แก้วกาญจนา หรือ อโกลนีมา (Aglaonema)
https://goo.gl/KfW9MV
แก้วกาญจนา หรือ อโกลนีมา (Aglaonema) ชื่อสามัญ : อโกลนีมา (Aglaonema), เขียวหมื่นปี (Chinese Evergreen) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aglaonema modestum วงศ์ : Araceae (วงศ์บอน) สกุล : Aglaonema
แก้วกาญจนา หรือ อโกลนีมา (Aglaonema) เป็นไม้ประดับที่มีความสวยงามที่ใบ ได้ชื่อว่าเป็นราชา แห่งไม้ประดับ สามารถวางประดับได้ทั้งในและนอกอาคาร เป็นลำดับพืชที่มีมากกว่า 40 ชนิด ปัจจุบัน มีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้มีสีสันสวยงาม นิยมเพาะเลี้ยงเพื่อความสวยงามและจัดเป็นไม้มงคล ใช้ใบประกอบการจัดดอกไม้ ได้รับความนิยมจากตลาดทั้งในและต่างประเทศ
https://artianocturna.deviantart.com/art/The-legacy-Aglaonema-1-213528801
ชื่อภาษาอังกฤษ มีรากศัพท์จาก ภาษากรีก คำว่า aglos แปลว่า แสงสว่าง หรือความสดใส คำว่า nema แปลว่า thread คือเส้นใยบาง ๆ หรือเกลียว มีการตั้งชื่อสายพันธุ์ภาษาไทยที่สื่อความหมายทางโชคลาภ เช่น กวักมหามงคล บัลลังก์ทับทิม บัลลังก์ทอง หยกกาญจนา
https://maidokmag.blogspot.com/2012/09/blog-post_15.html "เพชรน้ำหนึ่ง" แก้วกาญจนาประเภท ลูกผสมโพธิสัตว์ โพธิ์นำเงิน ที่ลำต้นไม่เลื้อย (กอ)
อโกลนีมา Aglaonema หรือที่เราเรียกว่า ว่านเขียวหมื่นปี ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Chinese Evergreen ในช่วงแรก ๆ นั้น ใบจะมีสีเขียว แล้วค่อย ๆ พัฒนาเป็นสีสันแปลกตาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
ว่านเขียวหมื่นปี เป็น 1 ในรายชื่อของพันธุ์ไม้ที่นักวิจัยระบุว่า ช่วยลดและกำจัดสารพิษจากวัสดุในอาคาร ที่อยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและประหยัด ช่วยลดมลพิษภายในอาคาร
https://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=78575.0
อโกลนีมา (Aglaonema) หรือ แก้วกาญจนา ได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งไม้ประดับ ที่มีทรงพุ่มสวยงาม ขนาด เล็กกระทัดรัด ใบมีสี และลวดลายที่หลากหลาย จากการที่มีการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์มาอย่าง ต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่ความสวยงามของอโกลนีมาเท่านั้น แต่ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ดี จึงเป็นเหมือนพืชที่ช่วยฟอกอากาศ และยังเป็นไม้มงคลที่ช่วยเสริมสิริมงคล และให้โชคลาภแก่ผู้ปลูก อีกด้วย ทำให้อโกลนีมาได้รับความนิยมในการนำมาประดับตกแต่งสวน อาคาร สถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน โรงแรม หรือ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
https://aglaonemathai.webiz.co.th/
อโกลนีมา (Aglaonema) เป็นไม้ป่าพื้นเมืองของประเทศแถบเอเชียตอนใต้ ปัจจุบันมีการ ปรับปรุงพันธุ์จนได้ลูกผสมพันธุ์ใหม่ ๆ ที่มีใบสวยงามหลากหลายสีสัน
ลักษณะของต้นอโกลนีมาที่ดี
มีใบสีแดง ยิ่งแดงราคายิ่งสูง นอกจากนั้นลักษณะรูปทรงต้องสวย ใบรูปหัวใจ ก้านและใบสั้น ตั้ง 45 องศา การผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ลูกผสมที่มีใบสีแดง แม่พันธุ์ที่ใช้ คือ โพธิ์บัลลังก์และขันหมากชาววัง ซึ่งทั้งสองพันธุ์ นี้จะแต่งแต้มลักษณะสีแดงบนใบให้แก่ลูกผสม https://goo.gl/ygOaQV
"ศิริโชค" https://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=6060.0
ได้รับพระราชทานชื่อใหม่จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 ว่า "แก้วกาญจนา" หมายถึง "งดงามสว่างไสวและสุกสว่างดุจดั่งทอง" ดังลักษณะและสีสันของใบ นอกจากนี้ ปัจจุบันนิยมปลูกเป็นไม้เศรษฐกิจส่งออกระดับประเทศสร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก
"อัญมณี" https://www.parichari.com/tag/tree/
อโกลนีมา เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงดูแลรักษาง่ายไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก สามารถเจริญงอกงาม ได้ดีในที่ที่มีแสงสว่างไม่มากนัก ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่แห้งแล้งและความชื้นต่ำได้เป็นอย่างดี
แสงแดด : อโกลนีมาไม่ชอบแสงแดดจัดเกินไป จะทำให้ใบไหม้ หรือ สีซีด ไม่สดใส จึงควรตั้งกระถางอโกลนีมาในที่ร่มรำไร
"เสริมทรัพย์" https://www.parichari.com/tag/tree/
การปลูกเลี้ยงและดูแลรักษา
การปลูกเลี้ยงอโกลนีมานั้น ถ้าปลูกเลี้ยงในที่มีแสงสว่างมากใบจะชูตั้งขึ้น ใบอาจจะสั้นลงแต่ก็จะมีสีสวย สดใส ถ้าปลูกเลี้ยงในที่ที่มีแสงสว่างน้อยใบจะลู่ราบลงขนานกับพื้น ใบจะยืดยาวสีไม่สดใส จึงควรปลูกเลี้ยง ในที่มีแสงเหมาะสมประมาณ 30-40% และมีแสงสม่ำเสมอรอบต้น หากได้รับแสงเพียงด้านใดด้านหนึ่ง จะทำให้ต้นเอียงไปทางด้านที่มีแสงมากกว่า แต่ถ้าให้ถูกแสงแดดโดยตรงจะทำให้ใบไหม้ได้
อโกลนีมา "วาเลนไทน์" https://bussamadee.diaryclub.com
การขยายพันธุ์ :
1. การแยกหน่อ
ต้นอโกลนีมาที่เจริญเติบโตเต็มที่จะแตกหน่อแทงยอดใหม่ที่เกิดจากตาข้างขึ้นมาเหนือดิน ทำให้เป็นพุ่ม กว้างออก ซึ่งสามารถแยกออกไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้ โดยเลือกยอดที่มีใบ 2 – 3 ใบ และเกิดรากแล้ว ใช้มีดที่คมและสะอาดตัดตรงรอยต่อระหว่างต้นเดิมและหน่อใหม่ ใช้ปูนแดงทารอยแผลที่ตัด ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วนำไปปลูกในวัสดุปลูกต่อไป
2. การปักชำยอด
วิธีนี้มักใช้กับต้นที่มีขนาดใหญ่และสูงชะลูด แต่ขาดความสวยงาม เลือกยอดที่สมบูรณ์มีใบ 5 – 6 ใบ ใช้มีดคม และสะอาดตัดส่วนยอดให้รอยแผลอยู่ชิดกับข้อต้นมากที่สุด ตัดใบออก 2 – 3 ใบ เพื่อลดการคายน้ำ นำไปปักชำ ในขุยมะพร้าวผสมขี้เถ้าแกลบหรือขุยมะพร้าวผสมทรายหยาบวางไว้ในที่ร่ม รดน้ำและรักษาความชื้นให้สม่ำเสมอ ใช้เวลาประมาณ 20 – 30 วัน ก็จะเกิดรากสามารถย้ายลงปลูกในดินได้ต่อไป
"Royal Treasure" https://goo.gl/BnkxgA
ในประเทศไทยของเรามีเซียน อโกลนีมา หลายท่านที่ผสมพันธุ์แล้วได้สายพันธุ์ใหม่ ๆ สีสวยแปลกตา และพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ หลายท่านบอกว่าต่างประเทศเขาผสมพันธุ์ได้ แต่การดูแลและลูกไม้ที่ได้นั้น ลักษณะ ของก้านและใบมีลูกเล่นสวยสู้ของเราไม่ได้
https://www.rv-orchidworks.com/orchidtalk/eye-candy/24564-thai-aglaonemas.html
ดิน หรือ วัสดุปลูก : ต้องใช้วัสดุที่โปร่งเบาระบายน้ำได้ดี เพราะทำให้ต้นโตเร็ว และรากไม่เป็นโรคเน่าง่าย โดยใช้ชิ้นมะพร้าวสับขนาดใหญ่ แกลบดิบเก่า (แกลบดิบที่ทิ้งไว้ 3-4 เดือน จนมีสีเหลืองคล้ำ) และใบก้ามปูผุ ในอัตรา 1: 1: 1 หรือ อาจผสมเศษถ่านหิน เพิ่มเข้าไปอีก 1/2 ส่วนก็ได้
อโกลนีมา "Legacy " https://www.parichari.com/tag/tree/
Tips : เมื่อปลูกเลี้ยงไปนาน ๆ ควรเปลี่ยนดินปลูกทุก 6 เดือน เพื่อให้อโกลนีมาเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
- เลือกใช้วัสดุปลูกที่สะอาด เพื่อลดโอกาสการเกิดโรค - ไม่ควรวางกระถางต้นอโกลนีมาบนพื้นดิน หรือ บนโต๊ะที่ชื้นแฉะ เพราะหากมีการระบายน้ำไม่ดีจะทำให้เกิดโรคได้
การให้น้ำ : อโกลนีมา ชอบสภาพแวดล้อมที่ชุ่มชื้น แต่ที่สำคัญต้องไม่แฉะ การรดน้ำจึงควรให้น้ำในเครื่องปลูก หรือวัสดุปลูกแค่ชื้น ๆ เท่านั้น เพียงวันละครั้ง ก็เพียงพอ หรือ อาจพิจารณาตามความเหมาะสมหากเป็นช่วง ฤดูฝน เพราะถ้าให้น้ำมากเกินไปจะทำให้รากเน่า และตายได้
https://maidokmag.blogspot.com/2012/09/blog-post_15.html "โคตรเศรษฐี" แก้วกาญจนาประเภท ไม้ก้านขาว ชมพู ผสมโพธิ์บัลลังก์ และชาววังใบปื้น ใบจุด
การใส่ปุ๋ย : ควรใช้ปุ๋ยออสโมโค้ท สูตร 14-14-14 โรยรอบโคนต้น หลังปลูก ตามอัตราต่าง ๆ ดังนี้
- กระถางขนาด 6-8 นิ้ว ใช้อัตรา 10 กรัม (1 ช้อนโต๊ะ) ต่อกระถาง - กระถางขนาด 10-15 นิ้ว ใช้อัตรา 20 กรัม (2 ช้อนโต๊ะ) ต่อกระถาง ใส่ทุก 3 เดือน หรือ อาจใช้ผสมร่วมกับวัสดุปลูกตั้งแต่เริ่มปลูกเลยก็ได้
อโกลนีมา "สยามออโรร่า"
เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงปากดูดที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้บริเวณที่ถูกเข้าทำลายเป็นสีเหลือง ใบเหี่ยว และร่วง ต้นชะงักการเจริญเติบโต มักพบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มตามซอกใบหรือโคนต้น เพลี้ยแป้งจะมีลักษณะ รูปร่างค่อนข้างกลม อ่อนนุ่ม มีผงสีขาวคล้ายแป้งปกคลุมอยู่ทั่วตัว และจะถ่ายมูลที่มีน้ำหวานของเพลี้ยแป้ง เมื่อมาพบกับสปอร์ของเชื้อราในอากาศทำให้เกิดราดำขึ้นปกคลุมต้น ทำให้ใบไม่สวย และพืชลด การสังเคราะห์แสงที่ใบ ส่งผลให้การสร้างอาหารไปเลี้ยงต้นลดลงด้วย
อโกลนีมา "บัลลังก์ทอง"
วิธีกำจัดเพลี้ยแป้งโดยวิธีธรรมชาติ
เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงที่คอยดูดกินน้ำเลี้ยงตามต้นไม้ ยอดใบอ่อน หรือใต้พุ่มใบ โดยอาศัยมดคอยคาบเพลี้ย ไปวางตามยอดไม้ แล้วคอยกินน้ำหวานที่เพลี้ยถ่ายออกมา ดังนั้นควรกำจัดต้นตอ คือ มด ออกไปเสียก่อน ถ้ายังมีเพลี้ยแป้งอยู่ก็ให้ตัดส่วนนั้นทิ้ง แต่หากเพลี้ยแป้งระบาดมาก ให้ฉีดสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือใช้ น้ำส้มสายชู 1 ฝา ผสมกับน้ำเปล่า 2-3 ลิตร พอให้เจือจาง นำไปผสมกับน้ำยาล้างจานเล็กน้อย แล้วฉีดพ่น ที่ตัวเพลี้ย ไม่นานเพลี้ยจะหายไป
Tips : ไม่ควรตัดใบที่เป็นโรคทิ้งบริเวณต้นที่เป็นโรคเดิม เพราะจะทำให้สปอร์ของเชื้อราแพร่กระจายไป ติดกับต้นอื่นที่อยู่ข้างเคียง โดยสปอร์ของเชื้อราสามารถปลิวไปตามลม การชะล้างของน้ำฝน และการรดน้ำ
https://www.thairath.co.th/column/life/tanudsri/335796
- หากพบการะบาดของพลี้ยแป้ง ควรใช้ สตาร์เกิล จี โรยรอบโคนต้น ตามอัตราต่าง ๆ ดังนี้
กระถางขนาด 6-8 นิ้ว ใช้อัตรา 10 กรัม ต่อกระถาง (1 ช้อนโต๊ะ) กระถางขนาด 10-15 นิ้ว ใช้อัตรา 20 กรัม ต่อกระถาง (2 ช้อนโต๊ะ)
แล้วรดน้ำตาม หลังจากนั้นประมาณ 3-4 วัน จะพบว่าเพลี้ยแป้งแข็งตายอยุ่ที่เดิมหรือ ร่วงหล่นลงมาจากต้น นอกจากนี้ สตาร์เกิล จี ยังสามารถป้องกันกำจัดมด พาหะสำคัญของเพลี้ยแป้งได้อีกด้วย
https://www.123rf.com/photo_16418778_aglaonema.html
อโกลนีมา เป็นไม้ประดับที่มีความโดดเด่น ปัจจุบันประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งในการผสมพันธุ์ ได้พันธุ์อโกลนีมา สวย ๆ เป็นที่ต้องการของตลาดไม้ประดับทั้งในและต่างประเทศโดยนิยมสีแดงสดใสเป็นอันดับแรก ซึ่งคาดว่า น่าจะยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่องอีกหลายปี เพราะตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง โดยเฉพาะตลาด อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญนอกจากนั้นยังมีตลาดใหม่ ๆ เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย
อ้างอิง : https://goo.gl/lSmAho https://www.parichari.com/tag/tree/ https://www.sotus.co.th/Home%20garden%20care_aglaonema.html https://agrimedia.agritech.doae.go.th/book/book-flowers/MM019.pdf
Richard Clayderman - Lady Di
Create Date : 13 สิงหาคม 2556 |
Last Update : 25 สิงหาคม 2565 10:10:45 น. |
|
61 comments
|
Counter : 181859 Pageviews. |
|
|
เปิดบ้านจ้าาา