Group Blog
All Blog
### หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ด้วยความเพียร ###

















“หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ด้วยความเพียร”

วันนี้พวกเราก็ได้มารวมกัน ฟังเทศน์ฟังธรรม

ปฏิบัติธรรมกันอีกครั้งหนึ่ง เป็นการกระทำที่ดี

ที่มีคุณมีประโยชน์กันอย่างมาก

เพราะผลคือการบรรลุมรรคผลนิพพาน ขั้นต่างๆนั้น

 จำเป็นจะต้องมีการศึกษา มีการปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง

 ความเพียรพยายามนี้แหละ เป็นปัจจัยที่สำคัญ

ถ้าเราไม่มีความเพียร เราไม่มีความพยายาม

 เราก็จะไม่สามารถได้ผลที่เราต้องการกันได้

 ดังที่เราได้เคยยินสุภาษิตหลายบทด้วยกัน

ที่พูดเกี่ยวกับความเพียร เช่น

 “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”

หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ด้วยความเพียร

ความเพียรนี้จึงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของมรรค ๘

คือ สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ

ถ้ามีมรรคองค์อื่นแต่ขาดมรรคสัมมาวายาโม

ก็จะไม่สามารถที่จะทำให้เกิดผลขึ้นมาได้

 คือต้องมีครบทั้ง ๘ องค์ด้วยกัน ถึงจะทำให้เกิดผล

 คือมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ขึ้นมาได้

มรรคองค์อื่นเราก็พอที่จะมีกันอยู่ เช่น สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปโป

เราก็มักจะได้ยินได้ฟังกัน ได้ยินได้ฟังธรรมะกันต่อเนื่อง

 พอเราได้ยินได้ฟังธรรมะได้ศึกษาธรรมะ

เราก็จะมีความเห็นที่ถูกต้อง เราก็จะมีความคิดที่ถูกต้อง

 แต่ถ้าเราไม่เอาความเห็นที่ถูกต้อง

 ความคิดที่ถูกต้องนี้มาประกอบความเพียร

มาเจริญสติมาเจริญสมาธิ

เราก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้เกิดมรรคผลนิพพานขึ้นมาได้

 ดังนั้นพอเรามีสัมมาทิฐิแล้วว่า

การจะหลุดพ้นจากความทุกข์ได้นั้น

ต้องมีความเพียรพยายาม

 คือต้องมีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ อย่างต่อเนื่อง

 ปฏิบัติให้มากขึ้นไปตามลำดับจนให้เต็ม ๑๐๐

ถ้าการปฏิบัติเต็ม ๑๐๐ เมื่อไหร่ ผลก็จะเต็ม ๑๐๐ เมื่อนั้น

 ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องคอยกำจัดอยู่เรื่อยๆ ก็คือความเกียจคร้าน

 อะไรที่ทำให้เกิดความเกียจคร้าน เสริมความเกียจคร้าน

 เราก็ต้องกำจัดมันให้ได้

หนึ่งในเหตุของความเกียจคร้าน ก็คือ

การรับประทานอาหารมากเกินไป เราจึงต้องรู้จักประมาณ

 ในการรับประทานอาหาร รับประทานเพื่ออยู่

อย่าอยู่เพื่อรับประทาน ถ้าอยู่เพื่อรับประทาน

 ก็จะรับประทานแบบไม่มีขอบไม่มีเขต

จะรับประทานตามความอยาก

 ซึ่งความอยากนี้มีแบบไม่มีขอบไม่มีเขต

 ดังท่านพูดไว้ว่า มหาสมุทรแม้จะกว้างใหญ่ไพศาลขนาดไหน

ก็ยังมีขอบมีฝั่ง แต่ตัณหาความอยากนี้ ไม่มีขอบไม่มีฝั่ง

 อยากเท่าไหร่แทนที่จะหมดไป กลับมีมาต่ออยู่เรื่อยๆ

 ถ้าเราปล่อยให้ความอยากรับประทานอาหารนี้

เป็นตัวนำพาในการรับประทานอาหาร

เราก็จะรับประทานมากจนเกินไป

เช่นรับประทานวันละ ๔ - ๕ มื้อ

และระหว่างมื้อก็ยังมีขนมนมเนยเครื่องดื่ม

 ไว้รับประทาน ไว้ดื่มอีก ถ้าเราดื่มเรารับประทานอย่างนี้

 เราก็จะเกิดความง่วงเหงาหาวนอน เกิดความเกียจคร้าน

 ไม่อยากที่จะเดินจงกรมไม่อยากจะนั่งสมาธิ

 ไม่อยากจะฟังเทศน์ฟังธรรม อยากจะหาหมอน

 ฟังเทศน์จากหมอน หาความสงบจากหมอน

ซึ่งเป็นความสงบของสุกร เป็นความสุขของสุกร

 อิ่มหมีพลีมันพร้อมที่จะขึ้นเขียง

ถ้าเป็นนักปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นแล้ว

 จะไม่มีไขมันติดอยู่ตามร่างกาย

จะมีแต่หนังกับเนื้อหุ้มห่อกระดูก

จะมีกล้ามเนื้อที่เกิดจากการเดินจงกรมเป็นชั่วโมงๆ

จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องรู้จักประมาณในการรับประทานอาหาร

 โดยหลักแล้ว ปกติก็รับประทานไม่เกินเที่ยงวันไปแล้ว

จะรับประทานมากหรือน้อย หลังเที่ยงวันไปแล้วก็หยุด

เพราะไม่เช่นนั้น มันจะลามปามไปถึงเย็น ถึงค่ำ

ถึงก่อนเวลานอน แล้วมันจะไม่มีเวลาที่จะมาภาวนา

 เพราะหนึ่งจะต้องเสียเวลากับการเตรียมอาหาร

รับประทานอาหาร เมื่อรับประทานแล้วก็เกิดความง่วงนอน

 เกิดความเกียจคร้านขึ้นมา

 ถ้าไม่รับประทานหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว

พอบ่ายๆอาหารก็จะย่อยไปหมด

แล้วก็จะไม่มาเป็นอุปสรรคต่อการภาวนา

 ในตอนบ่ายหรือตอนเย็น ในตอนค่ำหรือตอนดึก

 แต่ถ้ารับประทานต่อถึงเย็นถึงก่อนเวลาเข้านอน

ก็จะไม่มีกำลังที่จะมาภาวนามาบำเพ็ญ

 ฉะนั้นทางปฏิบัตินี้มักจะถือการรับประทานอาหาร

วันละ ๑ ครั้ง เป็นธุดงควัตร ๑ ใน ๑๓ ข้อของพระ

 ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดขึ้น

 ให้ไว้เป็นเครื่องสนับสนุนในการบำเพ็ญความเพียร

ธุดงควัตร ๑๓ ข้อนี้ จะทำให้ผู้ที่บำเพ็ญนี้ บำเพ็ญได้อย่างสะดวก

 จะไม่เกียจคร้าน จะไม่เสียเวลากับเรื่องราวต่างๆ

ที่ไม่จำเป็นจะต้องเสียเวลาด้วย ๑ ในข้อนี้ ก็คือ

การฉันมื้อเดียว จะแสดงธุดงควัตรทั้ง ๑๓ ข้อนี้เท่าที่จะจำได้ให้ฟัง

 เผื่อญาติโยม ถึงแม้ว่า จะไม่ได้เป็นนักบวช ไม่ได้เป็นพระ

 ก็สามารถนำเอาไปปรับใช้กับชีวิตของตนได้

 เช่นการฉันมื้อเดียว อันนี้ก็เพื่อเป็นการลดการบริโภค

การรับประทานอาหารมากจนเกินไป ทำให้ง่วงเหงาหาวนอน

 ทำให้เกิดความเกียจคร้าน ทำให้ไม่สามารถบำเพ็ญความเพียร

 ปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดผลขึ้นมาได้

อีกข้อหนึ่งก็คือ การบิณฑบาต

การบิณฑบาตของพระนี้ก็เป็นการเสริมความเพียร

 เพราะว่าจะต้องเดินไปในหมู่บ้าน ซึ่งโดยปกติ

วัดป่านี้จะตั้งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๒ กิโลเมตรขึ้นไป

เพื่อจะได้อยู่ห่างไกลจากแสงสีเสียงของหมู่บ้าน ของชุมชน

 แต่ก็ไม่ห่างจนเกินไปจนไม่สามารถที่จะมาบิณฑบาตได้

เพราะเพศของพระนี้ มีความผูกพัน

เกี่ยวข้องกับฆราวาสญาติโยม

 คือต้องพึ่งพาอาศัยกัน ฆราวาสญาติโยมก็ต้องพึ่งพาอาศัยพระ

 เกี่ยวกับเรื่องธรรมะ พระก็ต้องพึ่งพาอาศัยญาติโยม

เกี่ยวกับเรื่องปัจจัย ๔ ก็มีความจำเป็น

ที่จะต้องมีความสัมพันธ์กัน

 มีพระญาติโยมก็จะได้มีโอกาสได้ทำทาน ได้แบ่งปัน

 ได้เสียสละ ที่เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติ

เพื่อก้าวสู่ธรรมขั้นสูงต่อไป

 อย่างทานก็จะได้ก้าวขึ้นสู่ขั้นศีล ขั้นภาวนาตามลำดับต่อไป

ดังนั้นพระป่าหรือวัดป่าก็จะอยู่ใกล้กับหมู่บ้าน

 พระก็จะออกโปรดสัตว์ ไปเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีศรัทธา

 ที่อยากจะปฏิบัติตามคำสอนของ พระพุทธเจ้า ได้ปฏิบัติ

การใส่บาตรก็คือการให้ทานนี้เอง

 พระไปบิณฑบาตก็ได้ประโยชน์ ๒ ส่วนด้วยกัน

 ส่วนหนึ่งก็ของตนเอง ได้อาหาร แล้วก็ได้ทำความเพียร

ไม่เกียจคร้าน ส่วนญาติโยมก็ได้มีโอกาสทำทาน

 อันนี้จึงเป็นข้อหนึ่งในธุดงควัตร

การบิณฑบาตนี้ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ

 ทรงบัญญัติไว้ถึง ๓ ส่วนด้วยกัน

ส่วนที่ ๑ ในธุดงควัตร คำว่า “ธุดงค์” นี้

เป็นข้อปฏิบัติพิเศษที่ไม่ได้บังคับ ไม่เหมือนกับศีล ๒๒๗ ข้อ

 ที่ห้ามไม่ให้กระทำ ศีล ๒๒๗ ข้อนี้พระทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม

 เช่น ห้ามเสพเมถุน คือห้ามร่วมหลับนอนกับผู้อื่น

 ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามฆ่ามนุษย์ ห้ามลักทรัพย์

 ห้ามอวดอุตริคุณธรรมวิเศษที่ตนเองไม่มี อันนี้ห้ามเด็ดขาด

ไม่ว่าใครทำ ก็จะขาดจากความเป็นพระทันที

ส่วนข้อธุดงควัตร คือข้อที่จะให้ไปบิณฑบาต

เป็นกิจวัตรประจำวันนี้ ไม่ได้บังคับ

ปล่อยให้เป็นไปตามอินทรีย์

หรือตามความเพียรของแต่ละท่าน บางท่านอาจจะมีปัญหา

 ไม่สามารถบิณฑบาตได้ก็มี เช่นปัญหาทางร่างกาย

เจ็บไข้ได้ป่วย หรือพิกลพิการอย่างใดอย่างหนึ่ง

 หรืออยู่ห่างไกลจากที่จะไปบิณฑบาต

จนไม่สามารถที่จะไปบิณฑบาตได้

ถ้าไม่ได้ถือธุดงควัตรข้อนี้ ก็ไม่มีความผิดแต่อย่างใด

เพียงแต่ว่าจะไม่ได้ทำความเพียร

ธุดงควัตรนี้ เป็นเหมือนกับน้ำมันชนิดพิเศษ

 เช่นเรามี ๒ ชนิด ๙๑ กับ ๙๕ ถ้าเราต้องการให้มีพลังมาก

เราก็เติม ๙๕ แต่ก็ต้องแพงหน่อย

ถ้าเราจะบำเพ็ญธุดงควัตร เราก็ต้องเหนื่อยหน่อย

 เราก็ต้องลำบากหน่อย แต่ผลที่เราจะได้รับ มันคุ้มค่ากว่า

 คือถ้าเป็นรถก็วิ่งไปถึงหลักชัยก่อนคันที่ใช้ ๙๑

เพราะ ๙๕ นี้มีพลังมากกว่า

สามารถขับเคลื่อนรถยนต์ได้เร็วกว่า

ธุดงควัตรก็เป็นอย่างนี้ เป็นข้อปฏิบัติที่ไม่ทรงบังคับ

 ให้ผู้ปฏิบัติได้พิจารณาเลือกเอาตามอัธยาศัย

ขึ้นอยู่กับว่าต้องการความหลุดพ้น ต้องการบรรลุช้าหรือเร็ว

 ถ้าต้องการไปเร็วก็จะถือธุดงควัตรกัน

ถ้ายังใจเย็นๆ ยังไปสบาย ไว้รออีกสัก ๑๐ ชาติ ๑๐๐ ชาติ

 ก็ไม่ต้องถือธุดงควัตรก็ได้ ไปตามสบาย

การบิณฑบาตนี้พระพุทธเจ้าให้ความสำคัญ

ครั้งแรกก็สอนตอนที่บวชใหม่ๆเลย

พอเสร็จจากพิธีบวชก็จะมีการสอนอนุศาสน์.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

.................................

กัณฑ์ที่ ๔๗๒ วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๖

“ธุดงควัตร”












ขอบคุณที่มา fb. อาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2559 10:17:46 น.
Counter : 1038 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ