Me, Myself and Formula 1
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2559
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
5 มีนาคม 2559
 
All Blogs
 
Review: 2016 F1 Testing: Barcelona#2 และการควอลิฟายรูปแบบใหม่

จบลงไปแล้วนะคะสำหรับการทดสอบรถฟอร์มูล่าวันก่อนเปิดฤดูกาล 2016 ทั้งสองช่วง โดยการทดสอบช่วงที่ 2 มีขึ้นระหว่างวันที่ 1-4 มีนาคม ณ สนามบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน ผลการทดสอบเป็นอย่างไรบ้าง เราไปดูกันค่ะ

วันที่ 1: อังคารที่ 1 มีนาคม





วันที่ 2: พุธที่ 2 มีนาคม





วันที่ 3: พฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม





วันที่ 4: ศุกร์ที่ 4 มีนาคม





เมอร์เซเดสยังคงให้นักขับทั้งสองคนของทีมลงสนามตลอด 4 วันสลับเช้า-บ่ายเพื่อความต่อเนื่อง และทีมแชมป์โลกทีมปัจจุบันก็ยังคงโชว์ความเสถียรของรถเครื่องยนต์และเครื่องยนต์ต่อไป แม้ว่าการทดสอบวันสุดท้าย ลูอิส แฮมิตัน จะพบปัญหาเล็กน้อยจากระบบเกียร์ก็ตาม

ด้านเฟอร์รารี่ คู่แข่งสำคัญของเมอร์เซเดสที่ปีนี้พวกเขาตั้งใจจะเข้าใกล้ทีมจากเยอรมันมากยิ่งขึ้น สามารถทำเวลาเร็วที่สุดได้ 5 วันจากการทดสอบทั้งสิ้น 8 วัน แต่สิ่งที่เรียกเสียงฮือฮามากที่สุดคือการที่เฟอร์รารี่นำอุปกรณ์ "ฮาโล" (Halo) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันบริเวณศีรษะเหนือที่นั่งนักขับมาทดลองลงสนามเป็นทีมแรก โดยมีการทดลองใช้ทั้งคิมี่ ไรค์โคเน่น และเซบาสเตียน เวทเทล ในการทดสอบ 2 วันสุดท้าย และทดสอบเฉพาะในรอบทดลองรถรอบแรกหรือ installation lap เป็นการเตรียมพร้อมจากนโยบายที่เอฟไอเอพยายามปรับปรุงความปลอดภัยบริเวณศีรษะนักขับอันเป็นผลสืบเนื่องจากอุบัติเหตุของฌูลส์ เบียงคี่ ที่สนามซูซูกะ ปี 2014 โดยการทดลองนี้ก่อให้เกิดความคิดเห็นอย่างหลากหลายในแพดด็อก



คิมี่ ไรค์โคเน่น ทดลองอุปกรณ์ "ฮาโล" ในวันที่ 3 ของการทดสอบครั้งที่ 2


สำหรับการทดสอบครั้งที่ 2 นี้ เซาเบอร์เพิ่งได้โอกาสส่งรถคันใหม่ลงสนาม หลังจากใช้รถของปี 2015 ทดสอบในครั้งแรก ซึ่งพวกเขามีปัญหากับเครื่องยนต์เฟอร์รารี่เล็กน้อยเช่นเดียวกับทีมแม่ที่ต้องถึงกับส่งตัวเก่าที่ใช้ทดสอบเมื่อสัปดาห์ก่อนกลับไปวิเคราะห์ที่โรงงานในมาราเนลโล่ แต่เฟอร์รารี่ยืนยันว่าโดยรวมไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไร ส่วนฮาส ทีมน้องใหม่ของปีนี้จากอเมริกาประสบปัญหามากมายในการทดสอบครั้งสุดท้าย เอสเตบัน กูเตียร์เรซ แทบไม่ได้ลงวิ่งจากปัญหาระบบเชื้อเพลิงในวันแรกและเทอร์โบในวันที่ 2 ทำให้ในการทดสอบวันสุดท้าย ฮาสปรับแผนโดยให้กูเตียร์เรซมาแบ่งเวลาจากโรแมง โกรส์ฌอง 1 ชั่วโมงสุดท้าย ขณะที่โกรส์ฌองมีปัญหากับเบรกในวันพฤหัสบดีจนทำให้รถหมุนลงบ่อกรวด จีน ฮาส เจ้าของทีมยอมรับว่าพวกเขาประเมินความซับซ้อนด้านเทคนิคของฟอร์มูล่าวันต่ำเกินไป แต่ประสบการณ์จากการทำทีมในแนสคาร์จนเป็นแชมป์คงจะช่วยให้พวกเขารับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี


จากการทดสอบรวมทั้งครั้งที่ 1 (22-25 ก.พ.) และครั้งที่ 2 (1-4 มี.ค.) มีสถิติที่น่าสนใจดังนี้ค่ะ

อันดับเวลาต่อรอบเร็วที่สุดจากการทดสอบทั้ง 8 วัน






จำนวนรอบและระยะทางรวมที่แต่ละทีมทำได้จากการทดสอบทั้ง 8 วัน





จำนวนรอบและระยะทางรวมแยกตามผู้ผลิตเครื่องยนต์จากการทดสอบทั้ง 8 วัน





เวลาต่อรอบเร็วที่สุดของยางชนิดต่างๆ จากการทดสอบทั้ง 8 วัน





จำนวนรอบที่ยางแต่ละชนิดใช้ได้มากที่สุดจากการทดสอบทั้ง 8 วัน






******************************************************


หลังจากถกเถียงกันมาหลายวันจากการที่ฟอร์มูล่าวันเตรียมนำการควอลิฟายรูปแบบใหม่มาใช้ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่นักขับหลายคนเนื่องจากรูปแบบใหม่นี้มีความซับซ้อนเกินไปทั้งแก่นักขับเองและผู้ชม จนได้มีการประชุมระหว่างกรรมการเอฟไอเอและกลุ่มตัวแทนนักขับเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ภายหลังการประชุมของสภากีฬายานยนต์โลก เอฟไอเอก็ได้ออกประกาศอย่างเป็นทางการในการอนุมัติให้ฟอร์มูล่าวันนำการควอลิฟายรูปแบบใหม่มาใช้นับตั้งแต่สนามแรกของฤดูกาล 2016 ที่ออสเตรเลียเป็นต้นไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

Q1
- มีเวลา 16 นาที
- หลังจากผ่านไป 7 นาที นักขับที่ช้าที่สุดจะถูกคัดออก
- ต่อมานักขับที่ช้าที่สุดทุกๆ 1 นาที 30 วินาทีจะถูกคัดออกจนกระทั่งธงตาหมากรุกโบก
- เท่ากับว่านักขับ 7 คนถูกคัดออก เหลือนักขับ 15 คนผ่านเข้า Q2

Q2
- มีเวลา 15 นาที
- หลังจากผ่านไป 6 นาที นักขับที่ช้าที่สุดจะถูกคัดออก
- ต่อมานักขับที่ช้าที่สุดทุกๆ 1 นาที 30 วินาทีจะถูกคัดออกจนกระทั่งธงตาหมากรุกโบก
- เท่ากับว่านักขับ 7 คนถูกคัดออก เหลือนักขับ 8 คนผ่านเข้า Q3

Q3
- มีเวลา 14 นาที
- หลังจากผ่านไป 5 นาที นักขับที่ช้าที่สุดจะถูกคัดออก
- ต่อมานักขับที่ช้าที่สุดทุกๆ 1 นาที 30 วินาทีจะถูกคัดออกจนกระทั่งธงตาหมากรุกโบก
- จนกระทั่งเหลือนักขับ 2 คนแข่งกันเพื่อตำแหน่งโพลใน 1 นาที 30 วินาทีสุดท้าย

หมายเหตุ การคัดออกขั้นสุดท้ายในแต่ละช่วงให้นับตามธงตาหมากรุกโบก ไม่ใช่เมื่อหมดเวลา

นอกจากประกาศยืนยันการใช้ควอลิฟายรูปแบบใหม่แล้ว เอฟไอเอยังกล่าวถึงกฎการแข่งขันและกฎด้านเทคนิคสำหรับฤดูกาล 2017 ซึ่งสภากีฬายานยนต์โลกเห็นควรตามที่คณะกรรมการฟอร์มูล่าวันเสนอให้ยืดระยะเส้นตายสำหรับการจัดทำกฎการแข่งขันและกฎด้านเทคนิคของฤดูกาลดังกล่าวให้แล้วเสร็จจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2016 ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายมีโอกาสที่ดีที่สุดในการทำงานกับส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในเรื่องของกฎการใช้หน่วยเครื่องยนต์ที่จะต้องเน้นใน 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ ราคาของการซื้อเครื่องยนต์สำหรับทีมลูกค้า การจัดหาเครื่องยนต์ให้กับทีมลูกค้า สมรรถนะของเครื่อง และการปรับปรุงเสียงของเครื่องยนต์

ทั้งนี้ สภากีฬายานยนต์โลกรับรองการปรับปรุงโครงสร้างของตัวถังสำหรับปี 2017 ที่เสนอโดยคณะกรรมการฟอร์มูล่าวัน และเน้นย้ำถึงรายงานการศึกษาก่อนหน้านี้ที่บ่งชี้ว่าการปรับปรุงรถครั้งนี้จะทำให้เวลาต่อรอบลดลง 4-5 วินาทีในเกือบทุกสนามที่ทำการแข่งขัน

สำหรับการปรับปรุงตัวถังของรถฟอร์มูล่าวันปี 2017 เปรียบเทียบกับของเดิมปี 2016 มีรายละเอียดดังตารางด้านล่างนี้













*ข้อมูลจาก motorsport.com / fia.com
ภาพจาก twitter.com/F1 / formula1.com / autosport.com / motorsport.com



Create Date : 05 มีนาคม 2559
Last Update : 5 มีนาคม 2559 23:40:32 น. 0 comments
Counter : 1832 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

finishline
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 110 คน [?]




ในประเทศไทยหาข่าวฟอร์มูล่าวันอ่านได้ยากเหลือเกิ๊นนนน...เขียนเองเลยดีกว่า!

**เจ้าของบล็อกเขียนข่าวขึ้นจากการรวบรวมข้อมูลข่าวและแปลจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือของต่างประเทศเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ที่ชื่นชอบกีฬาชนิดนี้ ท่านใดที่นำข้อความในบล็อกไปเผยแพร่ต่อ ขอความกรุณาให้เครดิตบล็อกด้วยนะคะ**
Friends' blogs
[Add finishline's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.