Group Blog
### นางกวัก ###


















นางกวัก

....

คติความเชื่อของชาวสยาม

นางกวัก เป็นรูปเคารพนับถือกันเป็นอย่างมาก

 นางกวักมีรูปลักษณะสำคัญเป็นสตรีสมัยโบราณ

 ผมยาวประบ่า ห่มผ้าสไบเฉียง นุ่งผ้ายกดอก

ประกอบด้วยพาหุรัด ทองกร และสร้อยสังวาล

นั่งพับเพียบเรียบร้อยอยู่บนแท่นทอง

หัตถ์ขวายกงอขึ้นในลักษณะท่ากวักมือ

ปลายนิ้วงอเข้าหาลำตัว การยกมือขึ้นในลักษณะกวัก

 ถ้ามือยกสูงระดับปาก มีความหมายว่า กินไม่หมด

หากว่ามือที่กวักอยู่ต่ำกว่าระดับปาก เขาถือว่ากินไม่พอ

 หัตถ์ซ้ายส่วนมากจะถือถุงเงินและจารึกอักขระขอม

เป็นหัวใจพระสีวลีผู้เป็นเอตทัคคะทางโชคลาภ

 คือ นะ ชา ลี ติ

เป็นที่กล่าวขานกันว่า "นางกวัก" สามารถดลบันดาลโชคลาภ

ให้บังเกิดแก่ผู้กราบไหว้บูชา และทำมาค้าขึ้น

 ซื้อง่าย ขายคล่อง และมีเสน่ห์มหานิยมแก่ผู้พบเห็นอีกด้วย

โดยเฉพาะในมวลหมู่ผู้มีอาชีพค้าขาย

 ด้วยเชื่อว่านามของ นางกวัก มีความหมาย

ในทางทำมาหากินคล่องเจริญก้าวหน้า

ตามร้านค้าจึงพบเห็นรูปนางกวักบนหิ้งบูชา

หรือแม้กระทั่งรถเข็นค้าขายในตะกร้าเก็บสตางค์

หรือมุมเล็กๆ ต้องมีรูปนางกวักอยู่ด้วยเสมอ

เป็นความเคยชินในสังคมไทยมาช้านาน

การสร้างนางกวัก มีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์

มาจนถึงปัจจุบันทั้งเก่าและใหม่

 ท่านที่ปรารถนาอยากจะได้นางกวักไว้บูชา

เพื่อให้การค้าขายเจริญรุ่งเรือง

ก็ลองไปดูตามวัดวาอารามต่างๆ จะนิยมสร้างกันมาก

 ส่วนราคาถ้าเก่าหายากก็แพง ถ้าใหม่ก็ไม่แพง

 หรือบางท่านไปซื้อ (นางกวัก) ตามร้านเครื่องสังฆภัณฑ์

 และนำ(นางกวัก)ไปให้พระเกจิอาจารย์ที่นับถือ

อธิษฐานจิตปลุกเสก พุทธคุณเช่นกัน

ในสมัยพุทธกาล มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง สามีชื่อสุจิตตพราหมณ์

ภรรยาชื่อสุมณฑา มีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองมิจฉิกาสัณฑนคร

 ใกล้กรุงสาวัตถีในชมพูทวีป มีอาชีพค้าขายสินค้าเล็กๆ น้อยๆ

 มีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวอยู่รอดไปวันๆ

ต่อมาสองสามีภรรยาคิดจะขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น

 เมื่อมีรายได้มากพอจะตั้งเนื้อตั้งตัว

 จึงตัดสินใจซื้อเกวียนเพื่อบรรทุกสินค้าไปขายยังต่างเมือง

 และซื้อสินค้าต่างเมืองกลับมาขายที่เมืองมิจฉิกาสัณฑนคร

ซึ่งบางครั้งบุตรสาวที่ชื่อ "สุภาวดี" ก็ขอติดตามบิดามารดาไปด้วย

ระหว่างเดินทางไปต่างเมืองกับบิดามารดานั้น

สาวน้อยสุภาวดีมีโอกาสได้ฟังธรรมจากพระกุมารกัสสปเถระ

 ขณะจาริกแสดงธรรมเทศนาตามหมู่บ้านต่างๆ

 นางรู้สึกซาบซึ้งพระธรรมจนเข้าถึงพระรัตนตรัย

เมื่อพระกุมารกัสสปเถระ เห็นนางเลื่อมใสศรัทธาเช่นนั้น

จึงได้กำหนดจิตรวมพลังซึ่งเป็นอำนาจจิตของพระอรหันต์

ประสิทธิ์ประสาทพรสาวน้อยสุภาวดีและครอบครัว

ให้เจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์สินเงินทองจากอาชีพค้าขาย

และยังได้ประสิทธิ์ประสาทพรเช่นนี้ทุกครั้ง

ที่นางไปฟังธรรมด้วยความมุ่งมั่น

เมื่อบิดามารดาเดินทางไปค้าขายอีกเมือง

นางสุภาวดีก็มีโอกาสได้ฟังธรรมจากพระศิวลีเถระ

 ซึ่งจาริกไปแสดงธรรมตามตำบลต่างๆ เช่นกัน

 จนนางมีความรู้แตกฉานในหลักธรรม

 และได้รับเมตตาจากพระศิวลีเถระ

เช่นเดียวกับที่ได้จากพระกุมารกัสสปเถระ

พระศิวลีเถระนั้นนับว่ามีความมหัศจรรย์แตกต่างจากคนทั่วไป

คือท่านอยู่ในครรภ์มารดาถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วันก่อนคลอด

ทำให้เป็นผู้มีพลังจิตกล้าแข็ง

เมื่อท่านกำหนดจิตให้พรนางสุภาวดี พรของท่านจึงมีพลังเป็นพิเศษ

ด้วยบุญบารมีที่สาวน้อยสุภาวดีได้รับพรจากพระอรหันต์ถึง ๒ องค์

 เมื่อนางติดเกวียนบิดามารดาไปค้าขายที่เมืองใด

จึงทำให้ค้าขายได้คล่อง ต่างจากครั้งที่นางไม่ได้ไป

ซึ่งท่านสุจิตตพราหมณ์ และท่านสุมณฑา บิดามารดา

ก็รู้สึกถึงความแตกต่างนี้ว่ามาจากบุญบารมีของบุตรสาว

 จึงให้นางติดเกวียนไปด้วยทุกครั้ง

 จึงทำให้ครอบครัวร่ำรวยมั่งคั่งขึ้นทุกทีถึงขั้นเศรษฐี

 และยังมั่งคั่งขึ้นไปอีกเรื่อยๆ

ต่อมาเมื่อร่ำรวยเป็นเศรษฐีแล้ว ท่านสุจิตตพราหมณ์

ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฟังธรรมจากพระพุทธองค์

 บังเกิดศรัทธาแรงกล้า และปฏิบัติธรรมอยู่ในขั้นโสดาบันบุคคล

 ได้ถวายอุทยานชื่อ อัมพาฎกวัน อุทิศเป็นสังฆทาน

ให้เป็นที่พักพระภิกษุสงฆ์ ทั้งยังสร้างวิหารหลังใหญ่

ไว้กลางอุทยานเป็นวัดขึ้น ตั้งชื่อว่าวัดมัจฉิกาสัณฑาราม

 และนิมนต์พระสุธรรมเถระ มาเป็นเจ้าอาวาส

ท่านสุจิตตพราหมณ์ ยังเป็นคนที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

ชอบช่วยเหลือคน เมื่อเดินทางไปค้าขายยังเมืองไกล

 ท่านก็ประกาศถามพระภิกษุสงฆ์ พระภิกษุณี

ตลอดจนประชาชนผู้เป็นพุทธบริษัททั้งหลาย

รวมทั้งผู้ที่นับถือนิกายอื่นด้วยว่า ใครจะไปทางเดียวกับท่านบ้าง

 ซึ่งบางครั้งก็มีคนแจ้งความประสงค์นับพัน

ท่านก็จัดเกวียนรับคนเหล่านั้นไปด้วยตามประสงค์

 ทำให้ผู้คนต่างสรรเสริญในคุณงาม

มีจิตเมตตาต่อผู้คนทั่วไปของท่าน

 และเมื่อพูดกันถึงท่านสุจิตตพราหมณ์

 ก็จะพูดกันถึงอานุภาพความขลังของสาวน้อยสุภาวดี

ที่ทำให้บิดามารดาร่ำรวย จึงพากันยกย่องบูชา

ในอานุภาพของนางที่ดลบัดดาลให้เกิดโชคลาภทางการค้า

กาลเวลาผ่านไป จนท่านสุจิตตพราหมณ์

และท่านสุมณฑาละสังขาร ส่วนนางสุภาวดีก็แก่ชราจนละสังขาร

ตามบิดามารดาไป แต่คุณงามความดี ความขลัง

 และความศักดิ์สิทธิ์ของนางสุภาวดีก็ยังได้รับการเชื่อถือ

 กราบไว้บูชาต่อไป ผู้ที่ให้ความเคารพนับถือนาง

มีคนที่อยู่ในวรรณะทั้ง ๔ ครบทุกวรรณะคือ

 พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และ ศูทร

เมื่อจะปรารถนาให้ตนร่ำรวยจากการค้า

 ก็จะหารูปปั้นของนางสุภาวดีมาตั้งบูชา

 และอัญเชิญวิญญาณของนางมาสถิตในรูปปั้น

ต่อมาเมื่อมีผู้ที่เคารพกราบไหว้รูปปั้นนาง

แล้วร่ำรวยรุ่งเรืองขึ้นจากการค้า

 ก็มีผู้ศรัทธานิยมทำตามกันมากขึ้น

และแพร่หลายกว้างขวางออกไป

เมื่อพุทธศาสนาและลัทธิพราหมณ์ได้แพร่เข้ามาสู่สุวรรณภูมิ

 พวกพราหมณ์ซึ่งนิยมทางพิธีกรรมและเวทมนตร์คาถาต่างๆ

 ก็ได้นำรูปปั้นของนางสุภาวดีเข้ามาด้วย

 โดยจำลองมาจากท่านั่งขายของบนเกวียน

และทำเป็นรูปกวักมือให้คนเข้ามาหาหรือมาซื้อสินค้า

 แต่แรกก็ทำขึ้นไว้เพื่อกราบไหว้บูชาเอง

ต่อมาเมื่อมีผู้เลื่อมใส จึงทำตัวเป็นอาจารย์

ปลุกเสกรูปปั้นนี้แจกจ่ายให้ผู้ที่ทำการค้า

จนรูปปั้นแม่นางสุภาวดีได้รับความนิยมในหมู่ผู้ทำมาค้าขาย

 และขยายไปทั่ว ซึ่งได้เรียกกันตามท่านั่งของนางว่า....

 " นางกวัก"

นางกวัก ฉบับปู่เจ้าเขาเขียว ที่สยามประเทศ

ตำนานหนึ่งเกี่ยวกับนางกวักของไทย

 กล่าวถึงมีความสืบเนื่องมาจากเรื่อง รามเกียรติ์

ตอนพระรามออกตามหานางสีดา

พระรามได้พบกับท้าวอุณาราชพญายักษ์เจ้านครสิงขร

 พระรามจึงแผลงศรเอาต้นกกเป็นศรมาถูกยอดอกท้าวอุณาราช

คนทั้งหลายจึงเรียกกันว่า ท้าวกกขนาก

 พระรามได้สาปให้ศรตรึงท้าวอุณาราช

อยู่ภายในถ้ำเขาวงพระจันทร์ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของจ.ลพบุรี

 แล้วยังสาปสำทับไว้ว่า ท้าวกกขนากจะต้องทนทุกข์ทรมาน

อยู่ในถ้ำเขาวงพระจันทร์จนกระทั่งถึงศาสนาพระศรีอาริย์

นางประจันทร์ธิดาของท้าวอุณาราช ทราบเรื่อง

ก็เข้ามาเฝ้าปฏิบัติเป็นเพื่อนบิดาทั้งยังเอาใยบัวมาทอทำเป็นจีวร

เตรียมไว้ถวายเมื่อถึงคราวพระศรีอาริย์เสด็จมา

 เป็นการสร้างกุศลอุทิศให้บิดา

ขณะนั้นชาวเมืองต่างเกรงกลัวท้าวอุณาราช

หรือท้าวกกขนาก จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาอาละวาด

เห็นนางประจันทร์เอาน้ำส้มสายชูไปหล่อที่ศร

ก็พากันขับไล่นางประจันทร์ พร้อมกับกลั่นแกล้งต่างๆนานาๆ

ความได้ทราบไปถึง "ปู่เจ้าเขาเขียว" ผู้เป็นสหายของท้าวอุณาราช

จึงส่งธิดาองค์หนึ่ง ซึ่งมีรูปโฉมงดงามเป็นที่สุด

 เป็นที่เสน่หาแก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในแผ่นดิน

 มาเป็นเพื่อนนางประจันทร์

เพื่อนางประจันทร์จะได้เสื่อมคลายความเศร้าโศกลงบ้าง

ปรากฏว่านับแต่ธิดา ของปู่เจ้าเขาเขียว

มาอยู่เป็นเพื่อนนางประจันทร์แล้ว

ประชาชนที่เคยเกลียดชังนางประจันทร์มาแต่ก่อน

กลับใจเป็นรักใคร่ นำของกำนัลต่างๆ

 มาให้นางประจันทร์เป็นบรรณาการอยู่เสมอไม่ขาด

แม้การเดินทางจะแสนทุรกันดารเพียงไร

ประชาชนเหล่านั้นก็หาย่อท้อไม่

พยายามเดินทางมาด้วยความรัก

 และเมตตาต่อนางประจันทร์เป็นที่ยิ่ง

มุ่งหน้ามาทำบุญกุศลกันอย่างมากมาย

ความเกลียดชังที่ท่วมท้นเป็นอันเสื่อมสลายไปสิ้น

ด้วยเหตุนี้ นางประจันทร์จึงตั้งชื่อ

ให้ธิดาของปู่เจ้าเขาเขียวว่า....

"นางกวัก"

ด้วยคุณงามความดีอันมหาศาลนี้สัตบุรุษุทั้งหลาย

จึงได้ให้พระเกจิอาจารย์ผู้ขลังทางเวทมนตร์สร้างรูป

 "แม่นางกวัก" ขึ้นไว้เป็นที่สักการบูชา

เพื่อผลทางมหานิยมในการค้าขาย



ขอบคุณที่มา fb. นิทรรศการพลังแผ่นดิน

อัศจรรย์งานศิลป์แผ่นดินสยาม








Create Date : 13 มิถุนายน 2558
Last Update : 13 มิถุนายน 2558 13:56:57 น.
Counter : 2571 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ