มะเดื่ออุทุมพร หรือ มะเดื่อชุมพร (Cluster fig)
 https://goo.gl/liYwgC
ชื่อไทย : มะเดื่ออุทุมพร ชื่ออื่น : เดื่อเกลี้ยง, เดื่อน้ำ, มะเดื่อ, มะเดื่อชุมพร ชื่อภาษาอังกฤษ : Cluster fig, Goolar (Gular) Fig ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus racemosa L. ชื่อวงศ์ : MORACEAE (วงศ์ขนุน)
 https://goo.gl/pb4Y4I
ต้นมะเดื่อ ในภาษาบาลีเรียกว่า "ต้นอุทุมพร" หรือ "ต้นอุทุมพระ" มีชื่อท้องถิ่นแตกต่างกันไปในแต่ละ ท้องถิ่น ได้แก่ อีสาน เรียก "หมากเดื่อ", แม่ฮ่องสอน-กะเหรี่ยง เรียก "กูแช", ลำปาง เรียก "มะเดื่อ", ภาคกลาง เรียก "มะเดื่ออุทุมพร, มะเดื่อชุมพร, มะเดื่อเกลี้ยง", ภาคเหนือ-ภาคกลาง เรียก "มะเดื่อ, เดื่อเกลี้ยง", ภาคใต้ เรียก "เดื่อน้ำ"
บ้างก็ว่า ชื่อมะเดื่ออุทุมพรสันนิษฐานว่ามาจากการรวมชื่อมะเดื่อกับชื่อในภาษาสันสกฤต คือ Udumbara (Sanskrit : उडुम्बर) เป็น มะเดื่ออุทุมพร https://goo.gl/C3WP0T
 https://goo.gl/tQlreM
มะเดื่อ มีถิ่นกำเนิดในประเทศศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สายพันธุ์มะเดื่อ ที่มีอยู่ในโลก ซึ่งทางพฤกษศาสตร์ได้มีการรวบรวมไว้นั้นมีประมาณ 600 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่บ้านเรารู้จักกันดี คือ มะเดื่ออุทุมพร หรือ มะเดื่อชุมพร เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานประจำจังหวัดชุมพร
มะเดื่ออุทุมพร อยู่ในวงศ์ Moraceae (วงศ์ขนุน) เช่นเดียวกับ ต้นโพธิ์ ต้นไทร พืชในวงศ์นี้จะมียางสีขาว เหมือนน้ำนม ดอกเป็นช่อและผลเป็นผลรวม ยิ่งกว่านั้นยังเป็นญาติใกล้ชิดอยู่ในสกุล (Genus) เดียวกัน ถิ่นกำเนิดก็ อยู่ในบริเวณเดียวกัน จึงมีหลาย ๆ อย่างคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะด้านความเชื่อและความสัมพันธ์กับคนในท้องถิ่น
 https://goo.gl/CVofGC
มะเดื่อ ได้ถูกบันทึกไว้ในตำนานของชาวฮินดูว่าเป็นไม้มงคลและเป็นที่นับถือของคนไทย พม่า และมอญ มาแต่โบราณ ได้มีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ว่า มีการนำไม้มะเดื่ออุทุมพร มาทำเป็นพระที่นั่ง กระบวยตักน้ำมันเจิมถวาย และหม้อน้ำที่กษัตริย์ใช้ถวายน้ำในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
 The flower and fruit of the ficus racemosa https://goo.gl/8sgmBd
ชื่อมะเดื่ออุทุมพรเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย คือ พระเจ้าเสือนั้นเดิมทรงพระนาม ว่า เดื่อ เพราะเมื่อเกิดได้นำรกไปฝังไว้ใกล้ต้นมะเดื่อ สำหรับพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) ทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าดอกเดื่อ เพราะพระราชมารดาทรงพระสุบิน (ฝัน) ว่าพระองค์ได้ดอกมะเดื่อนั่นเอง ในอดีตคนไทยถือว่าดอกมะเดื่อ เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก นับเป็นบุญวาสนาจริง ๆ จึงจะได้เห็นหรือเป็นเจ้าของดอกมะเดื่อ การที่พระราชมารดาของพระเจ้า อุทุมพรทรงสุบินว่าได้ดอกมะเดื่อจึงนับเป็นมงคลยิ่ง จึงทรงตั้งชื่อโอรสว่า เจ้าฟ้าดอกเดื่อ และกลายเป็น พระเจ้าอุทุมพรในภายหลัง https://goo.gl/rggpv7
 https://goo.gl/dq10vk
ที่กล่าวว่าดอกมะเดื่อนี้ไม่มี หายากนัก น่าสงสัยว่าก็เมื่อมีลูกมะเดื่อแล้วทำไมไม่มีดอก เพราะไม่มีใครเคย ได้เห็นดอกของมะเดื่อเลย กล่าวกันว่า ดอกมะเดื่อมีแอบซ่อนอยู่ในลูกมะเดื่อนั่นเอง เมื่อบิออกจะเห็นเกสร อยู่ข้างใน และนั่นแหละคือดอกมะเดื่อ https://goo.gl/Ijj2N8
 https://goo.gl/m0bkD1
พืชในตระกูลนี้ ได้แก่ ต้นโพธิ์ ไทร ไกร กร่าง มะเดื่อ ออกลูกออกผลตามซอกใบหรือข้างลำต้น โดยไม่มีใครเคยเห็นมีดอกมาก่อน เป็นเรื่องมหัศจรรย์ของธรรมชาติ คำตอบอยู่ที่นี่ค่ะ https://goo.gl/F3bjiN
 https://goo.gl/affpbS
ต้นมะเดื่อ (ต้นอุทุมพร) โพธิญาณพฤกษา พันธุ์ไม้ที่พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ประทับตรัสรู้
ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ โกนาคมนพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 26 พระนามว่า พระโกนาคมนพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญธรรม 10 ประการบริบูรณ์ ข้ามทางกันดารได้แล้ว ทรงลอยมลทินทั้งปวงแล้ว ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม ณ ควงไม้มะเดื่อ หลังทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 6 เดือนเต็ม
 https://goo.gl/CVofGC
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5-20 เมตร ลำต้นเกลี้ยงสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเทา มีน้ำยางขาว กิ่งอ่อน สีเขียว กิ่งแก่มีสีน้ำตาลเกลี้ยง หรือมีขนปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ
ดอก ออกเป็นช่อ เกิดภายในฐานรองดอกที่มีรูปร่างคล้ายผล ออกที่ลำต้นและกิ่ง แยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ผล ออกเป็นกลุ่มรูปทรงกลมรี เกาะกลุ่มตามต้นและกิ่งห้อยระย้าสวยงามมาก ผลสุกมีสีแดงม่วง รับประทานได้ รสฝาดอมหวาน ดอกและผลออกทั้งปี
 https://goo.gl/HGhUu5 https://goo.gl/NNEMIV
ผลมะเดื่อ รูปกลมแป้นหรือรูปไข่ มีขน ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น ผลอ่อนจิ้มนํ้าพริกรับประทานได้ ภายในผลมีเกสรเล็ก ๆ เมื่อสุกจัดจะมีสีแดง เวลาบิออกมักจะมีแมลงหวี่ เข้าใจว่าแมลงหวี่จะเข้าไปฟักไข่ พอตัวแก่ ก็พากันเจาะออกมา ด้วยเหตุนี้กวีจึงชอบนำเอามากล่าวเปรียบเทียบเสมอ อย่างเช่นสุนทรภู่ได้กล่าวไว้ใน นิราศภูเขาทองตอนหนึ่งว่า
"ถึงบางเดื่อโอ้มะเดื่อเหลือประหลาด บังเกิดชาติแมลงหวี่มีในไส้ เหมือนคนพาลหวานนอกย่อมขมใน อุปไมยเหมือนมะเดื่อเหลือระอา"
 https://goo.gl/144sAQ
มะเดื่อ ขึ้นในธรรมชาติบริเวณป่าดิบชื้น บริเวณริมแม่น้ำลำคลอง ริมลำธาร หรือปลูกตามบ้านและริมทาง พบได้ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง จะเห็นลูกเต็มต้นห้อยย้อยระย้า ไม่นิยมนำมา รับประทานหรือทำอะไรอร่อย ๆ เหมือนมะเดื่อฝรั่ง (ลูกฟิก) เพราะโดนแมลงหวี่จับจอง แต่ก็มีประโยชน์สำหรับ เป็นอาหารของสัตว์ต่าง ๆ เช่น นก หนู กระรอก ฯลฯ
 https://goo.gl/eDHqNY
มะเดื่ออุทุมพรในฐานะผักและผลไม้
ส่วนที่นำมากินเป็นผัก คือ ช่อดอก (หรือที่เรียกว่าผลหรือลูกมะเดื่อ) โดยใช้ช่อดอกอ่อนหรือดิบเป็นผักจิ้ม หรือใช้แกง เช่น แกงส้ม ความจริงช่อดอก (ผล) ของมะเดื่อชนิดอื่นที่กินเป็นผักได้หลายชนิด แต่ส่วนใหญ่ ผลเล็กและรสชาติไม่ดีเท่าช่อดอกมะเดื่ออุทุมพร ช่อดอกแก่ (ผลสุก) สีแสดแดง กินเป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง
ช่อดอกแก่ (หรือผลสุก) ของมะเดื่ออุทุมพรนี่เองที่พบแมลงหวี่อยู่ภายในเสมอ จนทำให้คนไทยมีทัศนคติไม่ดี ต่อมะเดื่อ การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแมลงหวี่กับมะเดื่อ พบว่า ทั้งสองฝ่ายต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกัน และกัน (symbiosis) โดยมะเดื่ออาศัยแมลงหวี่ผสมเกสรให้ติดเมล็ด ส่วนแมลงหวี่อาศัยมะเดื่อเป็นอาหารและ ฟักไข่ให้เป็นตัวจนบินได้ จะเห็นว่าทั้งมะเดื่อและแมลงหวี่ต่างก็อาศัยอีกฝ่ายหนึ่งในการขยายพันธุ์เพื่อดำรง เผ่าพันธุ์ของตัว เป็นหน้าที่ที่ธรรมชาติเลือกไว้ให้โดยเฉพาะ
ประโยชน์และสรรพคุณของมะเดื่อ https://goo.gl/dq10vk

อ้างอิง : https://goo.gl/NNEMIV https://www.doctor.or.th/article/detail/2290 https://www.khontone.com/index.php?topic=2811.0 https://goo.gl/vHzAkg

โปรดติดตาม มะเดื่อฝรั่ง (fig) เอนทรี่ต่อไปจ้า ...
-----------------------------
บทเพลงบรรเลงชโลมใจ
Create Date : 22 มิถุนายน 2558 |
Last Update : 17 มกราคม 2564 17:35:49 น. |
|
30 comments
|
Counter : 31541 Pageviews. |
 |
|
ส้มมือ (Buddha's hand) คลิกที่นี่ค่ะ