หมามุ่ย (Cowitch)
 https://goo.gl/lL3nJ4
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mucuna pruriens (Linn.) DC. ชื่อพ้อง M. prurita Hook.f. วงศ์ : Leguminosae - Papilionaceae (วงศ์ถั่ว)
ชื่อสามัญ : Cowitch , Cowhage ชื่ออื่น : บะเหยือง หมาเหยือง (ภาคเหนือ) โพล่ยู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) กลออื้อแซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : หมามุ่ยเป็นไม้เลื้อยล้มลุกฤดูเดียวตระกูลถั่ว ลำต้นเล็กเหนียวคล้ายเชือก มีเถาเลื้อย ยาว 2-10 เมตร มีขนหนาแน่น ใบประกอบคล้ายใบถั่วฝักยาว คือมี 3 ใบย่อย ใบย่อยรูปไข่ปลายแหลม มีขนทั่วไป ดอกออกเป็นช่อห้อยลงสีม่วงแก่ถึงม่วงดำแบบดอกถั่ว ออกตามซอกใบแถวปลายยอด
 https://goo.gl/lL3nJ4
ทั่วโลกมีหมามุ่ยมากกว่า 100 สายพันธุ์ มีทั้งชนิดที่คันและไม่คัน ในประเทศไทยพบหมามุ่ยได้ประมาณ 13 สายพันธุ์ และส่วนใหญ่ที่ค้นพบในประเทศไทยจะเป็นสายพันธุ์ที่ตัวขนฝักมีพิษทั้งสิ้น
หมามุ่ย เป็นพืชเถาชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่แค่โดนแล้วจะคันคะเยอ แต่มีสรรพคุณมากมายกว่าที่คิด เพราะเมล็ดหมามุ่ย นั้น มีสารแอลโดปา (L-Dopa) ซึ่งเป็นสารที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบสืบพันธุ์ และเมื่อผ่านการสกัดเป็นยา ยังมีฤทธิ์ช่วยรักษาอาการของโรคพาร์กินสันได้อีกด้วย นอกจากนี้หมอยาแผนโบราณมีการนำหมามุ่ยมาใช้ อย่างหลากหลาย โดยนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ ราก ใบ ฝัก เมล็ด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเมล็ดที่ถือว่า เป็นพระเอกของเรื่องเลยก็ว่าได้ เพราะมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ https://goo.gl/qSuxI4
 https://goo.gl/OSQpwJ
ดอกหมามุ่ย ออกเป็นช่อกระจะ (raceme) ที่ซอกใบ ห้อยลงมา ยาว 15-30 เซนติเมตร ดอกสีม่วงคล้ำ มีกลิ่นเหม็นเอียน รูปดอกถั่ว ดอกย่อยมีจำนวนมาก ขนาดกว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 2-4 เซนติเมตร กลีบกลางรูปไข่ ปลายกลีบเว้า กลีบคู่ข้างรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กลีบเลี้ยง โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ สีน้ำตาลอ่อน มีขนคล้ายเส้นไหมปกคลุม เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านเกสรเชื่อมกันเป็น 2 กลุ่ม อับเรณูมีสองแบบ เกสรเพศเมีย มีรังไข่รูปแถบ มีขนยาวสีเทา รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ https://goo.gl/IwfzSw
 https://goo.gl/iYFjvg
ผล เป็นฝักยาว รูปร่างคล้ายถั่วลันเตา ปกคลุมด้วยขนละเอียดสีน้ำตาลอมแดงหรือสีทองอมแดง ที่เป็นพิษ และหลุดร่วงง่าย ภายในฝักมีเมล็ดรูปไข่กว้าง 0.8-1 เซนติเมตร ยาว 5-9 เซนติเมตร หนาประมาณ 5 มิลลิเมตร พอฝักแห้งขนจะหลุดร่วงปลิวตามลมได้ง่าย เมื่อโดนผิวหนัง จะทำให้คัน ปวดแสบปวดร้อน เมล็ดมี 4-7 เมล็ด สีดำเป็นมัน พบตามชายป่า ป่าไผ่ และที่โล่งในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ออกดอกและติดผลราวเดือน พฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
 https://goo.gl/eTH4Un
ฝักแก่จัดสีเหลืองทองถึงเหลืองแก่ ถ้าสัมผัสจะคัน ฝักแก่จัดขนจะร่วงปลิวไป พิษของหมามุ่ย อยู่ตรงขนอ่อน ที่ปกคลุม เมื่อผิวหนังสัมผัสกับขนพิษ ปลายยอดของขนจะแตกออก และฉีดสารพิษออกมา ทำให้ผิวหนังบวมแดง คันและปวดแสบปวดร้อน เพราะเป็นขนที่เต็มไปด้วยสารชนิดหนึ่ง เรียกว่า 'สารเซโรโทนิน' (serotonin) เมื่อโดนจะทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อน บวมแดงเป็นอย่างมาก
วิธีการรักษา ให้รีบกำจัดขนพิษออกจากบริเวณที่สัมผัส โดยใช้เทียนไขลนไฟให้อ่อนตัว หรือใช้ข้าวเหนียวคลึง จนเนื้อข้าวเหนียวกลืนกัน แล้วนำมาคลึงบริเวณที่สัมผัสขนหลาย ๆ ครั้งจนหมด หากยังมีอาการแดงร้อนหรือคันอยู่ ให้ทาคาลาไมน์โลชั่น หรือครีมสเตียรอยด์ เช่น ครีมพวกเพนนิโซโลน พร้อมกับรับประทานยาแก้แพ้ อาการก็จะดีขึ้น
 https://goo.gl/BOiufm
ใบ เป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ที่ปลาย รูปไข่หรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบกลางมักมี ขนาดใหญ่สุด กว้าง 3-10 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบสีเขียวอ่อนถึงแก่ มีขนปกคลุมใบทั้ง 2 ด้าน ฐานใบเบี้ยว ปลายใบมนหรือมีติ่งแหลม ขอบใบเรียบ เส้นกลางใบมี 3 เส้น
 https://goo.gl/4vzTwD
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา https://goo.gl/3B5efK
ตำราอายุรเวทของอินเดีย ใช้รักษาอาการของโรคคล้ายกับพาร์กินสัน ปัจจุบันพบ สาร L-dopa ในราก และเมล็ดหมามุ่ย ซึ่งออกฤทธิ์ในการรักษาโรคพาร์กินสัน แต่ต้องใช้ในรูปที่ผ่านวิธีการสกัดมาเป็นยาเม็ด เพราะร่างกายไม่สามารถรับสารในรูปแบบของเมล็ดแปรรูปหรือสดได้
 https://goo.gl/5hzlPP
เมล็ดของหมามุ่ยจะมีสาร L-dopa หรือ L-3, 4-dihydroxyphenylalanine (DOPA) อยู่ปริมาณสูง ซึ่งถูกนำมา ผลิตเพื่อการค้าในการรักษาโรคพาร์กินสัน สาร L-dopa นี้ เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท dopamine ซึ่งมีผลต่อสมองส่วนต่าง ๆในหลายเส้นทาง โดยเฉพาะการควบคุมการเคลื่อนไหว และยังมีผลทำให้ความดัน โลหิตต่ำลง การรับประทานในปริมาณที่มากอาจมีผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้นจึงไม่ควรเก็บหมามุ่ยมารับประทานเอง จนกว่าจะได้รับการยืนยันถึงสายพันธุ์ที่ใช้ทดสอบ และมีการศึกษาถึงความเป็นพิษในคนที่แน่ชัด https://goo.gl/BOiufm
 กาแฟหมามุ่ย https://goo.gl/5a9UHC
การรับประทานเมล็ดหมามุ่ยมีหลายวิธี ทั้งการป่นเป็นผงและกินผสมกับชาหรือกาแฟ หรือชงกินกับน้ำร้อนเปล่า ๆ
ประโยชน์และสรรพคุณของหมามุ่ย https://goo.gl/sLAk8W
 https://goo.gl/7ezMm7
การรับประทานเมล็ดหมามุ่ย ต้องคั่วให้สุกเพื่อทำลายสารพิษ และห้ามทานมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดอาการ ประสาทหลอนได้ เพราะในเมล็ดหมามุ่ยมีสารแอลโดปาที่จะทำให้สารสื่อประสาทเกิดความไม่สมดุลได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ที่ต้องใช้ยาทางจิตเวช เด็กและสตรีมีครรภ์ ไม่ควรทาน รวมทั้งผู้ที่ได้รับ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านเบาหวาน เพราะมันจะเสริมฤทธิ์กัน https://goo.gl/4JbChB

อ้างอิง : https://goo.gl/9m771i https://goo.gl/BOiufm https://www.velvetbeancapsule.com/ https://goo.gl/DmXfXO
Lenka - Trouble is a friend
--------------------------------------------------------------------
คุยกันท้ายเรื่อง ทำเรื่องนี้เพราะได้แรงบันดาลใจจากข่าวนี้ค่ะ https://www.prachatai.com/journal/2015/07/60239
Create Date : 10 สิงหาคม 2558 |
Last Update : 15 มกราคม 2564 22:58:10 น. |
|
22 comments
|
Counter : 10879 Pageviews. |
 |
|
ตำแยแมว เมี้ยว ๆ จ้า คลิกที่นี่ค่ะ