กระเจี๊ยบแดง (Roselle)
 https://goo.gl/etK1LP
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L. ชื่อสามัญ : Roselle, Rosella, Jamaican Sorrel, Red Sorrel วงศ์ : Malvaceae (วงศ์ชบา)
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบแดง, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง); ส้มเก็งเค็ง (ภาคเหนือ); ส้มพอดี (อีสาน); ส้มตะเลงเครง (ตาก); ส้มปู (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน); แบลมีฉี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แต่เพะฉ่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ปร่างจำบู้ (ปะหล่อง)
กระเจี๊ยบแดง (Roselle) เป็นไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็กอายุปีเดียว สูงประมาณ 50-180 ซม. มีหลายสายพันธุ์ ขนาดลำต้นประมาณ 1-2 ซม. แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ต้นอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ ลำต้น และกิ่งมีสีแดงม่วง เปลือกลำต้นบางเรียบ สามารถลอกเป็นเส้นได้ ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ กลีบดอกสีชมพู หรือ เหลือง ตรงกลางดอกสีม่วงแดง
 https://goo.gl/1liM63
กระเจี๊ยบแดง มีถิ่นกำเนิดในประเทศซูดาน และแถบประทศในทวีปแอฟริกา พบบันทึกการปลูกในไทย ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยกรมประชาสงเคราะห์ได้นำกระเจี๊ยบแดงพันธุ์ซูดานเข้ามาปลูกที่นิคมสร้างตนเอง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี https://goo.gl/3Dlq55
 https://goo.gl/WtGS6
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ มีกลีบดอกสีชมพูหรือสีเหลือง บริเวณกลางดอกจะมีสีเข้มกว่า คือสีม่วงแดง ดอกมีเกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ก้านดอกสั้น มีริ้วประดับเรียวยาวปลายแหลม มี 8-12 กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยายติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้มและหักง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีเส้น ผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร
 https://goo.gl/1B5Umi
กลีบดอกร่วงโรยไป กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงก็จะเจริญเติบโตเป็นสีม่วงแดงเข้ม หุ้มเมล็ดเอาไว้ภายใน ซึ่งจะกลายเป็นผลแห้ง แตกได้ มีเมล็ดเล็ก ๆ อยู่ภายใน
 https://goo.gl/MPbVKF - https://goo.gl/Q14MDb
เปลือกหุ้มเมล็ดหรือกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำที่หุ้มเมล็ดนี้ มีรสเปรี้ยว ส่วนนี้แหละ นำมาทำน้ำกระเจี๊ยบ หรือนำมากวน ทำแยมผลไม้ ส่วนที่เป็นสีเขียวเป็นเปลือกชั้นในที่หุ้มเมล็ด
 https://goo.gl/2cqPKc
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว มีหลายลักษณะ ลักษณะคล้ายรูปฝ่ามือ 3 แฉก หรือ 5 แฉก ใบเว้าลึกหรือเรียบ หรือใบเป็นรูปรีแหลม หรือรูปเรียวแหลม ขอบใบมีจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีความกว้างและความยาวใกล้เคียงกัน ประมาณ 8-15 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
 https://goo.gl/VGd6gf
ผล กระเจี๊ยบแดงเจริญจากดอก ถูกหุ้มอยู่ด้านในกลีบเลี้ยง ลักษณะเป็นรูปไข่ กลมรี ยาวประมาณ 2.5 ซม. มีจงอยสั้น ๆ มีขนสีเหลืองปกคลุม
การเก็บผลกระเจี๊ยบ
สามารถเก็บได้ทั้งในระยะดอกตูมหรือหลังจากดอกบานและร่วงแล้ว แต่โดยธรรมชาติ ดอกกระเจี๊ยบ ในระยะดอกตูมจะให้รสเปรี้ยวน้อยกว่าระยะติดเมล็ดหลังดอกบาน การเก็บดอกกระเจี๊ยบจะไม่สามารถ เก็บในระยะเดียวกันได้พร้อมกันหมด เนื่องจากแต่ละดอกในกิ่งมีอายุไม่เท่ากัน ดังนั้น ระยะแรก จะเก็บดอกจากโคนกิ่งก่อน
 https://goo.gl/Q14MDb - https://goo.gl/XKXaVp
การขยายพันธุ์ : ใช้เมล็ดปลูก ควรปลูกในหน้าฝน พรวนดินก่อนปลูก ขุดหลุมปลูกหลุมละ 2-3 เมล็ด ระยะห่างของหลุมประมาณ ½-1 เมตร พอต้นอ่อนงอกออกมาแล้ว ให้ถอนต้นที่อ่อนแอกว่าออกไป เอาต้นที่แข็งแรงไว้ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดวัชพืชออกให้หมด
 https://goo.gl/Pm0MQz - https://goo.gl/aFhtqb
สรรพคุณและประโยชน์ของกระเจี๊ยบ https://goo.gl/nXB5Td
ช่วยลดระดับไขมันเลว เพิ่มระดับไขมันดีในร่างกาย แล้วยังมีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมากใกล้เคียงกับ ผลบลูเบอร์รี เชอร์รี และแครนเบอร์รี เพราะอย่างนี้กระเจี๊ยบแดงจึงมีสรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง และชะลอวัย ได้อีกด้วย ส่วนของกระเจี๊ยบที่นิยมนำมาบริโภคก็คือ ผลและกลีบเลี้ยง นำมาคั้นเป็นน้ำกระเจี๊ยบแดง หรือนำมาทำเป็นสารสกัดกระเจี๊ยบแดง
 https://goo.gl/5dHo5P
 https://goo.gl/YP1FQz
คุณค่าด้านอาหาร : น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำดอกกระเจี๊ยบแดงมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมและแยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี อาหาร ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักทานได้ ใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี เป็นที่มาของชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม มีสาร Anthocyanin และโพลีฟีนอลซึ่งมีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกัน ไม่ให้มะเร็งมากล้ำกราย แถมชะลอความชราได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในกระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ไม่ควรดื่มมากเกินปริมาณเพราะอาจทำให้เกิดท้องเสียได้ นอกจากนี้น้ำกระเจี๊ยบสามารถใช้ทดสอบสารอาหารที่มีโปรตีนได้ โดยอัตราส่วน 1:2 สีแดงของน้ำกระเจี๊ยบจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือสีอื่น

อ้างอิง : https://goo.gl/w8VcQy https://goo.gl/CJ2fmV https://goo.gl/ZkDbEF
 Chamras Saewataporn
Create Date : 20 มีนาคม 2560 |
Last Update : 12 มกราคม 2564 8:18:59 น. |
|
18 comments
|
Counter : 7432 Pageviews. |
 |
|
ส่องไปเรื่อยเปื่อย 4 คลิกที่นี่ค่ะ