หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Nepenthes ชื่อสามัญ tropical pitcher plants หรือ monkey cups วงศ์ Nepenthaceae
หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes)
nə'pεnθiːz / มาจากภาษากรีก : ne = ไม่, penthos = โศกเศร้า, ความเสียใจ; ชื่อของภาชนะใส่เหล้าของกรีกโบราณ (กรีก: Nepenthe) หรือที่รู้จักกันในชื่อของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นสกุลของพืชกินสัตว์ในวงศ์ Nepenthaceae ส่วนชื่อหม้อข้าวหม้อแกงลิง (Monkey Cups) มาจากตำนานที่ว่าลิงได้ดื่มน้ำฝนของพืชชนิดนี้
หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. Lowland คือ กลุ่มที่กำเนิดในระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลลงมา หรือมีอุณหภูมิตอนกลางวัน ตั้งแต่ 80-95F หรือ 27-35C และกลางคืน ตั้งแต่ 70-80F หรือ 21-27ํC
2. Highland คือ กลุ่มที่กำเนิดในระดับความสูงมากกว่า 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลขึ้นไป หรือมีอุณหภูมิตอนกลางวัน ตั้งแต่ 70-85F หรือ 21-29C และกลางคืน ตั้งแต่ 50-65F หรือ 12-18C

หม้อ (Pitcher) ของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง คือ เครื่องมือหรือกับดักที่ใช้หลอกล่อเหยื่อที่เป็นสัตว์หรือแมลง สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ให้เดินเข้าหากับดัก โดยอาศัยกลิ่นเลียนแบบของเหยื่อ ที่อาจเป็น น้ำหวาน กลิ่นแมลงตัวเมีย หรือสีสันที่สะดุดตาบวกกับกลิ่นที่เย้ายวนเร้าใจ เป็นเครื่องดึงดูดเหล่าสัตว์หรือแมลงทั้งหลายมาสู่กับดักมรณะนี้

ด้านในและใต้ส่วนที่งุ้มโค้งของปากหม้อ (peristome หรือ lip) เป็นส่วนที่สร้างน้ำหวาน เมื่อเหยื่อหลงเข้ามา ตอมน้ำหวานบริเวณปากหม้อที่ถูกเคลือบด้วยสารที่มีลักษณะลื่นมัน ผิวเป็นคลื่นตามแนวลงภายในหม้อ เหยื่อจึงมีโอกาสลื่นพลัดตกลงไปในหม้อได้อย่างง่ายดาย และภายในหม้อจะมีน้ำย่อยรออยู่
 https://nepenthes1.wordpress.com/
เมื่อมองดูต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงเผิน ๆ ก็เหมือนกับต้นไม้จำพวกเถาเลื้อยทั่วไป แต่เมื่อหันมาดูที่บริเวณปลายใบ โอ้!! พระเจ้าจอร์ช มันเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์อะไรอย่างนี้ เพราะมันมีหม้อกลม ๆ ที่ด้านบนมีฝาปิด ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าหม้อเหล่านี้คือลูกของไม้ต้นนั้น ๆ เมื่อมารู้ว่ามันคือ หม้อ (Pitcher) ที่เป็นเครื่องมือ หรือกับดักที่ใช้ล่อเหยื่อก็สงสัยอีกว่ามันจะจับเหยื่อหรือแมลงยังไง หลายคนคิดว่า เมื่อแมลงหลงเข้าไปในหม้อนั้นแล้ว ฝาหม้อที่อยู่ด้านบนจะงับปิดลงมา เพื่อขังเหยื่อหรือแมลงนั้นไว้ภายในหม้อ เพื่อกินเหยื่อหรือแมลงเหล่านั้นต่อไป
 https://siamexotica.com/Nepenthes.html
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถึงเหยื่อหรือแมลงจะตกลงไปภายในหม้อสักเท่าไร ฝาหม้อ (lid) นั้นก็จะไม่หุบปิดลงมา แต่อย่างใด และที่เราเห็นเป็นหม้อลูกใหญ่นั้น ก็ไม่ใช่ลูกหรือผลแต่อย่างใด มันคือแผ่นใบแท้ที่แปลงสภาพ ห่อตัวเป็นรูปหม้อ ส่วนปลายใบก็กลายเป็นฝาปิด กันน้ำฝนไม่ให้ตกลงในหม้อมากเกินไป จนปริมาณน้ำย่อย ที่ผลิตได้เจือจางลง หรือมากจนกระทั่งน้ำเต็ม หม้อไม่สามารถกักเหยื่อหรือแมลงไว้ได้
 lower pitcher of Nepenthes globosa photo by : Chale yan
หม้อของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง มี 2 ลักษณะคือ
 https://siamexotica.com/Nepenthes.html
1. หม้อล่าง (Lower Pitcher) หรือเขียนย่อ ๆ ว่า L/P 2. หม้อบน (Upper Pictcher) หรือเขียนย่อ ๆ ว่า U/P
 https://siamexotica.com/Nepenthes.html
หม้อข้าวหม้อแกงลิง จะผลิตหม้อแรก ๆ เป็นหม้อล่าง (Lower Pitcher) ซึ่งมักจะมีสีสันสดใส เพื่อทำหน้าที่ ล่อเหยื่อหรือแมลงให้มาติดกับ เมื่อต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงเติบโตสูงขึ้น เนื่องจากเป็นประเภทไม้เถาเลื้อย จึงจำเป็นต้องมีที่ยึดเกาะเพื่อพยุงลำต้นให้ตั้งตรงขึ้นไปกับต้นไม้อื่น ๆ หรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ให้สามารถส่ง ยอดขึ้นไปรับแสงแดดได้มากขึ้นมันจึงพัฒนาก้านใบให้ม้วนเป็นวงเกาะเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบข้าง และรูปทรง ของหม้อจะเปลี่ยนไป เพราะลดบทบาทในการหาอาหารลง โดยปีก (Wing) จะหดสั้นหรือหายไป เพื่อไม่ขัดกับ การยึดเกาะของก้านใบ สีสันของหม้อก็จะลดลง ก้นหม้อจะเรียวเล็กลงด้วย เพราะไม่ต้องใช้เป็นเครื่องล่อเหยื่อ หรือแมลง และทำหน้าที่ย่อยอาหารอีกต่อไปเราเรียกหม้อแบบนี้ว่า หม้อบน (Upper Pictcher)

หม้อข้าวหม้อแกงลิงถูกบรรจุในรายชื่อพืชที่ถูกคุกคามหรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ของไซเตสในบัญชี 1 และ 2

อ้างอิง : https://siamexotica.com/Nepenthes.html https://www.neofarmthailand.com/ https://typicalgardener.wordpress.com/page/3/ https://nepenthessiam.wordpress.com/ https://th.wikipedia.org/wiki/ Create Date : 07 มกราคม 2554 Last Update : 29 พฤษภาคม 2554 13:49:16 น. Counter : 681 Pageviews.
Create Date : 18 กรกฎาคม 2554 |
Last Update : 17 มกราคม 2564 18:16:43 น. |
|
29 comments
|
Counter : 12585 Pageviews. |
 |
|
กรี๊ดดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ