หอมดอกปีบ (Cork Tree)
 //goo.gl/eeegYT
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millingtonia hortensis L.f. ชื่อสามัญ : Cork Tree, Indian Cork วงศ์ : BIGNONIACEAE (วงศ์เดียวกับศรีตรัง และชมพูพันธุ์ทิพย์) ชื่ออื่น : กาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ) เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
 https://plus.google.com/107222471000409160935
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 5- 20 เมตร ลำต้นตรง ทรงพุ่มโปร่งสวย ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปไข่แกมใบหอกกว้าง 1.5- 2.5 ซม. ยาว 3- 5 ซม. ขอบใบหยักห่าง ๆ มีเปลือกหนา สีเทาเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ และมีเนื้อหยุ่นคล้ายจุกไม้ก๊อก มีช่องอากาศ เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน รากเกิดเป็นหน่อ เจริญเป็นต้นใหม่ได้ ทนแล้ง ไม่ทนน้ำท่วมขัง
ดอก (Flower) เป็นช่อแบบช่อกระจุกซ้อนตามปลายกิ่ง (inflorescence flower) แบบ panicle ยาว 10-25 ซม. สีขาว กลิ่นหอม ออกรวมกันเป็นช่อโต ๆ ตามปลายกิ่ง ดอกย่อยประกอบด้วย กลีบเลี้ยง มีสีเขียว กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาวประมาณ 0.5 ซม. แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง แต่ละดอกมีรูปร่างเป็นหลอดรูปแตรเรียวยาวถึง 6 ซ.ม. ปลายหลอด จะแยกบานเป็น 5 แฉก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ แต่ละดอกจะมีเกสรผู้ 4 อันกับหลอดท่อเกสรตัวเมีย 1 หลอด ยาวพ้นปากหลอดออกมาเล็กน้อย ตัวดอกห้อยลง ดอกในช่อทยอยบานเรื่อย ๆ ราว 1 เดือนดอกบานกลางคืน มีกลิ่นหอมเย็น ตอนสายดอกร่วงเกลื่อนใต้โคนต้น ดอกปีบจะหอมอยู่ได้นาน เพราะมีลักษณะเหมือน wax เคลือบอยู่ที่ดอก

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น กว้าง 13-20 ซม. ยาว 16-26 ซม. ก้านใบยาว 3.5-6 ซม. ตัวใบประกอบด้วย แกนกลางยาว 13-19 ซม. มีใบย่อย 4-6 คู่ ใบย่อย 4-6 คู่ กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 4-5 ซม. มีรูปร่างเป็นรูปหอกแกม รูปไข่ ฐานใบรูปลิ่ม ขอบหยักเป็นซี่หยาบ ปลายเรียวแหลม เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ เกลี้ยง ใบอ่อนมักจะมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมที่บริเวณท้องใบ
 //www.intragroove.com/2012/05/21
การออกดอกและการติดผล (Flowering and fruiting habit) จะออกดอกและติดผลในระหว่างเดือนตุลาคม - มีนาคม
การขยายพันธุ์ (reproduction)
ปกติใช้การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดที่เกิดจากฝัก และสกัดรากหรือชำจากลำต้นใต้ดิน หรือนำรากมาตัดเป็นท่อน ๆ แล้วนำมาชำในกระบะทรายที่ผสมขี้เถ้าแกลบ
การดูแล ปีบปลูกได้ทั้งในที่รำไรและแดดจัด ถ้าปลูกในที่แดดจัดและค่อนข้างชื้น ต้นจะโตเร็วมาก ถ้าไม่อยาก ให้สูงเกินไป ควรหมั่นเล็มกิ่งก้านให้แตกกิ่งออกทางด้านข้างแทน ถ้าปลูกในที่รำไรหรือที่ดินชื้น ต้นจะไม่สูงมาก แต่รากจะยืดยาว และแตกหน่อใหม่ตามรากเป็นจำนวนมาก
ผล (fruit) เป็นผลเดี่ยว (simple fruit) ประเภท ผลแห้ง (dry fruit) แบบ legume เป็นฝักแบน ตรง หัวแหลม ท้ายแหลม ขนาด กว้าง 2 ซ.ม. ยาว 30 ซม. เป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก
เมล็ด (Seed) รูปร่างแบน ๆ บาง ๆ สีขาวและมีครีบเป็นปีก เพื่อประโยชน์ในการปลิวไปตามลมได้ไกล ๆ ขนาดรวมทั้งปีกประมาณ 1.3 x 2.5 ซม. เมื่อบินไปร่วงหล่นที่ไหนก็งอกเป็นต้นใหม่ต่อไป
เนื้อไม้ (wood) ใช้ทำหีบห่อใส่ของ กระดาน เครื่องเรือน เปลือก (bark) ใช้ทำจุกก๊อก

สรรพคุณทางยาในตำรายาไทย ส่วนที่ใช้ : ราก ดอก ใบ
ราก - บำรุงปอด รักษาวัณโรค อาการหอบหืด ดอก - ใช้รักษาอาการหอบหืด ไซนัสอักเสบ เพิ่มการหลั่งน้ำดี (cholagogue) เพิ่มรสชาติ นำดอกปีบแห้ง ผสมยาเส้นใช้มวนบุหรี่สูบ สำหรับสูบสูด เพื่อรักษาอาการหอบหืด ใบ - ใช้มวนบุหรี่สูบ ขยายหลอดลม ใช้รักษาอาการหอบหืดได้เช่นกัน
คนสมัยโบราณนิยมเก็บดอกปีบมามวนผสมบุหรี่ นัยว่า ให้รสชาติหอมชื่นใจ แต่ตามตำราสมุนไพรพื้นบ้านบอกว่า ดอกปีบมีฤทธิ์รักษาโรคหอบหืด โดยใช้ดอกแห้งมวนเป็นบุหรี่สูบ พบว่าในดอกมีสาร hispidulin ที่ระเหยได้และมีฤทธิ์ใน การขยายหลอดลม รักษาอาการหอบหืด สูบแก้ริดสีดวงจมูก มีรสหวานขมหอม บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิตบำรุงกำลัง แก้ลม
ใครที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่ ลองเก็บดอกปีบมาใส่ขวดเล็ก ๆ (ขวดซุปไก่สกัดกำลังพอดี) วางประดับตามบ้าน เพราะจากการ วิจัยพบว่า สารระเหยในดอกปีบมีฤทธิ์ขยายหลอดลมได้ และดีกว่าตัวยาที่ใช้ในยาแผนปัจจุบันบางตัวเสียอีก
 ดอกปีบ บำรุงปอด ถุงลม แก้หอบหืด //www.thaigoodview.com/node/26169?page=0%2C6 เก็บดอกที่ร่วง (ดอกสะอาด) เอามาตากแดด (อย่าใช้แดดจัด) และตากให้แห้งสนิท จะได้ไม่ขึ้นรา นำมามวนใบตอง แล้วสูบ ช่วยบรรเทาอาการโรคหอบหืด ขยายหลอดลม และริดสีดวงจมูก หรือตากแห้งแล้วเอามาชงน้ำดื่ม บำรุงปอด
วิธีและปริมาณที่ใช้
แก้หอบหืด ใช้ดอกแห้ง 6-7 ดอก มวนเป็นบุหรี่สูบ นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการสกัดส่วนต่าง ๆ ของปีบ เพื่อหาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์ในการรักษา ตรวจพบสาร Scutellarein และ Scutellarein-5-galactoside จากดอกปีบ ต่อมาตรวจพบว่าในใบ มีสาร hispidulin ในผล พบ acetyl oleanolic acid ในดอก มีสาร Scutellarein, hispidulin และ Scutellarein-5-galactoside ในราก พบสาร hentriacontane, lapachol, hentria contanol-1, B-stosterol และ paulownin
//www.gotoknow.org/blogs/posts/487475เปลือก (bark) ใช้ทำจุกก๊อก ที่มาของชื่อ Cork Tree
ในส่วนของแก่นไม้และเปลือกของต้น พบสาร B-stosterol นำมาสก้ดออกจากดอกปีบแห้งโดยนำสารสกัดด้วย methanol มาแยกลำดับส่วนด้วย ปีโตรเลียมอีเธอร์ คลอโรฟอร์ม บิวธานอล และน้ำ นำส่วนต่าง ๆ เหล่านี้มาทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าส่วนสกัดจากคลอโรฟอร์มจะมีฤทธิ์ขยายหลอดลม ในขณะที่ส่วนสกัด Butanol และน้ำ จะมีฤทธิ์ทำให้หลอดลมหดตัว และพบว่าส่วนสกัดแยกส่วนด้วย Butanol จากสารสกัดด้วยน้ำ มีฤทธิ์ขยายหลอดลม จากการศึกษานี้ จึงเชื้อว่า hispidulin มีบทบาทสำคัญในการขยายหลอดลม ซึ่งขณะนี้กำลังมีผู้วิจัยศึกษาถึงฤทธิ์ขยายหลอดลมในร่างกายของสัตว์ทดลอง  //goo.gl/O2cm6iสำหรับการศึกษาในด้านความปลอดภัยของการใช้ดอกปีบในการรักษา ได้ศึกษาพิษเฉียบพลัน (acute) และกึ่งเฉียบพลัน (Subacute toxicity) อย่างไรก็ตาม การที่จะอธิบายได้ว่าผลที่เกิดขึ้นนี้ จากสารสกัดตัวใดนั้น ยังให้คำตอบไม่ได้ ต้องศึกษาสาระสำคัญแยกกันไป แม้ว่า hispidulin จะเป็นสาระสำคัญตัวหนึ่งที่แยกได้จากส่วนของคลอโรฟอร์ม พบว่าสาร hispidulin ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนสกัดจากคลอโรฟอร์มนั้น จะปรากฏอยู่ประมาณ 0.364% W/W ดังนั้นจึงควรทำการศึกษาพิษของ hispidulin ที่แยกให้บริสุทธิ์ แล้วจึงจะให้คำตอบที่ชัดเจนและถูกต้อง การศึกษาฤทธิ์อื่น ๆ ของสาร hispidulin และสารอื่น ๆ ที่แยกได้จากปีบ ควรที่ได้ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมตลอดจนกลไกที่เกี่ยวข้อง กับการออกฤทธิ์นั้นเพื่อประเมินศักยภาพของปีบ ในการนำมาใช้ในการรักษาหอบหืดในอนาคต  //thaimisc.pukpik.com/freewebboard
ปีบเป็นพันธุ์ไม้ที่มีทรงต้นสวย ดอกหอม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และเป็นไม้เกาะกลางถนน เหตุผลที่กรมทางหลวงเลือก "ปีบ" เป็นไม้เกาะกลางถนน เพราะเป็นไม้ป่าธรรมชาติซึ่งมีถิ่นกำเนิดในพม่าและไทย ทนต่อสภาพแห้งแล้ง มีลำต้นเดี่ยวไม่บังสายตา ตัดทอนยอดเป็นการควบคุมความสูง และให้เกิดพุ่มต้นแน่น มีกลิ่นหอม ใบละเอียด แสงส่องถึงพื้นได้ ไม่กระทบต่อการเจริญ เติบโตของพื้นหญ้าหรือพืชคลุมดินอื่น ๆ ที่ปลูกใต้ต้น เมื่อใบและดอกร่วงหล่นก็จะม้วนงอละเอียด และปลิวออกข้างทาง ไม่ทำให้ผิวจราจรสกปรก
 //mblog.manager.co.th/amseen/th-35830/
ดอกปีบสัญลักษณ์ของพยาบาลไทย
สภาการพยาบาลได้กำหนดให้ใช้ "ดอกปีบ" เป็น สัญลักษณ์ของพยาบาลไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา เนื่องจากดอกปีบเป็นดอกไม้สีขาวที่มีกลิ่นหอม ต้นปีบเป็นไม้ยืนต้น ขึ้นได้ในที่ดินแห้งแล้ง ราก ลำต้น และดอกใช้เป็นสมุนไพรได้ เปรียบกับพยาบาลในชุดสีขาวผู้พร้อมที่จะประกอบคุณงามความดี ประดุจกลิ่นหอมของดอกปีบ และพร้อมที่จะสร้างประโยชน์ เช่นเดียวกับการเป็นสมุนไพรของดอกปีบนั่นเอง

อ้างอิง: //dorkmaithai.exteen.com/20120817/entry //www.baanlaesuan.com/plantlover/webboard/viewtopic.aspx?qId=3643 //www.ข้อมูลสมุนไพร.com/ //www.dnp.go.th/mfcd1/saraburisite/webpage/tree9.htm
ღ ♥ .* Peace and Love *.♥ ღ
Create Date : 22 สิงหาคม 2555 |
Last Update : 14 พฤษภาคม 2560 22:28:35 น. |
|
86 comments
|
Counter : 23086 Pageviews. |
 |
|