มีนาคม 2566
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
3 มีนาคม 2566

: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - วิถีแห่งซูฟี :



: วิถีแห่งซูฟี :

เขียน - Idries Shah
แปล - ปรีชา ช่อปทุมมา








ถ้าในซีกโลกตะวันออก มีศาสนาพุทธ นิกายเซน
ในโลกตะวันออกกลาง ก็มีศาสนาอิสลาม นิกายซูฟี
ที่มีแนวคำสอนคล้ายกันอย่างน่าประหลาดใจ
การสอนแบบไม่สอน การสอนโดยให้โศลกธรรม คำกลอน คำคม
เพื่อให้ลูกศิษย์นำไปขบให้แตก แลกกับการบรรลุธรรมแบบฉับพลันทันใด

ซูฟีและเซนมีบางเรื่องเล่าที่เหมือนกันราวกับเป็นเรื่องเดียวกัน
เปลี่ยนไปก็เพียงแค่ชื่อตัวละครเท่านั้น
จนอดคิดไม่ได้ว่าทุกหนแห่งบนโลกนี้ ล้วนมีผู้มีปัญญา
ซึ่งได้ส่งต่อ
“ภูมิปัญญาหรือสากลธรรมะ”
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสอนศิษย์ เพื่อให้ศิษย์เกิดการหยั่งรู้ในความจริงนั้นด้วยตนเอง

ดังเช่นหนึ่งในเรื่องเล่าในหนังสือเล่มนี้ ที่ตอกย้ำเรื่องของการค้นพบความจริงสูงสุด
ภายในตนเอง ด้วยตนเอง



อันเป็นที่รัก

ชายคนหนึ่งไปหยุดที่หน้าบ้านของผู้ซึ่งได้นามว่า “อันเป็นที่รัก”
แล้วเคาะประตูเรียก มีเสียงร้องถามออกมา
“นั่นใคร ?”
ชายคนนั้นตอบ “กระผมเอง”
เสียงบอก “ไม่มีที่ว่างพอสำหรับข้ากับเจ้า”
แล้วประตูก็ปิดสนิท

ภายหลังจากหนึ่งปีแห่งความขัดสนและเปลี่ยวเหงา
ชายคนนั้นกลับมายังบ้านของผู้ซึ่งได้นามว่า “อันเป็นที่รัก” อีกครั้ง
เขาเคาะประตู เสียงถามจากข้างใน
“นั่นใคร”
ชายคนนั้นตอบ “ก็ตัวท่านอย่างไรเล่า”
ประตูถูกเปิดต้อนรับ



…………………………….



และแม้ซูฟีจะให้บทบาทอันสำคัญยิ่งกับ “ครูบาอาจารย์” ผู้สอนธรรม
แต่การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ในทุกหนแห่ง เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าคนๆนั้นจะเป็นใคร
มีสถานะใดทางสังคม ร่ำรวยหรือยากจน ยิ่งใหญ่หรือต่ำต้อย
เช่นตัวอย่างในเรื่อง ยุ่งไม่เข้าเรื่อง


ผู้ได้รับความช่วยเหลือให้พ้นอันตรายจากสิงโตดุร้าย
ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญว่า ความช่วยเหลือนั้นกระทำโดยคนที่ไม่เคยรู้จัก หรือว่าเป็นบุรุษเรืองนาม
ก็แล้วเหตุใดเล่า ผู้แสวงความรู้จะจ้องเจาะจงศึกษาจากอาจารย์ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังเท่านั้น

ท้ายที่สุด --- เซนและซูฟี
กลายเป็นวิธีศึกษาเพื่อพ้นไปจากการยึดติดในตัวตน
พ้นไปจากรูปแบบคำสอนเดิม ๆ ที่เคยชิน
แทบจะไม่ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมอันรกเรื้อรุงรัง
“อาจารย์ที่แท้จริง” อาจเกิดขึ้นในรูปแบบที่แตกต่างหลากหลาย
ไม่จำเป็นต้องเป็นคุรุ ศาสดา หรือผู้นำทางจิวิญญาณ
เช่นตัวอย่างสุดโต่งในเรื่อง เราก็ศิษย์มีอาจารย์

อาจารย์ชิบลีถูกถาม
“ใครเป็นผู้อบรมหลักปฏิบัติธรรมให้แก่ท่าน”
เขาตอบ “หมาตัวหนึ่ง...เรื่องมีอยู่ว่าวันหนึ่งฉันเห็นมันยืนอยู่ริมตลิ่ง
และจวนจะตายด้วยความกระหาย ทุกครั้งที่มองเห็นเงาตัวเองในน้ำ
มันจะตกใจกลัวและถอยหนี เพราะคิดว่านั่นเป็นหมาอีกตัวหนึ่ง
ในที่สุด ด้วยความทรมานเหลือที่จะระงับ มันสลัดความกลัวและกระโดดลงน้ำ
ปรากฏว่าหมาตัวอื่นหายลับไป หมาตัวนั้นจึงรู้ว่า สิ่งขัดขวางที่แท้คือตัวมันเอง
เครื่องกั้นระหว่างมันกับสิ่งที่แสวงหาจึงถูกทำลายหมดสิ้น
ด้วยวิธีเดียวกันนี้ อุปสรรคของฉันก็ถูกขจัดเรียบ
ฉันรู้ว่ามันคือสิ่งที่เรายึดถือว่าเป็นตัวเป็นตน
หลักปฏิบัติของฉันถูกเปิดเผยเป็นครั้งแรกโดยพฤติกรรมของหมาตัวหนึ่ง”


ทั้งหมดทั้งมวล 112 เรื่องเล่ากับ 100 คำคมภายในเล่ม
ก็ไม่ได้ทำให้ใครบรรลุธรรม หรือ เข้าใกล้ธรรมะอย่างที่ใครคาดหวัง
ผมอ่านเรื่องราวภายในเล่มด้วยความเข้าใจและไม่เข้าใจ
เพราะบางบทก็อ่านจบลงไปด้วยความงุนงง
แต่ในความงุนงงนั้นเอง ที่ผมคิดว่ามันก็เป็นที่ซุกซ่อนตัวของ “ความเข้าใจ”
โดยก่อนที่จะ “เข้าใจ” ผมอาจจะต้องอ่านตัวอักษรเหล่านั้นให้ “รู้สึก” เสียก่อน
เพราะบางที.. “ความรู้สึก” ก็ต้องมาก่อน “ความเข้าใจ”
“ความเข้าใจ” อาจต้องมาก่อน “เหตุผล”
เพื่อค้นพบคำตอบที่มีเหตุผลภายใต้ความรู้สึกและความเข้าใจ




















 




 

Create Date : 03 มีนาคม 2566
18 comments
Last Update : 3 มีนาคม 2566 4:03:39 น.
Counter : 777 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณtanjira, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณkae+aoe, คุณเริงฤดีนะ, คุณตะลีกีปัส, คุณปัญญา Dh, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณtuk-tuk@korat, คุณThe Kop Civil, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณnonnoiGiwGiw, คุณอุ้มสี, คุณหอมกร, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณทนายอ้วน, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณtoor36, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณSweet_pills, คุณnewyorknurse

 

สวัสดียามเช้าค่ะก๋า

หนังสือบางเล่มเราก็อ่านรู้เรื่องบ้างไม่รู้บ้างจริงๆค่ะ
แต่ที่ก๋าหยิบยกมานำเสนอคือพยายามอ่านและทำความเข้าใจ
ทำให้ได้เรียนรู้และเข้าใจได้ง่ายขึ้นนะคะ

ประเด็นหลัก นั่นคือความจริงค่ะ
จะเดินขึ้นหรือลง ไม่สำคัญเท่ากับสิ่งที่เราต้องแบกรับอยู่
คล้ายๆกับ จุดหมายไม่สำคัญเท่ากับระหว่างทางที่เราเดินนะคะ

วันนี้พี่มาก่อนคุณหอมกร

อากาศบ้านพี่ยังเย็นๆอยู่ค่ะช่วงเช้า
แต่พอสายแดดแรงมากค่ะ แต่ฝุ่นยังน้อยกว่าเชียงใหม่ลำปางนะคะ

ก๋า มาดาม หมิงหมิง มีความสุขมากๆ รักษาสุขภาพนะคะ

 

โดย: tanjira 3 มีนาคม 2566 7:02:16 น.  

 

เล่มนี้ถ้าอ่านเหมือนอ่านหนังสือที่ยอกย้อน ต่อปากต่อคำ ขอเหตุผล และรอฟังเหตุผลจ้า

 

โดย: โอน่าจอมซ่าส์ 3 มีนาคม 2566 8:09:46 น.  

 

สวัสดียามสายค่ะ พี่ก๋า

วันนี้แดดดีเลยค่ะ แต่ลมมีความเย็นๆ
น่าจะระลอกสุดท้ายแล้ว เตรียมรับสภาพหน้าร้อนอย่างจริงจัง

ที่ร้านพี่ก๋า มีทัวร์เข้าทุกวันไหมคะ
อย่างวันธรรมดา ปกติทัวร์เยอะไหมคะพี่
ส่วนมากจะเป็นต่างชาติหรือคนไทยคะ
วันนี้ขอให้ยอดขาย ปังๆๆ นะค้าาาาา

 

โดย: โฮมสเตย์ริมน้ำ 3 มีนาคม 2566 9:20:30 น.  

 

สวัสดีมีสุขค่ะ

ความลึกซึ้งของธรรมะ
บางทีก็ยากจะเข้าใจ
อยู่ที่ บัดดลก็ปิ๊งแว๊บได้เอง เมื่อถึงคราของมันนะคะ

 

โดย: ตะลีกีปัส 3 มีนาคม 2566 10:39:00 น.  

 

สวัสดีครับคุณก๋า

 

โดย: ปัญญา Dh 3 มีนาคม 2566 10:43:26 น.  

 

สวัสดีเจ้า
ยินดีกับฮ้านใหม่โตยเจ้า

 

โดย: tuk-tuk@korat 3 มีนาคม 2566 10:59:58 น.  

 

จริงๆ แล้วในทางศาสนาแก่นของมันจริงๆ นั้นใกล้เคียงกัน แต่ก็ไม่รู้เพราะอะไรหลายๆ ครั้งความคิดที่ไม่ตรงกันของศาสนาก็ยังผลให้เกิดสงครามได้เหมือนกัน

 

โดย: โลกคู่ขนาน (สมาชิกหมายเลข 7115969 ) 3 มีนาคม 2566 11:09:48 น.  

 

บางทีก็อ่านไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกันครับ

 

โดย: The Kop Civil 3 มีนาคม 2566 11:49:45 น.  

 

สวัสดี จ้ะ น้องก๋า

หนังสือที่แนะนำวันนี้ และตัวอย่างคำสอนที่่ยกมาประกอบ อ่าน
แล้วเข้าใจยาก จ้ะ ครูคงยังไม่เข้าใจ วิถีแห่งซูฟี เพิ่งได้ยินชื่อนี้ จ้ะ
ก๋า นี่เก่งเนาะ อ่านหนังสือแปลเรื่องนี้ได้ ครูอ่านคำวิเคราะห์ แนะนำ
หนังสือเล่มนี้แล้ว คิดว่า ยากกว่าเล่มอื่น ๆ ที่เคยอ่านมา จ้ะ เลยไม่
ขอเขียนวิเคราะห์เพิ่มนะ อิอิ

โหวดหมวด แนะนำหนังสือ

 

โดย: อาจารย์สุวิมล 3 มีนาคม 2566 12:19:14 น.  

 

สาธุค่ะพี่ก๋า
ขอให้เป็นอย่างที่พี่ก๋าหวังไว้เลยค่ะ

 

โดย: โฮมสเตย์ริมน้ำ 3 มีนาคม 2566 14:30:48 น.  

 

ชอบจังเล่มนี้จ้า

 

โดย: อุ้มสี 3 มีนาคม 2566 16:48:08 น.  

 

น่าสนใจดีคุณก๋า ดุมีปรัชญากว่าตาลุง
ที่ชอบแต่งเพลงแล้วก็คิดว่าตัวเองเก่งเนอะ


 

โดย: หอมกร 3 มีนาคม 2566 17:39:27 น.  

 

สวัสดีครับคุณก๋า
.
เรื่องอูฐ ทำให้นึกถึงว่า
ทุกคนอาจคิดแทนคนอื่นได้
แต่ไม่มีใครรู้ดีไปกว่าตัวของคนผู้นั้นเอง นะครับ

 

โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา 3 มีนาคม 2566 18:29:15 น.  

 

นิกายนี้เพิ่งเคยได้ยินว่า มีอยู่..... คงจะยากที่จะเข้าใจครับ

 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ 3 มีนาคม 2566 18:29:40 น.  

 

เอาเข้าจริงพวกศาสนามันมีนิกายแตกแยกย่อยกว่าที่เราเห็นมาก ผมเคยดูแผนภูมิแยกย่อยของศาสนาพุทธแยกกันเป็นร้อยสายเลย

การได้ศึกษาคำสอน แนวคิด แล้วนับมาเปรียบเทียบกันเพื่อปรับใช้ นับเป็นเรื่องดีครับ

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 3 มีนาคม 2566 20:54:27 น.  

 

หนังสือน่าสนใจครับ
วิถีแห่งซูฟี อิสลามไม่เคยอ่านเลยครับ ชอบอ่านเซนมากกว่า
ทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดี
แต่คนที่นำมาสอนต่อๆกันมา สอนดี สอนผิด ดีก็ดีไป แต่สอนผิดดีกลายเป็นไม่ดี


 

โดย: สองแผ่นดิน 3 มีนาคม 2566 23:45:11 น.  

 

"สิ่งขัดขวางที่แท้คือตัวมันเอง"
คล้ายเป็นเสี้ยวนาทีที่ประตูแห่งความเข้าใจถูกปลดล็อคนะคะ

เป็นหนังสืออีกเล่มที่น่าสนใจมากค่ะ

อยู่ให้เงียบ ตายให้ง่าย
ขอบคุณวลีนี้ด้วยนะคะ

คุณก๋าฝันดีค่ะ

 

โดย: Sweet_pills 4 มีนาคม 2566 0:56:39 น.  

 


สวัสดีคะน้องก๋า

มาอ่านข้อคิดดีๆค่ะ

 

โดย: newyorknurse 4 มีนาคม 2566 2:26:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


กะว่าก๋า
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 392 คน [?]




มองฉันอีกครั้ง
เธออาจเห็นฉัน
หรืออาจไม่เห็นฉัน

ฉันแค่แวะผ่านทางมา
และอาจไม่หวนกลับมาทางนี้อีกแล้ว

เราเคยรู้จักกัน
และมันจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป

มองดูฉันอีกครั้ง
เธออาจเห็นฉัน
และฉันอาจมองไม่เห็นเธอ.





[Add กะว่าก๋า's blog to your web]