นมา

ก็บอกว่าต้องทำความเพียรแล้ว ต้องเจริญสติแล้ว

 ถ้ามีอะไรมาเป็นอุปสรรค ต่อการเจริญสติต่อการทำความเพียร

ก็พยายามกำจัดมันไป ถ้าเป็นการงานก็ลดจำนวนงานลงไป

ถ้ายังมีความจำเป็นที่ต้องทำอยู่ก็ทำเท่าที่จำเป็น

อย่าทำไปมากกว่าความจำเป็น

ความจำเป็นพื้นฐานก็คือปัจจัย ๔ นี้เท่านั้น

คืออาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม

เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องมีไว้ในการดูแลรักษาร่างกาย

เพื่อจะได้ใช้ร่างกายนี้มาเจริญ มาทำความเพียร

มาเจริญสติ มาเจริญปัญญา มาเจริญสมาธิกัน

แต่อย่าทำมากไปกว่านั้นไม่เป็นประโยชน์อะไร

เงินทองที่มากกว่าเราจะต้องเอามาใช้ให้กับปัจจัย ๔ นี้

ไม่สามารถที่จะมาทำให้เราได้ความสงบ

ได้รสแห่งธรรมที่เหนือกว่ารสทั้งปวงได้

แต่สิ่งที่จะทำให้เราได้ ก็คือเวลา

ที่เราจะได้เอามาใช้กับการเพียรเจริญสติอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

ดังนั้นถ้ามีอะไรเป็นอุปสรรคขวางกั้นในการทำความเพียร

เราต้องหาวิธีกำจัดเขาให้หมดไปให้ได้

 เหมือนกับเราเดินทาง เดินไปตามทางเดินแล้ว

ถ้ามีกิ่งไม้มีต้นไม้ขวางทางหรือมีอะไรขวางทาง

เราจะทำอย่างไร ถ้าเราต้องการที่จะเดินข้ามทางเหล่านี้ไป

เราก็ต้องกำจัดมันออกไป อะไรที่เป็นอุปสรรคขวางกั้น

การทำความเพียร เราต้องพยายามตัดมันไป

มันไม่มีคุณมีประโยชน์กับจิตใจ

มันอาจจะมีประโยชน์ กับการหาความสุขที่เราเคยหามา

 แต่ถ้าเรารู้ว่าความสุขที่เราได้จากสิ่งเหล่านี้

มันสู้ความสุข ที่จากการทำความเพียร เจริญสติทำใจให้สงบไม่ได้

 เราก็ตัดทิ้งมันไปดีกว่า

 เช่นเรายังติดอยู่กับการดูละคร

ติดอยู่กับการทำกิจกรรมสังคมอะไรต่างๆ

เราก็ต้องมาใช้ปัญญาพิจารณาชั่งน้ำหนักดูว่า

ความสุขที่ได้รับจากการดูละคร

ากการทำกิจกรรมทางสังคมต่างๆ นี้

มันสู้ความสุขที่ได้จากการมาทำใจให้สงบได้หรือไม่

และอะไรเป็นความสุขที่ถาวรอะไรเป็นความสุขชั่วคราว

ถ้าเราใช้การพิจารณาด้วยปัญญา เราก็จะเห็นว่า

ความสุขต่างๆ ที่เราเคยหาอยู่นี้มันเป็นความสุขชั่วคราว

เป็นความสุขที่ไม่ได้ให้ความอิ่มความพอกับเรา

เป็นความสุขที่จะทำให้เราต้องดิ้นไปเวียนว่ายตายเกิดอยู่เรื่อยๆ

เพราะเป็นความสุขที่เราต้องใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือ

 พอร่างกายอันนี้ตายไป เราก็ต้องไปหาร่างกายอันใหม่

 เราก็ต้องไปเกิดใหม่ เมื่อไปเกิดแล้วก็ต้องไปเจอกับ

ความแก่ ความเจ็บ ความตายใหม่

แต่ถ้าเรามาหาความสุขที่เกิดจากความสงบนี้

 เราก็จะได้ความสุขที่ถาวร เพราะเป็นความสุขที่ติดอยู่กับใจ

จะไม่มีวันเสื่อมถ้าเรารู้จักวิธีสร้างมันขึ้นมาแล้ว

เราจะรู้จักวิธีรักษา และเราจะสามารถรักษา

ให้มันอยู่ไปกับใจไปได้ตลอด

เราไม่ต้องใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุขอีกต่อไป

 เมื่อร่างกายนี้ตายไปแล้ว เราก็ไม่ต้องกลับมาหาร่างกายอันใหม่

มาเกิด มาแก่ มาเจ็บ มาตายใหม่

เราก็จะได้หลุดพ้นจากความทุกข์ด้วยความเพียร

ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสสอนไว้

ถ้าเราพิจารณาเปรียบเทียบชั่งน้ำหนัก

ระหว่างความสุข ๒ รูปแบบนี้แล้ว เราก็จะรู้ว่า

ความสุขที่ได้จากความสงบนี้เป็นความสุขที่แท้จริง

เป็นความสุขที่เราควรที่จะพุ่งเป้าไป

ถ้ามีอะไรเป็นอุปสรรคต่อการหาความสุขจากความสงบ

เราก็ต้องตัดมันไป งานสังคมต่างๆ ภารกิจการงานต่างๆ

ถ้าเราพอมีพอกินแล้วอยู่ไปไม่เดือดร้อน

ก็ไปหาเงินทองมาเพิ่มขึ้นมาอีกทำไม

หาไปเท่าไรก็เท่านั้น หรือจะอ้างว่าหาให้คนนั้นคนนี้

หาไปให้เขาทำไม สู้สอนให้เขามาหาความสุข

ที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ดีกว่าหรือ

ชวนเขามาบำเพ็ญมาปฏิบัติไปกับเรา

เขาจะได้รับความสุขที่แท้จริง

 ถ้าเรายังต้องหาเงินหาทองเพื่อให้เขาอยู่อย่างมีความสุขอยู่

 แล้วถ้าเราเกิดตายไปหรือเป็นอะไรไป เขาจะมีใครมาหาให้เขาได้

เขาก็ต้องหาของเขาเองอยู่ดี

เพราะฉะนั้นถ้าเราคิดอย่างนี้

เราก็จะสามารถที่จะตัด ความผูกพันธ์หรือภาระผูกพันธ์ต่างๆ

ให้หมดไปได้ เพื่อที่เราจะได้มีเวลามาสร้างความเพียรกัน

 มาเจริญสติกัน มานั่งสมาธิทำใจให้สงบเป็นหนึ่งกัน

เพื่อจะได้สัมผัสกับความสุขที่เกิดจากความสงบ

แล้วเมื่อได้รับความสุขที่ได้จากความสงบนี้แล้ว

ก็ใช้ปัญญารักษาต่อไป

สิ่งที่จะมาทำลายความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ก็คือความอยาก

ที่ยังไม่ตายไปจากกำลังของสติและสมาธิ

สติและสมาธินี้เพียงแต่ยับยั้งความอยากไว้ชั่วคราว

 แต่เวลาที่ใจออกมาคิดปรุงเเต่ง ความอยากนี้ก็จะโผล่ขึ้นมาได้

 เวลาโผล่ขึ้นมาถ้าปล่อยให้มันออกมาแผงฤทธิ์

มันก็จะมาทำลายความสุขที่ได้จากความสงบ

ดังนั้นเวลาเกิดความอยากก็ต้องใช้ปัญญา

 ปัญญาก็จะชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่ความอยากต้องการนั้น

 มันเป็นทุกข์ มากกว่าเป็นสุข เพราะว่ามันเป็นความสุขเดี๋ยวเดียว

 อยากจะไปเสพรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ เวลาไปเสพก็มีความสุข

แล้วพอไม่ได้เสพปั๊บมันก็หายไปหมด

 พอหายไปมันก็ทำให้เกิดความอยาก ที่จะเสพขึ้นมาใหม่

ก็ต้องไปเสพอยู่เรื่อยๆ เวลาที่ไม่ได้เสพ

ก็จะเกิดความหงุดหงิดรำคาญใจขึ้นมา เกิดความทุกข์ใจขึ้นมา

 นี่คือปัญญาสอนใจให้เห็นว่าอย่าไปทำตามความอยาก

สู้อยู่เฉยๆ สู้กลับมาทำใจให้นิ่ง ให้สงบหยุดความอยากดีกว่า

ถ้ามีทั้งปัญญา มีทั้งสติก็จะสามารถฝืนความอยากได้

ไม่ทำตามความอยากได้ พอไม่ทำตามความอยาก

ความอยากก็จะอ่อนกำลังลงไป

แล้วต่อไปความอยากก็จะไม่โผล่ขึ้นมาอีก

เวลาไม่มีความอยาก ใจก็จะนิ่งสงบเย็นสบายใจตลอด

นี่คือหน้าที่ของปัญญาคือคอยเตือนใจสอนใจ

ว่าการทำตามความอยากนี้เป็นการสร้างความทุกข์ให้กับใจ

ไม่ใช่เป็นการสร้างความสุขให้กับใจ

การไม่ทำตามความอยากนี้ต่างหากที่จะทำให้สร้างความสุขให้กับใจ

ถ้าไปทำตามความอยาก ใจก็จะต้องทุกข์กับสิ่งที่อยากได้

 เพราะได้อะไรมาแล้วก็จะเกิดความหวงเกิดความห่วงใย

เกิดความรัก เกิดความผูกพันธ์

 เกิดความอยากไม่ให้สูญเสียสิ่งที่ได้มา

แต่ธรรมชาติของสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในโลกนี้

ที่ได้มาด้วยความอยากนี้ ไม่ช้าก็เร็วมันก็จะต้องมีวันเสื่อม

 มีวันหมดไป มีวันพลัดพรากจากกันไป

 พอเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นมาก็จะเกิดความทุกข์ขึ้นมา

 อันนี้เป็นหน้าที่ของปัญญา ที่จะทำให้สามารถทำลาย

ความอยากต่างๆให้หมดไปจากใจได้

 ส่วนสติหรือสมาธินี้เพียงแต่หยุดไว้ชั่วคราว

เช่นเวลาเจริญมรณานุสตินี้

ก็จะไม่สามารถไปคิดถึงรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

ไม่สามารถไปคิดถึงสิ่งต่างๆ บุคคลต่างๆได้

 พอไม่ไปคิดใจก็จะมีความอยาก

พอใจสงบหยุดคิด ความอยากต่างๆ ก็จะหยุดไปพร้อมกับความคิด.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

................................

ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๙

“เพียรระลึกถึงความตาย”









ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 29 มกราคม 2559
Last Update : 29 มกราคม 2559 12:50:00 น.
Counter : 983 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ