Me, Myself and Formula 1
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2558
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
23 กรกฏาคม 2558
 
All Blogs
 
Hungarian Grand Prix 2015

ถึงแม้บรรยากาศแสนเศร้าจากการสูญเสียฌูลส์ เบียงคี่ ยังไม่จางหาย แต่นักขับทุกคนพร้อมใจขับสุดฝีมือเพื่ออุทิศให้กับเพื่อนร่วมกริดผู้เป็นที่รักของพวกเขา





รายละเอียดการแข่งขัน (ตามเวลาประเทศไทย)
สนามที่ 10: 24-26 ก.ค. 58
ซ้อม 1 - ศุกร์ที่ 24 ก.ค. เวลา 15.00-16.30 น.
ซ้อม 2 - ศุกร์ที่ 24 ก.ค. เวลา 19.00-20.30 น.
ซ้อม 3 - เสาร์ที่ 25 ก.ค. เวลา 16.00-17.00 น.
รอบควอลิฟาย - เสาร์ที่ 25 ก.ค. เวลา 19.00-20.00 น.
แข่งขัน - อาทิตย์ที่ 26 ก.ค. เวลา 19.00 น.
*ติดตามชมรอบฝึกซ้อมและควอลิฟายได้ทางช่องฟ็อกซ์สปอร์ตส์ 3 และชมการแข่งขันได้ทางช่องฟ็อกซ์สปอร์ตส์ เอชดี หรือเว็บไซต์ที่ขึ้นไว้ด้านขวานี้

ข้อมูลสนาม
ชื่อสนาม: ฮังกาโรริง (สนามถาวร)
ทิศทางการวิ่ง: ตามเข็มนาฬิกา
จำนวนรอบแข่งขัน: 70 รอบ
จำนวนโค้ง: 14 โค้ง
ปีที่สนามเปิดใช้: ค.ศ. 1986
ปีที่เริ่มจัดการแข่งขันกรังด์ปรีซ์: ค.ศ. 1986
ความยาวของสนาม: 4.381 กม.
ระยะทางของการแข่งขันทั้งหมด: 306.630 กม.
สถิติสนามต่อ 1 รอบ: 1:19.071 (มิชาเอล ชูมัคเกอร์ / เฟอร์รารี่ - 2004)

ข้อมูลทางเทคนิค
ความเร็วสูงสุด: 330 กม./ชม.
อัตราการใช้คันเร่งเต็มที่ต่อรอบ: 56%
อัตราการใช้เชื้อเพลิงต่อรอบ: 1.43 กก.
อัตราการเปลี่ยนเกียร์ต่อรอบ: 78 ครั้ง
ดาวน์ฟอร์ซ: สูงมาก
อัตราการใช้ยาง: ปานกลางถึงสูง
การเลือกยางของปิเรลลี่: ซอฟต์ (สีเหลือง) / มีเดียม (สีขาว)
อัตราการใช้เบรก: สูง
แรง G ในโค้งสูงสุด: 3.4 (โค้ง 3)
DRS Zone:
1) ทางตรงหน้าพิต ระหว่างโค้ง 14 ถึงโค้ง 1
2) ระหว่างโค้ง 1 ถึงโค้ง 2
โดยมีจุดตรวจจับเวลาร่วมกันที่ระยะ 5 เมตรก่อนโค้ง 14
จำกัดความเร็วในพิตเลน: 80 กม./ชม. ระหว่างช่วงฝึกซ้อม รอบควอลิฟาย และการแข่งขัน

พยากรณ์อากาศสุดสัปดาห์ของการแข่งขัน
วันศุกร์ - มีเมฆเป็นบางส่วน อุณหภูมิสูงสุด 36 องศาเซลเซียส / ต่ำสุด 24 องศาเซลเซียส
วันเสาร์ - ท้องฟ้าสดใส อุณหภูมิสูงสุด 37 องศาเซลเซียส / ต่ำสุด 22 องศาเซลเซียส
วันอาทิตย์ - มีเมฆเป็นบางส่วน อุณหภูมิสูงสุด 29 องศาเซลเซียส / ต่ำสุด 18 องศาเซลเซียส

ผู้ได้ตำแหน่งโพลในฮังกาเรียน กรังด์ปรีซ์ 3 ปีหลังสุด
2014 - นิโค รอสเบิร์ก (เมอร์เซเดส) 1:22.715
2013 - ลูอิส แฮมิลตัน (เมอร์เซเดส) 1:19.388
2012 - ลูอิส แฮมิลตัน (แม็คลาเรน) 1:20.953

ผู้ชนะฮังกาเรียน กรังด์ปรีซ์ 3 ปีหลังสุด
2014 - แดเนียล ริกเคียร์โด้ (เร้ดบูล)
2013 - ลูอิส แฮมิลตัน (เมอร์เซเดส)
2012 - ลูอิส แฮมิลตัน (แม็คลาเรน)

เวลาต่อรอบเร็วที่สุดในฮังกาเรียน กรังด์ปรีซ์ 3 ปีหลังสุด
2014 - นิโค รอสเบิร์ก (เมอร์เซเดส) 1:25.724 รอบที่ 64
2013 - มาร์ก เว็บเบอร์ (เร้ดบูล) 1:24.069 รอบที่ 61
2012 - เซบาสเตียน เวทเทล (เร้ดบูล) 1:24.136 รอบที่ 68


มีอะไรน่าติดตามในสนามนี้

- การต่อสู้ระหว่างสองนักขับเมอร์เซเดสดำเนินต่อไป ฮังกาโรริงเป็นหนึ่งในสนามเก่งของลูอิส แฮมิลตัน เขาได้มาแล้ว 4 โพลและ 4 ชัยชนะจากการลงแข่ง 8 ครั้งในสนามแห่งนี้ ผลการแข่งขันแต่ละสัปดาห์เรามักเดาที่ 1-2 ของเมอร์เซเดสไว้ก่อน แต่แท้จริงแล้วจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่ แล้วถ้าใช่ ผู้ชนะจะเป็นแฮมิลตันหรือนิโค รอสเบิร์ก ผู้ท้าชิงอันดับหนึ่งของเขา

- วิลเลียมส์กับเฟอร์รารี่มาสู้กันต่อเพื่อแย่งอันดับทีมที่ดีที่สุดต่อจากเมอร์เซเดส ทั้งคู่ผลัดกันรุกผลัดกันรับ เฟอร์รารี่รถดีในแคนาดาและออสเตรียแต่วิลเลียมส์เป็นผู้ที่ได้โพเดียมไป ในขณะที่วิลเลียมส์ดีในซิลเวอร์สโตน แต่โพเดียมก็หลุดมือไปให้เฟอร์รารี่เมื่อเจอฝน สำหรับสนามฮังกาโรริงที่ได้ชื่อว่า "เป็นโมนาโกภาคไม่มีกำแพง" SF15-T อาจไม่ได้แสดงจุดแข็งชัดเจน แต่วิลเลียมส์เตรียมรับความลำบากมากกว่า และน่าจะเป็นโอกาสอันดีที่เฟอร์รารี่จะฉกฉวยความได้เปรียบอีกครั้งก่อนพักครึ่งทาง

- โตโร รอสโซ เป็นทีมหนึ่งที่รถของพวกเขาเหมาะกับสนามที่มีโค้งความเร็วปานกลางค่อนไปทางสูงอย่างเซกเตอร์ที่ 2 ของสนามฮังกาโรริง ทั้งแม็กซ์ เวอร์สตัปเพ่น และคาร์ลอส ซายนซ์ จูเนียร์ ต่างเคยลงแข่งขันที่นี่มาแล้วในซีรีส์เล็กแม้ผลงานจะไม่เป็นไปตามที่หวัง ในสุดสัปดาห์นี้ทีมหวังว่าจะมีผลการแข่งขันดีกว่าที่ผ่านมา ซึ่งวันศุกร์และเสาร์มักทำได้ดีกว่าวันแข่งเสมอ

- สิ่งที่น่าสนใจและประเด็นร้อนที่สุดตอนนี้หนีไม่พ้นตลาดนักขับปี 2016 หรือที่เรียกช่วงแบบนี้ของฤดูกาลว่า "silly season" ข่าวมาแรงที่สุดเป็นข่าวที่สื่ออิตาเลียนรายงานว่าเฟอร์รารี่และวิลเลียมส์ตกลงกันแล้วในการย้ายมาของวาลท์เทรี่ บอตทาส แม้เฟอร์รารี่ได้ออกมาปฏิเสธข่าวในทันทีแล้วก็ตาม ความสงสัยที่ว่าคิมี่ ไรค์โคเน่น จะรักษาที่นั่งไว้ได้หรือไม่ยังเป็นสิ่งที่ทุกคนรอคำตอบ และเมื่อใดที่สถานะนักขับอีกคนของเฟอร์รารี่กระจ่างก็จะส่งผลให้ที่นั่งของทีมอื่นๆ ชัดเจนตามไปด้วย


************************************************


แม้ผลการสอบสวนของเอฟไอเอในกรณีอุบัติเหตุของฌูลส์ เบียงคี่ ที่สนามซูซูกะ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2014 จะออกมาแล้วตั้งแต่ปลายปีก่อน ซึ่งสรุปได้ว่าเบียงคี่ลดความเร็วในช่วงธงเหลืองไม่เพียงพอ เป็นเหตุให้เขาหลุดโค้งไปชนกับรถยกขนาด 6,500 กก. ที่กำลังย้ายรถคันอื่นอยู่ข้างแทร็คด้วยความเร็ว 126 กม./ชม. อย่างไรก็ตาม ล่าสุดหนังสือเอาโต้ มอเตอร์ อุนด์ สปอร์ต ของเยอรมัน ได้ตีพิมพ์รายงานพิเศษที่ทำให้เราได้รับรู้ข้อมูลเพิ่มเติมจากอุบัติเหตุครั้งนี้ที่ต้องทำให้เบียงคี่จากไปอย่างไม่มีวันกลับ โดยสรุปได้ดังนี้ค่ะ

- เบียงคี่สูญเสียการควบคุมรถที่ความเร็ว 213 กม./ชม. และชนเข้ากับรถยกที่ความเร็ว 126 กม./ชม. หลังจากนั้น 2.61 วินาที

- รถของเบียงคี่พุ่งเข้าใต้ส่วนท้ายของรถยกทำมุม 55 องศา

- แรงชนของรถอยู่ที่ 58.8G ซึ่งถือเป็นระดับปกติเมื่อรถเกิดการชนวัตถุแข็งอย่างเช่นแบริเออร์กันชน แต่อุบัติเหตุครั้งนี้รุนแรงกว่าปกติเพราะรถของเบียงคี่มุดเข้าใต้ท้ายรถยก ทำให้เจอแรงกดลงมา

- ข้อมูลเบื้องต้นที่ได้จากเอียร์ปลั๊ก (ที่อุดหู) ของเบียงคี่ ระบุว่าเมื่อเกิดเหตุขึ้น เขาได้รับแรง 92G แต่จากการสันนิษฐานคาดว่าแท้จริงแล้วแรงอาจมากกว่านั้น





ทั้งนี้ แอนดี้ เมลเลอร์ รองประธานคณะกรรมการความปลอดภัยของเอฟไอเอ อธิบายว่าปัญหาอยู่ที่บางส่วนของรถมารุสเซียมุดเข้าไปต่ำกว่าแกนกลางของรถยก ทำให้รถมารุสเซียถูกกดจากส่วนท้ายของรถยกนั่นเอง ซึ่งจากตรงนั้นเหมือนเป็นเบรก ทำให้รถถูกลดความเร็วลงอย่างฉับพลัน และในกระบวนการนี้ก็เกิดการกระแทกระหว่างหมวกกันน็อกและรถยก โดยเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อน

ขณะที่ปีเตอร์ ไรท์ ประธานคณะกรรมการความปลอดภัยของเอฟไอเอ กล่าวว่าในบางครั้งมักต้องเกิดเหตุการณ์ใดขึ้นก่อน เราจึงจะได้เรียนรู้ อย่างกรณีนี้พวกเขาก็ไม่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้น นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาอุบัติเหตุครั้งนี้ไปจนถึงรายละเอียดปลีกย่อยที่สุด พวกเขาไม่เคยใช้เวลาและความพยายามในการวิเคราะห์กรณีใดมากเท่านี้มาก่อน

หลังจากอุบัติเหตุของเบียงคี่ เอฟไอเอเร่งแก้ไขใน 2 เรื่องที่สำคัญทันที ได้แก่ ปรับปรุงการป้องกันศีรษะนักขับในที่นั่งนักขับ และใช้ระบบจำลองเซฟตี้คาร์ (Virtual Safety Car หรือ VSC) ซึ่งเป็นระบบที่บอกให้นักขับชะลอรถในสถานการณ์อย่างเช่นกรณีที่มีรถยกทำงานอยู่ข้างแทร็ค (เตือนให้รู้ว่ามีรถคันอื่นหรือเจ้าหน้าที่อยู่ในภาวะที่อาจเป็นอันตราย แต่ไม่ร้ายแรงถึงขั้นต้องใช้เซฟตี้คาร์)











*ข้อมูลจาก formula1.com / gpupdate.net / wikipedia.org / motorsport.com
ภาพจาก formula1.com / motorsport.com



Create Date : 23 กรกฎาคม 2558
Last Update : 24 กรกฎาคม 2558 0:10:20 น. 4 comments
Counter : 1568 Pageviews.

 
พบกับรายงานผลทุกช่วงและข่าวฟอร์มูล่าวันที่น่าสนใจได้ในเพจ //www.facebook.com/f1starfanclub นะคะ


โดย: finishline วันที่: 24 กรกฎาคม 2558 เวลา:0:14:17 น.  

 
สนามนี้ fox ใจดี ทั้ง ซ้อม, ควอลิฟาย, แข่งจริง สดผ่าน fox sport plus HD ทั้งหมดครับ


โดย: nin IP: 192.99.14.36 วันที่: 24 กรกฎาคม 2558 เวลา:12:58:26 น.  

 
^
^
โหววว ดีจัง ขอบคุณมากนะคะ


โดย: finishline วันที่: 24 กรกฎาคม 2558 เวลา:16:30:32 น.  

 
ok


โดย: ka IP: 183.89.173.108 วันที่: 24 กรกฎาคม 2558 เวลา:20:11:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

finishline
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 110 คน [?]




ในประเทศไทยหาข่าวฟอร์มูล่าวันอ่านได้ยากเหลือเกิ๊นนนน...เขียนเองเลยดีกว่า!

**เจ้าของบล็อกเขียนข่าวขึ้นจากการรวบรวมข้อมูลข่าวและแปลจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือของต่างประเทศเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ที่ชื่นชอบกีฬาชนิดนี้ ท่านใดที่นำข้อความในบล็อกไปเผยแพร่ต่อ ขอความกรุณาให้เครดิตบล็อกด้วยนะคะ**
Friends' blogs
[Add finishline's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.