https://www.forumkhonbaakpae.com/board/viewthread.php?รองเท้านารีเหลืองกาญจน์ (Paph. concolor Var stratianum) ชื่อวิทยาศาสตร์ Paphiopedilum spp.ชื่อสามัญ : Lady’s slipper orchid หรือ Venus’s slipper orchidชื่อไทย : รองเท้านารีวงศ์ : Orchidaceae (วงศ์กล้วยไม้)สกุล : Paphiopedilum (สกุลรองเท้านารี)ที่มาของชื่อสกุล : มาจากภาษากรีก คือ- Paphos = ชื่อของเกาะแห่งหนึ่งซึ่งมีวิหารที่สร้างอุทิศถวายแด่เทพีวีนัส (Venus)- Pedilum = รองเท้าแตะ (Slipper) รองเท้านารี เป็นกล้วยไม้สกุลหนึ่งที่มีการพัฒนาของกลีบปากได้อย่างน่าทึ่งมากที่สุด คือมีลักษณะเป็นกระเปาะคล้ายกระเป๋าหรือรองเท้าบูทของผู้หญิงอันเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า "lady slipper" หรือ "slipper orchid" กลีบปากที่เป็นกระเป๋านี้ยังได้ซ่อนกลเม็ดอันแยบยล เป็นกลไกที่บังคับให้แมลงเดินไปยังทางออกที่จัดไว้เฉพาะ เป็นผลให้เกิดการนำพาเกสรเพศผู้ไปผสมกับเกสรเพศเมียการสะสมของระดับน้ำในกระเป๋าเวลาฝนตก ระดับน้ำที่สูงขึ้นเป็นกลไกที่ทำให้เกิดการผสมเกสรได้ ยังคงมีความลับซ่อนอยู่อีกมากมายภายใต้ดอกกล้วยไม้แสนสวยเหล่านี้ประเทศไทยเป็นบ้านหลังใหญ่ของกล้วยไม้รองเท้านารีหลากหลายชนิด ชนิดที่พบในประเทศไทยคิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ต่อ 4 ของกล้วยไม้รองเท้านารีสกุล Paphiopedilum ทั้งหมดบนโลก (ทั่วโลกมีประมาณ 70 ชนิด) ซึ่งในจำนวนนี้มีชื่อเรียกภาษาไทยแตกต่างหลากหลายตามแหล่งที่พบ บางชื่อก็พบว่ามีชื่อวิทยาศาสตร์อันเดียวกัน ซึ่งพอจะสรุปได้ว่ามีประมาณ 24 ชื่อเรียกภาษาไทย 17 ชื่อวิทยาศาสตร์โดยแบ่งกว้าง ๆ ได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ กลุ่มที่มีกลีบดอกแผ่กว้าง ดอกมีลักษณะกลมหรือเกือบกลม สีพื้นดอกมักเป็นสีขาว ขาวครีม เหลืองอ่อนหรือเหลือง พบจุดประเล็ก ๆ สีเข้มกระจายบนพื้นดอก ใบสั้นและแผ่กว้างมีลายตารางหรือคล้ายหินอ่อนรองเท้านารีเหลืองปราจีน (Paphiopedilum concolor) https://goo.gl/9UsrBk photo by : ROJIN1. รองเท้านารีเหลืองปราจีน (Paphiopedilum concolor)2. รองเท้านารีเหลืองอุดร (Paph. concolor)3. รองเท้านารีเหลืองกาญจน์ (Paph. concolor Var stratianum)4. รองเท้านารีเหลืองตรัง (Paph. godefroyae)5. รองเท้านารีเหลืองพังงา (Paph. leucochilum)6. รองเท้านารีขาวชุมพร (Paph. godefroyae)7. รองเท้านารีขาวสตูล (Paph. niveum)8. รองเท้านารีช่องอ่างทอง (Paph. x Angthong)9. รองเท้านารีฝาหอย (Paph. bellatulum) กลุ่มที่มีกลีบดอกแคบเรียวยาว บางชนิดพบจุดใฝสีดำ หรือกลีบดอกบิดเป็นเกลียวมีความหลากหลายของสีสันรูปทรงของดอกมาก ใบยาวและแคบ บางชนิดพบลายตารางหรือคล้ายหินอ่อน (ชนิดที่ 10-14) บางชนิดใบเขียวไม่มีลายรองเท้านารีอินทนนท์ลาว (Paphiopedilum gratrixianum Rolfe)https://goo.gl/eIkHUY10. รองเท้านารีคางกบคอแดง (Paph. appletonianum)11. รองเท้านารีคางกบ (Paph. collosum)12. รองเท้านารีม่วงสงขลา (Paph. babartum)13. รองเท้านารีเกาะช้าง (Paph. siamensis)14. รองเท้านารีปีกแมลงปอ (Paph. sukhakulii)15. รองเท้านารีหนวดฤาษี (Paph. parishii)16. รองเท้านารีเชียงดาว (Paph. parishii)17. รองเท้านารีอินซิกเน่ (Paph. insigne)18. รองเท้านารีอินทนนท์ (Paph. villosum)19. รองเท้านารีอินทนนท์ใบแคบ (Paph. gatrixianum)20. รองเท้านารีดอยตุง (Paph. chaleswherthii)21. รองเท้านารีดอยตุงกาญจน์ (Paph. sp.)22. รองเท้านารีเหลืองกระบี่ (Paph. exul)23. รองเท้านารีเหลืองเลย (Paph. hirsutissimum) การปลูกเลี้ยงรองเท้านารี รองเท้านารี เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกหน่อ แต่ไม่มีลำลูกกล้วย หน่อใหม่จะแตกจากตาที่โคนต้นเก่า เจริญเติบโตในธรรมชาติมีทั้งชนิดที่เกาะอยู่บนต้นไม้ เช่น รองเท้านารีอินทนนท์ รองเท้านารีเมืองกาญจน์ และชนิดที่อยู่ตามพื้นดิน เครื่องปลูกและวิธีการเลี้ยงดูจึงแตกต่างกัน สำหรับพวกที่ขึ้นอยู่ตามต้นไม้มักอาศัยบนต้นไม้ที่มีเปลือกหนา หรือในบริเวณที่มีใบไม้ทับถมจำนวนมาก ชอบความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำ เครื่องปลูกควรดัดแปลงให้เข้ากับธรรมชาติให้มากที่สุด หรือใช้วัสดุที่หาได้ตามธรรมชาติมาใช้โดยธรรมชาติของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีทุกชนิด เมื่อออกดอกแล้วก็จะตายไปแต่ก่อนตายจะแตกหน่อทดแทน ซี่งหน่อนี้จะเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ต่อไปตัวอย่างเครื่องปลูกสำหรับรองเท้านารีกลุ่มนี้ 1. ถ่านทุบเป็นก้อนเล็ก ๆ 2 ส่วน2. ขี้เถ้าแกลบดำ 2 ส่วน3. ปุ๋ยหมัก 2 ส่วน4. ทรายหยาบหรือกรวด 3 ส่วน5. ดิน 1 ส่วน รองเท้านารีเหลืองกระบี่ (Paphiopedilum exul) https://goo.gl/eIkHUYส่วนรองเท้านารีที่อยู่ทางภาคใต้ เช่น รองเท้านารีเหลืองกระบี่ รองเท้านารีช่องอ่างทอง มักจะขึ้นอยู่ตามหน้าผาหินหรือมีหินปูนเป็นส่วนประกอบ เครื่องปลูกจึงต้องปรับให้เหมาะสมกับธรรมชาติ ตัวอย่างเครื่องปลูกที่ใช้ เช่น1. ปุ๋ยหมัก 2 ส่วน2. ทรายหยาบ 3 ส่วน3. ขี้เถ้าแกลบดำ 1 ส่วน4. ขุยมะพร้าว 1 ส่วน5. ดิน 1 ส่วน6. ปูนขาวหรือเปลือกหอยบด 1/2 ส่วน การดูแลกล้วยไม้รองเท้านารีนอกจากจะใช้เครื่องปลูกที่เหมาะสมแล้ว จำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของแต่ละชนิดด้วยโดยทั่วไปแล้วรองเท้านารีทุกชนิดไม่ชอบให้มีน้ำขัง วัสดุที่ใช้เป็นเครื่องปลูกต้องเลือกชนิดที่ไม่อมน้ำมากเกินไป รวมทั้งกระถางที่ใช้ต้องมีทางระบายน้ำที่ก้นกระถาง สังเกตดูว่าถ้ารดน้ำแล้วน้ำต้องระบายออกหมด ไม่มีน้ำขังส่วนจะรดมากน้อยเท่าใดก็ต้องดูเครื่องปลูกว่ายังชื้นอยู่หรือไม่ ถ้ารดน้ำตอนเช้าแล้วตอนบ่ายยังชื้นอยู่ก็ไม่ต้องรดซ้ำอาจเว้นวันหรือสองวันให้เครื่องปลูกแห้งแล้วค่อยรดน้ำการให้ปุ๋ยกล้วยไม้อาจใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 21-21-21, 18-18-18 สัปดาห์ละครั้ง ในช่วงที่กล้วยไม้กำลังให้ดอกให้สูตรตัวกลางสูงเดือนละ 1-2 ครั้ง สลับกับสูตรเสมอ รองเท้านารีเหลืองปราจีน (Paphiopedilum concolor)photo by : Anonymousรองเท้านารีเหลืองปราจีน (Paphiopedilum concolor)ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2402 มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี สระบุรี อุดรธานี นครนายกจันทบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ในต่างประเทศพบในจีนตอนใต้ พม่า อินโดจีน มักพบขึ้นตามผาหินปูนโดยขึ้นอยู่พื้นที่ค่อนข้างแฉะ ความชื้นสูง ปกคลุมด้วยพืชชั้นต่ำพวกมอส ซากใบไม้ที่ผุพังทับถม ได้รับแสงค่อนข้างมากลักษณะดอกสีเหลือง มีจุดละเอียดสีน้ำตาล กลีบดอกด้านบนผายออกคล้ายพัด ปลายมนสูง กลีบในกางพอประมาณเมื่อดอกบานจะคุ้มมาข้างหน้าแลดูคล้ายดอกบานไม่เต็มที่ ปลายกระเปาะค่อนข้างเรียวแหลม ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อก้านดอกสีเขียวอ่อน กลีบและกระเป๋าสีเหลือง มีจุดสีม่วงแดงกระจาย ดอกขนาด 8–12 เซนติเมตร มีใบลายค่อนข้างหนาท้องใบสีม่วง ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5 ซม. ดอกในช่อ 1-3 ดอก ขนาดดอก 4-6 ซม. ก้านดอกยาวมีขนออกดอกเมื่อสมบูรณ์เต็มที่และออกดอกตลอดปีhttps://www.tpaphio.com/infoboard/?infoboard=topic.1.42.1 สำหรับ เหลืองปราจีน (paphiopedilum concolor) เรียกตามแหล่งที่พบคือเจอจังหวัดไหนก็เรียกตามนั้นหรือจังหวัดใกล้เคียงกันก็เรียกตามจังหวัดที่ตั้งชื่อก่อนหรือรู้จักก่อนหากวิเคราะห์รองเท้านารีกลุ่มนี้โดยแยกลักษณะใบ จะมีหลายแบบ เช่น พวกใต้ใบสีออกม่วงดำก็จะมี เหลืองอุดรเหลืองกาญจน์ (จะมีลายเส้นเป็นขีดที่หลังคาบ้างหรือมีทั้งที่หลังคาและที่หูอย่างละเส้น) และอีกพวกหนึ่งที่อยู่แถว ๆจังหวัดประจวบฯ ส่วนพวกใต้ใบที่เป็นจุดเล็ก ๆ กระจาย มากบ้างน้อยบ้าง และที่ไม่มีจุดหรือเขียวล้วนจนดูเหมือนไม้เผือก เช่น เหลืองปราจีนที่พบแถวสระบุรี หรืออีสานตอนล่าง ยังมีไปถึงจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลยซึ่งต้นและใบจะใหญ่กว่าทั่ว ๆ ไปก็เหมือนกับคนภาคต่าง ๆ มีคนเหนือ คนอีสาน คนใต้ ฯลฯ แตกต่างกันไปบ้างแต่ก็เป็นคนไทยเหมือนกัน เพียงแต่สิ่งที่ทำให้ภาพลักษณ์ภายนอกต่างกันก็เพราะสภาพแวดล้อมแต่ละท้องถิ่นทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพอ้างอิงจาก wikipediaรองเท้านารีเหลืองปราจีน มีชื่อสามัญอื่นอีกคือ รองเท้านารีเหลืองอุดร และรองเท้านารีเหลืองกาญจน์ ??? รองเท้านารีเหลืองอุดร (Paphiopedilum concolor)รองเท้านารีเหลืองอุดร (Paph. concolor var. hennisianum) เป็น variety หนึ่งของ รองเท้านารีเหลืองปราจีน ซึ่งพบกระจายพันธุ์อยู่ในแถบภาคอีสานของประเทศไทยบริเวณจังหวัด อุดรธานี นครพนม สกลนครตามภูเขาที่ระดับความสูง 300-1,000 เมตรลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบลาย ท้องใบสีม่วง ก้านดอกยาวมีขน อาจมี 2–3 ดอกบนก้านเดียวกันได้กลีบดอกด้านบนผายออกคล้ายพัด ปลายมนสูง กลีบในกางพอประมาณ เมื่อดอกบานจะคุ้มมาข้างหน้าแลดูคล้ายดอกบานไม่เต็มที่ พื้นดอกสีเหลืองอ่อน มีประจุดเล็ก ๆ สีม่วงประปราย กระเปาะสีเดียวกับกลีบดอกปลายกระเปาะค่อนข้างเรียวแหลมและงอนโดย รองเท้านารีเหลืองอุดร นี้จะมีกระเปาะเรียวยาวกว่ารองเท้านารีเหลืองปราจีน ปลายเส้าเกสร (columnia)เป็นแผ่นใหญ่ รองเท้านารีชนิดนี้เป็นชนิดที่เลี้ยงง่ายมากที่สุดชนิดหนึ่ง ถ้าต้นสมบูรณ์แล้วสามารถออกดอกได้ตลอดปี รองเท้านารีเหลืองกาญจน์Paphiopedilum concolor (Lindl.) Pfitzer ver.Straitianum https://www.teeneelanna.com/moojoomhao/home/space.php?รองเท้านารีเหลืองกาญจน์ (Paph. concolor Var stratianum)เป็นรองเท้านารีในกลุ่ม concolor ที่มีลักษณะดอกค่อนข้างคล้ายกับเหลืองปราจีน เหลืองอุดร เหลืองสิงขรแหล่งที่พบ : อำเภอสังขละบุรีและด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีลักษณะ : คล้ายรองเท้านารีเหลืองปราจีน เหลืองกาญจน์จะออกดอกเดี่ยว ๆ ส่วนเหลืองปราจีนจะออกดอกเป็นช่อมี 2-3 ดอก ต่างกันที่กลีบดอกและกระเป๋าดูเรียวยาวกว่า กลีบสีเข้มกว่า และมีจุดสีม่วงแดงเรียงเป็นเส้นที่กลางกลีบนอกทั้งสามกลีบ ใบสีทึบกว่า ยาวกว่า ใต้ใบสีม่วงเข้ม รองเท้านารีเหลืองประจวบ Paphiopedilum concolor var longipetalum เหลืองประจวบ = คล้ายเหลืองกาญจน์แต่ใต้ใบเขียวไม่มีจุด รองเท้านารีเหลืองสิงขรPaph. concolor var. longipetalum (Rolfe) Gruss et Iamwiriyakul มีชื่อเดิมว่า Paph. concolor var longipetalum พบที่ฝั่งพม่า และเข้ามาประเทศไทยทางด่านสิงขร จังหวัดประจวบช่วงแรกใช้ชื่อเรียกว่า เหลืองประจวบ เนื่องจากมีรายงานการพบรองเท้านารีเหลืองปราจีนชนิดหนึ่งคือ Paphiopedilum concolor subsp. chlorophyllum หรือสมัยก่อนเรียกกันว่าเหลืองประจวบอยู่เดิมก่อนหน้านั้น เพื่อป้องกันการสับสนจึงเรียกว่า เหลืองสิงขร แทน รองเท้านารีขาวสตูล (Paphiopedilum niveum)ชื่อพฤกษศาสตร์ : Paphiopedilum niveumชื่อไทย : รองเท้านารีขาวสตูล, รองเท้านารีดอกขาวที่มาของชื่อพฤกษศาสตร์ : niveum = ขาวเหมือนหิมะ (Snowy)เป็นกล้วยไม้ดินขึ้นตามซอกหินปูนใกล้ชายทะเลทางภาคใต้ ใบค่อนข้างหนา ยาว 5-8 ซม. ปลายหยักมนใบมีลายสีเขียวเข้มสลับเขียวอ่อน ด้านล่างใบมีประจุดสีม่วง ก้านช่อดอกยาวประมาณ 15 ซม. ดอกในช่อ 1-2 ดอกดอกสีขาวมีจุดประเล็กสีม่วงเข้มที่บริเวณโคนกลีบ ขนาดดอก 4-6 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีประสีม่วงแกมแดงเป็นแนวยาวใกล้โคนกลีบ กลีบกระเป๋าผิวมัน ลำต้นสั้นแตกกอ เลี้ยงง่ายเติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้นออกดอก ช่วงเมษายน–สิงหาคม พบครั้งแรก : พ.ศ. 2411 (ค.ศ.1868) รองเท้านารีเหลืองพังงา(Paphiopedilum leucochilum)ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2435 ถิ่นกำเนิดอยู่บนภูเขาหินปูนแถบฝั่งทะเล ในจังหวัดภาคใต้ ลักษณะเด่น คือ มีลักษณะคล้ายกับรองเท้านารี “เหลืองตรัง” แต่รองเท้านารีเหลืองพังงาจะมีสีครีมออกเหลือง และที่กระเปาะมีจุดประเล็ก ๆ สีน้ำตาล รองเท้านารีคางกบ (Paphiopedilum callosum) รองเท้านารีคางกบ (Paphiopedilum callosum) ขึ้นตามพื้นดินในป่าดิบทางภาคใต้ ปลายหยักเป็น 3 แฉก ด้านบนมีลายสีเขียวสลับขาว ด้านล่างสีเขียวดอกขนาด 6 ซม. ดอกในช่อ 1-2 ดอกรองเท้านารีคางกบ เป็นรองเท้านารีประเภทใบลายสีเขียวสลับขาว ปลายใบเรียวแหลม ใบค่อนข้างบาง รูปขอบขนานยาว 10-15 ซม. กว้าง 2-2.5 ซม. ก้านช่อดอกยาว 15-20 ซม. ก้านดอกแข็ง ให้ดอกเดี่ยว ดอกมีจุดขาวใหญ่ มีขนที่จุดประปรายอยู่ตามผิวของกลีบในทั้งคู่ กลีบนอกบนตั้งและกว้างเล็กน้อย ริมกลีบสีขาว ด้านในมีเส้นสีม่วงคล้ำบนพื้นสีเขียว กลีบในทั้งคู่แคบ เฉียงลงด้านล่างเล็กน้อย รองเท้านารีคางกบคอแดง (Paphiopedilum appletonianum) https://goo.gl/EgfhXUลักษณะของใบมีลายคล้ายหินอ่อน ดอกเดี่ยว สีแดงอมชมพู โคนกลีบเขียว ใบประดับดอกรูปหอก ดอกกว้าง6 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงบนรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กลีบเลี้ยงคู่ข้างเชื่อมกัน กลีบดอกรูปแถบแกมรูปไข่กลับ ปลายกลีบบางครั้งมีแฉกขนาดเล็กสองแฉก กลีบขนานกับพื้น กลีบปากเป็นถุงลึก ขอบกลีบด้านบนเรียบไม่ม้วนเข้าช่วงเวลาออกดอกตามธรรมชาติคือช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม แต่มีรายงานว่าบางสายพันธุ์สามารถออกดอกได้ตลอดปี รองเท้านารีเกาะช้าง (Paphiopedilum siamense)https://goo.gl/1e51tdรองเท้านารีเกาะช้าง เป็นลูกผสมตามธรรมชาติของรองเท้านารีคางกบกับ รองเท้านารีคางกบคอแดงPaphiopedilum x siamense (P. appletonianum x P. callosum)ถิ่นกำเนิด : พบบริเวณเขาสอยดาว และ เกาะช้างถิ่นที่อยู่ : พบอยู่ตามภูเขาหินปูนที่อยู่ติดชายฝั่ง เป็นรองเท้านารีที่พบอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกับรองเท้านารีขาวสตูลลักษณะ : มีทั้งใบเขียวไม่มีลายและมีลายปนกันฤดูออกดอก : มีนาคม - เมษายน รองเท้านารีเมืองกาญจน์หรือหนวดฤาษี (Paphiopedilum parishii)อาศัยตามต้นไม้และบนพื้นดินในป่าดิบชื้นทางภาคตะวันตก ใบหนา มีสีเขียวตลอดทั้งใบ ใบมีขนาดใหญ่ 25-40 ซม. ปลายหยักก้านช่อดอกยาวประมาณ 30 ซม. มีดอกบนก้นช่อได้ 4-8 ดอก กลีบดอกสีเขียว ปลายกลีบสีม่วงปนน้ำตาล กลีบในเรียงแคบและบิดเป็นเกลียว ปลายกลีบมีสีน้ำตาลปนแดง รองเท้านารีอินทนนท์ (Paphiopedilum villosum) https://goo.gl/RvUoAmรองเท้านารีอินทนนท์ (Paphiopedilum villosum) ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2396 มีถิ่นกำเนิดในป่าดิบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล1,000 เมตร อยู่บริเวณแถบที่มีอากาศชื้นและอุณหภูมิต่ำ เช่น ดอยอินทนนท์ และภูเขาสูงลักษณะ ดอกสีเหลืองถึงส้ม กลีบเลี้ยงอันบนมีขอบสีขาว ใบ ยาว 15-20 ซม.ใบสีเขียวสม่ำเสมอทั้งใบ ไม่มีลายโคนใบส่วนใกล้กับเหง้ามีจุดสีม่วงประปราย และค่อย ๆ จางหายตรงส่วนปลายใบ ใบยาวบางและอ่อน ก้านช่อดอกยาว 15-20 ซม. ดอกกว้าง 7-10 ซม. กลีบดอกหนา พื้นกลีบเป็นมันเงา ดอกสีเหลืองปนน้ำตาล กลีบในทั้งคู่แต่ละกลีบมีเส้นแบ่งตามความยาวกลีบ เป็นรองเท้านารีที่มีเกสรตัวผู้ต่างจากชนิดอื่นคือ เกสรตัวผู้จับตัวรวมเป็นก้อนแข็งค่อนข้างใส มีสีเหลืองไม่เป็นยางเหนียว ออกดอก ฤดูหนาว รองเท้านารีเหลืองเลย (Paphiopedilum hirsutissimum)https://goo.gl/I4wAUOรองเท้านารีเหลืองเลย (Paphiopedilum hirsutissimum)ขึ้นตามพื้นดินหรือซอกหินอยู่ทางภาคเหนือ ใบสีเขียวตลอดทั้งใบ แต่ที่โคนกาบใบไม่มีจุดประสีม่วง ใบยาว 10-20ซม. ก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 ซม. ขนาดดอกกว้าง 8-10 ซม. กลีบดอกด้านบนสีแดงเข้ม ขอบกลีบสีเหลืองกลีบในสีชมพูแดง มีขนนุ่ม รองเท้านารีเหลืองกระบี่ (Paphiopedilum exul) https://goo.gl/Sl0nyJรองเท้านารีเหลืองกระบี่ (Paphiopedilum exul)เป็นกล้วยไม้เติบโตบนดินขึ้นตามซอกหินหรือหน้าผาหินปูนใกล้ทะเล ใบสีเขียวตลอดทั้งใบ ใบแคบและหนาปลายหยัก ใบยาว 10-20 ซม. ก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 ซม. ขนาดดอกกว้าง 6-10 ซม. กลีบดอกด้านบนมีริมสีขาว ในกลีบมีสีเขียว มีจุดสีม่วงอมน้ำตาล กลีบใบสีเหลืองแคบ ริมกลีบหยักเล็กน้อย ปากมีสีเหลืองอมเขียวค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2435 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบเกาะพงันจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะพังงา และจังหวัดชุมพร ตามผาหินปูนบริเวณหมู่เกาะฝั่งทะเลอันดามัน เป็นกล้วยไม้เติบโตบนดิน หรือตามซอกผาหิน ลักษณะดอกสีขาวและเขียว มีแต้มเหลือง ประจุดน้ำตาล ดอกเป็นดอกเดี่ยว เมื่อบานเต็มที่ขนาด 6-6.5 เซนติเมตร กลีบดอกนอกบนเป็นรูปใบโพธิ์กว้าง มีใบสีเขียวไม่มีลาย ใบแคบและหนา ผิวเป็นมัน เส้นกลางใบเป็นรอยลึกรูปตัววีก้านดอกแข็งยาว 13–15 เซนติเมตร ออกดอก เดือนมีนาคม- มิถุนายน รองเท้านารีฝาหอย (Paphiopedilum bellatulum)https://goo.gl/e7j1K6รองเท้านารีฝาหอย (Paphiopedilum bellatulum)พบตามซอกหินหรือโคนต้นไม้ในป่าดิบทางภาคเหนือ ใบค่อนข้างหนา ใบยาว 6-15 ซม. ปลายหยักมน ใบด้านบนมีสีเขียวแต้มประสีเขียวอ่อน ด้านล่างมีสีม่วง ก้านช่อดอกยาวประมาณ 4 ซม. ดอกในช่อ 1-2 ดอก รองเท้านารีดอยตุง (Paphiopedilum charlesworthii)รองเท้านารีดอยตุง (Paphiopedilum charlesworthii)ขึ้นตามหน้าผาที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ทางภาคเหนือ ดอกสีน้ำตาลอมม่วงกลีบเลี้ยงอันบนขนาดใหญ่สีม่วงดอกเป็นดอกเดี่ยว ขนาดดอกกว้างประมาณ 7-9 เซนติเมตร ช่อตั้งตรงยาว 10-12 เซนติเมตร กลีบบนพื้นสีขาวมีเส้นลายสีชมพูเข้มหนาแน่น ไล่จากโคนกลีบขึ้นไปด้านบน พุ่มต้นกว้างประมาณ 20-25 เซนติเมตรใบกว้าง 2.5-3 เซนติเมตร ยาว 20-25 เซนติเมตร ใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ใต้ใบบริเวณโคนกาบใบมีจุดประสีม่วง แตกหน่อง่าย มักเจริญเติบโตเป็นกอ ออกดอก สิงหาคม–ตุลาคม รองเท้านารีเหลืองตรัง (Paphiopedilum godefroyae)รองเท้านารีเหลืองตรัง (Paphiopedilum godefroyae)พบอยู่ตามซอกหินในป่าทางภาคใต้ของไทย ใบหนา ยาว 7-10 ซม. ปลายหยักมน ใบด้านบนมีสีเขียว ประเป็นจุดหรือแถบสีขาวด้านล่างมีแต้มสีม่วงแดง ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5-8 ซม. ดอกในช่อ 1-2 ดอก ดอกมีขนาดประมาณ 6 ซม. รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือรองเท้านารีสุขะกุล(Paphiopedilum sukhakulii) รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือรองเท้านารีสุขะกุล(Paphiopedilum sukhakulii) พบตามป่าดิบที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใบยาวรี 10-12 ซม.ปลายแหลมหยักตื้น ๆ ใบด้านบนสีเขียวอ่อนประสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวอ่อนอมเทา ก้านช่อดอกยาวประมาณ20-30 ซม. ขนาดดอก 5-8 ซม.รองเท้านารีสุขะกุล Pahiopedilum sukhakulii ชื่อนี้มาจากนามสกุลครอบครัวหนึ่ง ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทกล้วยไม้รองเท้านารีชนิดนี้มีลักษณะต้นและใบโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับรองเท้านารีคางกบ แต่หากสังเกตได้ถึงรายละเอียด จะพบความแตกต่าง เช่น โคนต้นหรือกาบใบในขณะที่มีสภาพอากาศค่อนข้างแล้งสักหน่อย จะปรากฏสีม่วงเล็กน้อยมีกลีบในทั้งคู่ค่อนข้างกางและปลายแหลม มีจุดกระจายอยู่ทั่วไปบนกลีบ และมีเส้นขนานเล็ก ๆสีเขียวยาวตามความยาวของกลีบ รองเท้านารีม่วงสงขลา/ม่วงรัตภูมิ หรือรองเท้านารีคางกบภาคใต้(Paphiopedilum barbatam)https://goo.gl/ZqR7Rxถิ่นกำเนิด อยู่ที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลาดอก ออกดอกเดี่ยว กว้าง 5 ซม. สีม่วงแดง ก้านดอกยาวกว่าใบ ใบประดับ ดอกรูปหอก กลีบเลี้ยงบนรูปรีแกมหอกกลับส่วนปลายสีขาวและมี เส้นสีม่วงอมเขียวเรียงขนานกัน กลีบเลี้ยงคู่ข้างเชื่อมกัน มีขนาดเล็ก กว่ากลีบเลี้ยงบน กลีบดอกรูปแถบปลายแหลมสีขาว ที่ขอบด้านบนมีตุ่มนูนขนาดเล็ก กลีบปากเป็นถุงลึกสีม่วงใบ รูปขอบขนานเรียงสลับระนาบเดียวด้านบนของใบมีลายคล้ายลายหินอ่อน ออกดอก ช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม รองเท้านารีเชียงดาว (Paphiopedilum dianthum)ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2483 ถิ่นกำเนิดอยู่บนดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือมีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีเมืองกาญจน์ แต่กระเปาะของรองเท้านารีเชียงดาวกว้างกว่า กลีบนอกบนสีเขียว มีเส้นเขียว รองเท้านารีอินซิกเน่ (Paphiopedilum insigne)https://goo.gl/I4wAUOรองเท้านารีอินซิกเน่ (Paphiopedilum insigne)แหล่งที่พบ ภาคเหนือของไทย ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียทางตะวันออกของเนปาลลักษณะดอก กลีบบนสีเหลืองอ่อน มีริ้วสีเขียวเรื่อ ขอบกลีบสีขาว บิดเป็นคลื่นเล็กน้อยกระเป๋าสีเหลืองเป็นมัน ออกดอก พฤศจิกายน-มกราคม หมายเหตุhttps://board.trekkingthai.com/board/show.php?1. Paph. concolor var. concolor = เหลืองกาญจน์ (รวมทั้ง Paph concolor var. concolor forma striatum ด้วย) ตัว type speciment เก็บที่พม่า2. Paph. concolor spp. chlorophyllum = เหลืองประจวบ คล้ายเหลืองกาญจน์ แต่ใต้ใบเขียวไม่มีจุด3. Paph. conolor var. longipetalum = เหลืองสิงขร มาจากฝั่งพม่าด้านด่านสิงขร ลักษณะดอกหูยาว ๆ4. Paph. concolor spp. regineri = เหลืองปราจีน คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าตัวนี้เป็น ตัว type5. Paph. concolor spp. hennisianum (hort.) = เหลืองอุดร อ้างอิง :https://www.encyclopediathai.org/Paphiopedilum/collosum.htmhttps://orchid-foru.blogspot.com/2009/02/blog-post_19.htmlhttps://www.tonmai2u.com/topic%20paphiopedilum.htmlhttps://www.weloveorchid.comJust for you - GIOVANNI MARRADI สนใจเรื่องกล้วยไม้อื่น ๆ ในบล็อกนี้ :เอื้องกะเรกะร่อน (Cymbidium) คลิกที่นี่กล้วยไม้ ... รู้หน้าไม่รู้ใจ คลิกที่นี่วานิลลา ... กล้วยไม้มหัศจรรย์ คลิกที่นี่กล้วยไม้ช้างกระ คลิกที่นี่ กล้วยไม้ช้างกระ เราก็มี คลิกที่นี่เอื้องผึ้ง (Dendrobium lindleyi) คลิกที่นี่กล้วยไม้แคทลียา (Cattleya) คลิกที่นี่ฟาแลนนอปซิส (Phalaenopsis) คลิกที่นี่
รองเท้านารีเหลืองกระบี่ (Paphiopedilum exul)
https://goo.gl/Sl0nyJรองเท้านารีเหลืองกระบี่ (Paphiopedilum exul)เป็นกล้วยไม้เติบโตบนดินขึ้นตามซอกหินหรือหน้าผาหินปูนใกล้ทะเล ใบสีเขียวตลอดทั้งใบ ใบแคบและหนาปลายหยัก ใบยาว 10-20 ซม. ก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 ซม. ขนาดดอกกว้าง 6-10 ซม. กลีบดอกด้านบนมีริมสีขาว ในกลีบมีสีเขียว มีจุดสีม่วงอมน้ำตาล กลีบใบสีเหลืองแคบ ริมกลีบหยักเล็กน้อย ปากมีสีเหลืองอมเขียวค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2435 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบเกาะพงันจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะพังงา และจังหวัดชุมพร ตามผาหินปูนบริเวณหมู่เกาะฝั่งทะเลอันดามัน เป็นกล้วยไม้เติบโตบนดิน หรือตามซอกผาหิน ลักษณะดอกสีขาวและเขียว มีแต้มเหลือง ประจุดน้ำตาล ดอกเป็นดอกเดี่ยว เมื่อบานเต็มที่ขนาด 6-6.5 เซนติเมตร กลีบดอกนอกบนเป็นรูปใบโพธิ์กว้าง มีใบสีเขียวไม่มีลาย ใบแคบและหนา ผิวเป็นมัน เส้นกลางใบเป็นรอยลึกรูปตัววีก้านดอกแข็งยาว 13–15 เซนติเมตร ออกดอก เดือนมีนาคม- มิถุนายน
อ้างอิง :https://www.encyclopediathai.org/Paphiopedilum/collosum.htmhttps://orchid-foru.blogspot.com/2009/02/blog-post_19.htmlhttps://www.tonmai2u.com/topic%20paphiopedilum.htmlhttps://www.weloveorchid.comJust for you - GIOVANNI MARRADI
สนใจเรื่องกล้วยไม้อื่น ๆ ในบล็อกนี้ :เอื้องกะเรกะร่อน (Cymbidium) คลิกที่นี่กล้วยไม้ ... รู้หน้าไม่รู้ใจ คลิกที่นี่วานิลลา ... กล้วยไม้มหัศจรรย์ คลิกที่นี่กล้วยไม้ช้างกระ คลิกที่นี่ กล้วยไม้ช้างกระ เราก็มี คลิกที่นี่เอื้องผึ้ง (Dendrobium lindleyi) คลิกที่นี่กล้วยไม้แคทลียา (Cattleya) คลิกที่นี่ฟาแลนนอปซิส (Phalaenopsis) คลิกที่นี่