กระเจี๊ยบเขียว (Okra)
 https://goo.gl/JlkOlA
ชื่อสามัญ : Lady's Finger, Okra ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abelmoschus esculentus (L.) Moench
ชื่ออื่น ๆ : กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น มะเขือขื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ กระต้าด ถั่วเละ กระเจี๊ยบขาว
ชื่อวงศ์ : Malvaceae (วงศ์ชบา)
 https://goo.gl/yZsjp0
กระเจี๊ยบเขียว มีหลายพันธุ์ ลักษณะแตกต่างกันตามพันธุ์ เช่น ความสูงของต้น ความยาวของฝัก สีของฝัก หรือจำนวนเหลี่ยมบนฝัก แต่สายพันธุ์ที่มีการเพาะปลูกเพื่อการส่งออกนั้นจะเป็นสายพันธุ์ที่มี ฝัก 5 เหลี่ยม สีฝักเขียวเข้ม เส้นใยน้อย ผิวฝักมีขนละเอียด ฝักดก ให้ผลผลิตสูง และมีลำต้นเตี้ย กระเจี๊ยบเขียวฝักสีแดง ฝักยาวกว่าชนิดฝักเขียว มีเมล็ดน้อยกว่า และที่สำคัญ มีเมือกน้อยกว่าชนิดฝักสีเขียว
 https://goo.gl/UOZrdq
 https://goo.gl/cOFH0y
กระเจี๊ยบเขียว มีดอกสีเหลืองอ่อน หรือ สีชมพู ตามสายพันธุ์ ที่โคนกลีบดอกด้านในจะมีสีม่วงออกแดงเข้ม ออกดอกตามง่ามใบ มีริ้วประดับเป็นเส้นสีเขียวประมาณ 8-10 เส้น เรียงเป็นวงรอบโคนกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยง มี 5 กลีบ และกลีบดอก 5 กลีบ ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมาก มีก้านชูอับเรณูรวมกัน ลักษณะเป็นหลอดยาว ประมาณ 2-3 เซนติเมตร หุ้มเกสรตัวเมียไว้ อับเรณูเล็กจำนวนมากติดอยู่รอบหลอด ก้านเกสรตัวเมียมีลักษณะ เรียวยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยอดเกสรตัวเมียเป็นแผ่นกลมมีขนาดเล็กสีม่วงแดง ยื่นพ้นปากหลอดดอก
 https://goo.gl/QqBVIn
ใบ กระเจี๊ยบเขียวเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ลักษณะของใบคล้ายรูปฝ่ามือเรียงสลับกัน ใบมักเว้า เป็น 3 แฉก กว้างประมาณ 10-30 เซนติเมตร ปลายใบหยักแหลม โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ มีเส้นใบออก จากโคนใบ 3-7 เส้น บางพันธุ์ที่มีฝักสีแดง เส้นใบก็จะเป็นสีแดงด้วย ใบมีขนหยาบ ก้านใบยาว
 Red Burgundy Okra ... https://goo.gl/KiCcpv
 https://goo.gl/xqp84l
ผล หรือ ฝักกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะคล้ายกับนิ้วมือผู้หญิง (Lady's Finger) ฝักมีสีเขียวหรือแดง ตามพันธุ์ ทรงเรียวยาว มักโค้งเล็กน้อย ปลายฝักแหลมเป็นจีบ ฝักมีเหลี่ยมเป็นสันตามยาวอยู่ 5 เหลี่ยม มีขนอ่อน ๆ อยู่ ทั่วฝัก ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ในฝักมีเมือกข้นเหนียว และมีเมล็ดลักษณะกลม ๆ อยู่มาก ขนาดประมาณ 3-6 มิลลิเมตร ฝักอ่อนมีรสหวานกรอบ ส่วนฝักแก่จะมีเนื้อเหนียว ไม่นิยมรับประทาน
 https://goo.gl/YqZFy7
ส่วนต่าง ๆ ของกระเจี๊ยบเขียวมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
ฝักกระเจี๊ยบเขียว (ผล) มีเส้นใยอยู่มาก จึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ได้ โดยช่วยรักษา ระดับการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้ใหญ่ให้คงที่ กระเจี๊ยบเขียวจึงเป็นผักที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรค เบาหวาน ในฝักกระเจี๊ยบเขียวจะมีสารที่เป็นเมือก ที่มีคุณสมบัติช่วยในการเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและ ลำไส้ได้ โดยป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลามของแผลได้เป็นอย่างดี และยังช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ สำคัญของการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ เปลือกต้นกระเจี๊ยบ สามารถนำมาใช้ทอกระสอบ ทำเชือก เชือกตกปลา ตาข่ายดักสัตว์ ใช้ถักทอเป็นผ้าได้ หรือทำเป็นกระดาษ ลังกระดาษก็ได้ ส่วนอื่น ๆ เช่น ดอกอ่อน และรากกระเจี๊ยบ สามารถรับประทานได้ แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก
 https://goo.gl/4vFMVu
ประโยชน์ด้านอาหาร : ลวกจิ้มเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริก ใส่แกงส้ม แกงใส่ปลาย่าง ยำกระเจี๊ยบ ฯลฯ สุดแต่จะนำไปประยุกต์ คนไม่เคยกินอาจกินได้ยากสักหน่อย เพราะข้างในฝักมียางเมือก ๆ หุ้มเมล็ดอยู่ คนสมัยก่อนนิยมเอาไปต้ม หรือต้มราดกะทิสดกินกับน้ำพริกกะปิ ปลาทู
 https://goo.gl/Nt4MDg
 https://goo.gl/1u8J1P
สรรพคุณทางยา : ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะในฝักกระเจี๊ยบมีสารเมือกพวกเพ็คติน (Pectin) และกัม (Gum) ที่มีคุณสมบัติช่วยเคลือบแผลในกระเพาะ ลดความดัน เป็นยาบำรุง เป็นยาระบาย แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด บำรุงกระดูก ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเลือด
 https://goo.gl/hFaiUC - https://goo.gl/IsVpgl
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด เติบโตได้ในทุกสภาพพื้นดิน ชอบความชื้นและแสงแดดปานกลาง
-------------------------------
อ้างอิง : https://goo.gl/ETMYMg https://goo.gl/2L0Ack https://goo.gl/QqBVIn
 Chamras Saewataporn
Create Date : 23 มีนาคม 2560 |
Last Update : 7 กรกฎาคม 2565 9:53:43 น. |
|
22 comments
|
Counter : 11292 Pageviews. |
 |
|
กระเจี๊ยบแดง (Roselle) คลิกที่นี่ค่ะ