มหัศจรรย์หนึ่งเดียวในโลก ใบไม้สีทอง ของดีนราธิวาส (Golden leaf bauhinia)
 https://board.postjung.com/664705.html
ชื่อไทย : ใบไม้สีทอง, ย่านดาโอ๊ะ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Bauhinia aureifolia K. & S.S. Larsen วงศ์ : Fabaceae หรือ Leguminosae สกุล : Bauhinia (สกุลเดียวกับ ชงโค) ชนิด : B. aureifolia
ใบไม้สีทอง ชื่อท้องถิ่นภาษายาวีว่า ย่านดาโอ๊ะ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Bauhinia aureifolia ตั้งชื่อ โดยศาสตราจารย์ ไค ลาร์เสน (Dr. Kai Larsen) นักพฤษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก เมื่อ ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532) ใบไม้สีทองเ ป็นพืชในสกุลเดียวกับ ชงโค มันจึงมีใบที่มีปลายแยกออกจากกัน ซึ่งเป็นลักษณะเด่น ของพืชในสกุล Bauhinia
 https://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=18743&st=1
ใบไม้สีทองเป็นพืชเฉพาะถิ่นของไทยและเป็นพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลก พบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2531 ที่บริเวณน้ำตกปาโจ อุทยานแห่งชาติบูโดสุไหงปาดี จ.นราธิวาส ประเทศไทยเรานี่เอง ในธรรมชาติ พบเฉพาะในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ชอบความชื้นในดินและอากาศสูง จึงมักเห็นขึ้นตามที่โล่งริมลำธารในป่าดิบชื้นของอุทยานแห่งชาติน้ำตกบาโจและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลา-บาลา อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ระดับความสูง 50-200 เมตร
 https://goo.gl/XlyFXf
ใบไม้สีทอง หรือ ย่านดาโอ๊ะ เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่มีมือเกาะม้วนงอเป็นตะขอคู่ เลื้อยขึ้นไป คลุมตามเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่ มีลักษณะเด่นตรงที่มีใบสีทอง และผิวใบนุ่มเนียนราวกับกำมะหยี่ รูปร่าง คล้ายใบกาหลงหรือชงโค แต่ขนาดใหญ่กว่า มีขอบหยักเว้าเข้าทั้งโคนใบและปลายใบ เติบโตโดยการเกาะ เลื้อยพันขึ้นไปผลิใบคลุมเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่ในป่า สูงถึง 30 เมตร เส้นรอบวงของเถาวัลย์ประมาณ 100 ซ.ม. ใบรูปหัวใจ ปลายใบรูปหัวใจกลับ กว้าง 10 ซม.ยาว 18 ซม. ผิวใบมีขนละเอียดคล้ายกำมะหยี่สีทอง
 https://www.siamensis.org/article/298 ใบที่เป็นสีทองจะพบเฉพาะยอดที่มีดอกเท่านั้น
ใบมีสองชนิด คือกลุ่มใบสีเขียวทำหน้าที่สังเคราะห์แสงสร้างอาหารและกลุ่มใบสีทองซึ่งมีน้อยกว่า และเมื่อไหร่ที่ใบไม้สีทองนี้ออกดอก ใบชุดที่เติบโตมาพร้อมช่อดอกก็จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีทองทันที
 https://goo.gl/WlrWw photo : wan1966 ใบอ่อนที่ยังไม่กางออกจะเป็นสีนาค
ใบกลุ่มสีทองนี้ ขณะเป็นใบอ่อนจะมีสีชมพู บางทีก็เรียกสีนาค (ใช้เวลา 2 สัปดาห์) เมื่อใบแก่ขึ้นจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีทองแดงหรือสีทอง (ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน) ระยะสุดท้ายจะเปลี่ยนเป็นสีเงิน (ใช้เวลา ประมาณ 6-7 เดือน) แล้วจึงทิ้งใบ https://goo.gl/Skur2
 https://www.siamensis.org/article/298 ดอกของใบไม้สีทองมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
หากได้เห็น ใบไม้สีทอง ยามที่ต้องกับแสงอาทิตย์ยามเช้า คงไม่มีใครปฏิเสธ ว่ามันเป็นใบไม้ชนิดหนึ่ง ที่งดงามที่สุดในโลกจริง ๆ ระยะที่จะเห็นใบเป็นสีทองชัดเจนในช่วงเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม ของทุกปี ต้นที่ปรากฏใบสีทองต้องมีอายุมากกว่า 5 ปี จะออกดอกในช่วงปลายปี ยามปลายฝนต้นหนาว ประมาณเดือน ตุลาคม - กุมภาพันธ์
 https://goo.gl/WlrWw photo : wan1966 ดอกสีขาวหอมและใบอ่อนสีนาค
ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีนวล มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ กลีบดอก 5 กลีบ เป็นรูปช้อน ขอบกลีบย่น ลักษณะคล้ายดอกเสี้ยว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มี ตั้งแต่ 10 ดอกขึ้นไป มีเกสรตัวผู้และตัวเมียยื่นออกมา เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ทะยอยบานไม่พร้อมกัน ในช่วงนี้ใบไม้ชุดที่เติบโต มาพร้อมช่อดอกจะเปลี่ยนเป็นสีทองเปล่งประกายสมชื่อ "ใบไม้สีทอง"
 https://goo.gl/g8TnIO photo : baora ผล เป็นฝักแบนคล้ายฝักดาบ ยาว 23 ซม. กว้าง 6 ซม. มีขนสีน้ำตาลแดงคล้ายกำมะหยี่ปกคลุม เมื่อแก่ จะแห้งและแตกออก เมล็ดแพร่กระจายไปได้ไกล หนึ่งฝักมีประมาณ 4-6 เมล็ด พบเห็นได้ทั่วไปในผืนป่า บูโด และบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ขยายพันธุ์ ด้วยการตอนกิ่ง และ เพาะเมล็ด ปักชำได้แต่ไม่ค่อยได้ผล
 https://www.baanlaesuan.com/plantlover/webboard/viewtopic.aspx?qId=3427
อาณาจักรใบไม้สีทอง อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในพื้นที่อำเภอบาเจาะ อำเภอ รือเสาะ อำเภอยี่งอ อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอระแงะ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีพันธุ์ไม้ที่มีค่านานาชนิด โดยเฉพาะปาล์มบังสูรย์และใบไม้สีทอง มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกต่าง ๆ ตลอดจนมีประวัติศาสตร์เป็นพื้นที่ของผู้ก่อการร้ายในนามขบวนการบูโดและขบวนการพูโล มีเนื้อที่ประมาณ 213,125 ไร่ หรือ 341 ตารางกิโลเมตร
 https://www.deepsouthwatch.org/dsj/3135
ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดีได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติ อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แล้ว โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 48ก วันที่ 17 มิถุนายน 2542 เป็นลำดับที่ 95 ของประเทศ
 https://chacreeya.wordpress.com/2008/08/28/wonderful-narathiwat/
ถึงแม้ว่าในธรรมชาติจะมีการแพร่กระจายพันธุ์ที่ไม่กว้างนัก แต่ก็น่ายินดีที่ใบไม้สีทองเป็นไม้ที่เพาะขยายพันธุ์ ไม่ยาก นอกจากเพาะเมล็ดแล้ว วิธีที่นิยมที่สุดก็คือการตอน ซึ่งสามารถนำมาปลูกลงดินที่ร่วนซุยและระบาย น้ำได้ดี แล้วสร้างค้างขนาดใหญ่ให้ หรืออาจจะปลูกใกล้กับไม้ใหญ่ สร้างหลักค้ำยันให้ในช่วงแรก แล้วจึงปล่อย ให้ค่อย ๆ เลื้อยพาดไปตามคบไม้ โดยไม่เจาะแย่งอาหาร ทำให้ไม้ต้นที่เป็นหลักก็ได้มีเครื่องประดับที่สวยงาม และในขณะเดียวกัน เจ้าใบไม้สีทองก็ได้อาศัยเป็นฐานที่มั่นคงเพื่อรับแสงอาทิตย์
ถึงแม้ในธรรมชาติ ใบไม้สีทองจะมีการกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะในป่าทางใต้ แต่ต้นที่ถูกนำมาปลูก แม้แต่ใน กรุงเทพฯก็ยังเติบโตและออกดอกได้เป็นอย่างดี แต่อาจไม่งดงามสมบูรณ์เท่าทางใต้บ้านเกิดของเขา
 https://naragoldenleaf.com/about.php
การนำใบไม้สีทองมาเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก
การหาวัตถุดิบ จะต้องผ่านการอนุญาตจากวนอุทยานฯ เนื่องจากใบไม้สีทองอยู่ในป่าลึก คนที่จะเข้าไปเก็บ ต้องเป็นผู้ชำนาญทาง โดยปีหนึ่งจะเก็บได้แค่ 2 ช่วง คือ เดือนมีนาคม และกันยายน เท่านั้น ใบที่เก็บมา เฉลี่ยจาก 100 ใบ จะมีใบสมบูรณ์สามารถนำมาจำหน่ายได้ประมาณ 20 ใบเท่านั้น จากคุณสมบัติใบไม้สีทอง เมื่อแห้งสนิทแล้ว จะมีความเหนียว ไม่แห้งผุ และสีทองจะยิ่งชัดขึ้น หลายคนซื้อเพราะเห็นว่าเป็นใบไม้มงคล โดยเฉพาะในช่วงใกล้เทศกาลตรุษจีน จะขายใบไม้สีทองได้จำนวนมาก ความแปลกของต้นใบไม้สีทอง ใน 1 ต้น จะมีการเปลี่ยนของสีใบถึง 3 สี คือ สีนาค สีเงิน และสีทอง (ฤดูร้อน, ฤดูฝนจะมีสีทอง และฤดูหนาวจะมีสีเงิน) ใน 1 ต้น จะมีใบสีนาคเพียง 1 ใบเท่านั้น (?) ทำให้ต้นใบไม้สีทอง กลายเป็นใบไม้มงคลตามความเชื่อ ที่หลายคนอยากมีไว้เพื่อเป็นสิริมงคล https://goo.gl/CAjtd
 https://goo.gl/cPWr4 Photo: Eric Danell, Dokmai Garden Bauhinia aureifolia, Fabaceae. Picture from March 10, 2013.
For a few days in early March the Thai endemic liana golden leaf bauhinia will shed all its leaves. The new leaves which emerge now wear frosty silver furs, as a change from the metallic red in the late rainy season (September).  https://goo.gl/vMcaC สถานภาพ : พืชถิ่นเดียวและพืชหายากในสภาพธรรมชาติ ปัจจุบันนำมาขยายพันธุ์ และปลูกเป็นไม้ประดับกันบ้าง แต่ยังไม่แพร่หลาย เพราะเป็นไม้เถาใหญ่ยักษ์ต้องการพื้นที่มาก
ใบไม้สีทองหนึ่งเดียวในโลกกลับมาเลือกที่จะอยู่เฉพาะเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เหมือนเป็นการชดเชยให้กับความไม่สงบในพื้นที่ แต่อย่างน้อยก็มีธรรมชาติ ที่สวยงามไว้ให้รื่นรมย์
สรรพสิ่งต่างพึ่งพาและอยู่ร่วมกันได้ ถึงแม้จะต่างชาติต่างเผ่าพันธุ์ แล้วทำไม มนุษย์ซึ่งเรียกตัวเองว่าสัตว์ประเสริฐ จึงไม่สามารถพูดคุย และอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
อ้างอิง: https://goo.gl/fe61e https://www.siamensis.org/article/298 https://naragoldenleaf.com/about.php https://board.postjung.com/664705.html https://www.taklong.com/south/show-south.php?No=515360
What a wonderful world - Richard Clayderman
Create Date : 22 กรกฎาคม 2556 |
Last Update : 6 มิถุนายน 2561 19:54:24 น. |
|
57 comments
|
Counter : 23959 Pageviews. |
 |
|
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ฟ้าใสวันใหม่ Home & Gargen Blog ดู Blog
สวัสดียามสายๆ วันอาสาฯ ค่า
สวยมากเลยค่ะ ชอบบบบบบบ แปลกดีจัง รูปใบก็สวย สีใบก็สวย ดอกก็น่ารักดีค่ะ
มีความสุขกับวันหยุดและการพักผ่อนนะคะ