Group Blog
All Blog
### แม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรม ###











 แม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรม


เรื่องเล่าเช้าวันพระ :

ประมาณปี ๒๔๓๕ มีพระธุดงค์หนุ่มวัย ๓๐

ชื่อพระอาจารย์เสาร์มาพักที่กุดเม็ก

ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านคำบง อำเภอโขงเจียม

 จังหวัดอุบลราชธานี ไม่นานก็ได้รู้จัก

กับชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อมั่น

 ซึ่งเป็นหมอลำฝีปากดีแห่งบ้านคำบง

หนุ่มมั่นมีความศรัทธาในพระอาจารย์เสาร์

มาดูแลอุปัฏฐากท่านเป็นประจำ บางวันก็ไม่กลับบ้าน

 ภายหลังก็ฝึกสมาธิภาวนากับท่านด้วย

 พระอาจารย์เสาร์เห็นชายหนุ่มมีใจใฝ่ธรรม

จึงชวนชายหนุ่มบวช

ท่านได้พาไปอุปสมบท ณ วัดศรีทอง อำเภอเมือง

 ชายหนุ่มได้รับสมณฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า ภูริทตฺโต

พระหนุ่มรูปนี้ภายหลังเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

ในนามหลวงปู่มั่น

 ส่วนพระอาจารย์ที่พามาบวชก็คือ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล

 ซึ่งได้ชื่อว่า ปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน

 ในช่วงร้อยปีที่ผ่านมากล่าวได้ว่า

พระป่าในภาคอีสานซึ่งกระจายไปทั่วประเทศ

 ล้วนเป็นศิษย์และอนุศิษย์สืบเนื่องมาแต่พระมหาเถระทั้งสอง

แทบทั้งนั้น ท่านจึงเป็นเสมือนต้นกำเนิดของแม่น้ำสายใหญ่

ที่ยังความชุ่มเย็นแก่ผู้คนทุกวันนี้

ความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นระหว่างอาจารย์กับศิษย์

ได้เกื้อกูลให้ทั้งสองท่านเจริญก้าวหน้าในทางธรรมเป็นลำดับ

 คราวหนึ่งหลังจากบวชมาได้ ๔ พรรษา พระมั่นคิดจะลาสิกขา

 ถึงกับจัดหาเสื้อผ้าอย่างฆราวาสไว้พร้อม

และเตรียมดอกไม้ธูปเทียนเพื่อขอลิกขาจากพระอาจารย์เสาร์

พระอาจารย์เสาร์ไม่ได้ทัดทาน

 แต่ขอร้องพระมั่นว่าก่อนจะสึก

ควรบำเพ็ญเพียรเต็มที่สัก ๗ วัน

 โดยถือธุดงควัตรอย่างเคร่งครัด

เช่น ฉันเอกาและถือเนสัชชิก

 คือฉันมื้อเดียวและไม่นอนทอดกายตลอดวันตลอดคืน

พระมั่นดีใจที่อาจารย์ไม่ทักท้วงห้ามปราม

จึงรับคำครูบาอาจารย์ว่าจะทำความเพียรอย่างเต็มที่

ทุกวันหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จ

ท่านจะปลีกตัวไปบำเพ็ญเพียรที่โบสถ์วัดร้าง

จนถึงเวลาเย็นจึงกลับมาหาหมู่คณะ

หลังจากทำความเพียรครบกำหนด

ความสงบเย็นที่ได้รับกลับทำให้ท่านเปลี่ยนใจไม่สึก

และตัดสินใจขออยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ในเพศบรรพชิตจนตลอดชีวิต

นับแต่นั้นท่านก็ตั้งใจปฏิบัติ มั่นคงในธุดงควัตร

 บำเพ็ญกรรมฐานไม่หยุดหย่อน

จิตใจมุ่งตรงต่อพระนิพพาน

จึงมีความเจริญงอกงามในทางธรรมเป็นลำดับ

จนพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงในที่สุด

มีเรื่องเล่าว่าในพรรษาที่ ๒๓

 ขณะที่ท่านบำเพ็ญภาวนาที่ถ้ำสาริกา

 จังหวัดนครนายก ท่านได้ทราบด้วยญาณว่า

อาจารย์ของท่าน ซึ่งบัดนี้ชาวบ้านเรียกว่าหลวงปู่เสาร์

 ปรารถนาปัจเจกโพธิ คืออธิษฐานเป็นพระปัจเจกพุทธะ

 เป็นเหตุให้ไม่สามารถทำความเพียรจนพ้นทุกข์ได้ในชาตินี้

 จึงเดินทางไปเตือนสติท่าน ขอให้ละความปรารถนาดังกล่าว

เพื่อจะได้บรรลุอรหัตผลในชาตินี้

ประมาณปี ๒๔๕๙ พระอาจารย์มั่นได้เดินทางไปที่ภูผากูด

อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม เพื่อจำพรรษากับหลวงปู่เสาร์

 มีการสนทนาธรรมแทบทุกวัน วันหนึ่งเมื่อได้โอกาสเหมาะ

พระอาจารย์มั่นก็สอบถามหลวงปู่เสาร์ถึงการปฏิบัติ

หลวงปู่เสาร์ยอมรบว่าการปฏิบัติของท่านแม้ได้ผล

แต่ไม่ชัดเจน พยายามพิจารณาธรรมเท่าไรก็ไม่แจ่มแจ้ง

พระอาจารย์มั่นจึงถามต่อว่า

 “ถ้าเช่นนั้นท่านอาจารย์คงมีอะไรเป็นเครื่องห่วงหรือกระมัง”

หลวงปู่เสาร์ตอบว่า

 “เราก็พยายามพิจารณาเหมือนกัน แต่ก็หาสิ่งขัดข้องไม่ได้”

พระอาจารย์มั่นสบโอกาส จึงถามว่า

“ท่านอาจารย์ห่วงเรื่องการปรารถนาพระปัจเจกโพธิกระมัง”

หลวงปู่เสาร์ฟังแล้วก็เห็นด้วย พระอาจารย์มั่นจึงกล่าวต่อว่า

“ขอให้ท่านอาจารย์อย่าเป็นห่วงเลย

ขอให้พิจารณาอริยสัจจ์เพื่อความพ้นทุกข์เสียแต่ชาตินี้เถิด

 เพราะกระผมเองก็ปรารถนาพระโพธิญาณ

 และกระผมก็ได้ละความปรารถนานั้นแล้ว

เนื่องด้วยว่าการท่องเที่ยวในสังสารวัฏฏ์นี้มันนานเหลือเกิน”

นับแต่นั้นการปฏิบัติของหลวงปู่เสาร์ก็รุดหน้า

จนกระทั่งวันหนึ่งขณะที่ท่านนั่งอยู่ในที่สงัด

ได้พิจารณาอริยสัจจ์สี่จนเห็นแจ่มแจ้ง

ไม่มีความสงสัยในธรรมอีกต่อไป

 เมื่อถึงวันออกพรรษาท่านก็บอกพระอาจารย์มั่นว่า

“เราได้เลิกการปรารถนาพระปัจเจกโพธิแล้ว

และเราก็ได้เห็นธรรมจริงแล้ว”

ความแจ่มแจ้งในธรรม

เป็นกำลังให้แก่อาจารย์และศิษย์ทั้งสอง

ในการเผยแผ่ธรรมจนมีศิษยานุศิษย์มากมาย

 ส่วนใหญ่แล้วจะแยกย้ายจาริกสอนธรรม

แม้จะได้รับการต้อนรับอย่างดีจากชาวบ้าน

 แต่หลายแห่งก็ถูกต่อต้านจากพระในท้องถิ่น

 ซึ่งสูญเสียผลประโยชน์จากการสอนของท่าน

 ใช่แต่เท่านั้นบางครั้งยังถูกขัดขวางจากพระที่เป็นผู้ปกครอง

ซึ่งในเวลานั้นมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อพระป่า

เพราะเห็นว่าเป็นพระเร่ร่อนจรจัด

มีคราวหนึ่งเจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี

 คือ พระโพธิวงศาจารย์

 ถึงกับประกาศต่อประชาชนว่า

“ญาคูเสาร์ กับ ญาคูมั่น ห้ามไม่ให้ใส่บาตรให้กิน

 เพราะพวกนั้นคือพวกเทวทัต”

หลวงปู่เสาร์ได้ยินก็เพียงแต่ยิ้ม ไม่ตอบโต้

ท่านยังคงจาริกเผยแผ่ธรรมต่อไปด้วยความสงบเยือกเย็น

เมื่อถูกต่อต้านมากเข้า ท่านก็พูดเพียงว่า

 “ท่านว่าเราเป็นพวกเทวทัต เราไม่ได้เป็น ไม่เห็นเดือดร้อน

ท่านสั่งคนไม่ให้ใส่บาตรให้เรากิน แต่ก็ยังมีคนใส่ให้อยู่

พอได้ฉัน ไม่เห็นเดือดร้อนอะไร

ท่านไม่เหนื่อยก็เป็นเรื่องของท่าน”

ขณะเดียวกันชาวบ้านก็หาได้สนใจ

คำประกาศของเจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานีไม่

ยังคงใส่บาตรให้แก่หลวงปู่เสาร์และคณะต่อไป

ด้วยชื่นชมในปฏิปทาและคำสอนของท่าน

ท่านเจ้าคุณองค์นี้ภายหลังได้เจริญในสมณศักดิ์

เป็นสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส)

คราวหนึ่งได้ไปตรวจงานคณะสงฆ์ที่ภาคเหนือ

ได้พบหลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่ จึงตั้งคำถามเชิงตำหนิว่า

“ญาคูมั่น เธอเที่ยวตามป่าเขาอยู่เพียงลำพังผู้เดียวอย่างนี้

เธอได้สหธรรมิก ได้ธรรมวินัย

เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติที่ไหน

เธอได้รับฟังธรรมจากสหธรรมิกอย่างไร

ทำไมเธอจึงได้ปฏิบัติมางมไปอย่างนั้น

เธอทำอย่างนั้นจะถูกหรือ”

หลวงปู่มั่นตอบว่า “พระเดชพระคุณไม่ต้องเป็นห่วงกังวล

 กระผมอยู่ตามป่าตามเขานั้น

 ได้ฟังธรรมจากเพื่อนสหธรรมิกตลอดเวลา

คือมีเพื่อนและฟังธรรมจากธรรมชาติ เสียงนกเสียงกา

 เสียงจิ้งหรีด จักจั่นเรไร เสียงเสือ เสียงช้าง

มันเป็นธรรมชาติไปหมด

มันทุกข์หรือสุขกระผมก็รู้

เขาคอยตักเตือนกระผมอยู่ตลอดเวลา

 ไม่ให้ลืมสติว่า เจ้าเป็นใครมาจากไหน

 อยู่อย่างไรแล้วก็จะไปไหน

"เวลาใบไม้ร่วงหล่นจากขั้วทับถมกันไปไม่มีสิ้นสุดก็เป็นธรรม

 บางต้นมันก็เขียวทำให้ครึ้ม บางต้นมันก็ตายซากแห้งเหี่ยว

 เหล่านั้นมันเป็นธรรมเครื่องเตือนสติสัมปชัญญะไปหมด

 ฉะนั้นพระเดชพระคุณท่าน โปรดวางใจได้

ไม่ต้องเป็นห่วงกระผม เพราะได้ฟังธรรมอยู่ตลอดเวลา

ทั้งกลางวันกลางคืน”

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เป็นพระที่มีความรู้ในทางปริยัติ

สอบได้เปรียญ ๕ ประโยค

และใส่ใจในการส่งเสริมพระปริยัติธรรม

จนได้รับการยกย่องจากพระผู้ใหญ่

และเจริญในสมณศักดิ์อย่างรวดเร็ว

 ท่านไม่สามารถเข้าใจได้ว่าพระธุดงค์หรือพระกรรมฐาน

จะเข้าใจธรรมได้อย่างไรในเมื่อไม่เรียนหนังสือ

 ท่านเคยกล่าวว่า “ขนาดลืมตาเรียน

 และมีครูอาจารย์ที่เป็นนักปราชญ์มาสอน ยังไม่ค่อยรู้

แล้วมัวไปนั่งหลับตาจะไปรู้อะไร”

แต่ภายหลังเมื่อท่านได้รู้จักกับศิษย์ของหลวงปู่มั่น

 โดยเฉพาะพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และพระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

 ซึ่งช่วยให้ท่านหายเจ็บป่วยด้วยสมุนไพรและสมาธิภาวนา

ท่านก็มีศรัทธาในการทำกรรมฐาน

 และหันมามีทัศนคติที่ดีต่อพระป่า โดยเฉพาะหลวงปู่มั่น

เมื่อมีงานปลงศพหลวงปู่เสาร์ที่จังหวัดอุบลราชธานีในปี ๒๔๘๖

สมเด็จ ฯ ได้มีโอกาสพบหลวงปู่มั่น

 หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโนเล่าว่า

“ท่านจึงเดินเข้าไปหา และพูดกับหลวงปู่มั่น ว่า....

"เออ!! ท่านมั่น เราขอขมาโทษเธอ

 เราเห็นโทษแล้ว แต่ก่อนเราก็บ้ายศ"

ภายหลังเมื่อหลวงปู่มั่นได้เข้าไปกราบสมเด็จ ฯที่วัดบรมนิวาส

 สมเด็จ ฯ ซึ่งตอนนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆนายก

ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่

ได้สอบถามหลวงปู่มั่นเกี่ยวกับการปฏิบัติว่า

“เราก็เป็นผู้ปกครอง บริหารงานการคณะสงฆ์ทั้งประเทศ

 ยุ่งแต่กิจการงาน พอนั่งภาวนาพุทโธครั้งใดทีไร

ความคิดก็พุ่งไปคิดอยู่แต่ในงานการบริหารคณะสงฆ์

ไม่สามารถทำให้หยุดคิดได้เลย จะทำให้ไม่คิดนี้ยาก

 ท่านอาจารย์มีวิธีอื่นบ้างไหม ที่จะทำให้จิตเป็นสมาธิภาวนา”

หลวงปู่มั่นตอบว่า “การนั่งสมาธิภาวนานั้น ท่านให้คิดได้

แต่ให้มีสติตามรู้ พิจารณาถึงสภาพความเป็นจริง

 อนิจลักษณะ อยู่ตลอดเวลา”

 เมื่อนำคำตอบของหลวงปู่มั่นไปปฏิบัติ

การภาวนาของสมเด็จ ฯ ก็ราบรื่น ไม่ติดขัด

 ท่านจึงยิ่งมีศรัทธาปสาทะมากขึ้น

จากประสบการณ์ส่วนตัวของสมเด็จ ฯ

ที่ได้สัมผัสกับพระกรรมฐาน

 และจากประสบการณ์ที่ท่านได้พบเห็นว่าหมู่บ้านใด

ที่มีพระกรรมฐานมาเผยแผ่ธรรม

 ญาติโยมจะประพฤติตัวเรียบร้อย

รู้จักสวดมนต์ไหว้พระ อยู่ในศีลในธรรม

 มีการทำสมาธิภาวนา ท่านจึงมีความประทับใจอย่างมาก

ในพระกรรมฐาน จนถึงกับกล่าวในที่ประชุมสงฆ์ว่า

 “การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ต้องให้พระกรรมฐานเป็นแนวหน้า

หรือเรียกว่า กองทัพธรรมแนวหน้า”

ในปี ๒๔๙๒ หลวงปู่มั่นได้มรณภาพที่จังหวัดสกลนคร

 ทิ้งมรดกอันได้แก่คำสอนและกองทัพธรรมที่ท่าน

และหลวงปู่เสาร์ได้สร้างขึ้นเพื่อสถาปนาธรรม

ให้ตั้งมั่นในจิตใจของผู้คนจวบจนทุกวันนี้

พระไพศาล วิสาโล








ขอบคุณที่มา fb.พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2559 12:07:06 น.
Counter : 1038 Pageviews.

1 comment
### เมื่อนักปราชญ์ถามปัญหาธรรมกับอาจารย์ ###


















นักปราชญ์อาจารย์ถามปัญหาธรรม
.
วันหนึ่งได้มีโยมทิดขันตี มาถามปัญหาธรรม

โยมทิดขันตีนี้แกเคยบวชเรียนหลายปีแล้วก็สึก

และเคยเป็นหมอลำกลอน จึงมีความรู้มาก

เมื่อโยมทิดขันตีเข้ามาหาทำความเคารพกราบไหว้แล้ว

แกจึงพูดว่า “อาจารย์ ผมขอถามปัญหาธรรมกับอาจารย์

ด้วย คำว่า วัดหก กกห้า พระเสมาทั้งแปด ได้แก่อะไร”
.
หลวงปู่ท่านเป็นผู้ถ่อมตนเป็นนิสัยประจำองค์อยู่แล้ว

 ท่านจึงพูดว่า “อาตมาเป็นพระอยู่ตามป่า

 ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนอะไรมาก ความรู้ก็มีน้อย

จะขอตอบไปตามความรู้ของตนเอง

 คำว่าวัดหกนั้น วัดได้แก่ วัตรปฏิบัติ

 หกนั้นได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

เราปฏิบัติวัดตา วัดหู วัดจมูก วัดลิ้น วัดกาย วัดใจ

 วัดให้อยู่ในความพอดี เมื่อตาเห็นรูป หูได้เสียง จมูกได้กลิ่น

 ลิ้นได้ลิ้มรส การถูกต้องสัมผัส ใจนึกคิดอารมณ์

ให้มีสติรอบคอบอยู่ในอายตนะทั้ง 6 นี้

เมื่อเวลามันกระจายกัน ไม่ปล่อยจิตใจให้ไหลไปตามปรุงแต่ง

 ไปตามสิ่งที่สัมผัสนั้นๆ เรียกว่า วัดหก
.
กกห้านั้น กก หมายถึง ต้นถึงโคน

ต้นของธรรมได้แก่ พละ 5 คือ

 ศรัทธา ความเชื่อ วิริยะ ความเพียร สติ

ความระลึกชอบ สมาธิ ความตั้งใจไว้มั่นคง

ปัญญา ความรอบรู้ในสภาวะความเป็นจริง นี้คือต้นของธรรม

ต้นของคนคือ แขนสอง ขาสอง หัวหนึ่ง รวมเป็นห้า

ปฏิบัติห้าอย่างนี้ให้แก่กล้า

รักษาแขนสอง ขาสอง หัวหนึ่งนี้ไม่ให้ผิดศีลธรรม

นี้เรียกว่ากกห้าเจริญสมบูรณ์
.
พระเสมาทั้งแปด เสมา หมายถึง หลักขอบเขต

ขอบเขตแห่งทางเดิน 8 อย่าง

ได้แก่ มรรคปฏิปทา คือข้อปฏิบัติ

ไปสู่ความพ้นทุกข์ 8 ประการ ได้แก่
.
สัมมาทิฏฐิ คือปัญญาอันเห็นชอบ เห็นความเกิดแก่เจ็บตาย

เห็นกายเห็นจิตไม่ใช่ตัวตน เกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ดับไป เป็นทุกข์

นี้เรียกว่าเห็นชอบ
.
สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ

 คือ ดำริที่จะออกจากกองทุกข์ คือความคิดอยู่ในกามคุณห้า

ยินดีพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในการถูกต้องสัมผัส

 สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ดำริหาทางออกจากสิ่งเหล่านี้ไป
.
สัมมาวาจา วาจาไม่เป็นพิษเป็นภัย เรียกว่าวาจาชอบ

สัมมากัมมันโต การงานที่ทำเป็นการงานชอบ

 เป็นการงานที่จะออกจากทุกข์

สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ

ไม่เบียดเบียนคนอื่น สัตว์อื่น มาเลี้ยงชีวิตตน

สัมมาวายาโม เพียรละสิ่งที่ไม่ดี เพียรทำสิ่งที่ดี

สัมมาสติ ระลึกชอบ ระลึกในกายในจิตของตนเอง

สัมมาสมาธิ ความตั้งใจไว้ชอบ ตั้งใจไว้มั่นคง

ในทางจะหาความพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร

 ความเวียนว่ายในการเกิดแก่เจ็บตาย
.
ที่อธิบายมานี้รวมเรียกว่า วัดหก กกห้า พระเสมาทั้งแปด”
.
เมื่อโยมทิดขันตีได้ฟังอธิบายปัญหาจบแล้วก็กราบลาจากไป
.

หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล










ขอบคุณที่มา fb. วัดป่า
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2559 10:53:01 น.
Counter : 939 Pageviews.

0 comment
### หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ด้วยความเพียร ###

















“หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ด้วยความเพียร”

วันนี้พวกเราก็ได้มารวมกัน ฟังเทศน์ฟังธรรม

ปฏิบัติธรรมกันอีกครั้งหนึ่ง เป็นการกระทำที่ดี

ที่มีคุณมีประโยชน์กันอย่างมาก

เพราะผลคือการบรรลุมรรคผลนิพพาน ขั้นต่างๆนั้น

 จำเป็นจะต้องมีการศึกษา มีการปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง

 ความเพียรพยายามนี้แหละ เป็นปัจจัยที่สำคัญ

ถ้าเราไม่มีความเพียร เราไม่มีความพยายาม

 เราก็จะไม่สามารถได้ผลที่เราต้องการกันได้

 ดังที่เราได้เคยยินสุภาษิตหลายบทด้วยกัน

ที่พูดเกี่ยวกับความเพียร เช่น

 “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”

หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ด้วยความเพียร

ความเพียรนี้จึงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของมรรค ๘

คือ สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ

ถ้ามีมรรคองค์อื่นแต่ขาดมรรคสัมมาวายาโม

ก็จะไม่สามารถที่จะทำให้เกิดผลขึ้นมาได้

 คือต้องมีครบทั้ง ๘ องค์ด้วยกัน ถึงจะทำให้เกิดผล

 คือมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ขึ้นมาได้

มรรคองค์อื่นเราก็พอที่จะมีกันอยู่ เช่น สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปโป

เราก็มักจะได้ยินได้ฟังกัน ได้ยินได้ฟังธรรมะกันต่อเนื่อง

 พอเราได้ยินได้ฟังธรรมะได้ศึกษาธรรมะ

เราก็จะมีความเห็นที่ถูกต้อง เราก็จะมีความคิดที่ถูกต้อง

 แต่ถ้าเราไม่เอาความเห็นที่ถูกต้อง

 ความคิดที่ถูกต้องนี้มาประกอบความเพียร

มาเจริญสติมาเจริญสมาธิ

เราก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้เกิดมรรคผลนิพพานขึ้นมาได้

 ดังนั้นพอเรามีสัมมาทิฐิแล้วว่า

การจะหลุดพ้นจากความทุกข์ได้นั้น

ต้องมีความเพียรพยายาม

 คือต้องมีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ อย่างต่อเนื่อง

 ปฏิบัติให้มากขึ้นไปตามลำดับจนให้เต็ม ๑๐๐

ถ้าการปฏิบัติเต็ม ๑๐๐ เมื่อไหร่ ผลก็จะเต็ม ๑๐๐ เมื่อนั้น

 ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องคอยกำจัดอยู่เรื่อยๆ ก็คือความเกียจคร้าน

 อะไรที่ทำให้เกิดความเกียจคร้าน เสริมความเกียจคร้าน

 เราก็ต้องกำจัดมันให้ได้

หนึ่งในเหตุของความเกียจคร้าน ก็คือ

การรับประทานอาหารมากเกินไป เราจึงต้องรู้จักประมาณ

 ในการรับประทานอาหาร รับประทานเพื่ออยู่

อย่าอยู่เพื่อรับประทาน ถ้าอยู่เพื่อรับประทาน

 ก็จะรับประทานแบบไม่มีขอบไม่มีเขต

จะรับประทานตามความอยาก

 ซึ่งความอยากนี้มีแบบไม่มีขอบไม่มีเขต

 ดังท่านพูดไว้ว่า มหาสมุทรแม้จะกว้างใหญ่ไพศาลขนาดไหน

ก็ยังมีขอบมีฝั่ง แต่ตัณหาความอยากนี้ ไม่มีขอบไม่มีฝั่ง

 อยากเท่าไหร่แทนที่จะหมดไป กลับมีมาต่ออยู่เรื่อยๆ

 ถ้าเราปล่อยให้ความอยากรับประทานอาหารนี้

เป็นตัวนำพาในการรับประทานอาหาร

เราก็จะรับประทานมากจนเกินไป

เช่นรับประทานวันละ ๔ - ๕ มื้อ

และระหว่างมื้อก็ยังมีขนมนมเนยเครื่องดื่ม

 ไว้รับประทาน ไว้ดื่มอีก ถ้าเราดื่มเรารับประทานอย่างนี้

 เราก็จะเกิดความง่วงเหงาหาวนอน เกิดความเกียจคร้าน

 ไม่อยากที่จะเดินจงกรมไม่อยากจะนั่งสมาธิ

 ไม่อยากจะฟังเทศน์ฟังธรรม อยากจะหาหมอน

 ฟังเทศน์จากหมอน หาความสงบจากหมอน

ซึ่งเป็นความสงบของสุกร เป็นความสุขของสุกร

 อิ่มหมีพลีมันพร้อมที่จะขึ้นเขียง

ถ้าเป็นนักปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นแล้ว

 จะไม่มีไขมันติดอยู่ตามร่างกาย

จะมีแต่หนังกับเนื้อหุ้มห่อกระดูก

จะมีกล้ามเนื้อที่เกิดจากการเดินจงกรมเป็นชั่วโมงๆ

จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องรู้จักประมาณในการรับประทานอาหาร

 โดยหลักแล้ว ปกติก็รับประทานไม่เกินเที่ยงวันไปแล้ว

จะรับประทานมากหรือน้อย หลังเที่ยงวันไปแล้วก็หยุด

เพราะไม่เช่นนั้น มันจะลามปามไปถึงเย็น ถึงค่ำ

ถึงก่อนเวลานอน แล้วมันจะไม่มีเวลาที่จะมาภาวนา

 เพราะหนึ่งจะต้องเสียเวลากับการเตรียมอาหาร

รับประทานอาหาร เมื่อรับประทานแล้วก็เกิดความง่วงนอน

 เกิดความเกียจคร้านขึ้นมา

 ถ้าไม่รับประทานหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว

พอบ่ายๆอาหารก็จะย่อยไปหมด

แล้วก็จะไม่มาเป็นอุปสรรคต่อการภาวนา

 ในตอนบ่ายหรือตอนเย็น ในตอนค่ำหรือตอนดึก

 แต่ถ้ารับประทานต่อถึงเย็นถึงก่อนเวลาเข้านอน

ก็จะไม่มีกำลังที่จะมาภาวนามาบำเพ็ญ

 ฉะนั้นทางปฏิบัตินี้มักจะถือการรับประทานอาหาร

วันละ ๑ ครั้ง เป็นธุดงควัตร ๑ ใน ๑๓ ข้อของพระ

 ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดขึ้น

 ให้ไว้เป็นเครื่องสนับสนุนในการบำเพ็ญความเพียร

ธุดงควัตร ๑๓ ข้อนี้ จะทำให้ผู้ที่บำเพ็ญนี้ บำเพ็ญได้อย่างสะดวก

 จะไม่เกียจคร้าน จะไม่เสียเวลากับเรื่องราวต่างๆ

ที่ไม่จำเป็นจะต้องเสียเวลาด้วย ๑ ในข้อนี้ ก็คือ

การฉันมื้อเดียว จะแสดงธุดงควัตรทั้ง ๑๓ ข้อนี้เท่าที่จะจำได้ให้ฟัง

 เผื่อญาติโยม ถึงแม้ว่า จะไม่ได้เป็นนักบวช ไม่ได้เป็นพระ

 ก็สามารถนำเอาไปปรับใช้กับชีวิตของตนได้

 เช่นการฉันมื้อเดียว อันนี้ก็เพื่อเป็นการลดการบริโภค

การรับประทานอาหารมากจนเกินไป ทำให้ง่วงเหงาหาวนอน

 ทำให้เกิดความเกียจคร้าน ทำให้ไม่สามารถบำเพ็ญความเพียร

 ปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดผลขึ้นมาได้

อีกข้อหนึ่งก็คือ การบิณฑบาต

การบิณฑบาตของพระนี้ก็เป็นการเสริมความเพียร

 เพราะว่าจะต้องเดินไปในหมู่บ้าน ซึ่งโดยปกติ

วัดป่านี้จะตั้งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๒ กิโลเมตรขึ้นไป

เพื่อจะได้อยู่ห่างไกลจากแสงสีเสียงของหมู่บ้าน ของชุมชน

 แต่ก็ไม่ห่างจนเกินไปจนไม่สามารถที่จะมาบิณฑบาตได้

เพราะเพศของพระนี้ มีความผูกพัน

เกี่ยวข้องกับฆราวาสญาติโยม

 คือต้องพึ่งพาอาศัยกัน ฆราวาสญาติโยมก็ต้องพึ่งพาอาศัยพระ

 เกี่ยวกับเรื่องธรรมะ พระก็ต้องพึ่งพาอาศัยญาติโยม

เกี่ยวกับเรื่องปัจจัย ๔ ก็มีความจำเป็น

ที่จะต้องมีความสัมพันธ์กัน

 มีพระญาติโยมก็จะได้มีโอกาสได้ทำทาน ได้แบ่งปัน

 ได้เสียสละ ที่เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติ

เพื่อก้าวสู่ธรรมขั้นสูงต่อไป

 อย่างทานก็จะได้ก้าวขึ้นสู่ขั้นศีล ขั้นภาวนาตามลำดับต่อไป

ดังนั้นพระป่าหรือวัดป่าก็จะอยู่ใกล้กับหมู่บ้าน

 พระก็จะออกโปรดสัตว์ ไปเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีศรัทธา

 ที่อยากจะปฏิบัติตามคำสอนของ พระพุทธเจ้า ได้ปฏิบัติ

การใส่บาตรก็คือการให้ทานนี้เอง

 พระไปบิณฑบาตก็ได้ประโยชน์ ๒ ส่วนด้วยกัน

 ส่วนหนึ่งก็ของตนเอง ได้อาหาร แล้วก็ได้ทำความเพียร

ไม่เกียจคร้าน ส่วนญาติโยมก็ได้มีโอกาสทำทาน

 อันนี้จึงเป็นข้อหนึ่งในธุดงควัตร

การบิณฑบาตนี้ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ

 ทรงบัญญัติไว้ถึง ๓ ส่วนด้วยกัน

ส่วนที่ ๑ ในธุดงควัตร คำว่า “ธุดงค์” นี้

เป็นข้อปฏิบัติพิเศษที่ไม่ได้บังคับ ไม่เหมือนกับศีล ๒๒๗ ข้อ

 ที่ห้ามไม่ให้กระทำ ศีล ๒๒๗ ข้อนี้พระทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม

 เช่น ห้ามเสพเมถุน คือห้ามร่วมหลับนอนกับผู้อื่น

 ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามฆ่ามนุษย์ ห้ามลักทรัพย์

 ห้ามอวดอุตริคุณธรรมวิเศษที่ตนเองไม่มี อันนี้ห้ามเด็ดขาด

ไม่ว่าใครทำ ก็จะขาดจากความเป็นพระทันที

ส่วนข้อธุดงควัตร คือข้อที่จะให้ไปบิณฑบาต

เป็นกิจวัตรประจำวันนี้ ไม่ได้บังคับ

ปล่อยให้เป็นไปตามอินทรีย์

หรือตามความเพียรของแต่ละท่าน บางท่านอาจจะมีปัญหา

 ไม่สามารถบิณฑบาตได้ก็มี เช่นปัญหาทางร่างกาย

เจ็บไข้ได้ป่วย หรือพิกลพิการอย่างใดอย่างหนึ่ง

 หรืออยู่ห่างไกลจากที่จะไปบิณฑบาต

จนไม่สามารถที่จะไปบิณฑบาตได้

ถ้าไม่ได้ถือธุดงควัตรข้อนี้ ก็ไม่มีความผิดแต่อย่างใด

เพียงแต่ว่าจะไม่ได้ทำความเพียร

ธุดงควัตรนี้ เป็นเหมือนกับน้ำมันชนิดพิเศษ

 เช่นเรามี ๒ ชนิด ๙๑ กับ ๙๕ ถ้าเราต้องการให้มีพลังมาก

เราก็เติม ๙๕ แต่ก็ต้องแพงหน่อย

ถ้าเราจะบำเพ็ญธุดงควัตร เราก็ต้องเหนื่อยหน่อย

 เราก็ต้องลำบากหน่อย แต่ผลที่เราจะได้รับ มันคุ้มค่ากว่า

 คือถ้าเป็นรถก็วิ่งไปถึงหลักชัยก่อนคันที่ใช้ ๙๑

เพราะ ๙๕ นี้มีพลังมากกว่า

สามารถขับเคลื่อนรถยนต์ได้เร็วกว่า

ธุดงควัตรก็เป็นอย่างนี้ เป็นข้อปฏิบัติที่ไม่ทรงบังคับ

 ให้ผู้ปฏิบัติได้พิจารณาเลือกเอาตามอัธยาศัย

ขึ้นอยู่กับว่าต้องการความหลุดพ้น ต้องการบรรลุช้าหรือเร็ว

 ถ้าต้องการไปเร็วก็จะถือธุดงควัตรกัน

ถ้ายังใจเย็นๆ ยังไปสบาย ไว้รออีกสัก ๑๐ ชาติ ๑๐๐ ชาติ

 ก็ไม่ต้องถือธุดงควัตรก็ได้ ไปตามสบาย

การบิณฑบาตนี้พระพุทธเจ้าให้ความสำคัญ

ครั้งแรกก็สอนตอนที่บวชใหม่ๆเลย

พอเสร็จจากพิธีบวชก็จะมีการสอนอนุศาสน์.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

.................................

กัณฑ์ที่ ๔๗๒ วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๖

“ธุดงควัตร”












ขอบคุณที่มา fb. อาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2559 10:17:46 น.
Counter : 1037 Pageviews.

0 comment
### หัวใจของคำสอนของพระพุทธเจ้า ###













“หัวใจของคำสอนของพระพุทธเจ้า”

วันนี้เป็นวันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญลำดับที่ ๓

 วันแรกก็คือวันประสูติ วันตรัสรู้

วันเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า

ซึ่งปรากฏขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖

แล้ววันที่ ๒ อีก ๒ เดือนต่อมาหลังจากวันตรัสรู้

ก็ได้ทรงประกาศพระธรรมคำสอนให้แก่พระปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก

 ในวันเพ็ญเดือน ๘ ที่เราเรียกกันว่า วันอาสาฬหบูชา

 วันที่เกิดของพระธรรมและวันที่เกิดของพระสงฆ์

 เพราะวันนั้นทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

 หลังจากที่ได้ยินได้ฟัง ๑ พระปัญจวัคคีย์ก็คือ

พระอัญญาโกณฑัญญะก็มีดวงตาเห็นธรรมขึ้นมา

 เห็นว่าสิ่งใดมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

ย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา

จึงปรากฏเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของพระพุทธศาสนา

เป็นวันที่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบองค์

และต่อมาอีก ๗ เดือนก็ปรากฏมีเหตุการณ์มหัศจรรย์ขึ้นอีกครั้ง

คือมีพระภิกษุ จำนวน ๑,๒๕๐ รูปที่อยู่ตามสารทิศต่างๆ

ได้เดินทางเข้ามาเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยไม่ได้มีการนัดหมายมาก่อน

พระภิกษุทั้ง ๑,๒๕๐ รูป ล้วนพระเป็นพระอรหันตสาวก

คือได้บรรลุถึงพระนิพพานแล้ว ได้หลุดพ้นจากกองทุกข์

แห่งการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว

และพระอรหันตสาวกเหล่านี้

ท่านมีพระพุทธเจ้า เป็นผู้ทำการอุปสมบทให้

ด้วยการกล่าวพระวาจา “เอหิภิกขุ จงมาเป็นภิกษุเถิด”

 นั่นคือการบวชพระ ในสมัยพุทธกาล

 ในสมัยที่พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทำการบวชให้

ทรงตรัสเพียงสั้นๆว่า “เอหิภิกขุ จงมาเป็นภิกษุเถิด” เท่านั้นก็ได้

ถือว่าได้บวชเป็นพระภิกษุในบวรของพระพุทธศาสนาแล้ว

พระอรหันต์ทั้ง ๑,๒๕๐ รูปนี้ ก่อนที่ท่านจะบวช

เป็นพระในศาสนาพุทธ ท่านก็เป็นนักบวชกันมาก่อน

 แต่เป็นนักบวชของลัทธิอื่น ที่สอนวิธีการหลุดพ้นชนิดต่างๆ

 แต่ไม่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัตินั้น หลุดพ้นจากกองทุกข์ได้

 จนได้มาพบกับพระพุทธเจ้าและได้ฟังเทศน์ฟังธรรม

ก็ปรากฏ มีปัญญา มีดวงตาเห็นธรรม

สามารถกำจัดกิเลสตัณหาความโลภ ความโกรธ ความหลง

 ความอยากต่างๆ ให้หมดไปจากใจได้

ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันตสาวกขึ้นมา

หลังจากที่ได้บรรลุแล้วก็มีความปรารถนา ที่จะบวช

ในบวรของพระพุทธศาสนา

คืออยากจะอยู่ภายใต้พระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าก็ทรงบวชให้ด้วยการกล่าวคำว่า “เอหิภิกขุ”

 พระอรหันต์นี้ก็มีอยู่ ๒ ชนิดด้วยกัน

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระอรหันตสาวก

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็คือ

ผู้ที่ปฏิบัติจนสามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์

เป็นผู้มีจิตที่สะอาดบริสุทธิ์ได้ด้วยตนเอง

ผู้นั้นจึงมีพระนามว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ก็คือพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ด้วยตัวเอง

ส่วนพระอรหันตสาวกนี้ คือผู้ที่ปฏิบัติผู้ที่บรรลุถึงพระนิพพาน

ได้ด้วยการอาศัยการยินได้ได้ฟังพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

 อีกต่อหนึ่ง คำว่าสาวกก็แปลว่าผู้ฟัง

อรหันตสาวกก็คือ ผู้ที่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

ด้วยการได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้ากับพระอรหันตสาวกนี้มีความเหมือนกัน

ทางด้านความบริสุทธิ์ของจิตใจ

จิตใจปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลง

ปราศจากกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาเหมือนกันหมด

ต่างกันตรงที่ว่าพระพุทธเจ้าต้องเป็นผู้หาวิธีชำระด้วยพระองค์เอง

 แต่พระสาวกนี้โชคดีไม่ต้องค้นคว้าหาวิธี

มีคนบอกวิธีชำระจิตใจให้ จึงสามารถบรรลุกันได้อย่างง่ายดาย

พระพุทธเจ้ากว่าจะได้บรรลุก็ต้องบำเพ็ญอยู่ถึง ๖ ปีด้วยกัน

 พระสาวกพอได้ยินได้ฟังคำสอน จากพระพุทธเจ้าก็บรรลุได้เลย

นี่คือความวิเศษของพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

ที่ทำให้ผู้ที่ไม่มีโอกาส ที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้

ได้บรรลุกันได้อย่างง่ายดาย

 ก่อนที่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้

และมาประกาศพระธรรมคำสอนในโลกนี้

ไม่มีพระอรหันต์แม้แต่รูปเดียว

แต่หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้

 แล้วนำเอาพระธรรมคำสอนคือวิธีการปฏิบัติ

เพื่อบรรลุให้เป็นพระอรหันต์นี้มาเผยแผ่สั่งสอน

 ให้แก่ผู้ที่มีความสนใจที่จะศึกษาที่จะปฏิบัติตาม

ก็ปรากฏมีพระอรหันต์เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก

 ภายในระยะเวลา ๗ เดือน คือตั้งแต่วันเพ็ญเดือน ๘

 วันแรกที่ทรงประกาศพระธรรมคำสอน จนถึงวันมาฆบูชาคือวันนี้

 วันเพ็ญเดือน ๓ ระยะเวลาก็ ๗ เดือนด้วยกัน

ก็ปรากฏมีพระอรหันต์ก็อย่างน้อย ๑,๒๕๐ รูป

 แล้วก็มีเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ ตามลำดับ

เพราะหลังจากที่พระอรหันต์เหล่านี้ ท่านได้บรรลุแล้ว

พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสให้ไปเผยแผ่พระธรรมคำสอนให้แก่ผู้ที่ไม่รู้

โดยให้แยกกันไปไม่ให้ไป ๒ องค์ด้วยกันให้ต่างองค์ต่างแยกกันไป

 เพื่อที่จะได้กระจายคำสอนของพระพุทธเจ้าให้กว้างไกลออกไป

 จึงปรากฏมีพระอรหันต์ปรากฏขึ้นมาเป็นจำนวนมากมาย

นสมัยพระพุทธกาล ยุคนั้นจึงถือว่าเป็นยุคทอง

ของพระพุทธศาสนา เป็นยุคที่เจริญที่สุดทางด้านจิตใจ

เพราะว่ามีผู้ที่มีจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์มากที่สุด

หลังจากนั้นแล้วพอพระพุทธเจ้าทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานไป

อีก ๔๕ ปีต่อมา จำนวนของพระอรหันต์

ก็ค่อยๆลดน้อยลงไปตามลำดับ

 ตามสภาพของความเป็นของที่ไม่เที่ยง

พระพุทธศาสนาก็จะค่อยๆ เสื่อมไปเรื่อยๆ

จนในที่สุดก็จะหมดไป คือจะไม่มีผู้ที่จะมาศึกษามาปฏิบัติ

มาบรรลุธรรมแล้วก็มาเผยแผ่ธรรมที่ตนเองได้บรรลุ

เมื่อไม่มีศึกษาไม่มีผู้ปฏิบัติ ไม่มีผู้บรรลุธรรม ไม่มีผู้เผยแผ่ธรรม

 พระธรรมคำสอนก็จะสูญหายไป

ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงพยากรณ์ไว้ว่า

จะเป็นเวลาประมาณ ๕,๐๐๐ ปีด้วยกัน

คืออายุของพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้านี้

จะอยู่ได้ประมาณ ๕,๐๐๐ ปี จะมีผู้ที่สามารถศึกษาปฏิบัติบรรลุ

และนำเอามาเผยแผ่ให้แก่ผู้อื่นได้

เพราะหลังจากนั้นแล้วก็จะเป็นยุค ที่ไม่มีใครรู้จักคำสอน

เหมือนกับยุคที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญ

สมัยที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญ

ไม่มีใครรู้จักคำสอนของพระพุทธเจ้า

คือ การสอนให้ทำบุญ สอนให้ละบาป

สอนให้ชำระใจให้สะอาดบริสุทธิ์

ต้องมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้แล้ว

ถึงจะได้นำเอาคำสอนนี้ มีเผยแผ่สั่งสอน

ในวันนั้นพระพุทธเจ้าก็เลยแสดงหัวใจของพระศาสนา

หัวใจของคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์

ไม่ว่าจะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้และมาเผยแผ่ธรรมะ

ให้แก่ผู้อื่นนั้นจะมีกี่พระองค์ก็ตาม

ทุกๆ พระองค์ ก็จะทรงสอนเหมือนกันหมด

คือสอนให้ละบาป สอนให้เจริญหรือทำบุญทำกุศล

 และก็สอนให้ชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์

ด้วยการกำจัดความโลภ ความโกรธ ความหลง

ความอยากทั้ง ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา

 ที่เป็นเชื้อของภพชาติที่จะเป็นตัวที่จะฉุดลาก

ให้จิตใจ ต้องไปเกิดไปเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่มีวันหมดสิ้น

 ถ้าสามารถชำระใจให้สะอาดบริสุทธิ์ได้

 กำจัดความโลภ ความโกรธ ความหลง

กำจัดกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาได้หมดไปจากใจ

 ก็จะไม่มีสิ่งที่จะผลักดันให้ใจต้องไปเกิดอีกต่อไป

ใจของพระพุทธเจ้าและใจของพระอรหันตสาวกทั้งหลาย

เป็นอย่างนี้ เป็นใจที่ปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลง

 ปราศจากกามตัณหา ภวตัณหาและวิภวตัณหา

 การที่จะทำให้ใจนี้สะอาดบริสุทธิ์ได้ ก็จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติ

ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติและได้ทรงนำเอามาสั่งสอน

ให้พวกเราปฏิบัติกัน ๓ ข้อด้วยกัน

ข้อที่ ๑.ก็คือให้ละบาปทั้งปวง ไม่ให้ทำบาปทางกาย

ทางวาจา และทางใจ ให้ทำความดีให้ถึงพร้อม

ให้ชำระใจให้สะอาดบริสุทธิ์ด้วยการบำเพ็ญสมถภาวนา

และวิปัสสนาภาวนา นี่คือเหตุที่จะนำมาคือผล

ก็คือ หลุดพ้นจากกองทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด

จิตนี้ไม่มีวันตาย มีอยู่ที่ว่าจะหยุดแบกภพชาติ

หรือจะแบกภพชาติไปเรื่อยๆ ถ้ามีความโลภ มีความอยาก

ก็จะไปแบกภพชาติอยู่เรื่อยๆ ไปเกิดตามภพต่างๆ

 ตามบุญตามบาปที่ได้ทำไว้

 ถ้าทำบาปก็ต้องไปแบกภพชาติในอบาย ไปเกิดเป็นเปรต

เป็นอสูรกาย เป็นเดรัจฉานไปตกนรก

ถ้าทำบุญไม่ได้ทำบาปก็จะไปเกิดในสุคติ

ไปเกิดในภพภูมิของเทวดาและภพทั้งหลาย

ถ้าปฏิบัติวิปัสสนาเกิดปัญญามีดวงตาเห็นธรรม

เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นว่าทุกข์เกิดจากสมุทัย

 คือตัณหาความอยาก

เห็นว่าวิธีดับความทุกข์ก็ดับได้ด้วยการเจริญสติปัญญา

ปัญญาก็คือเห็นไตรลักษณ์นี่เอง

เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์

ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เราสามารถควบคุมบังคับ

สั่งให้เขาเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ได้

ถ้าเห็นด้วยปัญญาก็จะไม่มีความอยากได้อะไร

ไม่มีความอยากเป็นอะไร เพราะรู้ว่าถ้าได้มาแล้ว

ก็จะต้องทุกข์กับสิ่งที่ได้มา

 เช่นได้สามีก็ต้องมาทุกข์กับสามี ได้ภรรยาก็ต้องทุกข์กับภรรยา

 ได้บุตรธิดา ก็ต้องทุกข์กับบุตรธิดา

เพราะเขาไม่เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอน เขาอยู่กับเราไม่ได้ตลอด

เขาไม่ได้อยู่แบบดีไปตลอด บางวันเขาก็ดีบางวันเขาก็ไม่ดี

 เวลาเขาไม่ดีเราก็ได้รับความทุกข์

 เวลาเขาจากเราไปเราก็ได้รับความทุกข์

 แต่ใจที่ไม่มีปัญญาจะมองไม่เห็นความทุกข์ส่วนนี้

 เวลาอยากได้อะไร ก็มักจะเห็นแต่ส่วนที่ดี

เช่นอยากได้สามี อยากได้ภรรยาก็คิดว่าจะได้มีเพื่อน

 ได้มีคนแก้เหงา จะได้มีคนคอยปกป้องดูแลรักษาเรา

 ก็คิดไปในทางบวกอย่างเดียวไม่ได้คิดไปในทางลบ

ว่าเขาอาจจะไม่ได้ดี อย่างที่เราคิดก็ได้

หรือเขาอาจจะดีตอนต้นแล้วเขาจะเปลี่ยนไปตอนปลายก็ได้

เวลาพบกันใหม่ๆก็ดี แต่พอได้มาอยู่ร่วมกันแล้ว

เขาก็อาจจะเปลี่ยนไปไม่ได้ดีเป็นอย่างที่เขาเป็น

เหมือนตอนที่พบกันใหม่ๆ เวลาที่เขาเปลี่ยนไป

ก็จะเป็นเวลาที่ทำให้เราต้องทุกข์ใจ

เวลาที่เขาจากเราไปก็จะทำให้เราทุกข์ใจ

นี่คือส่วนที่เราไม่มองกันหรือมองไม่เห็นกัน

 เราจึงไขว่คว้าหาสิ่งต่างๆ ในโลกนี้

 เราไขว่คว้าหาอะไรกันอยู่ตอนนี้ เราก็ไขว่คว้าหาลาภยศ สรรเสริญ

หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายนี่เอง

เวลาเราเห็นลาภ คือยึดเงินทอง

เราก็จะคิดว่าพอมีเงินทองแล้วเราจะได้ซื้อความสุขได้ทุกรูปแบบ

 อยากจะได้อะไรก็ซื้อได้ อยากจะมีอะไรก็มีได้

แต่เราไม่มองไปวันที่เงินหมดแล้วเราอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้

แต่เราไม่มีเงินที่จะซื้อแล้ว ตอนนั้นเราจะรู้สึกอย่างไร

มันเหมือนกับยาเสพติด คนที่เสพยาเสพติด

จะไม่เห็นทุกข์ในยาเสพติด จะคิดว่าเวลาได้เสพยาแล้วมีความสุข

แต่ไม่ได้คิดว่าวันที่ไม่ได้เสพนี้จะเป็นอย่างไร

คนที่ติดยาเสพติดแล้วไม่สามารถหายาเสพติดมาเสพได้

 จะเป็นคนที่ทุกข์ทรมานอย่างมาก ฉันใด

สิ่งต่างๆในโลกนี้ที่พวกเราแสวงหากันก็เป็นเหมือนกับยาเสพติด

 คือทำให้เราติด เมื่อเราได้อะไรแล้วเราก็อยากจะได้ไปเรื่อยๆ

แต่เราไม่เห็นว่าความจริงของสิ่งต่างๆ ว่าเขาไม่แน่นอน

 เขาไม่ได้จะให้เราได้อยู่ตลอดเวลา

บางเวลาเราก็มีเสียได้มีหมดได้ ไม่สามารถหามาได้

เวลาที่ไม่สามารถหามาได้ เวลานั้นก็จะเป็นเวลาที่เราต้องทุกข์กัน

 อันนี้เราไม่มองกัน เราเลยเดินเข้าหากองทุกข์โดยไม่รู้สึกตัว

 เข้าหากองทุกข์ด้วยความอยาก

เกิดความอยากแล้วก็หาสิ่งที่อยากได้

อยากได้เงินทองก็ต้องไปหาเงินทองมา

อยากได้ยศก็พยายามหายศมา

อยากได้สรรเสริญก็พยายามหามา

 แต่ไม่คิดเลยว่าลาภยศ สรรเสริญนี้ ก็มีวันที่จะต้องเสื่อมไปได้

 มีเจริญก็มีเสื่อมได้ เงินทองไม่ใช่ว่าจะมีแต่เข้ามาอย่างเดียว

 มีโอกาสที่จะหดหายไปได้เหมือนกัน

 คนที่เงินทองหดหายไป รู้สึกเป็นอย่างไร

บางคนถึงกับต้องฆ่าตัวตาย

เพราะว่าไม่สามารถอยู่อย่างปราศจากเงินทองได้นั่นเอง

นี่คือสิ่งที่สัตว์โลกอย่างพวกเราทั้งหลายมองไม่เห็นกัน

 ไม่มองกัน ต้องรอให้เราได้มาพบกับพระพุทธศาสนา

ได้พบกับพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงเห็นว่า

ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน

ไม่ถาวรเป็นของชั่วคราว

 เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไปเป็นธรรมดา

 ถ้าเห็นว่าเป็นอย่างนี้ก็จะไม่อยากได้อะไร

เพราะว่าไม่อยากจะสูญเสียสิ่งที่เราได้มานั่นเอง

ผู้ที่ฉลาด ผู้ที่เห็นความเสื่อมของสิ่งต่างๆ

 ก็จะหยุดความอยากได้ กลัว แทนที่อยากจะได้กลับกลัว

 ไม่อยากจะได้ เพราะว่ากลัวว่าเวลาได้มาแล้ว

มันจะอยากได้เพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ

แล้วถ้าไม่ได้เพิ่มอย่างใจก็เสียใจ

แล้วสิ่งที่ได้มาเวลาหมดไปก็เสียใจอีก

แต่ถ้าอยู่แบบไม่มีได้นี้กลับสบายใจกว่า

ใจนี้โดยธรรมชาติเขาไม่ต้องมีอะไรเขาอยู่ของเขาเองได้

แต่เราไม่รู้ เราหลงไปคิดว่าใจเป็นร่างกาย

เราเลยตั้งความหวังไว้ที่ร่างกาย

คิดว่าเราต้องเลี้ยงดูร่างกายของเราให้อิ่มหมีพีมัน

เราถึงจะมีความสุข แต่ยิ่งเลี้ยงให้อิ่มหมีพีมันเท่าไร

กลับมีความทุกข์เพิ่มมากขึ้น เพราะจะต้องหามาเลี้ยงมากขึ้น

 เเล้วเวลาเลี้ยงมากเกินไปก็ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ขึ้นมา

ร่างกายที่มีน้ำหนักเกินมีน้ำหนักมากเกินไป

ก็จะมีของแถมมาให้ ก็คือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

มีเบาหวาน มีโรคความดัน

 มีโรคไขมันอุดตันมีอะไรต่อมิอะไรต่างๆ

 ที่เกิดจากการเลี้ยงดูร่างกายมากจนเกินไป

แทนที่จะได้ความสุขจากร่างกายก็ต้องเป็นความทุกข์กับร่างกาย

และนอกจากนั้นถึงแม้ว่าเราจะไม่เลี้ยงดูมันอย่างอิ่มหมีพีมัน

เราเลี้ยงมันแบบตามปกติธรรมดา

 เลี้ยงมันอย่างไร ให้มันดีขนาดไหน

 มันก็ไม่หนีไม่พ้นความแก่ ความเจ็บไข้ได้ป่วย และความตายอยู่ดี

 เพราะว่าเราไม่รู้ว่าเราไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย เราอยู่ที่ใจ

เราไม่รู้จักใจว่าเป็นอย่างไร

เราไม่รู้ว่าใจของเรานี่แลเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

เป็นสิ่งที่ไม่มีวันแก่ ไม่มีวันเจ็บ ไม่มีวันตาย

แล้วเราไม่รู้ว่าใจของเรานี้จะมีความสุขอย่างมาก

ถ้าไม่มีอะไร ถ้าไม่อยากได้อะไร.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

...................................

ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ (วันมาฆบูชา)

“หัวใจของคำสอนของพระพุทธเจ้า”










ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2559 11:25:01 น.
Counter : 1375 Pageviews.

0 comment
### ทำดีแต่อย่ายึดติดในความดี ###













ทำดีแต่อย่ายึดติดในความดี

“เมื่อใดก็ตามที่เราคิดว่าเราเป็นคนดี
มีความเชื่อที่ดีงาม หากยึดมั่นใน
ความเชื่อของเรา เราก็อยากให้
คนอื่นเป็นเหมือนเรา เชื่อเหมือนเรา
แต่ถ้าเขาเชื่อไม่เหมือนเรา
เห็นแย้งเรา เราก็เห็นเขาเป็นศัตรู
แล้วความโกรธความเกลียดก็ตามมา”

พระไพศาล วิสาโล











ขอบคุณที่มา fb. วัดป่าสุคะโตเพื่อธรรมะและธรรมชาติ
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2559 10:35:01 น.
Counter : 952 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ