พญาสัตบรรณ (ตีนเป็ดไทย) Devil Tree
 //www.gotoknow.org/blogs/posts/223914
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia scholaris (L.) R.Br. ชื่อสามัญ : Devil Tree, White Cheesewood
ชื่ออื่น : กะโนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) , จะบัน (เขมร-ปราจีนบุรี) , ชบา ตีนเป็ดไทย พญาสัตบรรณ ( ภาคกลาง) , ตีนเป็ดขาว (ยะลา) , บะซา ปูแล ปูลา (มลายู-ปัตตานี) , ยางขาว (ลำปาง) , สัตบรรณ (ภาคกลาง , เขมร-จันทบุรี) หัสบัน (กาญจนบุรี)
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
Botanical Description :
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบ มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาล กดดูจะมียางสีขาว ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะทรงพุ่มแผ่เป็นชั้น ๆ ใบเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่ง มีใบประมาณ 5-7 ใบ ก้านใบสั้น ใบสีเขียวถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาว ลักษณะใบยาวรีปลายใบมน โคนใบแหลม ขนาดใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร
 //goo.gl/ly12to
ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามปลายกิ่ง ดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง (สูดดมเพียงเล็กน้อยจะรู้สึกกลิ่นหอม หากสูด ดมมากจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ) ยอดของลำต้นดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็ม ช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอก ประมาณ 5-7 กลุ่ม ดอกมีสีขาวอมเหลือง ดอก ออก ต.ค. - พ.ค.
//ongzi-secretgarden.blogspot.com
ผลเป็นฝักยาว ลักษณะเป็นเส้น ๆ มีขุยสีขาวคล้ายฝ้าย ปลิวไปตามลมได้ ในฝักมีเมล็ดเล็ก ๆ ติดอยู่กับขุยนั้น ผล ออก ธ.ค.- ม.ค.
//www.treeshistory.com/2011/11/pyasatbrrn.html
ด้านภูมิทัศน์ : เป็นต้นไม้ที่มีขนาดสูงใหญ่มาก และดอกออกกลิ่นหอมฉุนเป็นต้นไม้ที่เจริญ เติบโตเร็วและดูแลรักษาง่าย
ประโยชน์ : มีการนำเปลือกต้นพญาสัตบรรณมาใช้ในการรักษาแบบธรรมชาติบำบัด (Homoeopathy) ซึ่งมีฤทธิ์ เป็นยาฝาดสมาน มีสรรพคุณในการรักษาอาการท้องร่วง และโรคบิดมูกเลือด ขับพยาธิไส้เดือน แก้ไข้หวัดหลอดลม อักเสบ ยาสมานลำไส้ ใบใช้พอกดับพิษ ยางรักษาแผลเน่าเปื่อย บำรุงกระเพาะ และ ผสมน้ำมันแก้ปวดหู
พญาสัตบรรณเป็นพันธุ์ไม้มงคล พระราชทานประจำจังหวัดสมุทรสาคร
 //www.gotoknow.org/blogs/posts/370794
คำว่า "พญาสัตบรรณ" มีความหมายมงคลแยกเป็น 3 คำ คือ คำว่า "พญา" หมายถึง ผู้มีอำนาจน่านับถือ น่ายกย่อง ผู้เป็นใหญ่ คำว่า "สัต" หรือ "สัตต" หมายถึง 7 (เจ็ด) คำว่า "บรรณ" หมายถึง ใบไม้ หรือ หนังสือ
พญาสัตบรรณ เป็นต้นไม้ที่มีขนาดสูงใหญ่ รูปทรงสวยสง่า ดูมั่นคง และน่าเกรงขามดั่งพญา พุ่มใบเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร ทั้งใบของต้นพญาสัตบรรณยังออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมี 7 ใบเรียงรอบก้านใบ และดอกก็ยังออกเป็นกลุ่ม โดยช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกประมาณ 7 กลุ่มด้วย นอกจากนี้สัตบรรณ หรือ ฉัตรบรรณ ยังมีความหมายถึงเครื่องสูงชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายร่มซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้น อาจมี 3, 5, 7 หรือ 9 ชั้น ใช้เป็นเครื่องประดับเกียรติยศในขบวนแห่ งานพระราชพิธีอีกด้วย
พญาสัตบรรณ จึงเป็นไม้มงคลนามอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลทางทิศเหนือของบ้าน คนโบราณ เชื่อว่า หากบ้านใดปลูกไว้จะทำให้คนในบ้านมีเกียรติ เป็นที่เคารพนับถือ และได้รับการยกย่องจากคนทั่วไป

ต้นตีนเป็ดขาว (ต้นสัตบรรณ) โพธิญาณพฤกษา พันธุ์ไม้ที่พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ประทับตรัสรู้
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
ในคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ตำราชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์แรก พระนามว่า "พระตัณหังกรพุทธเจ้า" ได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้สัตบรรณ
ต้นตีนเป็ดขาว ในภาษาบาลีเรียกว่า "ต้นสัตบรรณ" หรือ "ต้นสัตตปัณณะ" มีชื่อเรียกในอินเดียว่า "สตฺตปณฺณรุกข" ซึ่งแปลว่าเป็นไม้ที่มี 7 ใบ เป็นต้นไม้ที่ขึ้นปากถ้ำที่เมืองราชคฤห์ จึงเรียกถ้ำนี้ว่า "สตฺตปณฺณคูหา" ในบริเวณนี้ เป็นที่ทำการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรก โดยพระเจ้าอชาตศัตรู ทรงรับเป็นผู้อุปการะในการสังคายนา รวมทั้ง ได้ทรงสร้างธรรมศาลา และกุฏิสำหรับพระภิกษุสงฆ์จำนวน 500 รูป

อ้างอิง : //www.twinlotus.com/th/herb_lib.asp?herb_lib_id=86&page=6 //www.saunmitpranee.com/catalog.php? //www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=227//www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=12403 Kevin Kern - Endless Blue Sky
ต้นไม้ในวงศ์ Apocynaceae (วงศ์ ลั่นทม ลีลาวดี) : ตีนเป็ดน้ำ คลิกที่นี่
ต้นไม้ในวงศ์ Bignoniaceae : น้ำเต้าญี่ปุ่น คลิกที่นี่ ตีนเป็ดฝรั่ง คลิกที่นี่
Create Date : 30 มีนาคม 2555 |
Last Update : 16 พฤษภาคม 2560 18:18:22 น. |
|
45 comments
|
Counter : 19131 Pageviews. |
 |
|