Group Blog
<<< พระพุทธนิรันตราย >>>









พระพุทธนิรันตราย

พระพุทธนิรันตราย มีลักษณะเป็นพระพุทธรูป ๒ องค์

 สร้างครอบกันไว้ องค์ในเป็นพุทธศิลปะแบบทวารวดี

 ปางสมาธิเพชร หล่อด้วยทองคำเนื้อหก

 หนัก ๗ ตำลึง ๑๑ สลึง หน้าตัก ๓ นิ้ว สูง ๔ นิ้ว

ส่วนองค์นอกสร้างขึ้นในรัชกาล

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 เป็นพุทธศิลปะแบบรัตนโกสินทร์

ปางขัดสมาธิเพชรเช่นเดียวกับองค์ใน

 ครองผ้าแบบธรรมยุติ หน้าตักกว้าง ๕.๕ นิ้ว

เบื้องหลังมีเรือนแก้ว เป็นพุ่มพระมหาโพธิ์

ตามประวัติเล่าว่า เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๙

 มีผู้ขุดพบพระพุทธรูปทองคำที่ชายป่า

แขวงเมืองปราจีนบุรี

 ห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณ ๓ เส้น

 จึงมอบให้ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา

นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

ให้อัญเชิญพระพุทธรูปทองคำองค์นี้

ไปเก็บรักษาไว้ ณ หอเสถียรธรรมปริตร

 กับพระกริ่งทองคำองค์น้อย

ครั้นพุทธศักราช ๒๔๐๓

ได้มีคนร้ายเข้ามาขโมยพระกริ่งองค์น้อย

ซึ่งตั้งอยู่กับพระทองคำองค์นั้น

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 จึงทรงพระราชดำริว่า พระพุทธรูปทองคำ

เป็นทองคำทั้งแท่งใหญ่กว่าพระกริ่ง

ควรที่คนร้ายจะขโมยพระพุทธรูปองค์นั้นไป

 ก็เผอิญให้แคล้วคลาดถึง ๒ ครั้ง

จึงทรงถวายนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า

 พระนิรันตราย อันมีความหมายว่า ปราศจากอันตราย

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

ให้หล่อพระพุทธรูปด้วยทองคำตามพุทธลักษณะ

ครอบพระนิรันตรายองค์เดิมอีกชั้นหนึ่ง

กับทั้งให้หล่อด้วยเงินไล่บริสุทธิ์เป็นคู่กันอีกองค์หนึ่ง

 พระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองคำนั้น

ไว้สำหรับตั้งบนโต๊ะเบื้องขวาแห่งพระแท่นมณฑล

ในการพระราชพิธีต่าง ๆ

ปี ๒๔๑๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

ให้ช่างหล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกัน

กับพระพุทธรูปที่ครอบพระนิรันตราย

 โดยหล่อใหม่ด้วยทองเหลืองแล้วกาไหล่ทองคำ

 มีเรือนแก้วอยู่เบื้องหลัง จำนวน ๑๘ องค์

เท่ากับจำนวนปีที่เสด็จดำรงสิริราชสมบัติ

และทรงพระราชดำริว่า จะทรงหล่อปีละองค์

พร้อมกับพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาทุกปีไป

 โดยที่ทรงถวายพระนามพระพุทธรูปเก่าและใหม่ว่า

 พระนิรันตราย ทั้งสิ้น

 ภายหลังเสด็จสวรรคต

 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

ให้ช่างกาไหล่ทองคำ

พระพุทธรูปทั้ง ๑๘ องค์เสร็จสมบูรณ์

 แล้วพระราชทานไปตามวัด

พระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย

ตามพระราชประสงค์ของ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว





ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 09 มิถุนายน 2560
Last Update : 9 มิถุนายน 2560 8:44:48 น.
Counter : 2070 Pageviews.

0 comment
### พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์ (พระแก้วหยดน้ำค้าง)








พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์

(พระแก้วหยดน้ำค้าง)

พระพุทธรูปปางสมาธิ

 สร้างจากเนื้อแก้วใสสะอาดบริสุทธิ์

ที่เรียกว่าเพชรน้ำบุศย์

 มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๙ นิ้ว

ศิลปะเชียงแสน

เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวยโสธร

 ปัจจุบันประดิษฐาน ณ หอพระแก้ว

 วัดมหาธาตุ (พระอารามหลวง)

 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ยโสธร

สำหรับหอพระแก้วนั้นเคยเป็นกุฏิเก่า

ของพระราชรัตนกวี (สำลี ยะไวย์)

 เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

โดยในอดีต "พระแก้วหยดน้ำค้าง"

 เคยประดิษฐานอยู่เคียงคู่กับ

"พระแก้วมรกต"

 ในหอพระแก้วเมืองเชียงใหม่

เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๐๑๑

และประทับอยู่เป็นสิริมงคลนานถึง ๗๘ ปี

หลังจากพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช

 ครองหลวงพระบาง ทรงเห็นสมควรอัญเชิญ

 "พระแก้วมรกต" และ "พระแก้วหยดน้ำค้าง"

 ไปไว้ที่ราชธานีล้านช้าง

เพื่อให้ห่างไกลจากเงื้อมมือพม่าข้าศึก

 แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐาน

พระแก้วมรกตประทับอยู่ร่วมกันอีกครั้ง

 ครั้นต่อมาได้มีผู้ลักพา "พระแก้วหยดน้ำค้าง"

ออกจากหลวงพระบาง

ไปซ่อนไว้ที่เขาส้มป่อย

ต่อมามีพราน ๒ พี่น้อง

ชื่อพรานทึงและพรานเทือง

 ไปพบว่าจมอยู่ใต้สระน้ำจึงอัญเชิญขึ้นมา

ความลือไปถึงเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร

ผู้ครองนครจำปาศักดิ์

จึงทรงให้ท้าวเพียผู้ใหญ่ไปสืบเอา

 "พระแก้วหยดน้ำค้าง" กลับคืนมา

 ในขณะอัญเชิญมาถึงตำบลแห่งหนึ่ง

ริมแม่น้ำเซโดนหรือแม่น้ำสองสี

 ได้พากันพักแรมหนึ่งคืน

พอรุ่งเช้าปรากฏว่า

 "พระแก้วหยดน้ำค้าง" หายไป

 จึงให้คนเที่ยวค้นหา มีผู้ไปพบ

อยู่ที่บ้านพราน ๒ พี่น้องดังเดิม

 ท้าวเพียได้ทำพิธีคารวะพระแก้วหยดน้ำค้าง

 โดยขออัญเชิญไปประดิษฐาน

ยังหลวงพระบางได้โดยสะดวก

 อย่าได้ลักหนีไปที่ใดอีกเลย

แต่ในระหว่างทางเกิดพายุทำให้

"พระแก้วหยดน้ำค้าง" ตกลงไปในน้ำ

หาอย่างไรก็ไม่พบ

 เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร

 ผู้ครองนครจำปาศักดิ์

ทรงกระทำพิธีกรรมบวงสรวงเทพารักษ์

 ตั้งสัตยาธิษฐานขอให้ได้

พระแก้วขาวกลับคืนมาเป็นสิริมงคล

 เมื่อสัมฤทธิผลจึงจัดงานฉลองสมโภช

เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน

ตามข้อสันนิษฐานที่สืบทราบความว่า

 เมื่อครั้ง เจ้าพระยาราชสุภาวดี

 ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์

 เจ้าอุปฮาด บุตรของท้าวคำ ท้าวฝ่าย ท้าวสุวอ

ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของเจ้าพระยาขัตติวงศา

 ได้เดินทางไปร่วมรบด้วย

โดยมี ท่านพระครูหลักคำกุ

ผู้มีภูมิความรู้ถนัดในทางโหราศาสตร์

 เป็นผู้ให้ฤกษ์และทำพิธีตัดไม้ข่มนาม

 ซึ่งนับเป็นพิธีปฐมกรรมอันเป็นการให้ขวัญ

และกำลังใจแก่เหล่าทหาร

จึงทำให้การรบในครั้งนั้นประสบชัยชนะ

ความทราบถึงพระบาทสมเด็จ

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

จึงได้มีรับสั่งให้พาเข้าเฝ้าโดยด่วน

โดยมีท้าวฝ่ายและพระครูหลักคำกุ

 เป็นผู้เข้าเฝ้าเพื่อถวาย

 "พระแก้วหยดน้ำค้าง"

 แด่รัชกาลที่ ๓ ณ กรุงเทพมหานคร

 แล้วทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร

ให้ท้าวฝ่าย เป็นพระสุนทรราชวงศา

และพระครูหลักคำกุ เป็นพระครูวชิรปัญญา

 แล้วพระราชทานปืนนางป้อม ๑ กระบอกให้

 ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน

"พระแก้วหยดน้ำค้าง"

เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบ

ให้แก่พระสุนทรราชวงศา (สิงห์)

 เจ้าเมืองคนแรกของเมืองยโสธร

ทั้งเพื่อเป็นสิริมงคล

ให้แก่ชาวเมืองยโสธรอีกด้วย

สำหรับในจารึกประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๘๐

 เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ (ร.ศ.๑๑๕) กล่าวว่า...

ท้าวพญาเมืองจำปาศักดิ์

ได้ถวายพระแก้วหยดน้ำค้าง

 แด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

 รัชกาลที่ ๒ พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ

 ให้อัญเชิญลงมาประดิษฐาน

ที่กรุงเทพมหานคร

 เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๕ ครั้นต่อมา

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

 รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดเกล้าฯ

 พระราชทานให้ชาวเมืองยโสธร

ทั้งนี้ ทางวัดมหาธาตุจะจัดให้มีงานสมโภช

พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์

 หรือ พระแก้วหยดน้ำค้าง ขึ้น

 เพื่อให้ประชาชนได้บูชาสักการะและสรงน้ำ

 เป็นประจำทุกปีในช่วงหลังวันสงกรานต์

น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายความรู้ทั้งหลายนี้

เป็นพุทธบูชาเนื่องในมหาสมัยครบรอบ ๒,๖๐๐ ปี

แห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระบรมศาสดา

สัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหาสมณโคดม

ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย

เป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙

น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย

เป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ

 พระบรมราชินีนาถ เนื่องในพระราชพิธี

ศุภมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา

..........................

เอกสารประกอบการเขียน/ขอบคุณ
- ศรัทธาของชาวสุวรรณภูมิ, อ.สิริเดชะกุล
- เวปธรรมจักร //www.dhammajak.net

/forums/viewtopic.php?f=7&t=22942

_________________________________
ขอบคุณที่มา..
fb: นิทรรศการพลังแผ่นดิน
อัศจรรย์งานศิลป์ แผ่นดินสยาม
https://www.facebook.com/Signnagas

ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ





Create Date : 24 มกราคม 2560
Last Update : 24 มกราคม 2560 11:40:31 น.
Counter : 1124 Pageviews.

0 comment
### พระสยามเทวาธิราช ###










พระสยามเทวาธิราช...

สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่กรุงรัตนโกสินทร์

พระสยามเทวาธิราช

 เป็นเทวรูปหล่อด้วยทองคำสูง ๘ นิ้ว

 ประทับยืนทรงเครื่องกษัตริยาธิราช

 ทรงฉลองพระองค์อย่างเครื่องของเทพารักษ์

 มีมงกุฎเป็นเครื่องศิราภรณ์

 พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงขรรค์

พระหัตถ์ ซ้ายยกขึ้นจีบดรรชนีเสมอพระอุระ

 องค์พระสยามเทวาธิราชประดิษฐาน

อยู่ในเรือนแก้วทำด้วยไม้จันทน์

ลักษณะแบบวิมานเก๋งจีน

 มีคำจารึกเป็นภาษาจีนที่ผนังเบื้องหลัง

 แปลว่า "ที่สถิตย์แห่งพระสยามเทวาธิราช"

เรือนแก้วเก๋งจีนนี้ประดิษฐานอยู่ในมุขกลาง

ของพระวิมานไม้แกะสลักปิดทอง

 ตั้งอยู่เหนือลับแลบังพระทวารเทวราชมเหศวร์

ตอนกลางพระที่นั่งไพศาลทักษิณ

 ในพระบรมมหาราชวัง

พระวิมานไม้แกะสลักปิดทองนี้

 เรียกว่า พระวิมานไม้แกะสลักปิดทองสามมุข

ด้านหน้าขององค์พระสยามเทวาธิราช

ตั้งรูปพระสุรัสวดี หรือพระพราหมี

เทพเจ้าแห่งการดนตรีและขับร้อง

มุขตะวันออกของพระวิมาน

 ตั้งรูปพระอิศวรและพระอุมา

มุขตะวันตกของพระวิมาน

 ตั้งรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ

หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล

 พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ทรงเล่าว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 (รัชกาลที่ ๔) โปรดการศึกษาประวัติศาสตร์

มีพระราชดำริว่า

"...ประเทศไทยมีเหตุการณ์

ที่เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง

 แต่เผอิญให้มีเหตุรอดพ้นภยันตรายมาได้เสมอ

 คงจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่

 สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา

 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ

ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ

ปั้นหล่อเทวรูปสมมุติขึ้น

 ถวายพระนามว่าพระสยามเทวาธิราช

ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งทรงธรรม

ในหมู่พระที่นั่งพุทธมณเฑียร

ในพระอภิเนาว์นิเวศน์..."

หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล

ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า...

"...ตอนมหาอำนาจทางตะวันตก

ทำการเปิดประตูค้ากับพวกตะวันออก

ในระยะเวลาต้นๆ ศตวรรษที่ ๑๙

ของคริสต์ศักราชนั้น

พวกเมืองข้างเคียงไม่รู้ทันเหตุการณ์ภายนอก

ว่าทางตะวันตกมีอำนาจปืนเรือ

พอที่จะเอาชนะได้อย่างง่ายดาย

จึงพากันไม่ยอมทำสัญญาด้วย

 ซ้ำยังขับไล่ใช้อำนาจจนเกิดเป็นสงครามขึ้น

ก็เป็นธรรมดาที่คนมีแต่มีดจะต้องแพ้ผู้มีปืน

 แล้วถูกเป็นเมืองขึ้นไปโดยสะดวก

 ฝ่ายทางเมืองไทยเรานั้นมหาอำนาจ

ตกลงกันให้อังกฤษมาเป็นผู้เปิดประตู

ทำสัญญาค้าขาย ซึ่งตามที่จริง

ก็เคยมีไมตรีกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแล้ว

 แต่เมื่อบ้านเมืองมีเหตุการณ์ศึกสงครามเกิดขึ้น

ชาวต่างประเทศไปมาค้าขายไม่สะดวกได้

 ก็จำต้องหยุดการติดต่อกันไปเป็นพักๆ

การเป็นเช่นนี้แก่ทุกบ้านทุกเมือง

ฉะนั้นเมื่อเสร็จศึกกับพม่าในรัชกาลที่ ๑ แล้ว

ถึงรัชกาลที่ ๒ ชาวโปรตุเกส

ก็เข้ามาจากเมืองมาเก๊า

 เพื่อขอทำสัญญาค้าขาย

ใน พ.ศ. ๒๓๖๓ โปรดเกล้าฯ ให้รับสัญญา

เพราะเรายังต้องการซื้อปืนไฟจากชาวตะวันตกอยู่

ต่อมาอีก ๒ ปี มิสเตอร์ จอน ครอเฟิด

(John Crawford) ทูตอังกฤษ

เข้ามาขอทำสัญญา

จากผู้สำเร็จราชการอินเดียใน พ.ศ. ๒๓๖๕

ถึงรัชกาลที่ ๓

 อังกฤษเกิดรบกันขึ้นกับพม่าเป็นครั้งแรก

 ครั้นชนะแล้วจึงให้กัปตันเฮนรี่ เบอร์เนย์

 (Henry Burney) เข้ามาทำสัญญา

เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ ทูตอเมริกัน

มิสเตอร์ เอ็ดมอนด์ โรเบิต

(Edmond Roberts)

 เข้ามาทำสัญญาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕

 มิสเตอร์ริดชัน (Ridson) ทูตอังกฤษ

เข้ามาทำสัญญาขอซื้อช้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๑

 และเซอร์เจมส์ บรู้ค (Sir James Brooke)

 ผู้เคยเป็นรายา (White Raja)

ผู้ครองเกาะซาราวัก (Sarawak)

เข้ามาขอทำสัญญาอีก

เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๓

ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

 รัชกาลที่ ๓ เสด็จสวรรคต

 รวมทูตอังกฤษที่เข้ามาทำสัญญา

กับเมืองไทยถึง ๔ ครั้ง

 แต่ก็ได้ทำแต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ

เช่นเรื่องผ่านแดนไทยกับพม่า

 และสัญญาซื้อขายช้าง ม้า

 และแลกเปลี่ยนสินค้าบางอย่าง

 ไม่ได้ทำสัญญากับเมืองไทยโดยตรง

อย่างเมืองอื่นๆ

ส่วนทางเมืองไทยก็ยังไม่มีใครเชื่อว่า

จะมีผู้ใดจะเกะกะทางนี้ได้

 บางคนนึกเลยไปว่า

เหล็กจะลอยน้ำได้อย่างไร

ในเมื่อมีใครมาเล่าว่า

ทางมหาอำนาจตะวันตกนั้น

มีเรือรบที่ทำด้วยเหล็ก ไทยจึงไม่เต็มใจ

จะเปิดประตูค้ากับผู้ใดๆ ทั้งสิ้น

 เป็นแต่รับข้อที่จำเป็นในเวลานั้นเท่านั้น

 แต่ในที่สุดเราก็ได้พบรายงาน

ของเซอร์เจมส์ บรู๊ค ผู้ซึ่งเข้ามาครั้งสุดท้าย

ในรัชกาลที่ ๓ ว่า "...พระเจ้าแผ่นดิน

กำลังเสด็จอยู่บนพระแท่นสวรรคต

 และพระองค์ที่จะเสวยราชย์ใหม่

ก็มีหวังจะพูดกันได้เรียบร้อย

ฉะนั้น จึงขอรอการใช้กำลังบังคับไว้ก่อน..."

ตามรายงานนี้เห็นได้ชัดว่า

 เขาเตรียมจะใช้กำลังกับเราอยู่แล้ว

 เผอิญให้เกิดมีการสวรรคต

และเปลี่ยนแผ่นดิน

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 (รัชกาลที่ ๔) เสด็จขึ้นมาเสวยราชย์

ในเวลาที่ทรงทราบเหตุการณ์

นอกประเทศดีอยู่แล้ว

 เพราะทรงมีเวลาศึกษาเพียงพอ

 ในเวลาที่ผนวชเป็นพระภิกษุถึง ๒๗ ปี

พอเสวยราชย์ได้ ๔ ปี

 เซอร์จอน โบว์ริง (Sir John Bowring)

เจ้าเมืองฮ่องกง ก็มีจดหมายส่วนตัว

เข้ามากราบทูลว่า คราวนี้ตัวเขา

จะเข้ามาเป็นราชทูต

แทนพระองค์ควีน วิคตอเรีย

 ไม่ใช่เป็นแต่เพียงทูต

มาจากผู้สำเร็จราชการอินเดียเช่นคนก่อนๆ

 เพราะฉะนั้นจึงหวังว่า

จะไม่มีเรื่องเดือดร้อนถึงต้องขัดใจกัน

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงทราบข้อไขอันนี้ดี

จึงเปิดประตูรับในฐานะมิตร

 และเป็นผลให้เราได้พ้นภัยมาได้แต่ผู้เดียว

ในทางตะวันออกประเทศนี้

เมื่อเหตุการณ์เรียบร้อยแล้ว

 ทรงพระราชดำริว่า

 เมืองไทยเรานี้มีเหตุการณ์หวิดๆ

 จะต้องเสียอิสรภาพมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว

 แต่เผอิญให้มีเหตุรอดพ้นได้เสมอมา

ชะรอยจะมีเทพยดาองค์ใดองค์หนึ่ง

ที่คอยพิทักษ์รักษาอยู่

จึงสมควรจะทำรูปเทพพระองค์นั้น

ขึ้นไว้สักการบูชา

แล้วโปรดให้พระองค์เจ้าดิษฐวรการ

 (หม่อมเจ้าในรัชกาลที่ ๑) นายช่างเอก

ทรงปั้นรูปเทพพระองค์นั้น

เป็นรูปทรงต้นยืนถือพระขรรค์ในพระหัตถ์ขวา

ขนาด ๘ นิ้วฟุตงดงามได้สัดส่วน

แล้วหล่อด้วยทองคำแท่งทั้งพระองค์

ทรงถวายพระนาม "พระสยามเทวาธิราช"

แล้วประดิษฐานไว้ในพระวิมานกลาง

พระที่นั่งไพศาลทักษิณจนทุกวันนี้

ท่านผู้ใหญ่ชั้นคุณย่าของข้าพเจ้าเล่าว่า

ในรัชกาลที่ ๔ ทรงถวายเครื่องสังเวย

เป็นราชสักการะทุกวัน

และเป็นที่นับถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์นัก

บัดนี้เนื่องแต่ทางพระราชสำนัก

ต้องตัดทอนรายจ่ายมากมาย

มาแต่ในรัชกาลที่ ๗

 จึงคงยังมีเครื่องสังเวยถวาย

แต่เฉพาะวันอังคาร และวันเสาร์

อาทิตย์ละ ๒ ครั้ง

 และในเวลาปีใหม่ก็มีการบวงสรวงสังเวย

เป็นพิธีใหม่ มีละครรำของกรมศิลปากร

ในเวลาเช้าวันสังเวยนั้น

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ต่างๆ

 ดังเราท่านได้ประสบมาด้วยตนเอง

 ยิ่งนานวันก็ยิ่งเห็นว่า

พระสยามเทวาธิราชนั้นมีจริง

 เราจงพร้อมใจกันอธิษฐาน

ด้วยกุศลผลบุญที่เราได้ทำมาแล้วด้วยดี

 ขอให้เทพเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์พระองค์นี้

 จงได้ทรงคุ้มครองป้องกันภัย

 และโปรดประสิทธิ์ประสาทความสมบูรณ์พูนสุข

ให้แก่ประชาชนชาวสยามทั่วกันเทอญ..."

พระราชพิธีบวงสรวงใหญ่

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 (รัชกาลที่ ๔) ทรงถวายเครื่องสังเวย

เป็นราชสักการะเป็นประจำวัน

เครื่องสังเวยที่ถวายเป็นประจำนั้น

จะถวายเฉพาะวันอังคาร

 และวันเสาร์ก่อนเวลาเพล

 โดยจะมีพนักงานฝ่ายพระราชฐานชั้นใน

เป็นผู้เชิญเครื่องตั้งสังเวยบูชา

เครื่องสังเวยประกอบด้วย

ข้าวสุกหนึ่งถ้วยเชิง หมูนึ่งหนึ่งชิ้น

พร้อมด้วยน้ำพริกเผา

ปลานึ่งหนึ่งชิ้นพร้อมด้วยน้ำจิ้ม

ขนมต้มแดงและขนมต้มขาว

 กล้วยน้ำว้า มะพร้าวอ่อนหนึ่งผล

 ผลไม้ตามฤดูกาลสองอย่าง

 และน้ำสะอาดอีกหนึ่งถ้วย

โปรดเกล้า ฯ ให้จัดพระราชพิธีสังเวยเทวดา

 ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)

 มีพระราชดำริว่า พระอภิเนาว์นิเวศน์

พระพุทธมณเฑียร และพระที่นั่งทรงธรรม

ซึ่งเป็นโครงสร้างเสาไม้หุ้มปูน

ที่ได้สร้างขึ้นในสมัย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก

 ยากที่จะบูรณะให้คงสภาพเดิมไว้ได้

 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

 ให้รื้อลงทั้งหมด

และอัญเชิญพระสยามเทวาธิราช

ไปประดิษฐานไว้ ณ พระวิมานทองสามมุข

เหนือลับแลบังพระทวารเทวราชมเหศวร์

ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ตราบจนถึงทุกวันนี้

พระราชพิธีบวงสรวงใหญ่ในปัจจุบัน

พระราชพิธีบวงสรวงใหญ่พระสยามเทวาธิราช

 ตามประเพณีกำหนดไว้

ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี

 อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติแบบโบราณ

 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี

หรือพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่

เสด็จแทนพระองค์มาทรงถวายเครื่องสังเวย

เป็นราชสักการะพระสยามเทวาธิราช

และมีละครในจากกรมศิลปากรรำถวาย

แต่ว่ามีเหตุการณ์สำคัญคือ

 เมื่อวันที่ ๗-๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕

เมื่อครั้งฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้เชิญพระสยามเทวาธิราช

จากพระวิมานในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ

 ขึ้นเสลี่ยงโดยประทับบนพานทอง ๒ ชั้น

 สู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

 ประดิษฐาน ณ บุษบกมุขเด็จ

 เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีบวงสรวง

 ในวันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๒๕

 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

 พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สาธุชน

เข้าถวายสักการะพระสยามเทวาธิราช

หลังเสด็จฯ กลับ

จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๒๕

 นับเป็นครั้งแรกที่ประชาชนมีโอกาส

ได้เข้าถวายสักการะพระสยามเทวาธิราช

เฉพาะพระพักตร์

น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย

ความรู้ทั้งหลายนี้เป็นพุทธบูชา

เนื่องในมหาสมัยครบรอบ ๒,๖๐๐ ปี

แห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระบรมศาสดา

สัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหาสมณโคดม

ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย

เป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

 รัชกาลที่ ๙

น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย

เป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ

 พระบรมราชินีนาถ เนื่องในพระราชพิธี

ศุภมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา

..........................

เอกสารประกอบการเขียน/ขอบคุณ
- ศรัทธาของชาวสุวรรณภูมิ, อ.สิริเดชะกุล
- วิกิพีเดีย

_________________________________
ขอบคุณที่มา...
fb: นิทรรศการพลังแผ่นดิน
อัศจรรย์งานศิลป์ แผ่นดินสยาม
https://www.facebook.com/Signnagas









Create Date : 24 มกราคม 2560
Last Update : 24 มกราคม 2560 11:16:27 น.
Counter : 2962 Pageviews.

0 comment
### นางกวัก ###


















นางกวัก

....

คติความเชื่อของชาวสยาม

นางกวัก เป็นรูปเคารพนับถือกันเป็นอย่างมาก

 นางกวักมีรูปลักษณะสำคัญเป็นสตรีสมัยโบราณ

 ผมยาวประบ่า ห่มผ้าสไบเฉียง นุ่งผ้ายกดอก

ประกอบด้วยพาหุรัด ทองกร และสร้อยสังวาล

นั่งพับเพียบเรียบร้อยอยู่บนแท่นทอง

หัตถ์ขวายกงอขึ้นในลักษณะท่ากวักมือ

ปลายนิ้วงอเข้าหาลำตัว การยกมือขึ้นในลักษณะกวัก

 ถ้ามือยกสูงระดับปาก มีความหมายว่า กินไม่หมด

หากว่ามือที่กวักอยู่ต่ำกว่าระดับปาก เขาถือว่ากินไม่พอ

 หัตถ์ซ้ายส่วนมากจะถือถุงเงินและจารึกอักขระขอม

เป็นหัวใจพระสีวลีผู้เป็นเอตทัคคะทางโชคลาภ

 คือ นะ ชา ลี ติ

เป็นที่กล่าวขานกันว่า "นางกวัก" สามารถดลบันดาลโชคลาภ

ให้บังเกิดแก่ผู้กราบไหว้บูชา และทำมาค้าขึ้น

 ซื้อง่าย ขายคล่อง และมีเสน่ห์มหานิยมแก่ผู้พบเห็นอีกด้วย

โดยเฉพาะในมวลหมู่ผู้มีอาชีพค้าขาย

 ด้วยเชื่อว่านามของ นางกวัก มีความหมาย

ในทางทำมาหากินคล่องเจริญก้าวหน้า

ตามร้านค้าจึงพบเห็นรูปนางกวักบนหิ้งบูชา

หรือแม้กระทั่งรถเข็นค้าขายในตะกร้าเก็บสตางค์

หรือมุมเล็กๆ ต้องมีรูปนางกวักอยู่ด้วยเสมอ

เป็นความเคยชินในสังคมไทยมาช้านาน

การสร้างนางกวัก มีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์

มาจนถึงปัจจุบันทั้งเก่าและใหม่

 ท่านที่ปรารถนาอยากจะได้นางกวักไว้บูชา

เพื่อให้การค้าขายเจริญรุ่งเรือง

ก็ลองไปดูตามวัดวาอารามต่างๆ จะนิยมสร้างกันมาก

 ส่วนราคาถ้าเก่าหายากก็แพง ถ้าใหม่ก็ไม่แพง

 หรือบางท่านไปซื้อ (นางกวัก) ตามร้านเครื่องสังฆภัณฑ์

 และนำ(นางกวัก)ไปให้พระเกจิอาจารย์ที่นับถือ

อธิษฐานจิตปลุกเสก พุทธคุณเช่นกัน

ในสมัยพุทธกาล มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง สามีชื่อสุจิตตพราหมณ์

ภรรยาชื่อสุมณฑา มีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองมิจฉิกาสัณฑนคร

 ใกล้กรุงสาวัตถีในชมพูทวีป มีอาชีพค้าขายสินค้าเล็กๆ น้อยๆ

 มีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวอยู่รอดไปวันๆ

ต่อมาสองสามีภรรยาคิดจะขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น

 เมื่อมีรายได้มากพอจะตั้งเนื้อตั้งตัว

 จึงตัดสินใจซื้อเกวียนเพื่อบรรทุกสินค้าไปขายยังต่างเมือง

 และซื้อสินค้าต่างเมืองกลับมาขายที่เมืองมิจฉิกาสัณฑนคร

ซึ่งบางครั้งบุตรสาวที่ชื่อ "สุภาวดี" ก็ขอติดตามบิดามารดาไปด้วย

ระหว่างเดินทางไปต่างเมืองกับบิดามารดานั้น

สาวน้อยสุภาวดีมีโอกาสได้ฟังธรรมจากพระกุมารกัสสปเถระ

 ขณะจาริกแสดงธรรมเทศนาตามหมู่บ้านต่างๆ

 นางรู้สึกซาบซึ้งพระธรรมจนเข้าถึงพระรัตนตรัย

เมื่อพระกุมารกัสสปเถระ เห็นนางเลื่อมใสศรัทธาเช่นนั้น

จึงได้กำหนดจิตรวมพลังซึ่งเป็นอำนาจจิตของพระอรหันต์

ประสิทธิ์ประสาทพรสาวน้อยสุภาวดีและครอบครัว

ให้เจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์สินเงินทองจากอาชีพค้าขาย

และยังได้ประสิทธิ์ประสาทพรเช่นนี้ทุกครั้ง

ที่นางไปฟังธรรมด้วยความมุ่งมั่น

เมื่อบิดามารดาเดินทางไปค้าขายอีกเมือง

นางสุภาวดีก็มีโอกาสได้ฟังธรรมจากพระศิวลีเถระ

 ซึ่งจาริกไปแสดงธรรมตามตำบลต่างๆ เช่นกัน

 จนนางมีความรู้แตกฉานในหลักธรรม

 และได้รับเมตตาจากพระศิวลีเถระ

เช่นเดียวกับที่ได้จากพระกุมารกัสสปเถระ

พระศิวลีเถระนั้นนับว่ามีความมหัศจรรย์แตกต่างจากคนทั่วไป

คือท่านอยู่ในครรภ์มารดาถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วันก่อนคลอด

ทำให้เป็นผู้มีพลังจิตกล้าแข็ง

เมื่อท่านกำหนดจิตให้พรนางสุภาวดี พรของท่านจึงมีพลังเป็นพิเศษ

ด้วยบุญบารมีที่สาวน้อยสุภาวดีได้รับพรจากพระอรหันต์ถึง ๒ องค์

 เมื่อนางติดเกวียนบิดามารดาไปค้าขายที่เมืองใด

จึงทำให้ค้าขายได้คล่อง ต่างจากครั้งที่นางไม่ได้ไป

ซึ่งท่านสุจิตตพราหมณ์ และท่านสุมณฑา บิดามารดา

ก็รู้สึกถึงความแตกต่างนี้ว่ามาจากบุญบารมีของบุตรสาว

 จึงให้นางติดเกวียนไปด้วยทุกครั้ง

 จึงทำให้ครอบครัวร่ำรวยมั่งคั่งขึ้นทุกทีถึงขั้นเศรษฐี

 และยังมั่งคั่งขึ้นไปอีกเรื่อยๆ

ต่อมาเมื่อร่ำรวยเป็นเศรษฐีแล้ว ท่านสุจิตตพราหมณ์

ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฟังธรรมจากพระพุทธองค์

 บังเกิดศรัทธาแรงกล้า และปฏิบัติธรรมอยู่ในขั้นโสดาบันบุคคล

 ได้ถวายอุทยานชื่อ อัมพาฎกวัน อุทิศเป็นสังฆทาน

ให้เป็นที่พักพระภิกษุสงฆ์ ทั้งยังสร้างวิหารหลังใหญ่

ไว้กลางอุทยานเป็นวัดขึ้น ตั้งชื่อว่าวัดมัจฉิกาสัณฑาราม

 และนิมนต์พระสุธรรมเถระ มาเป็นเจ้าอาวาส

ท่านสุจิตตพราหมณ์ ยังเป็นคนที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

ชอบช่วยเหลือคน เมื่อเดินทางไปค้าขายยังเมืองไกล

 ท่านก็ประกาศถามพระภิกษุสงฆ์ พระภิกษุณี

ตลอดจนประชาชนผู้เป็นพุทธบริษัททั้งหลาย

รวมทั้งผู้ที่นับถือนิกายอื่นด้วยว่า ใครจะไปทางเดียวกับท่านบ้าง

 ซึ่งบางครั้งก็มีคนแจ้งความประสงค์นับพัน

ท่านก็จัดเกวียนรับคนเหล่านั้นไปด้วยตามประสงค์

 ทำให้ผู้คนต่างสรรเสริญในคุณงาม

มีจิตเมตตาต่อผู้คนทั่วไปของท่าน

 และเมื่อพูดกันถึงท่านสุจิตตพราหมณ์

 ก็จะพูดกันถึงอานุภาพความขลังของสาวน้อยสุภาวดี

ที่ทำให้บิดามารดาร่ำรวย จึงพากันยกย่องบูชา

ในอานุภาพของนางที่ดลบัดดาลให้เกิดโชคลาภทางการค้า

กาลเวลาผ่านไป จนท่านสุจิตตพราหมณ์

และท่านสุมณฑาละสังขาร ส่วนนางสุภาวดีก็แก่ชราจนละสังขาร

ตามบิดามารดาไป แต่คุณงามความดี ความขลัง

 และความศักดิ์สิทธิ์ของนางสุภาวดีก็ยังได้รับการเชื่อถือ

 กราบไว้บูชาต่อไป ผู้ที่ให้ความเคารพนับถือนาง

มีคนที่อยู่ในวรรณะทั้ง ๔ ครบทุกวรรณะคือ

 พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และ ศูทร

เมื่อจะปรารถนาให้ตนร่ำรวยจากการค้า

 ก็จะหารูปปั้นของนางสุภาวดีมาตั้งบูชา

 และอัญเชิญวิญญาณของนางมาสถิตในรูปปั้น

ต่อมาเมื่อมีผู้ที่เคารพกราบไหว้รูปปั้นนาง

แล้วร่ำรวยรุ่งเรืองขึ้นจากการค้า

 ก็มีผู้ศรัทธานิยมทำตามกันมากขึ้น

และแพร่หลายกว้างขวางออกไป

เมื่อพุทธศาสนาและลัทธิพราหมณ์ได้แพร่เข้ามาสู่สุวรรณภูมิ

 พวกพราหมณ์ซึ่งนิยมทางพิธีกรรมและเวทมนตร์คาถาต่างๆ

 ก็ได้นำรูปปั้นของนางสุภาวดีเข้ามาด้วย

 โดยจำลองมาจากท่านั่งขายของบนเกวียน

และทำเป็นรูปกวักมือให้คนเข้ามาหาหรือมาซื้อสินค้า

 แต่แรกก็ทำขึ้นไว้เพื่อกราบไหว้บูชาเอง

ต่อมาเมื่อมีผู้เลื่อมใส จึงทำตัวเป็นอาจารย์

ปลุกเสกรูปปั้นนี้แจกจ่ายให้ผู้ที่ทำการค้า

จนรูปปั้นแม่นางสุภาวดีได้รับความนิยมในหมู่ผู้ทำมาค้าขาย

 และขยายไปทั่ว ซึ่งได้เรียกกันตามท่านั่งของนางว่า....

 " นางกวัก"

นางกวัก ฉบับปู่เจ้าเขาเขียว ที่สยามประเทศ

ตำนานหนึ่งเกี่ยวกับนางกวักของไทย

 กล่าวถึงมีความสืบเนื่องมาจากเรื่อง รามเกียรติ์

ตอนพระรามออกตามหานางสีดา

พระรามได้พบกับท้าวอุณาราชพญายักษ์เจ้านครสิงขร

 พระรามจึงแผลงศรเอาต้นกกเป็นศรมาถูกยอดอกท้าวอุณาราช

คนทั้งหลายจึงเรียกกันว่า ท้าวกกขนาก

 พระรามได้สาปให้ศรตรึงท้าวอุณาราช

อยู่ภายในถ้ำเขาวงพระจันทร์ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของจ.ลพบุรี

 แล้วยังสาปสำทับไว้ว่า ท้าวกกขนากจะต้องทนทุกข์ทรมาน

อยู่ในถ้ำเขาวงพระจันทร์จนกระทั่งถึงศาสนาพระศรีอาริย์

นางประจันทร์ธิดาของท้าวอุณาราช ทราบเรื่อง

ก็เข้ามาเฝ้าปฏิบัติเป็นเพื่อนบิดาทั้งยังเอาใยบัวมาทอทำเป็นจีวร

เตรียมไว้ถวายเมื่อถึงคราวพระศรีอาริย์เสด็จมา

 เป็นการสร้างกุศลอุทิศให้บิดา

ขณะนั้นชาวเมืองต่างเกรงกลัวท้าวอุณาราช

หรือท้าวกกขนาก จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาอาละวาด

เห็นนางประจันทร์เอาน้ำส้มสายชูไปหล่อที่ศร

ก็พากันขับไล่นางประจันทร์ พร้อมกับกลั่นแกล้งต่างๆนานาๆ

ความได้ทราบไปถึง "ปู่เจ้าเขาเขียว" ผู้เป็นสหายของท้าวอุณาราช

จึงส่งธิดาองค์หนึ่ง ซึ่งมีรูปโฉมงดงามเป็นที่สุด

 เป็นที่เสน่หาแก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในแผ่นดิน

 มาเป็นเพื่อนนางประจันทร์

เพื่อนางประจันทร์จะได้เสื่อมคลายความเศร้าโศกลงบ้าง

ปรากฏว่านับแต่ธิดา ของปู่เจ้าเขาเขียว

มาอยู่เป็นเพื่อนนางประจันทร์แล้ว

ประชาชนที่เคยเกลียดชังนางประจันทร์มาแต่ก่อน

กลับใจเป็นรักใคร่ นำของกำนัลต่างๆ

 มาให้นางประจันทร์เป็นบรรณาการอยู่เสมอไม่ขาด

แม้การเดินทางจะแสนทุรกันดารเพียงไร

ประชาชนเหล่านั้นก็หาย่อท้อไม่

พยายามเดินทางมาด้วยความรัก

 และเมตตาต่อนางประจันทร์เป็นที่ยิ่ง

มุ่งหน้ามาทำบุญกุศลกันอย่างมากมาย

ความเกลียดชังที่ท่วมท้นเป็นอันเสื่อมสลายไปสิ้น

ด้วยเหตุนี้ นางประจันทร์จึงตั้งชื่อ

ให้ธิดาของปู่เจ้าเขาเขียวว่า....

"นางกวัก"

ด้วยคุณงามความดีอันมหาศาลนี้สัตบุรุษุทั้งหลาย

จึงได้ให้พระเกจิอาจารย์ผู้ขลังทางเวทมนตร์สร้างรูป

 "แม่นางกวัก" ขึ้นไว้เป็นที่สักการบูชา

เพื่อผลทางมหานิยมในการค้าขาย



ขอบคุณที่มา fb. นิทรรศการพลังแผ่นดิน

อัศจรรย์งานศิลป์แผ่นดินสยาม








Create Date : 13 มิถุนายน 2558
Last Update : 13 มิถุนายน 2558 13:56:57 น.
Counter : 2571 Pageviews.

0 comment
### พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต ###













 

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

หรือ พระแก้วมรกต

......................

 เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย

ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

 (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลัก

จากหยกอ่อนเนไฟรต์สีเขียวดังมรกต

 เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน

 หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก

ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ ตำบลเวียง เมืองเชียงราย

 (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว เชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย)

ในปี พ.ศ. 1977 (หรือ ค.ศ. 1434)

ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง

จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง

จึงได้นำไปไว้ในวิหาร

ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก

 เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์

เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์

หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่

ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้

 จึงเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่

แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่

 แต่ไปทางลำปางหากช้างนั้นมีพระแก้วมรกตอยู่บนหลังช้าง

เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนา

จึงนำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราช

ได้เชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่

สร้างปราสาทประดิษฐานไว้แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง

 ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้าง

ซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่

 เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จกลับหลวงพระบาง

 ก็เชิญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์

ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์

 เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาเวียงจันทน์

ก็เชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย

ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง

 พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต

และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว)

 ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม

 ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

ลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

 มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางได้คืนให้แก่ลาว

ขอบคุณที่มา...วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขอขอบคุณเจ้าของภาพถ่าย





Create Date : 20 มีนาคม 2558
Last Update : 20 มีนาคม 2558 13:48:41 น.
Counter : 2667 Pageviews.

0 comment
1  2  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ