เกาลัด (Chestnut Tree) มิใช่ เกาหลัง

 ขอบคุณ ภาพรวบรวมจากอินเตอร์เน็ต
เกาลัดจีน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Castanea Mollissima ชื่อสามัญ : Chestnut Tree วงศ์ : Fagaceae สกุล : Castanea สปีชีส์ : C. mollissima
เกาลัด หรือ เชสท์นัท (chestnut) เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่ขึ้นอยู่ในแทบจะทุกแถบถิ่นของโลกที่มีอากาศเย็น เป็นพืชท้องถิ่นทั้งในอเมริกา ยุโรป จีน ญี่ปุ่น แต่จัดเป็นพันธุ์ไม้หายากในบ้านเรา การปลูกเกาลัดจึงยังไม่ แพร่หลาย คนไทยเรียกชื่อตามภาษาถิ่นว่า 'ลูกก่อ'
 https://www.aphotoflora.com/af_castanea_sativa_sweet_chestnut.html ดอกเกาลัดจีน ดอกเล็กสีน้ำตาลอ่อนเกือบขาวเป็นช่อยาว ดอกสวยมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
เกาลัด เป็นไม้ยืนต้นที่อยู่ในสกุล Castanea ที่พบได้ในเขตภูมิอากาศเย็น นิยมเพาะปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ เพื่อจำหน่ายเมล็ดในการบริโภค เป็นพืชคนละวงศ์กับ เกาลัดไทย (Sterculia monosperma)
 https://bioweb.uwlax.edu/bio203/s2009/dorman ผลเกาลัดจีนมีเปลือกหุ้มเมล็ดขนยาวคล้ายเงาะ
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดประมาณ 5-15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปรีแกมรูปขอบขนาน ขอบใบจักแหลม โคนเกือบมน สีเขียวสด เวลาใบแก่หรือแห้ง จะเป็นสีทองสวยงามน่าชมยิ่ง
 https://www.honeytraveler.com/single-flower-honey/chestnut-honey/ เกาลัดจีน
เกาลัด มีหลากหลายพันธุ์ ประเทศไทยได้มีการทดลองปลูกโดยนำมาจากประเทศจีนประมาณปี 2528 โดยมีการคัดแยกสายพันธุ์เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศไทย
เกาลัด เป็นพืชสายพันธุ์เดียวกัน โอ๊ค และ บีช ซึ่งจะมีสายพันธุ์หลัก 4 สายพันธุ์ คือ เกาลัดหวาน, เกาลัดจีน, เกาลัดญี่ปุ่น และ เกาลัดอเมริกา
 https://goo.gl/edzjHZ
เกาลัด ที่นิยมรับประทานกันคือเกาลัดจีน เป็นพันธุ์ที่มีเปลือกหุ้มเมล็ดขนยาวคล้ายเงาะ ขอบใบจักแหลม เปลือกหุ้มผลหนามีหนามแหลม เมื่อแก่จะปริแยกออกจากกัน เมล็ดเกลี้ยง เปลือกแข็งสีน้ำตาลแกมแดง เนื้อในสีขาว กินได้
 https://board.postjung.com/617045.html เกาลัดจีน
ผลเกาลัดจีนมีลักษณะค่อนข้างกลมสีเขียวมีขนแหลม เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลและแตกออก ภายในมีเมล็ด และใช้ส่วนเนื้อในเมล็ดกินเป็นอาหาร ในประเทศจีนนิยมกินเกาลัดทั้งดิบและสุก
ชาวจีนถือว่าเกาลัดเป็นราชาแห่งเมล็ดพันธุ์พืช จึงมีการปลูกอย่างแพร่หลายในจีนและผลิตสำหรับส่งออก เมื่อนำเกาลัดไปคั่วในทรายร้อน ๆ จะมีรสหวานอร่อย
 https://www.bmpschool.ac.th/news/6453.html เกาลัดจีน
เกาลัดคั่วที่เห็นมากแถวเยาวราช มักจะมีเม็ดสีดำเล็ก ๆ คั่วรวมอยู่ด้วย หลายคนคิดว่าเป็นเมล็ดกาแฟ จริง ๆ แล้วไม่ใช่ เจ้าเม็ดสีดำเล็กนั้นคือเม็ดทรายขนาดประมาณ 3-5 มิลลิเมตร เป็นทรายที่ใช้ในการก่อสร้าง หรือที่เห็นตามตู้ปลาสีออกน้ำตาล
พ่อค้าจะนำเอาทรายแห้งใส่ลงไปในกระทะใบใหญ่ พอทรายร้อนระอุได้ที่จนเป็นสีดำ ก็จะนำเอาลูกเกาลัด ใส่ลงไป บางร้านเติมน้ำตาลทรายคั่วรวมกันให้ได้รสหวาน บางเจ้าเพิ่มกลิ่นหอมด้วยการใส่ เมล็ดกาแฟคั่วรวมไป
เหตุผลที่ต้องใช้เม็ดทราย ก็เพราะเม็ดทรายช่วยเก็บความร้อนได้ดี สำหรับการทำให้เกาลัดสุกถึงเนื้อผล ด้านใน เพราะหากสังเกตกันดี ๆ เนื้อผลของเกาลัดนั้นจะไม่ติดกับเปลือก ดังนั้นการใช้ทรายที่ร้อนระอุตลอดเวลา จะช่วยให้เนื้อเกาลัดค่อย ๆ สุก แต่ต้องหมั่นคนเพื่อไม่ให้เกาลัดไหม้ ซึ่งจะคั่วกันนานราว 30-40 นาที เม็ดทรายนั้นใช้ได้นานกว่า 1 เดือน เรียกว่าคั่วเกาลัดได้หลายกระทะ จนทรายที่เป็นเม็ดเริ่มป่นเป็นผง นั่นแหละจึงจะเปลี่ยนไปใช้เม็ดทรายชุดใหม่
 https://variety.teenee.com/foodforbrain/36750.html เกาลัดจีน (Castanea mollissima) ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า Chinese chestnut ผลค่อนข้างกลม
เกาลัด หรือ เชสท์นัท (Chestnut) เป็นนัทประเภทเดียวที่ทางโภชนาการถือว่าเป็นผัก เป็นพืชประเภทถั่ว ที่มีคาร์โบไฮเดรตหรือแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก ให้ไขมันต่ำ และอุดมด้วยวิตามินบี มีแร่ธาตุโพแทสเซียม และกรดโฟลิก อีกทั้งสรรพคุณของลูกเกาลัดนั้นก็คือสามารถช่วยบำรุงอวัยวะในร่างกาย ได้แก่ บำรุงไต เสริมสร้างกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร ช่วยฟอกเลือด ช่วยบรรเทาอาการช้ำใน และช่วยเพิ่มพลัง ทำให้กล้ามเนื้อ มีเรี่ยวมีแรงมากขึ้น รวมทั้งช่วยลดการปวดปัสสาวะบ่อย ๆ จึงถือว่าเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

https://www.trueplookpanya.com บ๊ะจ่างใส่เกาลัดจีน
ในตำราจีน มีการพูดถึงคุณค่าของเกาลัดมาเป็นพัน ๆ ปีแล้วว่า เป็นอาหารธาตุอุ่น ช่วยบำรุงไต บำรุงเลือด และช่วยลดอาการปวดข้อได้ด้วย จึงถือเป็นของกินเล่นที่มีคุณค่ามากอีกอย่างหนึ่ง แม้ในเมืองไทย จะมีราคาสูงไปสักหน่อยก็ตาม
เกาลัด ยังถือเป็นผลไม้มงคลในงานแต่งงานของชาวจีน อวยพรให้คู่บ่าวสาวแต่งงานแล้ว ขอให้โชคดีได้บุตรที่ดีในเร็ววัน
 https://atcloud.com/stories/68307 เกาลัดจีน
เกาลัดมีฤทธิ์อุ่น รสหวาน มีสรรพคุณบำรุง ร่างกาย บำรุงไต กล้ามเนื้อ ม้ามและกระเพาะอาหาร บำรุงลม แก้ร่างกายอ่อนแอ
- แก้ไอ ละลายเสมหะ แก้อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเดิน - ห้ามเลือด ช่วยการไหลเวียนเลือด - แก้อาการถ่ายเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล - แก้วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และอาเจียนเป็นเลือด

เกาลัดไทย https://goo.gl/kk3Npz
เกาลัดไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sterculia monosperma Vent. ชื่อสามัญ : Noble bottle tree วงศ์ : Sterculiaceae สกุล : Sterculia สปีชีส์ : S. monosperma
ไม้ยืนต้น สูง 4-30 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกเรียบหรืออาจแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ไปตามยาว ลำต้น กิ่งอ่อนเกลี้ยง
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนกันบริเวณใกล้ ๆ ปลายกิ่ง รูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 5-15 ซม. ยาว 10-30 ซม. โคนมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย ปลายมนสอบแคบกว่าทางโคนใบ ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนา เกลี้ยง ย่นเล็กน้อย แผ่นใบด้านบนเป็นมัน เส้นกลางใบ เส้นแขนงใบ และเส้นใบย่อยแบบร่างแห เห็นชัด ทางด้านล่าง ส่วนด้านบนมีสีเข้มตามแนวเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบตัดกับสีพื้นของแผ่นใบ ก้านใบยาว 2-10 ซม. เมื่อแห้งสีชมพูเรื่อ ๆ
เกาลัดไทย เป็นพืชท้องถิ่นในจีนตอนใต้บริเวณ กวางตุ้ง กวางสี ยูนนาน ไต้หวัน จากนั้นจึงมี การแพร่กระจายไปยัง อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น รวมทั้ง ไทย
 https://www.sc.mahidol.ac.th/scbi/MUBIO เกาลัดไทย
เกาลัดไทย พันธุ์เปลือกกำมะหยี่แดง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อความสวยงามและเป็นศิริมงคลมากกว่า เนื่องจากพวงผลที่มีลักษณะเด่นเป็นสีแดงสดหุ้มเมล็ดเกาลัด และเมื่อผลออกเต็มต้นจะดูสวยงามเหมือนต้น โอ๊คที่มีผลสีแดงเต็มต้น นอกจากนี้ยังสามารถนำไม้ไปทำเฟอร์นิเจอร์ได้ดี เนื้อไม้มี เรซิน มาก นำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมได้
 https://www.smileconsumer.com/2012/08 เกาลัดไทย
ฝัก/ผล เกาลัดไทย ออกรวมกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มย่อยมักมี 2 ผล ก้านช่อยาวถึง 20 ซม. ผลสีแดงหรือสีแสด รูปมนหรือค่อนข้างกลม กว้างประมาณ 2.5 ซม. ยาวประมาณ 5 ซ.ม. เปลือกแข็ง มีขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ เปลือกเป็นคลื่นไปตามรูปเมล็ดที่อยู่ภายใน ปลายผลมักเป็นจะงอยโค้งเล็กน้อย ผลแก่จะแตกออกตามรอย ประสานด้านข้าง ก้านผลเห็นไม่ชัด
 https://www.smileconsumer.com/2012/08 เกาลัดไทย ผลยาวรี
เมล็ดสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด เนื้อในเมล็ดสีเหลือง ต้มสุกแล้วเป็นสีเหลืองสด ผลเมื่อนำไปต้มหรือคั่วก่อนจะรับประทานได้
 https://www.smileconsumer.com/2012/02/ ดอกเกาลัดไทย
ดอก เป็นช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งและเหนือรอยแผลใบใกล้ปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 35 ซม. ห้อยลง มีช่อแขนงมาก ดอกเล็ก สีชมพูอมเขียว กลิ่นหอมอ่อน ๆ รูปคล้ายโคมเล็ก ๆ ด้านนอกมีขนประปราย เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 ซม. ก้านดอกเรียวเล็ก ยาวไม่เกิน 1 ซม. กลีบเลี้ยงโคนติดกัน ปลายผายออกเป็นรูปกรวย แล้วแยกเป็นแฉกยาว 5 แฉก แต่ละแฉกโค้งงุ้มและติดกันบริเวณปลายกลีบ และจะแยกเป็นอิสระพร้อม ๆ กับกลีบจะบิดเบี้ยวเมื่อดอกใกล้โรย ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้รวมกัน เป็นกลุ่มเล็ก ๆ รังไข่มี 5 พู มีขนแน่น
ออกผลในฤดูใบไม้ร่วง เดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน จะออกผลตอนช่วงวันไหว้พระจันทร์ (วันเพ็ญ เดือน 8 เดือนกันยายน หรือตุลาคม)
การปลูกเกาลัดสามารถทำได้ทั้งจากการตอนกิ่งและเพาะเมล็ด โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 6-7 ปีจึงจะผลิดอกออกผล

เครดิต : https://th.wikipedia.org/wiki https://atcloud.com/stories/68307 https://www.vcharkarn.com/varticle/42354 https://kanchanapisek.or.th/oncc-cgi/text.cgi?no=11399 https://tcpermaculture.blogspot.com/2012/09/ permaculture-plants-chestnuts.html
Live and Learn
สนใจเรื่องใกล้เคียงกัน : แปะก๊วย (Ginkgo biloba) คลิกที่นี่ เก๋ากี้ (Goji Berry) คลิกที่นี่
Create Date : 28 มกราคม 2556 |
Last Update : 18 มกราคม 2564 10:13:03 น. |
|
64 comments
|
Counter : 45187 Pageviews. |
 |
|