Group Blog
### พระพุทธชินสีห์ ###











พระพุทธชินสีห์

................

งดงามชวนพิศวง...พระพุทธชินสีห์ ที่กรุงรัตนโกสินทร์

มีตำนานกล่าวไว้ในพงศาวดารเหนือว่า

พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เจ้าเมืองนครเชียงแสน

 ทรงสร้างขึ้นพร้อมกันกับพระพุทธชินราช และพระศาสดา

 เมื่อก่อนปี พ.ศ. ๑๕๐๐ มีเรื่องโดยย่อว่า

พระศรีธรรมไตรปิฎก เจ้านครเชียงแสน

ยกกองทัพมาตีเมืองศรีสัชนาลัย แล้วสร้างเมืองพิษณุโลก

พร้อมกับพระพุทธรูป ๓ พระองค์

โดยให้พวกช่างที่มีฝีมือในเมืองต่างๆ มาประชุม

 ช่วยกันปั้นหุ่นเพื่อจะให้ได้งดงามผิดกับพระพุทธรูปสามัญ

พระเจ้าพระศรีมหาธรรมไตรปิฎกผู้สร้าง

คือพระมหาธรรมราชาที่ ๑ กษัตริย์องค์ที่ ๕ แห่งราชวงศ์พระร่วง

สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

เรียกโดยพระนามว่า พระเจ้าลือไทหรือลิไท

ข้อที่ทำให้สันนิษฐานเช่นนั้นมีหลายประการ

 คือสอบสวนไม่ได้ความจริงว่าเจ้านครเชียงแสนองค์ใด

มีความรู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก จนควรแก่พระนามนั้น

 และได้แผ่อำนาจลงมาทางใต้ในสมัยที่อ้างนั้น

พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ปรากฏว่าทรงรอบรู้เชี่ยวชาญ

ในพระไตรปิฎก ทรงแต่งหนังสือเรื่องไตรภูมิ

ซึ่งในทุกวันนี้เรียกันว่าไตรภูมิพระร่วง

พระเกียรติยศที่ทรงรอบรู้พระไตรปิฎก คงเลื่องลือแพร่หลาย

 จึงเรียกพระนามเฉลิมพระเกียรติว่า

 "พระศรีธรรมไตรปิฎก"

และเมื่อก่อนทรงเถลิงถวัลยราชสมบัติ

ได้เป็นพระมหาอุปราชอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัย

เมื่อพระเจ้าเลอไทพระราชบิดาสวรรคต

 เกิดจราจลขึ้นในพระนครสุโขทัย

 ต้องยกทัพลงมาปราบปรามจนราบคาบแล้วจึงได้เสวยราชย์

เรื่องนี้ตรงกับเค้าเรื่องพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก

ยกกองทัพลงมาตีเมืองศรีสัชนาลัยในพงศาวดารเหนือ

 อีกประการหนึ่งลักษณะพระชินราช - พระชินสีห์

 ก็ต่างจากพระพุทธรูปอื่นในบางอย่างเช่น

 มีนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ นิ้ว พระบาททั้ง ๔ นิ้วยาวเสมอกัน

ต้องตามคัมภีร์มหาปุริสลักษณะแสดงว่าผู้สร้างได้ทราบคัมภีร์นั้น

พระพุทธรูปที่ได้สร้างกันขึ้นชั้นหลังได้ถือเป็นแบบสืบมาทุกวันนี้

พระพุทธรูปที่สร้างในเมืองไทยแต่ก่อนนั้น

ทั้งทางเมืองเหนือและเมืองใต้ ทำปลายนิ้วพระหัตถ์เป็นหลั่นกัน

เหมือนกับนิ้วมือคนสามัญ

อนึ่งมีทรวดทรงและชายจีวรยาวแบบลังกา

 แสดงให้เห็นว่าสร้างในสมัยพระเจ้าเลอไทย

หรือลือไทย เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐

พระพุทธชินสีห์ และพระพุทธชินราช

มีลักษณะงดงามอย่างน่าพิศวง

และนับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์

ปรากฏในประวัติศาสตร์ว่า

สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินในกรุงสยาม

 ได้เสด็จฯไปถวายนมัสการหลายพระองค์

ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาป็นราชธานี

นล่วงถึงกรุงรัตนโกสินทร์

ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

พระวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ชำรุดทรุดโทรม

ขาดผู้รักษาดูแล สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ

จึงโปรดให้อัญเชิญมายังกรุงเทพฯ

เพื่อมาประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

ซึ่งเป็นวัดที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง ๔ พระองค์

และเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์

และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ครั้งทรงผนวช

อีกหลายพระองค์ด้วย

 พระพุทธชินสีห์จึงเป็นพระคู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์

 และสมเด็จพระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มาช้านาน

พระพุทธชินสีห์นั้นเป็นพระพุทธรูปที่ชาวพิษณุโลก

และชาวเมืองเหนือเคารพบูชาอย่างยิ่งองค์หนึ่ง

ในคราวที่อัญเชิญพระพุทธชินสีห์ลงมากรุงเทพฯ

ในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ นั้น มีบันทึกที่กล่าวถึง

ความรู้สึกของชาวเมืองไว้ว่า....

"...เมื่ออัญเชิญออกจากวิหารนั้น

ราษฎรพากันมีความเศร้าโศกร้องไห้เป็นอันมาก

เงียบเหงาสงัดไปทั้งเมือง เหมือนศพลงเรือน

 แลแต่นั้นมาฝนก็แล้งไป ๓ ปี

 ชาวเมืองพิษณุโลกได้ความยากยับไปเป็นอันมาก

 ตั้งแต่พระพุทธชินสีห์ลงมาถึง

กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพก็ทรงพระประชวร

พระโรคมานน้ำได้ปีเศษก็เสด็จสวรรคต

ราษฎรพากันกล่าวว่าเพราะเหตุที่ไปอัญเชิญพระพุทธชินสีห์

อันเป็นสิริของเมืองพิษณุโลกลงมา... "

เมื่ออัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหลังของพระอุโบสถวัดนี้แล้ว

 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

ขณะนั้นทรงผนวชครองวัดบวรนิเวศอยู่

ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาต

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

อัญเชิญย้ายจากมุขหลัง

ออกสถิตย์หน้าพระพุทธรูปองค์ใหญ่หรือพระโต

เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๐ ปิดทองกาไหล่พระรัศมีฝั่งพระเนตรใหม่

และติดพระอุนาโลม

ส่วนมุขหลังอัญเชิญพระไสยาสน์เข้าไว้แทน

 ต่อมาได้รื้อมุขหลัง น่าจะเพื่อขยาย

ทักษิณพระเจดีย์ออกมาอีกชั้นหนึ่ง

ส่วนพระไสยาสน์น่าจะคงยังอยู่หลังพระอุโบสถ

ณ ที่ติดพระบาทจำลองในบัดนี้

ถาวรวัตถุที่สร้างขึ้นในระยะแรกคือ พระอุโบสถ

 หอพระไตรปิฎก ศาลาการเปรียญ พระเจดีย์

แต่พระเจดีย์ยังสร้างค้างอยู่ไม่ทันสำเร็จ

สมเด็จพระบวรราชเจ้าพระองค์นั้นก็สวรรคต

ในปี พ.ศ. ๒๓๗๕

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อครั้งยังทรงผนวช ได้โปรดให้สร้างต่อจนสำเร็จ

 ในปี พ.ศ. ๒๓๗๙ วัดใหม่ หรือวัดบนว่างเจ้าอาวาส

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

จึงได้ทรงอาราธนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ

ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ในพระนามฉายาที่ "วชิรญาณ"

และประทับอยู่ที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส)

ให้เสด็จมาครองที่วัดนี้

เมื่อตำแหน่งกรมพระราชวังบวรว่างลง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ก็มิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาผู้ใด

ให้ดำรงตำแหน่งนี้สืบต่อ แต่พระราชทานสิ่งของ

ภายในพระราชวังบวรฯ ให้แก่สมเด็จเจ้าฟ้าพระวชิรญาณ

 ตามแต่พระราชประสงค์ ให้นำมาไว้ที่วัดนี้ได้

สิ่งของที่ทรงเลือกและนำมาไว้ที่วัดนี้

เช่น พระไตรปิฎกฉบับวังหน้าอ่างศิลา เป็นต้น

และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวัดเป็น

"วัดบวรนิเวศวิหาร" ใน พ.ศ. ๒๓๗๙

คล้ายกับเป็นพระราชกุศโลบาย เพื่อประกาศให้ทราบว่า

 ทรงเทียบสมเด็จเจ้าฟ้าพระวชิรญาณไว้ในฐานะ

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

ภายหลังเมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าพระวชิรญาณได้เสด็จมาประทับแล้ว

ได้อัญเชิญพระพุทธชินสีห์ ย้ายออกมาจากมุขหลัง

มาสถิตในพระอุโบสถมุขหน้าด้านหน้าพระสุวรรณเขต

ตราบเท่าทุกวันนี้

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

 เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้วทรงโปรดให้

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์

ครั้งยังเป็นพระองค์เจ้าฤกษ์ที่พระราชาคณะ

ดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีสงฆ์แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้โปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์

และก่อสร้างถาวรวัตถุที่สำคัญภายใน

วัดบวรนิเวศวิหารเป็นอันมาก

เช่น เปลี่ยนหลังคาพระอุโบสถ

เป็นหลังคากระเบื้องเคลือบแบบหลังคาลูกฟูก

ประดับลายหน้าบันสามมุขและมุขลดด้านหน้า

เป็นลายด้วยกระเบื้องเคลือบ ตรงกลางเป็นตรามงกุฎ

และพระขรรค์รองพานสองชั้น

 ข้างในเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังใหม่

เป็นภาพปริศนาธรรมต่างเรื่อง เป็นต้น

ยังได้โปรดให้ทำพระรัศมีลงยาราชาวดี

ประดับรัศมีพระพุทธชินสีห์อีกชั้นหนึ่ง

(ใช้ทรงเฉพาะเวลามีงานเท่านั้น)

 โปรดให้ซ่อมพระเจดีย์ซึ่งทรุดยอดเอียงไป

สร้างพระวิหารในระหว่างพระเจดีย์และวิหารพระศาสดา

และทรงโปรดให้สร้างวิหารเก๋ง เป็นต้น

 รวมทั้งให้ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมใหม่

เช่น ขุดคลองวัดด้านตะวันตกขยายให้กว้างและลึกกว่าเดิม

คูด้านหน้าบริเวณเสนาสนะโปรดให้ก่ออิฐ

ปูศิลาแดงที่นำมาจากเนินหินสบ แขวงเมืองราชบุรี

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

ได้ทรงทำสักการบูชาพระพุทธชินสีห์

 เมื่อแรกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ

ทรงถวายผ้าทรงสะพักตาด และต้นไม้เงิน - ทอง ๑ คู่

ทรงปิดทองพระพุทธชินสีห์ใหม่ในคราวฉลองวัด

และทรงถวายม่านตาดแขวนที่สาหร่ายข้างหน้าเป็นพุทธบูชา

และสมโภชพร้อมกับฉลองวัด ๓ วัน

ใน พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และจำพรรษาอยู่ ณ วัดบวรนิเวศฯ

เป็นเวลา ๑๕ วัน เมื่อลาผนวชแล้ว

จึงได้ทรงรับพระบรมราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง

ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ ทรงปฏิสังขรณ์พระอารามใหม่

 ในส่วนสังฆวาสโปรดให้สร้าง ตำหนักทรงพรต และหอสหจร

 และสร้างตำหนักกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส

 ต่อออกไปเรียกว่า ตำหนักล่าง สร้าง กุฏิคณะสูง เป็นต้น

การปฏิสังขรณ์พระอารามเสร็จทัน

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ

มกุฎราชกุมารทรงผนวชเป็นสามเณร

 (พระบรมโอรสาธิราชฯ พระองค์แรกบนแผ่นดินกรุงรัตนโกสินทร์

มีศักดิ์เป็นลุง ของในหลวงรัชกาลปัจจุบัน )

เมื่อสิ้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์แล้ว

พระเจ้าน้องยาเธอสมเด็จพระมหาสมณเจ้า

กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงครองวัดแทน

ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงเลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าคณะใหญ่

แห่งคณะธรรมยุติกนิกาย

ในระยะนี้วัดบวรนิเวสวิหารรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก

และถือเป็นแบบอย่างแก่วัดอื่นๆ ด้วย

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

ทรงพัฒนาจัดตั้งระเบียบต่างๆ เป็นอันมาก

 และทรงตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัยขึ้นโดยพระบรมราชานุญาต

เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 และทรงตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่วัดนี้เพื่อพิมพ์แบบเรียน

(โรงพิมพ์นี้มีมาแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เพื่อใช้พิมพ์พระบาลีไตรปิฎก)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

โปรดให้สร้างตำหนักขึ้นใหม่

เพื่อถวายสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส

 ส่วนพระตำหนักเดิมโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างแก้ไข

 และเพิ่มเติมใหม่เป็นตึกสองชั้น ๒ หลัง

และทรงพระราชอุทิศถวายไว้เป็นสังฆิกเสนาสน์

สำหรับพระอารามวัดบวรนิเวศสืบไป

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๖ )ทรงเลื่อนพระเกียรติยศ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส

ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระวชิรญาณวโรรส

และเลื่อนพระสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระมหาสังฆปรินายก

ทั้งพระราชอาณาจักร (สมเด็จพระสังฆราช)

ในรัชกาลนี้ทรงโปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์พระอาราม

เช่นทุกรัชกาล และโปรดให้สร้างพระตำหนักเพชร

 เป็นท้องพระโรงถวายแด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ

และโปรดให้รวมวัดรังษีสุทธาวาสเข้าเป็นวัดเดียวกับวัดบวรนิเวศฯ

 และโปรดให้สร้างกุฎีคณะรังษีขึ้น สำหรับพระสงฆ์อาคันตุกะ

ที่มาจากต่างจังหวัดได้พำนัก

ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

ทรงผนวชและเสด็จประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

เป็นเวลา ๑๕ วัน นับตั้งแต่วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙

 และโปรดพระราชทานนามาภิไธย ภปร.

ขึ้นประดิษฐาน ณ มุขหน้าตึกทรงไทย

วัดบวรนิเวศวิหารนี้ เป็นที่สถิตของเจ้านายที่ทรงผนวชตลอดมา

นับแต่รัชกาลที่ ๔ ตลอดจนสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๕ , ๖ และ ๗

รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน

และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร

 ซึ่งเสด็จออกผนวชเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑

หมายเหตุ

- ภาพเป็นบุญตา เจ้าหน้าที่อัญเชิญ

พระรัศมีทองคำลงยาราชาวดี ออกจากพระรัศมี

ของพระพุทธชินสีห์ ภายหลังจากเสร็จสิ้น

การพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน

ของวัดบวรนิเวศฯ ในช่วงค่ำของวันพฤหัสบดี

ที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ในรอบ ๑ ปีนั้น

พุทธศาสนิกชนจะได้เห็นการอัญเชิญ

พระรัศมีทองคำลงยาราชาวดีไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น

- ลงยาราชาวดี คือการลงยาที่เครื่องประดับและทองคำ

ด้วยการใช้สีที่มี "สีฟ้า" ในการลงด้วย

สีฟ้าเป็นสีที่สงวนสำหรับเจ้านายชั้นสูง

จึงเรียกว่า "ลงยาราชาวดี"

หากไม่มีสีฟ้าประกอบในชิ้นงานจะเรียกว่า

"การลงยา, ทองลงยา" นั่นเอง

- ภาพและบทความเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้และธรรมทาน

 ห้ามนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้าใดๆทั้งสิ้น

เอกสารประกอบการเขียน/ขอบคุณ

- ศรัทธาของชาวสุวรรณภูมิ อ.สิริเดชะกุล



น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายความรู้ทั้งหลายนี้

เป็นพุทธบูชาเนื่องในมหาสมัยครบรอบ ๒,๖๐๐ ปี

แห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

 พระมหาสมณโคดม น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย

เป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

 เนื่องในพระราชพิธีศุภมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา



ขอขอบคุณที่มาfb: นิทรรศการพลังแผ่นดิน
อัศจรรย์งานศิลป์ แผ่นดินสยาม


ขอขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ






Create Date : 12 มีนาคม 2558
Last Update : 12 มีนาคม 2558 11:37:36 น.
Counter : 1113 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ