มีนาคม 2566
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
5 มีนาคม 2566

: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - Wabi – Sabi :


: Wabi – Sabi :

เขียน - Leonard Koren
แปล - สายพิณ กุลกนกวรรณ ฮัมดานี







“วาบิซะบิ” เป็นแนวคิดของคนญี่ปุ่น
ที่สัมพันธ์กับแนวคิด “เซน” จนแทบกลายเป็นเนื้อดินเดียวกัน

การอธิบายความเป็นวาบิซะบินั้นยากพอๆกับการอธิบายว่าเซนคืออะไร
เพราะเมื่อใดที่มีคำอธิบายหรือคำนิยามออกมา
“ความจริงหรือสารัตถะ” ในความเป็นวาบิซะบิก็ดูเหมือนจะเลือนหายไปในทันที

หลายปีที่ผ่านมาวาบิซะบิถูกนำมาใช้ในเชิงการตลาด
ในการสร้างภาพลักษณ์ให้กับอาคาร สถานที่ บรรยากาศ ร้านอาหาร คาเฟ่
หรือแม้แต่ในแวดวงของงานศิลปะทั้งหลาย

“ความงามในแบบวาบิซะบิ” กลายเป็นสิ่งที่ผู้คนพยายามแสวงหาและสัมผัสจับต้อง
รวมไปถึงพิธีชงชา ซึ่งว่ากันว่าอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดเรื่องวาบิซะบิ

ความเรียบง่าย ความตรงไปตรงมา การไม่เสแสร้ง การแสดงธาตุแท้ของวัสดุ ฯลฯ
อาจเป็นคุณสมบัติแรก ๆ ของการชื่นชมงานศิลปะทั้งหลายที่แทรกตัวอยู่ในธรรมชาติ
หรือแม้แต่สิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น คุณสมบัตินี้อาจอยู่ในการชงชาของผู้เชี่ยวชาญ
อยู่ในใบดาบที่วาววับ อยู่ในก้านดอกไม้แต่ละก้านที่ผู้จัดดอกไม้บรรจงปักลงไปในแจกัน
อาจอยู่ในภาพถ่ายอันเรียบง่าย อยู่ในเงาแสงกลางสวนที่สงบงาม ฯลฯ

การอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ
และมองเห็นธรรมชาตินั้นอย่างตรงไปตรงมา
ไม่ใช่เรื่องง่าย

เช่นเดียวกับการอ่านหนังสือไม่กี่เล่ม
เพื่อจะสรปุว่า “วาบิซะบิ” และ “เซน” เป็นเช่นไร
ย่อมเป็นไปไม่ได้

การสร้างสิ่งใดเพื่อให้เป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ย่อมต่างไปจากการที่สิ่งนั้นเป็นอยู่แล้ว
และรอให้ใครสักคนมองเห็นสัจจะที่แท้จริงในตัวมัน


“ความงามที่แท้จริง” ก็เฉกเช่นกัน
มันงามได้เพราะมีคนที่มองอยู่
และรู้ว่ามันงามอย่างที่เป็น
หาใช่งามเพราะใครที่มองดูอยากให้มันงามตามใจตน

เราอาจทำความรู้จักกับ Wabi – Sabi ได้จากหนังสือเล่มนี้
แต่จะถ่องแท้กับสิ่งนี้ได้มากแค่ไหน
เห็นจะมีเพียงแต่การปิดหนังสือเล่มนี้ลง
แล้วออกไปชื่นชมกับความงามแห่งชีวิตด้วยสองตาของตนเองเท่านั้น


































Create Date : 05 มีนาคม 2566
Last Update : 5 มีนาคม 2566 5:34:09 น. 17 comments
Counter : 816 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณtanjira, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณหอมกร, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณกิ่งฟ้า, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณเนินน้ำ, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณเริงฤดีนะ, คุณปัญญา Dh, คุณอุ้มสี, คุณทนายอ้วน, คุณhaiku, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณSweet_pills, คุณสองแผ่นดิน, คุณnewyorknurse


 
สวัสดียามเช้าค่ะก๋า

ความงามที่แท้จริง นั่นคือธรรมชาติสร้างไว้ซินะคะ
งามอย่างที่เป็น ที่เห็น ไม่ต้องปรุงแต่ง ...

..........

ในสังคมทุกวันนี้ สิ่งที่เราเจอ น่าจะคล้ายๆกันนะคะ
ถ้าเราไม่ได้อ่านเจอ หรือมีครนำเสนอ เราก็อาจคิดว่า เราเจออยู่คนเดียว
แต่จริงๆไม่ใช่เลย หลายคนก็ต้องเผชิญกับเรื่องราวคล้ายๆกับเรา (ในเรื่องการดูแล สว)
ต่างกันตรงที่ว่าใครจะจัดการกับปัญหา ตรงหน้าอย่างไรนะคะ
เราไม่อาจเปลี่ยนความคิดพ่อแม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนและปรับที่ตัวเราเอง
ปัญหามันจึงจะหมดไปนะคะเนาะ

อากาศบ้านพี่เช้าจะเย็นๆ สายจะแดดเปรี้ยงเลยค่ะ ฝุ่นก็ยังมีค่ะ แต่น้อยกว่าทางเหนือค่ะ
เขาว่าวันนี้จะร้อนนะคะ ฤดูร้อนจะมาแล้วค่ะ


ก๋า มาดาม หมิงหมิง มีความสุขมากๆ รักษาสุขภาพนะคะ



โดย: tanjira วันที่: 5 มีนาคม 2566 เวลา:6:48:58 น.  

 
ยุคนี้สมัยนี้ ขนาดเลือกมาแล้วยังโดนโกงเลยค่ะ แล้วถ้าไม่เลือกยิ่งไม่แย่กว่าเชียวหรือ


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 5 มีนาคม 2566 เวลา:6:59:12 น.  

 
หนังสือแบบนี้อ่านแล้วปวดหัวคุณก๋า
ความงามที่แท้จริงต้องงามอย่างคุณธัญเนอะ




โดย: หอมกร วันที่: 5 มีนาคม 2566 เวลา:7:31:09 น.  

 
สวัสดียามเช้าค่ะ พี่ก๋า

ขำพี่ก๋า บอลก็อยากดู ร่างกายก็ง่วงงงง
หนูนี่หลับอย่างเดียวค่ะ เช้าดูผล แหมมมๆๆๆ ปืนนาที97ยังยิง
เอาแชมป์ไปเลยมั้ยยยย 55555 ต้องถามเป๊ปก่อนนนน
หนูรอดูคู่หงส์คืนนี้อย่างเดียวค่ะ
น่าจะหลับก่อนแล้วตื่นมาดูเหมือนเดิมค่ะ


โดย: โฮมสเตย์ริมน้ำ วันที่: 5 มีนาคม 2566 เวลา:8:02:16 น.  

 
สวัสดีค่ะน้องก๋า วันนี้หนังสือออกแนวเซน ญี่ปุ่นนะคะ น้องก๋าชอบปรัชญามากนะคะ สังเกตหนังสือทุกเล่มเป็นแนวเขียนและข้อคิดในแนวปรัชญาแทบทุกเล่มเลยค่ะ แบบนี้ไปเรียนวิชา ปรัชญาและจิตวิทยาได้เกรด A แน่นอนค่ะ อิอิ

"ความงามเปิดเผยตัวได้แม้ในความอัปลักษณ์" อันนี้ล้ำลึกมากค่ะอาจจะหมายถึงแม้จะไม่สวยแต่ก็มีความงามแฝงอยู่หรือเปล่าคะ

Book Blog

ขอบคุณที่ไปให้กำลังใจ บล็อกดาวกระดาษนะคะ ชอบเพลงและความหมายของเพลงก็ลองเอามาเขียนเป็นบทกลอนดูค่ะ



โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 5 มีนาคม 2566 เวลา:8:33:56 น.  

 
ในใจคงคิดถึงแต่เรื่องกิน อ่านชื่อหนังสือเป็น "วาซาบิ"
สงสัยวันนี้จะได้กินอาหารญี่ปุ่น ^__^






โดย: เนินน้ำ วันที่: 5 มีนาคม 2566 เวลา:10:10:42 น.  

 
สวัสดี จ้ะ น้องก๋า

"Wabi – Sabi" อ่านชื่อหนังสือปุ๊บ ใจคิดถึง "วาซาบิ"
เหมือนน้อง เนินน้ำ เลย อิอิ
อ่านที่เธอเขียนรีวิวถึงหนังสือเล่มนี้แล้ว ว่า มีลักษณะคล้าย
หรือเป็นแนวเดียวกับ เซ็น น่าจะสรุปได้ว่า เข้าใจยากเหมือน ๆ กัน
อิอิ ก๋า นี่เยี่ยมนะ คนต้องสนใจเรื่อง "ธรรมะ" อย่างจริงจัง จึงจะ
อ่านหนังสือแง่ปรัชญาแบบนี้ได้ เพราะเข้าใจค่อนข้างยาก เนาะ อ่านแล้ว ก็ต้องคิดตาม ตีความ วิเคราะห์ไป ว่า มันน่าจะหมายถึง
เรื่องอะไร จุดประสงค์ของคนเขียน เขาต้องการสื่ออะไร คนอ่านจะ
ต้องเป็นผู้ที่ชอบศึกษาเรื่องนั้น ๆ ด้วย อย่างจริงจัง (คือเธอ) จึง
จะอ่านและแนะนำได้ นะเนี่ย
ตัวอย่างที่ยกมา บทสุดท้าย ที่กล่าวว่า

" การรู้ว่า เมื่อไรจะ "ไม่เลือก"
สำคัญพอ ๆ กับการรู้ว่า
เมื่อไรจะ "ต้องเลือก"
นั่นก็คือ
"การปล่อยให้ สิ่งต่าง ๆ เป็นไปเอง"

อ่านแล้ว ชอบนะ คนที่รู้ว่า เมื่อไรจไม่เลือก และเมื่อไรจึง
ต้องเลือก แสดงว่าคนนั้น เขาจะต้องเป็นคน "คิดเป็น" มีเหตุผล
มีประสบการณ์ชีวิตดีพอควร นะ ดังนั้น เขาจึงสรุปว่า นั่นคือ
"การปล่อยให้สิ่งต่าง ๆ เป็นไปเอง" น่าจะตรงกับคำว่า รู้จักปล่อยวาง" นะ อิอิ

โหวดหมวด แนะนำหนังสือ




โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 5 มีนาคม 2566 เวลา:15:08:00 น.  

 
สรรพสิ่งมีความงดงามในตัวเอง
สุดแต่มุมมอง


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 5 มีนาคม 2566 เวลา:15:36:19 น.  

 
สวัสดีครับคุณก๋า


โดย: ปัญญา Dh วันที่: 5 มีนาคม 2566 เวลา:16:36:43 น.  

 
ขอบคุณค่ะน้องก๋าที่ไปตอบในบล็อกดาวกระดาษค่ะ พี่กิ่งคิดไว้แล้วเป็นจริงเลยค่ะ โห..อาจารย์พูดถูกต้องเลยค่ะ น้องก๋าน่าจะไปเรียนด้านจิตวิทยาหรือแนวปรัชญาค่ะ อิอิ



โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 5 มีนาคม 2566 เวลา:17:31:17 น.  

 
สวยและน่าสนใจมาก


โดย: อุ้มสี วันที่: 5 มีนาคม 2566 เวลา:19:53:23 น.  

 
แนวคิดวาบิซะบิอันนี้ได้ยินค่อนข้างบ่อยครับ รายการเกี่ยวกับญี่ปุ่นหลายๆ รายการก็ชอบพูดถึงเหมือนกัน


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 5 มีนาคม 2566 เวลา:20:20:34 น.  

 
สวัสดีครับคุณก๋า
.
พอเห็นชื่อ วะบิซะบิ อย่างแรกเลยนึกถึงรายการทีวีที่เคยดูครับ
พูดถึงพิธีชงชา ผมได้อ่าน(ทางอ้อม) จากนิยายสืบสวนเล่มนึง
ขั้นตอนเค้าละเอียดมาก อ่านแล้วก็ยังทำความเข้าใจได้ไม่100%เลยครับ (ระบบประมวลผลช้า 55)
.
ขอบคุณกำลังใจด้วยนะครับ


โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 5 มีนาคม 2566 เวลา:23:25:58 น.  

 
น่าสนใจครับ
วาบิซะบิ เรียบง่าย งามอย่างที่เป็นธรรมชาติ

ดูบอลไหมครับ



โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 6 มีนาคม 2566 เวลา:0:09:36 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณก๋า

ภาพหน้าปกหนังสือเล่มนี้ดูเรียบง่ายงดงามนะคะ
ใบไม้ 1 ใบ ผ่านกาลเวลาแสดงให้เห็นถึงความจริงตามธรรมชาติ

เคยได้ยินคำว่าสัจจะวัสดุของอาคารที่แสดงเนื้อแท้ของวัสดุ
แต่สัจจะวัสดุเป็นสิ่งที่แบบมองปุ๊บเข้าใจปั๊บได้นะคะ
ส่วนวาบิซะบิน่าจะเป็นการมองที่ดื่มด่ำลึกเข้าไปในความรู้สึกมากกว่านั้น (รึเปล่าคะ ^^)

ขอบคุณคุณก๋ารีวิวหนังสือดีๆอีกเล่มค่ะ
ฝันดีคืนนี้นะคะ



โดย: Sweet_pills วันที่: 6 มีนาคม 2566 เวลา:0:25:53 น.  

 
แนวคิดของเขาน่าสนใจ ถ้าเราสามารถนำมาประยุกต์กับชีวิตเราได้ก็จะเป็นประโยชน์กับตัวเรา มันมองเห็นถึงความรู้สึกนึกคิดในแบบคนญี่ปุ่นเหมือนกน

บ้านนี้เชียร์ ลิเวอร์พูลสินะ 3-0 ไปแล้ว กินนิ่มเลย


โดย: โลกคู่ขนาน (สมาชิกหมายเลข 7115969 ) วันที่: 6 มีนาคม 2566 เวลา:0:44:30 น.  

 
บ้าไปแล้ว 6-0 ดับซ่าเท็นฮากเลย ยังมีเวลา ดีไม่ดีอาจมี 7


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 6 มีนาคม 2566 เวลา:1:12:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กะว่าก๋า
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 392 คน [?]




มองฉันอีกครั้ง
เธออาจเห็นฉัน
หรืออาจไม่เห็นฉัน

ฉันแค่แวะผ่านทางมา
และอาจไม่หวนกลับมาทางนี้อีกแล้ว

เราเคยรู้จักกัน
และมันจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป

มองดูฉันอีกครั้ง
เธออาจเห็นฉัน
และฉันอาจมองไม่เห็นเธอ.





[Add กะว่าก๋า's blog to your web]