Group Blog
All Blog
### ความทุกข์ทรมานที่คุ้มค่าแก่การลงทุน ###














“ความทุกข์ทรมานที่คุ้มค่าแก่การลงทุน”

การที่จะทำใจให้สงบได้ก็ต้องยุติกิจกรรมทางร่างกาย

กิจกรรมที่จะใช้ร่างกายหาความสุขก็จะยุติไป

 เช่นไม่ร่วมหลับนอนกับคู่ครองของตนหรือกับใครก็ตาม

ไม่รับประทานอาหารมากจนเกินไป

 ไม่ไปหาความสุขจากการไปงานเลี้ยง

งานสังสรรค์อะไรต่างๆในยามค่ำ

ไม่ออกไปตามแหล่งบันเทิงต่างๆ ไม่ไปดูไปฟังสิ่งต่างๆ

 ที่จะทำให้เกิดความเพลิดเพลินเกิดความสุขขึ้นมา

ให้ละเว้นสิ่งเหล่านี้

 ไม่หาความสุขจากการเสริมความงามของร่างกาย

ด้วยการแต่งกายเสื้อผ้าที่สวยๆงามๆ

 ใช้เครื่องสำอางต่างๆ

แต่งเผ้าแต่งผมแต่งหน้าแต่งตา

ใช้น้ำมันใช้น้ำหอมอะไรต่างๆเหล่านี้

เป็นความสุขชั่วประเดี๋ยวประด๋าว

และเป็นความสุขตื้นๆ

ไม่ได้ทำให้ใจนั้นมีความสุขมากเลย

ไม่เหมือนกับความสุขที่จะได้จากการมาทำใจให้สงบ

แล้วก็นอนไม่ให้มากจนเกินไป

 นอนพอประมาณพอต่อความต้องการของร่างกาย

ร่างกายนี้ต้องการพักคืนหนึ่ง

ก็ไม่เกิน ๔ -๕ ชั่วโมงก็พอ

 ถ้าอยากจะนอนไม่นานก็ต้องนอนบนพื้นแข็งๆ

 ถ้าไปนอนบนฟูกหนาๆ เวลาร่างกายได้พักผ่อนพอ

คือได้นอน ๔ -๕ ชั่วโมงก็จะตื่นขึ้นมา

 แต่ถ้านอนบนฟูกหนาๆก็มีความรู้สึกสบาย

ใจก็จะไม่อยากจะลุกอยากจะนอนต่อ

ก็จะเสียเวลากับการหลับนอนไปอีกหลายชั่วโมง

 แทนที่จะลุกขึ้นมานั่งสมาธิมาทำใจให้สงบ

 มาหาความสุขที่เป็นความสุขที่ดีกว่า

เป็นความสุขที่จะสามารถหาได้ ตลอดเวลา

ไม่ว่าร่างกายจะเป็นอะไร

เราต้องพยายามคิดเสมอว่า

ร่างกายของเรานี้มันจะแก่ลงไปเรื่อยๆ

 มันจะหมดความสามารถ

ที่จะหาความสุขให้กับเราได้ไปเรื่อยๆ

ความสามารถของมันจะน้อยลงไปเรื่อยๆ

 แล้วต่อไปมันจะไม่สามารถหาความสุขให้กับเราได้

ถ้าเราไม่รู้จักวิธีหาความสุขจากการทำใจให้สงบ

 เราจะเดือดร้อนมาก เวลาที่ร่างกายไม่สามารถทำหน้าที่

หาความสุขให้กับเราได้

เราจึงต้องมาฝึกทำใจให้สงบกัน มาถือศีล ๘ กัน

 ด้วยการเริ่มต้นในวันพระ

หรือวันที่เราว่างจากภารกิจการงานต่างๆ

 เราเอาวันนั้นมาฝึก สร้างความสุขทางใจ

 มาหยุดการหาความสุขผ่านทางร่างกาย

 เวลาที่เราเริ่มทำนี้เราจะรู้สึกว่ามันยาก และทรมานใจ

เพราะว่ามันเป็นการฝืน

เราเคยมีความสุขกับกิจกรรมทางร่างกาย

พอเราไม่ได้ทำนี้ เราจะรู้สึกทรมานใจ

แต่ก็ขอให้คิดว่ามันเป็นความทรมานใจ

ที่จะนำไปสู่ความสุขใจต่อไป

 ดีกว่าการที่จะมีความสุขใจ

กับการหาความสุขทางร่างกาย

แล้วก็จะต้องไปทรมานใจในบั้นปลาย

ในเวลาที่ร่างกายไม่สามารถที่จะทำหน้าที่

หาความสุขให้กับเราได้ เวลานั้นความทุกข์ทรมานใจนี้

 จะยิ่งใหญ่มากกว่าความทุกข์ทรมานใจ

ที่เกิดจากการละเว้นการหาความสุข ทางร่างกาย

ในขณะที่เรายังสามารถที่จะใช้ร่างกายนี้หาความสุขได้

 เพราะว่าเราก็ไม่ได้ทำแบบทุกวัน

ตอนต้นเราก็เพียงทำอาทิตย์ละ ๑ วันเท่านั้นเอง

แล้วพอเราทำไปแล้วเราได้สัมผัสกับความสุขทางใจ

มันก็จะทำให้เรานี้สามารถระงับความทุกข์ทรมานใจ

จากการไม่ได้หาความสุขทางร่างกายได้

 ความสุขที่ได้จากความสงบนี้

จะสามารถดับความทุกข์ทรมานใจ

ที่เกิดจากการไม่หาความสุขทางร่างกายได้

แล้วก็จะทำให้เรามีกำลังใจที่จะหยุด

การหาความสุขทางร่างกายเพิ่มมากขึ้นไป

เพราะจะเห็นว่าอาจจะทุกข์ตอนเบื้องต้น

แต่พอทำใจให้สงบได้เมื่อไร

ความทุกข์ที่เกิดจากการไม่ได้หาความสุข ทางร่างกาย

มันก็จะหายไป แล้วความสุขที่เกิดจาก

ความสงบใจก็จะโผล่ขึ้นมา

 อันนี้ผู้ที่ต้องการความสุขที่แท้จริง

และความสุขที่จะอยู่กับเราไปตลอดนี้

จำเป็นจะต้องกล้าหาญ

ต่อความทุกข์ทรมานใจที่จะเกิดขึ้น

ในช่วงระยะที่ เราปฏิบัติสร้างความสงบทางใจ

 เพราะเวลานั้นเราจะต้องปลีกวิเวก ไปอยู่คนเดียว

 อยู่ห่างไกลจากสิ่งต่างๆ ที่เคยให้ความสุขกับเรา

 เวลานั้นเราจะรู้สึกว่ามีความทุกข์ทรมานใจ

แต่พอเราควบคุมใจ ทำใจให้สงบได้แล้ว

ความทุกข์ทรมานใจเหล่านั้นก็จะหายไป

 แล้วเราก็จะได้ความสุขใจ

ที่เกิดจากความสงบที่เป็นความสุข

 ที่เหนือกว่าความสุขที่ได้จากการใช้ร่างกายหาความสุข

นี่แหละคือการดำเนินของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้

พระองค์ก็ทรงสละความสุขทางร่างกาย

 สละความสุขของพระราชโอรสที่มีปราสาท ๓ ฤดู

 มีบริษัทมีบริวารมาคอยรับใช้ มาคอยให้ความสุข

 มีอาหารมีเครื่องดื่มทุกแบบทุกรส

ทุกชนิดมาให้เสพให้สัมผัส

 แต่ทรงเห็นว่ามันเป็นความสุขปลอม

เป็นความสุขที่มีความทุกข์คอยรออยู่ข้างหน้า

พระองค์จึงมีความกล้าหาญตัดสินสละความสุขแบบนี้

 แล้วมุ่งไปสู่ความสุขที่ถาวร ความสุขที่ดีกว่า

 แต่จะต้องผ่านความทุกข์ทรมานใจ

ในขณะที่ยังไม่สามารถทำใจให้สงบได้

ในขณะนั้นต้องใช้ขันติความอดทน

ต้องใช้วิริยะความอุตสาหะ

 พยายามที่จะเจริญสติอย่างต่อเนื่อง

 เพื่อที่จะได้ควบคุมความคิดความอยากต่างๆ

ที่สร้างความทุกข์ทรมานให้แก่ใจนั่นเอง

พอถ้ามีสติอย่างต่อเนื่องและสามารถควบคุมความคิด

 ไม่ให้คิดไปในทางความอยากได้ ใจก็จะเข้าสู่ความสงบ

พอใจสงบแล้วทีนี้ก็จะมีแต่ความสุขใจ

ความทุกข์ทรมานใจที่เกิดจาก

ขณะที่ทำความเพียรนั้นก็จะหายไป

จะไม่มีความหมายจะเห็นว่าความทุกข์แบบนั้น

เป็นความทุกข์ที่นำไปสู่ความสุขเป็นเหมือนกับการลงทุน

ก่อนที่เราจะได้สิ่งของมา เราก็ต้องเสียเงินเสียทอง

จ่ายเงินก่อนเราถึงจะได้ของที่เราต้องการ ฉันใด

ถ้าเราต้องการความสุขที่เกิดจากความสงบ

เราก็ต้องยอมทุกข์ และสละการหาความสุขทางร่างกายไป

ถ้าเราไม่ยอมเราจะไม่มีวันที่จะเข้าสู่ความสงบ

 เข้าสู่ความสุขที่ได้จากความสงบได้เลย

เราต้องผ่านความทุกข์อันนี้ไปก่อน

ความทุกข์ที่เกิดจากการรักษาศีล ๘

ความทุกข์ที่เกิดจากการไปอยู่ตามลำพังในสถานที่สงบ

ที่วิเวกที่ห่างไกลจากเเสงสีเสียงต่างๆ

ความทุกข์ที่เกิดจากการคอยควบคุมใจ

ไม่ให้คิดไปในเรื่องราวต่างๆ

ให้ใจหยุดคิดให้ใจรวมเข้าสู่สมาธิ

ช่วงนี้เป็นช่วงที่ทรมานใจอย่างมาก

แต่ถ้ามีความอดทนมีความเข้มเเข็ง

มีความพากเพียรพยายาม เจริญสติไปเรื่อยๆ

 รับรองได้ว่าไม่ช้าก็เร็ว

ก็จะต้องเข้าสู่ความสงบได้อย่างแน่นอน

แล้วพอได้เข้าสู่ความสงบแล้ว

ทีนี้จะไม่รู้สึกทุกข์ทรมานใจเลย

จะไม่กลัวความทุกข์ทรมานใจแบบนี้อีกต่อไป

 จะกล้าที่จะเผชิญกับความทุกข์ทรมานใจแบบนี้

อย่างไม่สะทกสะท้านอยากจะไปอยู่คนเดียว

 อยากจะไปถือศีล ๘ อยากจะไปเจริญสติ

ควบคุมความคิดให้มากขึ้น เพราะเห็นผลที่จะได้รับ

จากการทำใจให้สงบนี้ มันคุ้มค่าคุ้มเหนื่อย

 เหมือนกับลงทุนเพียงไม่กี่บาท ซื้อลอตเตอรี่ใบเดียว

 ถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ ๑ คนจึงทุ่มเทซื้อลอตเตอรี่กัน

เพราะเห็นว่าถ้าได้ถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ ๑ แล้วมันคุ้มค่ามาก.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


..................................

ธรรมะบนเขา วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

“โชคลาภที่ดีกว่าการถูกรางวัลที่ ๑”









ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 02 มีนาคม 2559
Last Update : 2 มีนาคม 2559 11:15:18 น.
Counter : 4457 Pageviews.

1 comment
### ตัวโกรธ ###













ตั ว โ ก ร ธ
.
หลวงปู่บุดดา ถาวโร จัดว่าเป็น “รัตตัญญู”

 คือเป็นผู้เก่าแก่และมีประสบการณ์มาก รูปหนึ่ง

ของคณะสงฆ์ไทย ด้วยท่านมีอายุยืนนานถึง ๑๐๑ ปี

ก่อนจะมรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗
.
สมัยที่ยังหนุ่ม ท่านมีโอกาสพบปะครูบาอาจารย์

ที่สำคัญหลายรูป เช่น พระอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจนฺโท)

 และครูบาศรีวิชัย ท่านหลังนี้เคยทักหลวงปู่บุดดา

เนื่องจากเห็นท่านไม่พาดสังฆาฏิว่า

“เฮาเป็นนายฮ้อย ก็ต้องให้เขาฮู้ว่าเป็นนายฮ้อย

ไม่ใช่นายสิบ”

นับแต่นั้นมาหลวงปู่จึงพาดสังฆาฏิติดตัวตลอดเวลา

จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของท่าน
.
หลวงปู่บุดดาเป็นพระป่า ชอบธุดงค์

ไม่มีวัดเป็นหลักแหล่ง จนเมื่ออายุ ๘๗ ปี

จึงได้มาประจำที่วัดกลางชูศรีเจริญสุข

อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรีกระทั่งมรณภาพ
.
แม้หลวงปู่บุดดาจะไม่ได้เล่าเรียนในทางปริยัติมาก

 แต่ความที่ท่านเชี่ยวชาญในการปฏิบัติ

จึงมีความสามารถในการสอนธรรมชนิดที่สื่อตรงถึงใจ

 มีคราวหนึ่งท่านได้รับนิมนต์

ให้ไปเทศน์คู่กับท่านเจ้าคุณรูปหนึ่ง

ซึ่งเป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค

ท่านเจ้าคุณรูปนั้นคงเห็นหลวงปู่เป็นพระบ้านนอก

จึงอยากลองภูมิหลวงปู่ ได้ถามหลวงปู่ว่า

 “จะเทศน์เรื่องอะไร”
.
หลวงปู่ตอบว่า “เรื่องตัวโกรธ กิเลสตัณหา”
.
ท่านเจ้าคุณซักต่อว่า “ตัวโกรธเป็นอย่างไร”
.
หลวงปู่ตอบสั้นๆ ว่า “ส้นตีนไงล่ะ”
.
เท่านั้นเองท่านเจ้าคุณก็โกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง

ไม่ยอมเทศน์กับหลวงปู่

วันนั้นหลวงปู่จึงต้องขึ้นเทศน์องค์เดียว

 เมื่อเทศน์จบแล้ว ท่านก็ไปขอขมาท่านเจ้าคุณองค์นั้น

 พร้อมกับอธิบายว่า
.
“ตัวโกรธมันเป็นอย่างนี้เองนะ

มันหน้าแดงๆ นี้แหละ มันเทศน์ไม่ได้คอแข็ง

ตัวโกรธสู้เขาไม่ได้ขึ้นธรรมาสน์ก็แพ้เขา

ใครจะเป็นนักเทศน์ต่อไปจดจำเอาไว้นะ

ตัวโกรธน่ะ นักเทศน์ไปขัดคอกันเอง

มันจะเอาคอไปให้เขาขัด”
.
หลวงปู่บุดดารู้จักตัวโกรธดี

ท่านรู้ว่าตัวโกรธกลัวคนกราบ

ท่านเล่าว่าตั้งแต่เริ่มบวช ท่านพยายามเอาชนะความโกรธ

ด้วยการกราบ เวลาโกรธท่านจะลุกขึ้นกราบพระ ๓ ครั้ง

 โกรธ ๒ ครั้งก็กราบพระ ๖ ครั้ง

โกรธ ๑๐๐ ครั้ง ก็กราบ ๓๐๐ ครั้ง ทำเช่นนี้หลายครั้ง

 ความโกรธก็ครอบงำท่านไม่ได้
.
เมื่อความโกรธเป็นใหญ่เหนือใจไม่ได้

ความเมตตาและอ่อนน้อมถ่อมตนก็ตามมา

 หลวงปู่บุดดาขึ้นชื่อในเรื่องนี้มาก

คราวหนึ่งท่านกำลังจะเดินข้ามสะพาน

 ก็เห็นสุนัขตัวหนึ่งนอนขวางทางอยู่บนสะพาน

แทนที่ท่านจะเดินข้ามสุนัขตัวนั้น หรือไล่มันให้พ้นทาง

กลับเดินลงไปลุยโคลนข้างล่าง
.
ท่านว่าไม่อยากให้ผู้อื่นได้รับความขุ่นเคือง

เพียงเพื่อเห็นแก่ความสะดวกของตนเอง

แม้เป็นเพียงสัตว์เดรัจฉาน

ท่านก็ไม่ปรารถนาจะเบียดเบียน
.

หลวงปู่บุดดา ถาวโร








ขอบคุณที่มา fb. วัดป่า
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 01 มีนาคม 2559
Last Update : 1 มีนาคม 2559 12:44:09 น.
Counter : 861 Pageviews.

0 comment
### อยู่เป็นสุขจากไปไม่ก่อทุกข์ ###















อ ยู่ เ ป็ น สุ ข จ า ก ไ ป ไ ม่ ก่ อ ทุ ก ข์
.

พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นวิปัสสนาจารย์

ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดรูปหนึ่งของเมืองไทยยุคปัจจุบัน

 ท่านเป็นคนต้นรัชกาลที่ ๕(เกิด พ.ศ. ๒๔๑๓)

แต่กิตติศัพท์และแบบอย่างชีวิตของท่าน

ยังมีอิทธิพลอย่างยิ่งในทุกวันนี้
.
ชีวิตของท่านนับแต่เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

เป็นชีวิตที่แนบเนื่องกับการหลีกเร้นบำเพ็ญธรรมในป่าเขา

สมัยที่ยังเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์นานาชนิด

ท่านเป็นแบบอย่างของผู้สูงส่งด้วยภูมิปัญญา

หากเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่เบียดเบียน

 เต็มเปี่ยมด้วยเมตตาต่อสรรพชีวิต

แม้ในยามที่ท่านใกล้จะมรณภาพ

ก็ยังคำนึงถึงสัตว์น้อยใหญ่ที่อาจเดือดร้อน

เพราะการดับขันธ์ของท่าน

ท่านจึงเร่งรัดให้ลูกศิษย์พาท่านออกจากหมู่บ้านหนองผือ

ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนคร

 จุดมุ่งหมายปลายทางคือตัวเมืองสกลนคร

อันเป็นสถานที่ที่สามารถรับการหลั่งไหลของผู้คน

ที่จะมาเคารพศพท่านได้
.
ในการกล่าวเตือนศิษย์หาของท่าน ท่านได้พูดตอนหนึ่งว่า
.
“ผมน่ะต้องตายแน่นอนในคราวนี้

ดังที่เคยพูดไว้แล้วหลายครั้ง

แต่การตายของผมเป็นเรื่องใหญ่

ของสัตว์และประชาชนทั่วๆ ไปอยู่มาก

 ด้วยเหตุนี้ผมจึงเผดียงให้ท่านทั้งหลาย

ให้ทราบว่าผมไม่อยากตายอยู่ที่นี่

ถ้าตายที่นี่จะเป็นการกระเทือน

และทำลายชีวิตสัตว์ไม่น้อยเลย

 สำหรับผมตายเพียงคนเดียว

 แต่สัตว์ที่พลอยตายเพราะผมเป็นเหตุนั้นมีจำนวนมากมาย

 เพราะคนจะมามากทั้งที่นี่ไม่มีตลาดแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน
.
นับแต่บวชมา ไม่เคยคิดให้สัตว์ได้รับความลำบาก

 โดยไม่ต้องพูดถึงการฆ่าเขาเลย มีแต่ความสงสาร

เป็นพื้นฐานของใจตลอดมา ทุกเวลาได้แผ่เมตตาจิต

อุทิศส่วนกุศลแก่สัตว์ไม่เลือกหน้า

โดยไม่มีประมาณตลอดมา

เวลาตายแล้วจะเป็นศัตรูคู่เวรแก่สัตว์ให้เขาล้มตายลง

จากชีวิตที่แสนรักสงวนของแต่ละตัว

 เพราะผมเป็นเหตุเพียงคนเดียวนั้น ผมทำไม่ลง

 อย่างไรขอให้นำผมออกไปตายที่สกลนคร

 เพราะที่นั้นเขามีตลาดอยู่แล้ว

คงไม่กระเทือนชีวิตของสัตว์มากเหมือนที่นี่
.

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

........................

จากหนังสือลำธารริมลานธรรม

เรียบเรียงโดย พระไพศาล วิสาโล










ขอบคุณที่มา fb. วัดป่า
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 01 มีนาคม 2559
Last Update : 1 มีนาคม 2559 12:25:04 น.
Counter : 807 Pageviews.

0 comment
### ชีวิตมีทางออกเสมอ ###










ชีวิตมีทางออกเสมอ


เมื่อมีความทุกข์ใจ ผู้คนมักมองว่า

สาเหตุอยู่ที่คนอื่นหรือสิ่งอื่น

 เช่น ดินฟ้าอากาศแปรปรวน เศรษฐกิจผันผวน

หนี้สินท่วมตัว หรือโรคร้ายถึงตาย

แต่แท้จริงแล้วตัวการสำคัญอยู่ที่ใจเรา

ซึ่งยึดติดถือมั่นปรุงแต่งในทางร้าย

หรือมองเห็นแต่แง่ลบ หมกมุ่นอยู่กับอดีตที่ผ่านไปแล้ว

 หรือ พะวงกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

หากวางใจให้ถูก ทุกข์ใจก็จะคลายลง

แม้ปัญหาภายนอกจะยังอยู่ แต่ใจก็ไม่กลัดกลุ้มอีกต่อไป

กลับมีเรี่ยวแรงที่จะแก้ไขตามกำลังที่มี

ชีวิตมีทางออกเสมอหากกลับมามองที่ใจเรา

 อย่าเสียเวลากล่าวโทษคนอื่นหรือก่นด่าชะตากรรม

 แต่หันมาใคร่ครวญด้วยสติปัญญา

 ไม่ช้าทางออกย่อมปรากฏ

แต่เมื่อพบแล้วสิ่งที่ต้องทำต่อไปคือก้าวเดิน

หากไม่เดินหรือไม่ลงมือปฏิบัติ ก็มิอาจออกจากทุกข์ได้

พระไพศาล วิสาโล









ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 01 มีนาคม 2559
Last Update : 1 มีนาคม 2559 11:52:10 น.
Counter : 1119 Pageviews.

0 comment
### เร่งความเพียร ###













“เร่งความเพียร”

วันนี้เป็นวันพระ วันที่เรามาเร่งความเพียรกัน

 เพราะวันเวลามีแต่จะน้อยลงไปเรื่อยๆ ทุกวินาทีที่ผ่านไป

 ก็แสดงว่า ชีวิตของเราก็หดลงไป

 เรากำลังเดินเข้าสู่ความแก่ความชรา

เข้าสู่ความเจ็บไข้ได้ป่วย เข้าสู่ความตายกัน

โอกาสที่เราจะได้ตักตวงให้เกิดมรรคผลนิพพานขึ้นมา

ก็จะมีน้อยลงไปเรื่อยๆ ถ้าเราไม่รีบเร่งความเพียร

 เราอาจจะไม่ทันกับเวลาที่ค่อยๆผ่านไป

 เวลานี้ไม่หยุดไม่คอยใคร เวลาเขาเดินไปเรื่อยๆ

ถ้าเราปล่อยให้เวลาผ่านไป โดยไม่ได้เร่งความเพียร

 ไม่ได้เจริญมรรค มรรคผลนิพพานที่เป็นสิ่งที่ประเสริฐ

 ก็จะไม่เกิดขึ้นกับเรา

 แล้วถ้าชีวิตเราชาตินี้หมดไป

 ชาติต่อไปอาจจะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่

 ก็ยังไม่รู้ว่าจะได้กลับมาเมื่อไหร่

และกลับมาแล้ว จะได้พบกับพระพุทธศาสนาอีกหรือไม่

 ก็ไม่มีใครรู้เหมือนกัน

 เพราะการปรากฏของพระพุทธศาสนาในแต่ละครั้งนั้น

 ก็เป็นเวลาที่ห่างไกลกันมาก ยากที่จะเกิดขึ้นมา

 การได้เกิดเป็นมนุษย์ก็ยากเช่นเดียวกัน

โอกาสที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์ ได้พบกับพระพุทธศาสนา

 จึงเป็นโอกาสที่ยากลำบากอย่างยิ่ง

โอกาสที่จะได้อย่างที่เราได้อยู่ตอนนี้นั้นเป็นสิ่งที่ยากมาก

 พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า มีสิ่งที่ยากอยู่ ๔ ประการ

 คือการปรากฏของพระพุทธศาสนา

 การปรากฏของพระพุทธเจ้า การได้เกิดเป็นมนุษย์

การได้ศึกษาปฏิบัติธรรม

 การดำรงชีพของมนุษย์ก็เป็นสิ่งที่ยาก

นี่คือสิ่งที่ยาก ตอนนี้เราได้ ๒ ข้อแล้ว

 ก็คือได้เกิดเป็นมนุษย์ได้พบกับพระพุทธศาสนา

ข้อที่ ๓ ก็คือการศึกษาปฏิบัติธรรม

อันนี้ถ้าเราไม่ผลักดันตัวเราเองให้ศึกษาให้ปฏิบัติ

 มันก็จะเป็นของยาก ของที่จะไม่เกิดขึ้นเองได้ง่ายๆ

 ไม่เหมือนกับการไปแสวงหาลาภยศสรรเสริญ

 หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย

การกระทำแบบนี้เป็นการกระทำที่ง่ายมาก

 เพราะมันฝังอยู่ในใจของเรา เราทำกันมาจนติดเป็นนิสัย

 แทบจะไม่ต้องมีใครสอน แทบจะไม่ต้องมีใครบังคับ

 ถ้าให้ไปหาเงินหาทองนี่ ไปได้

หาลาภหายศหาสรรเสริญ

หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย

 อันนี้ไปกันได้อย่างง่ายดาย

 แต่ให้ไปเจริญมรรคให้ไปทำทานให้ไปรักษาศีล

 ให้ไปภาวนานี้เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก

 อย่างน้อย ๗ วันนี้ทำได้กันก็วันหนึ่ง บางคนนี้ทำไม่ได้เลย

 ปีหนึ่งจะทำบุญสักสองสามสี่ห้าครั้งตามโอกาส

 ตามวันสำคัญต่างๆ ตามวันเกิดบ้าง

 ตามวันครบรอบของการตายของพ่อแม่

หรือวันสำคัญทางศาสนา วันขึ้นปีใหม่

 ถึงจะได้ทำบุญให้ทาน นี้ก็เป็นเพียงส่วนเล็กน้อย

ส่วนที่สำคัญก็คือ การศึกษาปฏิบัติธรรม

 เช่นการเข้าวัด อยู่วัด ฟังเทศน์ฟังธรรม

เจริญสมถภาวนา เจริญวิปัสสนาภาวนา รักษาศีล ๘

อันนี้จะเป็นสิ่งที่ยากแสนยาก

จึงไม่ค่อยได้พบกับมรรคผลนิพพานกัน

ก็จะได้แต่ลาภยศสรรเสริญ ได้แต่รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

 ที่เป็นความสุขเพียงชั่วคราว

แล้วก็เป็นความทุกข์ตามมา

 เพราะความสุขที่ไม่ได้ทำให้ความอยากลดน้อยลงไป

แต่เป็นความสุขที่ทำให้ความอยากเพิ่มมากขึ้น

เวลามีความอยากแล้วจะอยู่ไม่เป็นปกติ อยู่ไม่ได้

กระวนกระวายกระสับกระส่าย หงุดหงิดรำคาญใจ

 ก็เลยต้องออกไปทำตามความอยาก

 ไปทำตามความอยากก็ไม่ได้ทำให้ความอยากหายไป

 ระงับความหงุดหงิดรำคาญใจไว้ชั่วคราว

 แล้วก็เกิดความอยากขึ้นมาใหม่

เกิดความหงุดหงิดรำคาญใจตามมา

นี่คือความสุขที่ได้จากการแสวงหา ลาภยศสรรเสริญ

 หารูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะชนิดต่างๆ

ไม่เหมือนกับความสุขที่ได้จากการทำทาน รักษาศีลภาวนา

 ความสุขนี้เป็นความสุขที่จะลดความอยากให้น้อยลงไป

ทำแล้วก็จะทำให้มีความสงบ มีความสบายใจ

 มีความพอใจที่จะอยู่เฉยๆ ไม่มีความอยากมาคอยกระตุ้น

ให้ไปทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ให้ไปหาสิ่งนั้นสิ่งนี้

ดังนั้นเราต้องคอยสอนตัวเราเอง คอยบังคับตัวเราเอง

ให้ทำในสิ่งที่เป็นความสุขที่แท้จริง

อย่าปล่อยให้นิสัยคอยฉุดลาก

ให้เราไปหาความสุขที่เป็นความทุกข์

เราต้องบังคับตัวเราเอง บังคับให้ทำทานให้มากๆ

รักษาศีลให้มากๆ เจริญจิตตภาวนาให้มากๆ

ถ้าเราไม่บังคับมันจะไปไม่ได้

ถ้ารอให้เกิดความรู้สึกเกิดอารมณ์ที่อยากจะทำแล้วค่อยทำนี้

มันก็จะเกิดอย่างที่พูดนี่ ต้องวันสำคัญจริงๆ

 เช่นวันเกิด วันขึ้นปีใหม่วันเทศกาลต่างๆ

 ตอนนั้นก็อาจจะเกิดอารมณ์อยากที่จะทำบุญ

 อยากจะรักษาศีล อยากจะปฏิบัติธรรม

 แต่มันจะน้อยเกินไป จะไม่เพียงพอ

ต่อการที่จะทำให้เกิดผลขึ้นมา

 การที่จะทำให้เกิดผลขึ้นมานี้ มันต้องทำอย่างต่อเนื่อง

 ทำอยู่ทุกๆวันทุกเวลานาที ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนหลับ

ควรจะทุ่มเทชีวิตจิตใจ ทุ่มเทความพากเพียร

ให้กับการปฏิบัติให้กับการศึกษา

ถ้าไม่เช่นนั้นแล้วก็จะไม่เพียงพอ

ต่อการที่จะทำให้เกิดผลขึ้นมา

 เราจึงต้องกำหนดว่าเราจะรักษาศีลเท่าไหร่

จะภาวนาเท่าไหร่ คือควรจะมีจุดเริ่มต้น

จะมากจะน้อยไม่สำคัญ ขอให้มีจุดเริ่มต้น

แล้วก็ขอให้มีแผนเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นระยะๆตามลำดับไป

เบื้องต้นก็อาจจะเอาวันพระเป็นจุดเริ่มต้น

 วันพระจะถือศีล ๘ จะปฏิบัติธรรม

เจริญสตินั่งสมาธิเดินจงกรม ฟังเทศน์ฟังธรรม

เจริญวิปัสสนาเจริญปัญญา จะไม่ทำภารกิจอย่างอื่น

 จะไม่หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย

เบื้องต้นก็เอาวันพระก่อน แล้วก็ค่อยเพิ่มขึ้นไป

 เป็น ๒ วัน ๓ วัน ๔ วัน เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆสัก ๗ วัน

 ถ้าครบ ๗ วันแล้วก็จะถือว่าได้ปฏิบัติอย่างเต็มที่แล้ว

ไม่มีช่องให้ไปกระทำกิจอย่างอื่นที่ไม่สำคัญ

ที่ไม่ได้เอื้อต่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน

ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จะเป็นที่พึ่งของเราได้

นอกจากมรรคผลนิพพานนี้เท่านั้น

ผู้ที่ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน

 จะเป็นผู้ที่อยู่อย่างปราศจากความทุกข์

จะไม่มีความทุกข์ต่างๆเข้ามาเหยียบย่ำทำลายจิตใจ

 ดังนั้นอย่าไปหลงกับการหาลาภยศสรรเสริญ

หารูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

 เพราะจะไม่สามารถดับความทุกข์ต่างๆ

 ไม่สามารถป้องกันไม่ให้ความทุกข์ต่างๆเกิดขึ้นได้

ไม่ว่าจะเป็นมหาเศรษฐี เป็นประธานาธิบดี

เป็นนายกรัฐมนตรี หรือเป็นอะไรก็ตาม

จะไม่สามารถที่จะอยู่เหนือความทุกข์ไปได้

 จะต้องถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา

 เพราะความทุกข์นี้เกิดจากความอยาก

และความอยากไม่ลดน้อยลงไป

จากการได้ลาภยศสรรเสริญ

ได้รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

 แต่กลับจะทำให้เกิดความอยากเพิ่มมากขึ้น

ก็ยิ่งเกิดความทุกข์

 เป็นความทุกข์ที่ไม่รู้สึกตัวเลยว่าเป็นความทุกข์

เช่นเวลาอยากได้อะไรก็ต้องไปขวนขวาย ไปต่อสู้

 ไปเอาสิ่งที่อยากได้มา.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

...................................

กัณฑ์ที่ ๔๖๒ วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๖

“เร่งความเพียร”








ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 01 มีนาคม 2559
Last Update : 1 มีนาคม 2559 11:21:52 น.
Counter : 1100 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ