Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มีนาคม 2559
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
11 มีนาคม 2559

เส้นทางแห่งเงินตรา : พิพิธภัณฑ์เหรียญ (3)




เมื่อตอนเข้ามาเราเข้าไปดูนิทรรศการทางขวาของอาคาร
ตอนนี้เราจะเข้าไปด้านซ้าย ห้องวิวัฒนาการของเหรียญไทย

เหรียญฟูนัน (พุทธศตวรรษที่ 6-10) รัฐที่ถูกบันทึกไว้เป็นอกสาร
จากพ่อค้าชาวจีนและอินเดียที่เดินทางเข้ามาค้าขายในสุวรรณภูมิ
ครอบคลุมตั้งแต่ภาคกลางของไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนามใต้
มีการผลิตเหรียญที่มีตราประทับสิ่งที่เป็นมงคล เช่นพระอาทิตย์

เงินตราที่มีต้นกำเนิดในรัฐไทย ที่เก่าแก่ที่สุดคือทวารวดี
มีความรุ่งเรืองอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-16 พบที่ภาคกลาง
และภาคใต้มีลักษณะกลมแบนประทับตราลายมงคลเช่นเดียวกับฟูนัน
เช่นพระอาทิตย์ กรศ แม่วัวลูกวัว ธรรมจักร แต่ที่มากคือศรีวัตสะ



อาณาจักรศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-18) ทางภาคใต้ไปถึงมลายู
พบเหรียญเงินและเหรียญทองคำขนาดเล็ก กลม
ด้านหนึ่งเป็นตราสีแฉกในกรอบสี่เหลี่ยม ด้านหนึ่งเป็นภาษาสันสกฤต
เขียนว่า วร แปลว่าประเสริฐ เรียกเหรียญดอกจัน

ช่วงปลายอาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมลงและตกอยู่ภายใต้การปกครองของชวา
ในที่สุดนครศรีธรรมราชก็แยกตัวมาและเปลี่ยนศาสนาจากมหายาน
มาเป็นเถรวาท และผลิตเหรียญขึ้นมาใช้เอง มีลักษณะแท่งยาวกลม
ด้านหนึ่งมรตัวอักษรสันสกฤต ตัว น ประทับเรียกว่า เงินนโม



สมัยสุโขทัยมีการใช้เงินกำไลขากลมและขาเหลี่ยมเป็นสื่อกลาง
โดยมีตราประทับอยู่บนเนื้อเงิน โดยแสดงถึงสถานที่ผลิต
และยังเป็นการตรวจสอบเนื้อโลหะและความบริสุทธิ์ของเนื้อเงิน
เมื่อการค้าขยายตัวออกไปตราประทับจึงเป็นสิ่งแสดงความน่าเชื่อถือ

ตราที่ปรากฏเช่น ช้าง สิงห์ กระต่าย เป็นต้น
มีความหมายที่เป็นสิริมงคลตามความเชื่อทางพุทธศาสนา
ซึ่งสุโขทัยได้รับสืบต่อมาจากทวารวดีและลพบุรี



เมื่อเวลาผ่านไป ก็มีการลดทอนรูปทรงเพื่อให้พกพาง่ายขึ้น
เหลือเพียงแค่วงแหวน และประทับตราคชสีห์ที่นิยมในสุโขทัย
นอกจากตราประทับยังมีการบากเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของเงิน
ในสมัยปลายสุโขทัยเงินกำไลกลายรูปมาเป็นเงินพดด้วง

ระบบน้ำหนักพดด้วงเป็นตัวบอกมูลค่า มีอัตราราคาตั้งแต่
2 อัฐ เท่ากับ 1 ไพ 4 ไพ เท่ากับ 1 เฟื้อง
2 เฟื้อง เท่ากับ 1 สลึง 4 สลึง เท่ากับ 1 บาท
4 บาท เท่ากับ 1 ตำลึง 20 ตำลึง เท่ากับ 1 ชั่ง

เงินพดด้วงนี้ยังมีการผลิตต่อมาถึงรัตนโกสินทร์ก่อนที่จะมีเหรียญกษาปณ์



วิธีการผลิตเริ่มต้นจากการตั้งเตาสูบลมที่ได้ความร้อนสูง



จากนั้นตัดแผ่นเงิน มาชั่งน้ำหนักให้ได้ตามต้องการ



นำไปใส่เบ้าหลอมแล้วเผาจนหลอมเหลว



เทลงในเบ้าไม้ที่รองด้วยผ้าขาวแช่อยู่ในถังน้ำเพื่อลดอุณหภูมิให้เย็นตัวลง



ช่างจะแกะแท่งเงินออกจากเบ้า ใช้ค้อนแต่งโลหะให้เข้ารูป



จากนั้นตอกตรา และตะไบรอยบากตามต้องการก็เป็นอันแล้วเสร็จ

และทั้งหมดนั่นคือองค์ความรู้ที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์เหรียญ
สังกัดกรมธนารักษ์ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เปิดใหม่และทันสมัยเป็นอย่างยิ่ง




 

Create Date : 11 มีนาคม 2559
5 comments
Last Update : 11 มีนาคม 2559 12:52:12 น.
Counter : 2802 Pageviews.

 

เคยทำฟันโลหะ ที่เล่าเรื่องการทำเงินพดด้วงมาทำเป็นหมดเลยค่ะ
+

 

โดย: tuk-tuk@korat 11 มีนาคม 2559 15:49:26 น.  

 

พิพิธภัณฑ์เหรียญตั้งใจจะพาน้องซีไปอู่ค่ะ

ปล.ขอบคุณที่แวะไปดูเราเซลฟี่กันนะค่ะ

 

โดย: kae+aoe 11 มีนาคม 2559 15:57:12 น.  

 

พรไม้หอม Health Blog ดู Blog
Rinsa Yoyolive Travel Blog ดู Blog
ที่เห็นและเป็นมา Art Blog ดู Blog
Max Bulliboo Health Blog ดู Blog
กะว่าก๋า Photo Blog ดู Blog
poongie Travel Blog ดู Blog
เนินน้ำ Technology Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ค่ะ



อ๋ออออ เช่นนั้นนั่นเอง ที่จริงเรื่องอาหารฮาลาล เราเคยพูดละเอียดๆ ไว้ที่เอนทรี่หนึ่งค่ะ เอามาแปะนะคะ เผื่อจะไปอ่านค่ะ

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=pakwan&month=09-12-2015&group=20&gblog=69

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 11 มีนาคม 2559 22:02:48 น.  

 

ตามมาอ่านต่อค่ะ

 

โดย: อุ้มสี 11 มีนาคม 2559 22:41:26 น.  

 

ชอบที่สุด ตรงทันสมัย สะอาด เดินดูสบายอารมณ์ที่สุดค่ะ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ไอเอิร์ธ Cartoon Blog ดู Blog
tuk-tuk@korat Travel Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 12 มีนาคม 2559 16:30:38 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]