Group Blog
### พระสยามเทวาธิราช ###










พระสยามเทวาธิราช...

สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่กรุงรัตนโกสินทร์

พระสยามเทวาธิราช

 เป็นเทวรูปหล่อด้วยทองคำสูง ๘ นิ้ว

 ประทับยืนทรงเครื่องกษัตริยาธิราช

 ทรงฉลองพระองค์อย่างเครื่องของเทพารักษ์

 มีมงกุฎเป็นเครื่องศิราภรณ์

 พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงขรรค์

พระหัตถ์ ซ้ายยกขึ้นจีบดรรชนีเสมอพระอุระ

 องค์พระสยามเทวาธิราชประดิษฐาน

อยู่ในเรือนแก้วทำด้วยไม้จันทน์

ลักษณะแบบวิมานเก๋งจีน

 มีคำจารึกเป็นภาษาจีนที่ผนังเบื้องหลัง

 แปลว่า "ที่สถิตย์แห่งพระสยามเทวาธิราช"

เรือนแก้วเก๋งจีนนี้ประดิษฐานอยู่ในมุขกลาง

ของพระวิมานไม้แกะสลักปิดทอง

 ตั้งอยู่เหนือลับแลบังพระทวารเทวราชมเหศวร์

ตอนกลางพระที่นั่งไพศาลทักษิณ

 ในพระบรมมหาราชวัง

พระวิมานไม้แกะสลักปิดทองนี้

 เรียกว่า พระวิมานไม้แกะสลักปิดทองสามมุข

ด้านหน้าขององค์พระสยามเทวาธิราช

ตั้งรูปพระสุรัสวดี หรือพระพราหมี

เทพเจ้าแห่งการดนตรีและขับร้อง

มุขตะวันออกของพระวิมาน

 ตั้งรูปพระอิศวรและพระอุมา

มุขตะวันตกของพระวิมาน

 ตั้งรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ

หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล

 พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ทรงเล่าว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 (รัชกาลที่ ๔) โปรดการศึกษาประวัติศาสตร์

มีพระราชดำริว่า

"...ประเทศไทยมีเหตุการณ์

ที่เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง

 แต่เผอิญให้มีเหตุรอดพ้นภยันตรายมาได้เสมอ

 คงจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่

 สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา

 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ

ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ

ปั้นหล่อเทวรูปสมมุติขึ้น

 ถวายพระนามว่าพระสยามเทวาธิราช

ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งทรงธรรม

ในหมู่พระที่นั่งพุทธมณเฑียร

ในพระอภิเนาว์นิเวศน์..."

หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล

ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า...

"...ตอนมหาอำนาจทางตะวันตก

ทำการเปิดประตูค้ากับพวกตะวันออก

ในระยะเวลาต้นๆ ศตวรรษที่ ๑๙

ของคริสต์ศักราชนั้น

พวกเมืองข้างเคียงไม่รู้ทันเหตุการณ์ภายนอก

ว่าทางตะวันตกมีอำนาจปืนเรือ

พอที่จะเอาชนะได้อย่างง่ายดาย

จึงพากันไม่ยอมทำสัญญาด้วย

 ซ้ำยังขับไล่ใช้อำนาจจนเกิดเป็นสงครามขึ้น

ก็เป็นธรรมดาที่คนมีแต่มีดจะต้องแพ้ผู้มีปืน

 แล้วถูกเป็นเมืองขึ้นไปโดยสะดวก

 ฝ่ายทางเมืองไทยเรานั้นมหาอำนาจ

ตกลงกันให้อังกฤษมาเป็นผู้เปิดประตู

ทำสัญญาค้าขาย ซึ่งตามที่จริง

ก็เคยมีไมตรีกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแล้ว

 แต่เมื่อบ้านเมืองมีเหตุการณ์ศึกสงครามเกิดขึ้น

ชาวต่างประเทศไปมาค้าขายไม่สะดวกได้

 ก็จำต้องหยุดการติดต่อกันไปเป็นพักๆ

การเป็นเช่นนี้แก่ทุกบ้านทุกเมือง

ฉะนั้นเมื่อเสร็จศึกกับพม่าในรัชกาลที่ ๑ แล้ว

ถึงรัชกาลที่ ๒ ชาวโปรตุเกส

ก็เข้ามาจากเมืองมาเก๊า

 เพื่อขอทำสัญญาค้าขาย

ใน พ.ศ. ๒๓๖๓ โปรดเกล้าฯ ให้รับสัญญา

เพราะเรายังต้องการซื้อปืนไฟจากชาวตะวันตกอยู่

ต่อมาอีก ๒ ปี มิสเตอร์ จอน ครอเฟิด

(John Crawford) ทูตอังกฤษ

เข้ามาขอทำสัญญา

จากผู้สำเร็จราชการอินเดียใน พ.ศ. ๒๓๖๕

ถึงรัชกาลที่ ๓

 อังกฤษเกิดรบกันขึ้นกับพม่าเป็นครั้งแรก

 ครั้นชนะแล้วจึงให้กัปตันเฮนรี่ เบอร์เนย์

 (Henry Burney) เข้ามาทำสัญญา

เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ ทูตอเมริกัน

มิสเตอร์ เอ็ดมอนด์ โรเบิต

(Edmond Roberts)

 เข้ามาทำสัญญาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕

 มิสเตอร์ริดชัน (Ridson) ทูตอังกฤษ

เข้ามาทำสัญญาขอซื้อช้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๑

 และเซอร์เจมส์ บรู้ค (Sir James Brooke)

 ผู้เคยเป็นรายา (White Raja)

ผู้ครองเกาะซาราวัก (Sarawak)

เข้ามาขอทำสัญญาอีก

เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๓

ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

 รัชกาลที่ ๓ เสด็จสวรรคต

 รวมทูตอังกฤษที่เข้ามาทำสัญญา

กับเมืองไทยถึง ๔ ครั้ง

 แต่ก็ได้ทำแต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ

เช่นเรื่องผ่านแดนไทยกับพม่า

 และสัญญาซื้อขายช้าง ม้า

 และแลกเปลี่ยนสินค้าบางอย่าง

 ไม่ได้ทำสัญญากับเมืองไทยโดยตรง

อย่างเมืองอื่นๆ

ส่วนทางเมืองไทยก็ยังไม่มีใครเชื่อว่า

จะมีผู้ใดจะเกะกะทางนี้ได้

 บางคนนึกเลยไปว่า

เหล็กจะลอยน้ำได้อย่างไร

ในเมื่อมีใครมาเล่าว่า

ทางมหาอำนาจตะวันตกนั้น

มีเรือรบที่ทำด้วยเหล็ก ไทยจึงไม่เต็มใจ

จะเปิดประตูค้ากับผู้ใดๆ ทั้งสิ้น

 เป็นแต่รับข้อที่จำเป็นในเวลานั้นเท่านั้น

 แต่ในที่สุดเราก็ได้พบรายงาน

ของเซอร์เจมส์ บรู๊ค ผู้ซึ่งเข้ามาครั้งสุดท้าย

ในรัชกาลที่ ๓ ว่า "...พระเจ้าแผ่นดิน

กำลังเสด็จอยู่บนพระแท่นสวรรคต

 และพระองค์ที่จะเสวยราชย์ใหม่

ก็มีหวังจะพูดกันได้เรียบร้อย

ฉะนั้น จึงขอรอการใช้กำลังบังคับไว้ก่อน..."

ตามรายงานนี้เห็นได้ชัดว่า

 เขาเตรียมจะใช้กำลังกับเราอยู่แล้ว

 เผอิญให้เกิดมีการสวรรคต

และเปลี่ยนแผ่นดิน

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 (รัชกาลที่ ๔) เสด็จขึ้นมาเสวยราชย์

ในเวลาที่ทรงทราบเหตุการณ์

นอกประเทศดีอยู่แล้ว

 เพราะทรงมีเวลาศึกษาเพียงพอ

 ในเวลาที่ผนวชเป็นพระภิกษุถึง ๒๗ ปี

พอเสวยราชย์ได้ ๔ ปี

 เซอร์จอน โบว์ริง (Sir John Bowring)

เจ้าเมืองฮ่องกง ก็มีจดหมายส่วนตัว

เข้ามากราบทูลว่า คราวนี้ตัวเขา

จะเข้ามาเป็นราชทูต

แทนพระองค์ควีน วิคตอเรีย

 ไม่ใช่เป็นแต่เพียงทูต

มาจากผู้สำเร็จราชการอินเดียเช่นคนก่อนๆ

 เพราะฉะนั้นจึงหวังว่า

จะไม่มีเรื่องเดือดร้อนถึงต้องขัดใจกัน

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงทราบข้อไขอันนี้ดี

จึงเปิดประตูรับในฐานะมิตร

 และเป็นผลให้เราได้พ้นภัยมาได้แต่ผู้เดียว

ในทางตะวันออกประเทศนี้

เมื่อเหตุการณ์เรียบร้อยแล้ว

 ทรงพระราชดำริว่า

 เมืองไทยเรานี้มีเหตุการณ์หวิดๆ

 จะต้องเสียอิสรภาพมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว

 แต่เผอิญให้มีเหตุรอดพ้นได้เสมอมา

ชะรอยจะมีเทพยดาองค์ใดองค์หนึ่ง

ที่คอยพิทักษ์รักษาอยู่

จึงสมควรจะทำรูปเทพพระองค์นั้น

ขึ้นไว้สักการบูชา

แล้วโปรดให้พระองค์เจ้าดิษฐวรการ

 (หม่อมเจ้าในรัชกาลที่ ๑) นายช่างเอก

ทรงปั้นรูปเทพพระองค์นั้น

เป็นรูปทรงต้นยืนถือพระขรรค์ในพระหัตถ์ขวา

ขนาด ๘ นิ้วฟุตงดงามได้สัดส่วน

แล้วหล่อด้วยทองคำแท่งทั้งพระองค์

ทรงถวายพระนาม "พระสยามเทวาธิราช"

แล้วประดิษฐานไว้ในพระวิมานกลาง

พระที่นั่งไพศาลทักษิณจนทุกวันนี้

ท่านผู้ใหญ่ชั้นคุณย่าของข้าพเจ้าเล่าว่า

ในรัชกาลที่ ๔ ทรงถวายเครื่องสังเวย

เป็นราชสักการะทุกวัน

และเป็นที่นับถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์นัก

บัดนี้เนื่องแต่ทางพระราชสำนัก

ต้องตัดทอนรายจ่ายมากมาย

มาแต่ในรัชกาลที่ ๗

 จึงคงยังมีเครื่องสังเวยถวาย

แต่เฉพาะวันอังคาร และวันเสาร์

อาทิตย์ละ ๒ ครั้ง

 และในเวลาปีใหม่ก็มีการบวงสรวงสังเวย

เป็นพิธีใหม่ มีละครรำของกรมศิลปากร

ในเวลาเช้าวันสังเวยนั้น

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ต่างๆ

 ดังเราท่านได้ประสบมาด้วยตนเอง

 ยิ่งนานวันก็ยิ่งเห็นว่า

พระสยามเทวาธิราชนั้นมีจริง

 เราจงพร้อมใจกันอธิษฐาน

ด้วยกุศลผลบุญที่เราได้ทำมาแล้วด้วยดี

 ขอให้เทพเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์พระองค์นี้

 จงได้ทรงคุ้มครองป้องกันภัย

 และโปรดประสิทธิ์ประสาทความสมบูรณ์พูนสุข

ให้แก่ประชาชนชาวสยามทั่วกันเทอญ..."

พระราชพิธีบวงสรวงใหญ่

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 (รัชกาลที่ ๔) ทรงถวายเครื่องสังเวย

เป็นราชสักการะเป็นประจำวัน

เครื่องสังเวยที่ถวายเป็นประจำนั้น

จะถวายเฉพาะวันอังคาร

 และวันเสาร์ก่อนเวลาเพล

 โดยจะมีพนักงานฝ่ายพระราชฐานชั้นใน

เป็นผู้เชิญเครื่องตั้งสังเวยบูชา

เครื่องสังเวยประกอบด้วย

ข้าวสุกหนึ่งถ้วยเชิง หมูนึ่งหนึ่งชิ้น

พร้อมด้วยน้ำพริกเผา

ปลานึ่งหนึ่งชิ้นพร้อมด้วยน้ำจิ้ม

ขนมต้มแดงและขนมต้มขาว

 กล้วยน้ำว้า มะพร้าวอ่อนหนึ่งผล

 ผลไม้ตามฤดูกาลสองอย่าง

 และน้ำสะอาดอีกหนึ่งถ้วย

โปรดเกล้า ฯ ให้จัดพระราชพิธีสังเวยเทวดา

 ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)

 มีพระราชดำริว่า พระอภิเนาว์นิเวศน์

พระพุทธมณเฑียร และพระที่นั่งทรงธรรม

ซึ่งเป็นโครงสร้างเสาไม้หุ้มปูน

ที่ได้สร้างขึ้นในสมัย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก

 ยากที่จะบูรณะให้คงสภาพเดิมไว้ได้

 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

 ให้รื้อลงทั้งหมด

และอัญเชิญพระสยามเทวาธิราช

ไปประดิษฐานไว้ ณ พระวิมานทองสามมุข

เหนือลับแลบังพระทวารเทวราชมเหศวร์

ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ตราบจนถึงทุกวันนี้

พระราชพิธีบวงสรวงใหญ่ในปัจจุบัน

พระราชพิธีบวงสรวงใหญ่พระสยามเทวาธิราช

 ตามประเพณีกำหนดไว้

ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี

 อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติแบบโบราณ

 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี

หรือพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่

เสด็จแทนพระองค์มาทรงถวายเครื่องสังเวย

เป็นราชสักการะพระสยามเทวาธิราช

และมีละครในจากกรมศิลปากรรำถวาย

แต่ว่ามีเหตุการณ์สำคัญคือ

 เมื่อวันที่ ๗-๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕

เมื่อครั้งฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้เชิญพระสยามเทวาธิราช

จากพระวิมานในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ

 ขึ้นเสลี่ยงโดยประทับบนพานทอง ๒ ชั้น

 สู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

 ประดิษฐาน ณ บุษบกมุขเด็จ

 เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีบวงสรวง

 ในวันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๒๕

 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

 พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สาธุชน

เข้าถวายสักการะพระสยามเทวาธิราช

หลังเสด็จฯ กลับ

จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๒๕

 นับเป็นครั้งแรกที่ประชาชนมีโอกาส

ได้เข้าถวายสักการะพระสยามเทวาธิราช

เฉพาะพระพักตร์

น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย

ความรู้ทั้งหลายนี้เป็นพุทธบูชา

เนื่องในมหาสมัยครบรอบ ๒,๖๐๐ ปี

แห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระบรมศาสดา

สัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหาสมณโคดม

ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย

เป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

 รัชกาลที่ ๙

น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย

เป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ

 พระบรมราชินีนาถ เนื่องในพระราชพิธี

ศุภมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา

..........................

เอกสารประกอบการเขียน/ขอบคุณ
- ศรัทธาของชาวสุวรรณภูมิ, อ.สิริเดชะกุล
- วิกิพีเดีย

_________________________________
ขอบคุณที่มา...
fb: นิทรรศการพลังแผ่นดิน
อัศจรรย์งานศิลป์ แผ่นดินสยาม
https://www.facebook.com/Signnagas









Create Date : 24 มกราคม 2560
Last Update : 24 มกราคม 2560 11:16:27 น.
Counter : 2960 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ