
https://goo.gl/bR6XBf
การปลูก
บอนสี ควรจะปลูกในที่ที่มีความชื้นและไม่มีแดดร้อนจัดและดินที่ใช้ปลูกควรจะเป็นดินร่วนและในดินมี
อินทรียวัตถุผสมด้วยเช่นพวกซากใบไม้ที่ผุย่อยสลลายและควรใช้ปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยคอก) และไม่ควรเยอะเกินไป
เพราะดินจะเค็มทำให้ดินเสื่อม ควรรดน้ำทุกวันทั้งเช้าและเย็น อย่านำกระถางไปตั้งในที่แดดร้อนจัดเพราะใบ
จะไหม้และต้นก็จะตาย
บอนสี เป็นพืชที่ต้องการแสงเพื่อสร้างเม็ดสี แต่แสงจะต้องมีวัสดุมาพรางไว้ประมาณ 50 % อุณหภูมิ
ประมาณ 18 - 24 °C บอนสีต้องการความชื้นสูง ถ้าอากาศแห้งแล้ง ควรฉีดพ่นน้ำให้ที่ใบบ่อย ๆ
ต้องการน้ำมากไม่ถึงกับแฉะ ควรรดน้ำให้พอดีและสม่ำเสมอ

https://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php?topic=2782.60
การขยายพันธุ์
บอนสี ควรทำการขยายพันธุ์ใน ฤดูฝน วิธีขยายพันธุ์นั้นมีถึง 4 วิธีคือ
1. แยกหน่อ โดยการแบ่งหน่อของต้นบอนสีที่โผล่มาจากโคนต้นแม่
2. ผ่าหัว ควรใช้หัวที่มี อายุไม่เกิน 1 ปี จะช่วยให้ต้นที่เกิดใหม่โตเร็วและแข็งแรง นำไปชำในทรายสะอาด
หรืออิฐมอญทุบละเอียดหรือใช้ ขี้เถ้าแกลบที่ไม่มีความเป็นด่างก็ได้ รดด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา แล้วนำไป
ไว้ในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเท มีความชื้น ประมาณ 1-2 สัปดาห์ บอนสีจะแตกหน่อและราก พอเริ่มผลิใบได้
ประมาณ 1-2 ใบจึงย้ายไปปลูกในกระถาง
3. ผสมเกสร โดยเตรียมต้นบอนสีที่จะนำมาเป็นต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไว้ เมื่อต้นบอนสีออกดอกและบาน
ในช่วงเวลา ประมาณ 19.00 - 20.00 น. ให้ทำการผสมเกสร ซึ่งดอกบอนสีจะผสมติดภายใน 1 สัปดาห์
และฝักจะแก่เต็มที่ภายใน 30 วัน สามารถนำเมล็ดไปเพาะได้
4. เพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อ หรือปั่นตา ให้นำชิ้นส่วนเนื้อเยื่อเจริญของต้นบอนสีมาเลี้ยงในที่มีการควบคุมอุณหภูมิ
ความชื้น แสงสว่าง จนเกิดเป็นกลุ่มเนื้อเยื่อและพัฒนาเป็นบอนสีต้นใหม่
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
https://www.panmai.com/Caladium/Caladium_3.shtml

ศัพท์ที่ใช้เรียกส่วนต่าง ๆ ของใบ มีดังนี้
แผ่นใบ (leaf blade) เรียก ใบ
ก้านใบ (petiole) เรียก สาแหรกหรือทาง
เส้นก้านใบ เรียก สะพานหน้า
จุดที่เส้นใบจรดกัน เรียก สะดือ
ปลายสุดของก้านใบ เรียก สะดือใน
เส้นกลางใบ (midrib) เรียก กระดูก
เส้นใบเล็ก (vein) เรียก เส้น
จุดด่างที่เกิดบนใบ เรียก เม็ด
เส้นหรือขีดเล็ก ๆ สั้นบ้าง ยาวบ้าง ที่อยู่บนก้านใบมีสีน้ำตาลเข้ม เรียก เสี้ยน


บอนสี อิเหนา
บอนสี อิเหนา หรือ Angel-Wings, Elephant-Ear
วงศ์ : Araceae
ลักษณะเป็นบอนใบไทยรูปหัวใจ ปลายแหลม โคนเว้าลึก ใบเป็นสีขาวสดใส เส้นลายใบเป็นสีเขียวสด
มองเห็นชัดเจน ก้านใบยาวสีเขียวสด ใบชูตั้งขึ้น เวลามีใบดกมองดูเหมือนหูช้างสีขาว สวยงามมาก

บอนสี จำแนกตามลักษณะเด่นของใบ ได้ 5 ลักษณะดังนี้ คือ

https://sites.google.com/site/9sakol/laksna-doy-thawpi
1. บอนสีใบไทย
บอนสีใบไทย (thai-Native Leaf Caladium) รูปร่างใบคล้ายหัวใจ ก้านใบอยู่กึ่งกลางใบ
ปลายใบแหลมหรืออาจมนบ้าง และมีหูใบฉีกไม่ถึงสะดือ


https://sites.google.com/site/9sakol/laksna-doy-thawpi
2. บอนสีใบกลม
บอนสีใบกลม (Round-Leaf Caladium) รูปร่างใบค่อนข้างกลมหรือรี ปลายใบมนสม่ำเสมอ ก้านใบส่วนใหญ่
จะอยู่กึ่งกลางใบพอดีคล้ายใบบัว เป็นบอนที่นับได้ว่าเกิดขึ้นโดยฝีมือคนไทย เกิดขึ้นโดยการผ่าหัวขยายพันธุ์
ของบอนใบไทยเมื่อนำมาปลูกเลี้ยงแล้วเกิด ผิดแผกไปจากต้นเดิม


https://sites.google.com/site/9sakol/laksna-doy-thawpi
3. บอนสีใบยาว
บอนสีใบยาว (Long-Leaf Caladium) รูปใบเรียวหรือป้อม ปลายใบเรียวแหลม ก้านใบอยู่
ตรงรอยหยักบริเวณโคนใบพอดี และมีหูใบฉีกถึงสะดือ (ก้านใบ)


https://sites.google.com/site/9sakol/laksna-doy-thawpi
4. บอนสีใบกาบ
บอนสีใบกาบ (Sheath-Leaf Caladium) รูปร่างของก้านใบจะแผ่แบนตั้งแต่โคนใบถึงคอใบ
ลักษณะคล้ายใบผักกาด


https://sites.google.com/site/9sakol/laksna-doy-thawpi
5. บอนสีใบไผ่
บอนสีใบไผ่ ลักษณะใบแคบเรียวยาว ปลายใบเรียวแหลม
หูใบสั้นมีลักษณะคล้ายกับใบไผ่


https://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php?topic=9263.0
บอนสี ฮกหลง
บอนสีฮกหลง เป็นบอนโบราณพื้นใบสีชมพู เส้นใบสีขาว ใบยาว ปลายใบเรียวแหลม ลักษณะการเกิดสี
ของบอนฮกหลงจะเป็นบอนกัดสี ซึ่งหมายถึง ต้นบอนสีที่ยังเล็กอยู่จะมีใบสีเขียว แต่เมื่อโตขึ้นใบจะค่อย ๆ
เปลี่ยนเป็นสีชมพู และมีสีชมพูเพิ่มมากขึ้นในใบต่อ ๆ ไป
https://goo.gl/2zvAEM
ความเชื่อเกี่ยวกับบอนสี
สมัยโบราณถือว่าบอนสีเป็นไม้มงคลนิยมปลูกไว้ในบ้านพักอาศัย และเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นบอนสีไว้ประจำบ้าน
จะช่วยคุ้มครองให้เกิดความสงบสุข มีความสุขความเจริญ เป็นสิริมงคลแก่บ้านพักอาศัย ทำให้คนในบ้าน
มีความสุข ร่มเย็น
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นบอนสีไว้ทางทิศตะวันออก
ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทางใบให้ปลูกในวันอังคาร

อ้างอิง :
https://www.thaikasetsart.com
https://www.ptcn.ac.th/student/Sand5.html
https://sites.google.com/site/9sakol/laksna-doy-thawpi
https://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=22170.0
Richard Clayderman - Healing Medley