ชื่อวิทยาศาสตร์ Kopsia arborea Blume
ชื่อท้องถิ่น เข็มป่า พุดดง มะดีควาย หนำเลียบเทียม ปิ่นมาลา
วงศ์ Apocynaceae
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 14 ม. ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปรี ขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 4.5-30 ซม.
ปลายใบเแหลมยาวหรือยาวคล้ายหาง โคนใบรูปลิ่มหรือแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบ
9-18 คู่ นูนทั้ง 2 ด้าน เรียงจรดกันชัดเจน ก้านใบยาว 0.3-1 ซม. ดอกออกเป็นช่อกระจุกซ้อน (dichasial)
ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ยาว 4-15 ซม. เกลี้ยงหรือขนละเอียด ก้านดอกยาวได้ประมาณ 0.5 ซม. ใบประดับ
ติดทน กลีบเลี้ยงรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ปลายมนหรือแหลม ยาว 0.2-0.6 ซม.
กลีบดอกสีขาว หลอดกลีบยาว 2-3.5 ซม. ด้านในมีขนประปรายโดยเฉพาะรอบ ๆ เกสรเพศผู้ ปลายแยกเป็น
5 กลีบ กลีบรูปรี รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 0.7-2 ซม. เกสรเพศผู้ติดเลยกึ่งกลางหลอดดอก ไม่ยื่นพ้นปาก
หลอดกลีบ ก้านเกสรเพศผู้ยาวประมาณ 0.1 ซม. อับเรณูรูปไข่ ยาว 1.2-1.7 มม. จานรองดอกมี 2 พู ยาวได้ประมาณ
0.2 ซม. รังไข่มี 2 คาร์เพล แยกกัน ยาวประมาณ 0.1 ซม. มีขนด้านบน ก้านเกสรเพศเมียเรียว ยาว 2-2.5 ซม.
รวมปลายยอดเกสรเพศเมีย ผลออกเป็นคู่ แต่มักเจริญเพียงผลเดียว รูปรีเบี้ยวๆ เกลี้ยง ยาว 1.5-4 ซม. สุกสีดำอมน้ำเงิน
พุดดง มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบตั้งแต่พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์
จนถึงเกาะสุลาวาสี และทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ในไทยพบกระจายห่าง ๆ ทางภาคเหนือ
ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขึ้นตามสันเขาในป่าดิบเขาที่เป็นหินปูน และป่าดิบชื้น ระดับความสูง
จนถึงประมาณ 1300 เมตร (ดอยตุง จังหวัดเชียงราย)
หมายเหตุ ผลสุกสีดำ ทำให้มักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นต้นสมอจีนหรือหนำเลี๊ยบ
Canarium album (Lour.) Raeusch.-Burseraceae
หนำเลี้ยบของแท้ เป็นพืชตระกูลมะกอก (Olive) อยู่ในวงศ์ Burseraceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ Canarium pimela
ชื่อสามัญ Chinese Black Olive
ชื่อจีน Wu Lan (Wu ภาษาจีนแปลว่าดำ Lan น่าจะแปลว่า มะกอก)
ญาติที่ใกล้ชิดกับหนำเลี๊ยบมากที่สุดเห็นจะเป็น สมอจีน ลูกสมอจีนดองแบบที่เรากินนั่นแหละ
ชื่อวิทยาศาสตร์ของสมอจีนคือ Canarium album
ชื่อสามัญ Chinese White Olive
ชื่อจีน Gan Lan
ในประเทศไทยเท่าที่รู้มีการปลูกสมอจีนอยู่บ้างเหมือนกันทั้งทางภาคเหนือและภาคตะวันออก