ดอกอัญชัน (Butterfly Pea)
https://goo.gl/PwRnC9
ชื่อภาษาอังกฤษ : Blue Pea, Butterfly Pea, Pigeon wings, Mussel-shell Creeper
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea ชื่อวงศ์ : Fabaceae (ตระกูลถั่ว)
ชื่ออื่น ๆ : แดงชัน (เชียงใหม่) หรือ เอื้องชัน (เหนือ)
https://goo.gl/hnMDDJ
ต้น: อัญชัน เป็นพันธุ์ไม้เลื้อยล้มลุกขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ มีเถา ขนาดเล็กและอ่อน สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 ฟุต ลักษณะเถาค่อนข้างกลม สีเขียว แต่หากเถาแก่จะเป็นสีน้ำตาล ตามลำต้นจะมีขนนุ่ม ๆ ปกคลุมโดยทั่วไป
https://goo.gl/4CK7tt
ใบ: ใบของอัญชัน มีลักษณะเป็นช่อ มีใบย่อยรูปไข่ 5-7 ใบ ใบเล็กและค่อนข้างบาง รูปใบเกือบจะเป็นทรงกลม ใบรวมเป็นแผงสลับกันไปตามข้อต้น
https://toptropicals.com/cgi-bin/garden
ดอก : ดอกอัญชันจะเป็นดอกเดี่ยว และจะออกดอกเป็นช่อตามปลายยอด ช่อหนึ่ง จะมีดอก 2-4 ดอก มีทั้งชนิดดอกลาและดอกซ้อน ดอกมีหลายสี เช่น สีน้ำเงินอมม่วง สีม่วง สีฟ้า สีขาว ลักษณะคล้ายดอกถั่ว มี 2 กลีบ เมื่อกลีบดอกบานเต็มที่จะมองเห็น ลักษณะคล้ายกาบหอย หรือปีกผีเสื้อ เมื่อดอกโรยก็จะติดฝัก
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน
https://goo.gl/WrDAnS
สารประกอบทางเคมี :
มีสารอดีโนซีน (adenosine) สารแอฟเซลิน (afzelin)
-
สารอปาราจิติน (aparajitin) กรดอราไชดิก (arachidic acid) -
สารแอสตรากาลิน (astragalin) กรดชินนามิกไฮดรอกซี (cinnamic acid, 4-hydroxy) -
สารเคอร์เซติน (quercetin) และสารซิโตสเตอรอล เป็นต้น -
ดอก – มีสารแอนโธไซยานิน (anthocyanin)
https://goo.gl/PwRnC9
สรรพคุณและวิธีใช้ ส่วนที่ใช้ : ดอก เมล็ด ใบ ราก
ดอก รักษาอาการผมร่วง แก้ฟกช้ำบวม ใช้ผสมอาหารให้สีม่วง เช่น ข้าวดอกอัญชัน ขนมดอกอัญชัน เป็นต้น
ใบและราก อัญชันชนิดขาวใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยาระบาย ชนิดดอกม่วงแก้ตาฟางและตาแฉะ แก้ปัสสาวะพิการ ระบายท้อง แก้เจ็บตา
ราก รสเย็นจืด บำรุงดวงตา ทำให้ตาสว่าง ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ เป็นยาระบาย แก้ตาอักเสบ ตาฟาง ตาแฉะ
นำรากอัญชัน มาถูฟันแก้ปวดฟัน ทำให้ฟันคงทนแข็งแรงได้ด้วย ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้รากฝนกับรากสะอึกและน้ำซาวข้าว กินหรือทาแก้งูสวัด
เมล็ด เป็นยาระบาย
ดอกอัญชันใช้ทำสีผสมอาหาร โดยนำไปแช่น้ำร้อนจะได้สีน้ำเงิน ถ้าต้องการสีม่วงให้บีบมะนาวใส่
น้ำคั้นจากดอก ใช้ทาทำให้ผม หนวด เครา และคิ้วดก คนโบราณใช้ทาคิ้วเด็ก ทำให้คิ้วเด็กดกดำ
สีจากกลีบดอกสดมีสีน้ำเงินด้วยสารแอนโธไซยานิน ใช้เป็นสารบ่งชี้ (indicator) แทนลิตมัส (lithmus) เมื่อเติมน้ำมะนาว (กรด) ลงไปเล็กน้อยจะกลายเป็นสีม่วง ใช้แต่งสี ขนม และ แต่งสีอาหาร นอกจากนี้ยังนิยมนำดอกอัญชันมาทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ที่เรียกกันว่า น้ำดอกอัญชัน
https://goo.gl/Y5Rppz
ข้อแนะนำในการดื่ม
1. ควรดื่มทันทีที่ปรุงเสร็จ เพื่อให้คุณค่าทางอาหารและยา โดยเฉพาะเครื่องดื่ม ที่ทำด้วยดอกอัญชันนั้นควรดื่มทันทีหรือหากยังมีพอเหลือ ก็ควรนำใส่ขวดปิดฝาให้สนิท ก่อนจะนำไปใส่ตู้เย็นเก็บไว้ดื่มในวันถัดไป แต่อย่าให้เกิน 3 วัน
2. การดื่มสมุนไพรชนิดเดียวติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดการ สะสมสารบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อร่างกายได้
3. การดื่มน้ำสมุนไพรร้อน ๆ ที่มีอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสขึ้นไปจะทำให้ เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันเฉพาะที่และอาจทำให้มีการดูดซึมสาร ก่อมะเร็ง จุลินทรีย์ ฯลฯ ได้ง่าย
https://areealley.com/category/menu/drinks
ประโยชน์อื่น ๆ จากดอกอัญชัน
1. เป็นเครื่องดื่มดับกระหาย มีสารแอนโธไซยานินมีฤทธิ์เป็นสารต้าน อนุมูลอิสระ เสริมภูมิต้านทาน
2. นิยมใช้ดอกสีน้ำเงินซึ่งมีสาร Anthocyanin แต่งสีอาหาร และ ขนมต่าง ๆ เช่น ขนมดอกอัญชัน ขนมช่อม่วง
ทำน้ำดื่มสมุนไพร ได้น้ำสีม่วงสวย เพราะสีของดอกอัญชันละลายน้ำได้ รวมทั้งสี เปลี่ยนไปตามความเป็นกรดด่าง คล้ายกระดาษลิตมัส (lithmus) ที่ใช้ตรวจสอบ ความเป็นกรดด่างของสารละลาย
https://www.bansuanpa-chara.com/node/130
3. สารแอนโธไซยานินที่มีอยู่มากในดอกอัญชัน มีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ ในการเพิ่มประสิทธิภาพของตา เพิ่มความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากสารตัวนี้จะไปเพิ่ม การไหลเวียนในหลอดเลือดเล็ก ๆ เช่น หลอดเลือดส่วนปลาย ทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับ การมองเห็นแข็งแรงขึ้น เช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เพราะมีเลือด ไหลเวียนมาเลี้ยงมากขึ้น สารแอนโธไซยานินยังมีคุณสมบัติเสริมภูมิต้านทาน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติอีกด้วย
อ้างอิง : https://goo.gl/cg2mQ6 https://goo.gl/Ux5Ps8 https://goo.gl/e58bLl
KEVIN KERN - Pastel Reflections
Create Date : 04 พฤษภาคม 2555 |
Last Update : 26 มกราคม 2566 13:45:43 น. |
|
54 comments
|
Counter : 17502 Pageviews. |
|
|