Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
4 มิถุนายน 2553

พระนครศรีอยุธยา : วัดประดู่ทรงธรรม




วัดประดู่ทรงธรรมเป็นวัดโบราณในสมัยอยุธยา แต่ไม่พบหลักฐานว่า
สร้างขึ้นในสมัยใด และใครเป็นผู้สร้าง เพียงถูกกล่าวในพงศาวดารปี 2163
ว่าในคราวที่พระภิกษุสงฆ์ของวัดประดู่แปดรูป ได้ช่วยเหลือพระเจ้าทรงธรรม
หลบหนีจากการก่อกบฏของพวกญี่ปุ่นที่หมายปลงพระชนม์ชีพ

พระยามหาอำมาตย์กับพระยาเชคอะหมัดรัตนราชเศรษฐี รวมกำลังไทยพุทธกับชาวมุสลิม
เข้าปราบการจลาจลครั้งนั้นได้ทันท่วงที บ้านเมืองกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
ความชอบครั้งนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยามหาอำมาตย์เลื่อนเป็นเจ้าพระยากลาโหม
สุริยวงศ์ว่าที่สมุหนายกอัคร มหาเสนาบดีปักษ์ใต้ และให้พระเชคอะหมัดรัตนราชเศรษฐี
เลื่อนเป็นเจ้าพระยาเชคอะหมัดรัตนราชเศรษฐีว่าที่สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ

พระมหาอำมาตย์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ต่อมาได้เสวยราชสมบัติ
เป็นพระเจ้าปราสาททอง โปรดให้เลื่อนตำแหน่งเจ้าพระยาเชคอะหมัดรัตนราชเศรษฐีเป็น
เจ้าพระยาบวรราชนายก อยู่ในตำแหน่งจางวางมหาดไทย นับเป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกของประเทศไทย

นอกจากนี้ยังกล่าวถึงในคราวที่พระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร ทรงผนวชที่วัดประดู่ทรงธรรม
นี้เป็นวันสุดท้าย ก่อนถูกกวาดต้อนไปอังวะภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาในปี 2310
จากผลสงครามได้ส่งผลให้วัดประดู่เป็นวัดร้างจนกระทั่งหลวงพ่อรอดเสือ
ได้มาปฏิสังขรณ์ให้มีสภาพเป็นวัดและมีพระสงฆ์เข้ามาจำพรรษา



ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่าวัดประดู่ทรงธรรม
เข้าใจว่าคงอาศัยเหตุที่ครั้งหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระสงฆ์คณะนี้เคยได้รับการอุปถัมภ์
จากสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมาตลอดรัชกาล

ภายในพระวิหารของวัดมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 4
เป็นภาพไตรภูมิ เทพชุมนุม พุทธประวัติ ชาดก ขบวนช้าง ภาพการละเล่น
และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ส่วนลึกๆ แล้วแต่ละภาพกล่าวถึงอะไร
คงต้องใช้เวลานั่งดูกันเป็นวันๆ ยกเว้นแต่จะไปกับผุ้รู้เท่านั้น

แต่ที่แน่ๆ เลยสำหรับคนที่อยากจะดูภาพจิตรกรรมฝาผนังให้เป็น
พื้นฐานสำคัญก็ต้องรู้เรื่องทศชาติชาดก เป็นอย่างน้อย











Create Date : 04 มิถุนายน 2553
Last Update : 4 มิถุนายน 2553 22:39:28 น. 4 comments
Counter : 4960 Pageviews.  

 
เราไม่ค่อยทราบเรื่องชาดก แต่สามารถให้เพื่อน ( ที่เคยสอบเป็นไกด์ )เล่าได้ค่ะ ใช่ที่เป็นภาคต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้าหรือเปล่าคะ

เดี๋ยวพรุ่งนี้น่าจะเจอค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 4 มิถุนายน 2553 เวลา:22:50:22 น.  

 
ด้านหลังพระประธานเขียนเรื่องไตรภูมิด้านหน้าเขียนพุทธประวัติ มีพระเมรุมาศตั้งพระบรมศพของพระพุทธเจ้าอยู่กลางแวดล้อมด้วยเทพนั่งราชรถม้า ทั้ง2ข้าง ตอนล่างเป็นการเดินทางของพระมหากัสสปะ และภาพการละเล่นในงานเฉลิมฉลอง ในพิธีถวานพระเพลิงพระบรมศพ มีงิ้วมีโข ลำตัด การปีนเสาน้ำมัน หกสูง นอนปลายหอกและไต่ลวด ถาพผู้คนพลเมืองแออัดยัดเยียดกันดูโขน ผนั้งด้านหน้าระหว่างประตู มีอักษรจารึกอยู่กลางผนัง(รูปแรก)รอบๆเป็นภาพพุทธประวัติตอนรับข้าวมธุปายาส จากนางสุชาดา ข้างล่างมีสตรี5คนกำลังเก็บดอกไม้ใส่ขันทอง อีกด้านนึงเป็นฤาเดินนำกินรี3ตัวเหนือศรีษะฤษีมีถ้ำมีแมงมุมยักษ์ซ้อนตัว ตอนล่างเป็นภาพทรงรับหญ้าคาและทรงลอยถาดทอง

//www.reurnthai.com/index.php?topic=2861.0;wap2

การเขียนทศฃาติเป็นเขียนเพื่อประกอบการเทศน์
ซึ่งฃ่างโบราณจะเขียนเรื่องเดิมซ้ำๆกันเรื่อยมา
พอสมัยรัชกาลที่ 4 ศิลปะตะวันตกเข้ามา มีศิลปินดังอย่างขรัวอินโช่ง
วิธีการเขียนเปลี่ยนไป มีระยะ ช่องไฟ ในแบบสมจริง


โดย: VET53 วันที่: 5 มิถุนายน 2553 เวลา:0:08:28 น.  

 
บอกตามตรงว่าสนใจมาก ๆ แต่น่าอายที่ไม่ได้อ่านลึกซึ้ง ขอบคุณที่ทำให้รู้สึกว่า มีอะไรที่น่าสนใจและเราไม่ได้เอาใจใส่เท่าที่ควรอีกเยอะ และรวบรวมมาให้อ่านค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 5 มิถุนายน 2553 เวลา:23:57:06 น.  

 
ป้าแอ๊ดไปถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดสุวรรณดารารามเกี่ยวกับพระประวัติองค์พระนเรศวร
และภาพชาดกต่างๆ อันสวยงามไว้เยอะเลยค่ะ แต่ยังไม่ได้นำลงบล็อกค่ะ

ภาพจิตรกรรมฝาผนังของทุกวัดจะไม่เหมือนกันเลยค่ะ
เพราะเป็นคนชอบถ่ายภาพพวกนี้มาก
ไปวัดไหนต้องเก็บหมดค่ะ
ถ้ามีเวลาจะทะยอยนำลงไว้เป็นที่ระลึกค่ะ




โดย: addsiripun วันที่: 6 มิถุนายน 2553 เวลา:11:50:28 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]