ดอกไม้ (ป่า) ... สวยงามเสมอ
 https://goo.gl/AaZcpr
ดุสิตา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Utricularia delphinioides Thor. ex Pell. วงศ์ : Lentibulariaceae (วงศ์สร้อยสุวรรณา) ชื่ออื่น ๆ : หญ้าข้าวก่ำน้อย, หญ้านกขาบ, ดอกขมิ้น
ดุสิตา เป็นดอกไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานชื่อไว้ เป็นไม้ล้มลุกกินแมลง อายุปีเดียว ขึ้นเป็นกอเล็ก สูง 10-20 ซม. มีใบที่เปลี่ยนเป็นถุงสำหรับดักจับแมลงขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อ ดอกย่อย 3-5 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวอมน้ำเงิน ปากด้านบนของกลีบดอกสีม่วงอมน้ำเงิน ปากด้านล่างมีลักษณะเป็นถุงคล้ายเรือ ส่วนท้องเรือสีฟ้า จงอยกลีบสีขาว ออกดอกเดือนตุลาคม-ธันวาคม
ผลเป็นผลแห้งชนิดแตกเมื่อแก่ พบในอินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบตามพื้นที่โล่งและชุ่มชื้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี
อ่านเพิ่มเติม : https://goo.gl/zZS73b
---------------------------
 https://goo.gl/OvZTKD
สร้อยสุวรรณา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Utricularia bifida L. วงศ์ : Lentibulariaceae ชื่ออื่น ๆ : เหลืองทอง, หญ้าพิศมร, หญ้าสีทอง
สร้อยสุวรรณา เป็นไม้ล้มลุก กินแมลง ขึ้นเป็นกอเล็ก ๆ สูง 10-15 ซม. อายุปีเดียว มีอวัยวะจับแมลง เกิดตามข้อของไหลหรือบนใบ รูปกลมขนาดเล็ก มีก้านชูสั้น ๆ ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อ ผลเป็นผลแห้งชนิดแตกเมื่อแก่
พบในอินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบตามพื้นที่โล่งและชุ่มชื้น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พบมากที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อุบลราชธานี เป็นดอกไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานชื่อไว้
----------------------
 https://goo.gl/OvZTKD
มณีเทวา
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : ManeeDheva Eriocaulon sp. วงศ์ : ERIOCAULACEAE ชื่ออื่น ๆ : กระดุมเงิน, หญ้าหัวหงอก, หญ้าผมหงอก, จุกนกยูง, หญ้าดอกขาว
มณีเทวา เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งขึ้นเป็นกอ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เติบโตแพร่พันธุ์ อย่างรวดเร็ว ... มณีเทวา เป็นดอกไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานชื่อไว้ ลักษณะเป็นกอขนาดเล็กคล้ายหญ้า สูง 2-6 ซม. ดอกสีขาว กลมเหมือนกระดุม มองคล้ายแก้วมณี สีขาวใสเป็นที่มาของชื่อ "มณีเทวา"
ผลเป็นผลแห้ง ชนิดเมื่อแก่แล้วไม่แตก ขึ้นตามพื้นที่โล่งชุ่มชื้นหรือชายป่าโปร่ง ในภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อ่านเพิ่มเติม : https://goo.gl/akp9a9
-------------------
 https://goo.gl/UAcQN8
สรัสจันทร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Burmannia coelestis D.Don วงศ์ : Burmanniaceae ชื่ออื่น ๆ : หญ้าหนวดเสือ, กล้วยมือนาง
สรัสจันทร หรือ Sarassa Chandhorn เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูง 10-30 ซม. ลำต้นเล็ก เรียว บอบบาง ดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็น 3 ปีก ส่วนปลายมีสีเหลืองหรือสีครีม ออกเป็นช่อกระจุก ที่ปลายยอด ใบเป็นใบเดี่ยว มีใบย่อยขนาดเล็กมากเกือบมองไม่เห็นแนบติดตามข้อ
 https://goo.gl/njlZRw
ออกดอกช่วง เดือนกันยายน ถึง ธันวาคม ผลเป็นผลแห้งไม่แตกเมื่อแก่ พบตามบริเวณ ทุ่งหญ้าเปิด ริมหนองน้ำและบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ จัดเป็นพืชหายาก เป็นดอกไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานชื่อไว้
อ่านเพิ่มเติม : https://goo.gl/o5Lwd8
----------------------
 https://goo.gl/k8najb
ทิพเกสร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Utricularia minutissima วงศ์ : Lentibulariaceae ชื่ออื่น ๆ : หญ้าฝอยเล็ก
ทิพเกสร เป็นไม้ล้มลุกกินแมลง สูง 10-30 ซม. ลำต้นเล็กมากอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยว และมีใบที่เปลี่ยนเป็นถุงสำหรับดักจับแมลงเป็นอาหาร ดอกสีม่วงอ่อนแกมชมพู
ผลเป็นผลแห้งชนิดแตกเมื่อแก่ พบในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย ขึ้นตามบริเวณพื้นที่โล่ง ชุ่มชื้น ในประเทศไทยพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นดอกไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานชื่อไว้
--------------------------
https://goo.gl/k8najb
นิมมานรดี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eria amica Rchb. f. วงศ์ : ORCHIDACEAE
นิมมานรดี เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ออกดอกเป็นช่อ ยาว 12-15 ซม. ก้านดอกมีขนนุ่มสีขาว กลีบเลี้ยง และกลีบดอกสีขาว มีขีดตามยาว สีแดงเข้ม กลีบปากที่ปลายมีพื้นสีเหลืองเข้มและมีแต้มสีแดงเข้มที่โคนกลีบ พบในอินเดียและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานชื่อไว้เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร พรรณไม้ที่บริเวณโคกนกกะบา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2534
---------------------
 https://goo.gl/1lR9Qf
แก้มอ้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pavonia rigida (Wall. ex Mast.) Hochr. วงศ์ : Malvaceae ชื่ออื่น ๆ : ขี้อ้น, อ้นแดง, หงอนไก่, หัวไก่โอก (อุบลราชธานี)
แก้มอ้น เป็นไม้พุ่ม ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ชูยอดตั้งขึ้น ดอกช่อกระจุกออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกสีชมพูหรือสีชมพูอมแดง ขนาด 4 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายมน โคนเรียว ส่วนโคนกลีบ ดอกเชื่อมกับฐานหลอดเกสรตัวผู้ กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ด้านนอกมีขน ริ้วประดับรูประฆัง ปลายแยกเป็นเส้นห้าแฉก เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เชื่อมกันเป็นกลุ่มเดียว เกสรเพศเมีย มีก้านชูเกสรแยกเป็น 10 แฉก
ผล เป็นผลแห้งแตกได้ ผิวมีขนเป็นริ้วประดับรูปถ้วยปกคลุม เมล็ดรูปไต พบตามป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ออกดอกราวเดือนตุลาคมถึงมกราคม
--------------------------------
 https://goo.gl/1lR9Qf
หญ้าบัว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xyris indica L. วงศ์ : Xyridaceae
ชื่ออื่น ๆ : หญ้าขนไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), หญ้าบัว หญ้าขี้กลากน้อย (อุบลราชธานี), หญ้าขี้กลาก (สระบุรี), หญ้ากระเทียม (ปราจีนบุรี), กระจับแดง (นราธิวาส), กุง, กระถินนา, กระถินทุ่ง
หญ้าบัว เป็นไม้ล้มลุกมีลำต้นใต้ดิน ใบเดี่ยว เรียงสลับ แตกจากลำต้นเป็นกระจุกใกล้พื้นดิน เป็นกอเจริญ ขึ้นมาเหนือดิน ลักษณะกอหญ้า ใบรูปแถบแคบ ห่อขึ้นเล็กน้อย ยาว 10-60 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือทู่ ค่อนข้างอวบหนา แต่เปราะหักง่าย ดอกรูปไข่หรือกลมรี ยาว 1-1.5 เซนติเมตร ใบประดับซ้อนกันแน่น สีน้ำตาลทองหรือน้ำตาลแดง ดอกสีเหลืองสด 3 กลีบ ปลายกลีบจักเป็นครุย ทยอยบานวันละ 1-3 ดอก เมื่อแก่ใบประดับจะแห้งหลุดออก มีเมล็ดอยู่ภายใน
------------------------------------------
 Chamras Saewataporn
Create Date : 27 มกราคม 2560 |
Last Update : 12 มกราคม 2564 8:15:49 น. |
|
18 comments
|
Counter : 10958 Pageviews. |
 |
|
หญ้าหวาน (Stevia) คลิกที่นี่ค่ะ
หมายเหตุ : ถ้าคลิกไม่เจอ เพราะอาจมีการย้ายกรุ๊ปบล็อกภายหลัง
กรุณาใช้เครื่องมือค้นหามุมขวาบนหน้านี้แทนนะคะ