กระชาย (Fingerroot) ... โสมไทย ราชาแห่งสมุนไพร
กระชายเหลือง https://goo.gl/uG64aB
ชื่อทวินาม : Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. วงศ์ : Zingiberaceae (วงศ์ขิง) สกุล : Boesenbergia (สกุลกระชาย) สปีชีส์ : B.rotunda
กระชาย (Fingerroot) หรือ ขิงจีน (Chinese ginger) เป็นพืชสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และ เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ พบขึ้นในบริเวณป่าดิบร้อนชื้น กระชายเป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยที่คนไทยคุ้นเคย และนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบัน จนอาจกล่าวได้ว่าคนไทยรู้จักใช้ประโยชน์ ของกระชายมากกว่าชนชาติอื่นในโลก กระชายมีชื่อสามัญอื่นอีกมากมาย แต่ไม่อยากใส่ไว้ให้สับสน เพราะหลายชื่อก็ไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่ สนใจคลิกอ่านใน https://goo.gl/U3EwCN
กระชายเหลือง https://goo.gl/1G7TxM
กระชายในที่นี้คือ "กระชายเหลือง" ที่เราใช้ทำกับข้าวกันนี่แหละ ไม่ใช่ "กระชายดำ" ที่กำลังเป็นที่นิยมกัน ในขณะนี้ กระชายเหลืองมีประโยชน์มากกว่ากระชายดำ และราคาก็ถูกกว่า แต่คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า กระชายดำมีประโยชน์มากกว่า
กระชาย มีสรรพคุณมากมายดุจเดียวกับโสม จนถูกขนานนามว่าเป็น โสมไทย หรือ ราชาแห่งสมุนไพร ซึ่งสารออกฤทธิ์จะหมุนเวียนไปทั่วร่าง แต่จะระบายออกตามธรรมชาติได้ ส่วน โสม ถ้าดื่มกินเป็นประจำจะค้าง ติดหมุนเวียนอยู่ในกระแสเลือด ไม่มีการขับถ่ายออก จนอาจเกิดโทษในภายหลัง คือ เลือดจะเหนียว ข้น ระบบการไหลเวียนของโลหิตจะติดขัด ชาวจีนจึงเริ่มหันมากินกระชายกันมากขึ้น ในขณะที่คนไทยยังหาซื้อโสมราคาแพงมากินกัน? https://goo.gl/HQYcs6
ดอกกระชายเหลือง https://goo.gl/XMtwfT
การใช้งานตามภูมิปัญญา
เหง้าและรากของกระชายมีรสเผ็ดร้อนขม หมอยาพื้นบ้านใช้เหง้าและรากของกระชายแก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้โรคกระเพาะ รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เมื่อมีอาการ ปวดข้อเข่า ใช้เป็นยาอายุวัฒนะชะลอความแก่ บำรุงกำลัง และใช้บำบัดโรคกามตายด้านอีกด้วย
กระชาย ใช้เป็นอาหาร เหง้าและรากมีฤทธิ์เผ็ดร้อน กลิ่นหอม ใช้เป็นเครื่องเทศปรุงในอาหารจำพวกแกงป่า แกงกะทิ น้ำยาขนมจีน ผัดเผ็ดต่าง ๆ เพื่อดับกลิ่นคาว
กระชายเหลือง https://goo.gl/Nl6bDm
กระชาย เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน มีลักษณะเรียว ยาว อวบน้ำ ตรงกลางเหง้าจะพอง คล้ายกระสวย ออกเกาะกลุ่มกันเป็นกระจุก มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแกมส้ม เนื้อข้างในเป็นสีเหลืองมีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน ใบมีขนาดยาวรีรูปไข่ ปลายใบแหลมมีขนาดใหญ่สีเขียวอ่อน โคนใบเป็นกาบหุ้ม ซ้อนกัน ตรงกลางด้านในของก้านใบมีร่องลึก
กระชายเหลือง https://goo.gl/hj1kas
กระชาย มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลืองหรือกระชายขาว กระชายที่นิยมใช้กันก็คือกระชายเหลืองและกระชายดำ กระชายดำปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมจนทำให้กระชายเหลือง ถูกลดความสำคัญลงไป แต่ว่ากันว่าในด้านสรรพคุณทางยาสมุนไพร กระชายเหลืองนั้นดีกว่ากระชายดำ แต่เพราะคิดกันไปเองว่าสมุนไพรถ้าเป็นสีเข้มกว่าก็น่าจะมีประโยชน์มากกว่า แถมกระชายดำยังถูกโปรโมททาง การตลาดอย่างต่อเนื่องทำให้คนทั่วไปหลงคิดว่ากระชายดำนั้นดีกว่ากระชายเหลือง
กระชายเหลือง https://goo.gl/Nl6bDm
สมุนไพรกระชาย มีสรรพคุณทางยานานับประการ จนได้ชื่อในวงการแพทย์แผนไทยว่าเป็น "โสมไทย" เนื่องจากกระชายกับโสมมีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง เช่น สรรพคุณในการบำรุงกำลังและเสริมสมรรถภาพ ทางเพศ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสมุนไพรทั้งสองชนิด และกระชายและโสมต่างก็เป็นพืชที่มีส่วนสะสมอาหาร ที่ใช้เป็นยาอยู่ใต้ดินเหมือนกัน แถมยังสามารถเรืองแสงในที่มืดได้เหมือนกันด้วย และในเรื่องของลักษณะที่ คล้ายกับรูปร่างมนุษย์เหมือนกัน ๆ จึงเรียกโสมว่า "โสมคน" และเรียกกระชายว่า "นมกระชาย" (ตามลักษณะที่ คล้ายคลึงกับนมผู้หญิงนั่นเอง และบางครั้งก็ดูคล้ายเพศชาย จึงเกิดความเชื่อที่ว่ามันน่าจะมีความเกี่ยวข้อง ในเรื่องสรรพคุณทางเพศ)
กระชาย สรรพคุณดีกว่าโสมจีน มีแคลเซียมสูงกว่านม บำรุงผมหงอกกลับดำ ผมไม่ร่วง บำรุงกระดูกให้แข็งแรง บำรุงสมอง ปรับสมดุลความดันโลหิต บำรุงตับ ไต มดลูก รังไข่ ป้องกันมะเร็ง ปรับสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจน ในเพศหญิง เทสโทสเทอโรนในเพศชาย เสริมสมรรถภาพทางเพศชาย
ดอกกระชายเหลือง https://goo.gl/XMtwfT
ดอก ช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอกสีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก
ขยายพันธุ์ โดยใช้เหง้า ชอบอากาศร้อนชื้น แสงร่มรำไร ดินร่วนปนทราย ไม่ชอบแฉะ
สรรพคุณของกระชายเหลือง 49 ข้อ คลิกอ่าน https://goo.gl/Nl6bDm
กระชายแดง https://goo.gl/53E0qy สรรพคุณของกระชายแดง คลิกลิงก์ใต้ภาพข้างบน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia cf. rotunda (L.) Mansf., Boesenbergia Sp.
คุณสมบัติทั่วไปของกระชาย
1. ช่วยบำรุงตับ ไต แข็งแรง 2. ช่วยฟื้นฟูต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง 3. ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง กระดูกไม่เปราะบาง 4. ช่วยให้เส้นผมไม่หงอกก่อนวัย เล็บมือ เล็บเท้า แข็งแรง 5. ช่วยปรับสมดุลความดันโลหิตให้พอดี ไม่ให้สูงมากหรือต่ำมากเกินไป 6. ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง เต้นสม่ำเสมอ ช่วยให้เลือดไหลเวียน ไปเลี้ยงหัวใจได้ดีขึ้น 7. ช่วยปรับฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจน และฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเตอโรน ซึ่งอยู่ในร่างกายทุกคน ไม่ว่าผู้หญิงหรือชาย กระชายดำ https://goo.gl/4NSFO8
ชื่ออื่น : ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย กะแอน ระแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaempferia parviflora Wall. ex Bak. ชื่อพ้อง : K. rubromarginata (S.Q. Tong) R.J. Searle, Stahlianthus rubromarginatus S.Q. Tongl.
ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae (วงศ์ขิง) สกุล : Kaempferia (สกุลเปราะ)
กระชายดำ https://goo.gl/CpQxAX
กระชายดำ เป็นไม้ล้มลุก เหมือนต้นกระชายเหลืองที่เอามาแกงกัน เหง้ารูปทรงกลม เรียงต่อกัน มักมีขนาด เท่า ๆ กัน หลายเหง้า อวบน้ำ ผิวเหง้าสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลเข้ม อาจพบรอยที่ผิวเหง้าเป็นบริเวณที่จะงอก ของต้นใหม่ เนื้อภายในสีม่วงอ่อน ม่วงเข้ม จนถึงสีม่วงดำ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสชาติขมเล็กน้อย สรรพคุณทางยาของกระชายดำไม่เหมือนกับ กระชายเหลือง และกระชายแดง เป็นพืชคนละตระกูลกัน กระชายดำเป็นพืชวงศ์ขิงเช่นกัน แต่อยู่ในตระกูลเปราะหอม รูปร่างของรากและเหง้าจึงคล้ายขิงมากกว่า
กระชายดำ https://goo.gl/x6TzQ9
สรรพคุณของกระชายดำ https://goo.gl/ihzVjR
ข้อควรระวัง :
การรับประทานติดต่อกันนาน อาจทำให้เหงือกร่น และห้ามใช้ในผู้ป่วย โรคตับ และในเด็ก การรับประทานในขนาดสูง ทำให้เกิดอาการใจสั่นได้
https://goo.gl/VfdwkI วิธีทำน้ำกระชาย https://goo.gl/Nl6bDm
น้ำกระชายปั่น ดื่มเพื่อเพิ่มความสดชื่น บำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าได้เป็นอย่างดี ช่วยทำให้เส้นผมแข็งแรง เปลี่ยนผมขาวให้กลับเป็นดำ ช่วยทำให้ผมบางกลับมาหนาขึ้น และช่วยแก้ปัญหาผมหงอก ผมร่วงได้
คนปกติดื่มน้ำกระชายเพื่อบำรุง ป้องกันไม่ให้เป็นโรคไต ผู้ชายป้องกันไม่ให้ต่อมลูกหมากโต ผู้หญิงป้องกันไม่ให้มดลูกโต ในน้ำกระชาย 1 แก้ว มีคุณค่าสูงกว่านม 1 แก้วหลาย ๆ เท่า ถ้าให้เด็กได้ดื่มกินเป็นประจำจะช่วยสร้างกระดูกให้มีโครงสร้างที่แข็งแรง ต้องการให้หวานเติมน้ำผึ้งได้ ปั่นกระชายแล้วให้เก็บน้ำกระชายใส่ขวดแช่ตู้เย็นไว้เป็นหัวเชื้อได้หลายวัน เวลาจะทำเครื่องดื่มก็นำหัวเชื้อ กระชายมาเจือจางในน้ำ จะเติมดอกอัญชันก็ได้หรือเติมน้ำผลไม้ปั่นอื่น ๆ อีกหลายอย่างแล้วแต่จะดัดแปลง
อ้างอิง: https://goo.gl/U3EwCN https://goo.gl/Nl6bDm https://goo.gl/HQYcs6 https://www.doctor.or.th/article/detail/1321
รักไม่ต้องการเวลา - Klear
Create Date : 15 กันยายน 2557 |
Last Update : 16 กรกฎาคม 2564 13:46:03 น. |
|
48 comments
|
Counter : 18282 Pageviews. |
|
|
กุ้งกระเทียมพริกไทยและมันกุ้ง //goo.gl/WLzT11