Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มิถุนายน 2559
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
10 มิถุนายน 2559

วันสงกรานต์ : เทศกาลมอญปากเกร็ด (2)






ถ้าพูดเรื่องการสรงน้ำในวันขึ้นปีใหม่ปรากฏหลักฐานตั้งแต่สมัยอยุธยา
ในกฎมณเฑียรบาลและประเพณีสิบสองเดือนที่จะมีการสรงน้ำพระพุทธรูป
แต่ถ้าพูดถึงเรื่องการสาดน้ำของชาวบ้าน กลับไม่ปรากฏในจิตกรรมใดเลย
เราจึงไม่รู้ว่า การสาดน้ำเล่นกันในวันสงกรานต์นั่นเริ่มขึ้นตอนไหน

เพราะการสาดน้ำไม่พบเห็นในอินเดีย แต่พบที่พม่า ไทย ลาว และจีนตอนใต้
และคำว่าสงกรานต์ไม่ปรากฏหลักฐานในที่ใด จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 3
ที่ปรากฏหลักฐานการจารึกที่ศาลาด้านหลังของวัดพระเชตุพน เรื่อง
ตำนานนางสงกรานต์ ปัจจุบันหลักฐานชิ้นนี้ได้หายไปแล้วเหลือเพียงบันทึก

กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า มีเศรษฐีคนหนึ่งรวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร
ถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ
พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำ แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดา
รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐีจึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์

พระอินทร์ก็เมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี
เศรษฐีตั้งชื่อว่าธรรมบาลกุมาร และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย
ธรรมบาลกุมารโตขึ้นก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ

วันหนึ่งท้าวกบิลพรหมได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ
ถ้าตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย
คำถามคือ ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน
ธรรมบาลกุมารตอบไม่ได้จึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน

เข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล
เขาคิดว่าขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม
บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรีผัวเมียเกาะทำรังอยู่
นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด


สามีตอบว่าเราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร
ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสียด้วยแก้ปัญหาไม่ได้
นางนกจึงถามว่าคำถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง
ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า

ตอนเช้าศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า
ตอนเที่ยงศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก
ส่วนตอนเย็นศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน
ธรรมบาลกุมารก็ได้ฟังเรื่องที่นกอินทรีคุยกันจึงจดจำไว้

รุ่งขึ้นธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบท้าวกบิลพรหม
ท้าวกบิลพรหมเรียกธิดาทั้งเจ็ดมา แล้วบอกว่าจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร
แต่ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดินไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศฝนก็จะแล้ง
ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ

แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้นนางทุงษะ
ก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม เวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที
แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลีในเขาไกรลาศ จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี
ธิดาก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ

เทพธิดาทั้งเจ็ดนี้จึงได้ชื่อว่านางสงกรานต์



การจดบันทึกเรื่องนี้ โดยอ้างว่ามาจากรามัญก็ไม่น่าแปลกอะไร
เพราะหลักฐานอยุธยาก็หายไปสิ้น ซ้ำเชื่อกันว่าพระมอญมีพระวินัยบริสุทธิ์กว่าด้วย
เรื่องที่บันทึกไว้นี้คงเป็นความเชื่อที่มีมาอย่างยาวนาน แต่ที่น่าแปลกไปกว่านั้น
มีความเชื่อที่คล้ายกันในแถบมณฑยูนาน 3 เรื่อง แต่เรื่องที่แพร่หลายที่สุดคือ

มียักษ์นิสัยไม่ดีตนหนึ่ง อาละวาดสร้างความเดือดร้อนแก่ชาวบ้าน
ยักษ์ตนนี้มีภรรยา 7 คน คนสุดท้องอายุน้อยสุด และฉลาดที่สุด
เธอก็เป็นหญิงชาวบ้านที่ถูกฉุดคร่ามา จึงไม่ชอบยักษ์ตนนี้
แต่ปัญหาของเธอกับชาวบ้านคือ ยักษ์ตนนี้ฆ่าอย่างไรก็ไม่ตาย

วันหนึ่งในขณะที่ยักษ์ต้นนี้เมา หญิงสาวจึงหลอกถามว่า
เหตุใดท่านจึงเป็นอมตะ ยักษ์ก็ได้ตอบว่า
มีเพียงหนึ่งเดียวที่จะทำร้ายตนได้ นั่นคือเส้นผมของเราเอง

ตกดึกนางก็แอบถอนผมของยักษ์ตนนั้น แล้วใช้ปาดคอจนยักษ์นั้นสิ้นชีวา
แต่ศีรษะนั้นร้อนดั่งไฟ นางจึงโยนออกไปนอกบ้าน ปรากฏว่าทุกอย่างไหม้เป็นจุล
จึงหยิบศีรษะนั้นกลับมาอุ้มไว้ ปรากฏว่าก็ไม่มีอะไร เมื่อวางลงทุกอย่างก็ไหม้เหมือนเดิม
ภรรยาทั้ง 7 ของยักษ์ตนนี้จึงตกลงกันว่าจะผลัดกันอุ้มไว้คนละปี และนั่นคือตำนาน

เป็นที่มาของประเพณีชาวไทในยูนานที่จะมีการละเล่นสงกรานต์อย่างครื้นเครง
โดยมีกิจกรรมสามวันที่เหมือนกับที่เรารู้จักกัน มีการละเล่นมากกว่า 11 อย่าง
เช่นลอยโคม แข่งเรือ เป็นต้น เพราะคนไทในแถบนี้มีความใกล้ชิดกับสายน้ำ
และเป็นต้นรากของความเชื่อเรื่องพญานาค ที่สืบลงมาต่อเนื่องตามลำน้ำโขง

ทางภาษาศาสตร์ชี้ว่าภาษาไทยมีต้นกำเนิดมาจากคนไทที่อยู่ทางตอนใต้ของจีน
ดังนั้นการเลื่อนไหลทางภาษาและวัฒนธรรมย่อมลงมาจากตอนบนสู่ตอนล่าง
ประเพณีสงกรานต์ที่คนไทยพยายามจะเหมาว่าเป็นมรดกของตนเพียงชาติเดียว
รัฐบาลจีนพยายามโปรโมตให้มณฑลยูนานเป็นสถานที่ท่องเที่ยวคู่แข่งนั้น

เรื่องนี้นั้นคงให้คำตอบที่ชัดเจนว่าประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ
ล้วนมีการผสมผสานถ่ายเทถึงกัน ถ้าใครสักคนจะพูดถึงว่าเป็นวัฒนธรรมร่วมราก
ไม่ใช่เพราะอยากจะโลกสวย

เพราะเรื่องวัฒนธรรมเราไม่อาจแยกสิ่งใดได้ว่านี่คือของฉัน และนั่นคือของเธอ



Create Date : 10 มิถุนายน 2559
Last Update : 10 มิถุนายน 2559 12:34:54 น. 6 comments
Counter : 1212 Pageviews.  

 
นิทานเรื่องนี้พระจะเทศน์ให้ฟังทุกปีตอนทำบุญวันสงกรานต์เลยค่ะ ดีจังได้รู้ถึงประวัติวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา


โดย: touch the sky วันที่: 10 มิถุนายน 2559 เวลา:10:44:14 น.  

 
หือออ เพิ่งรู้ประวัติของทางจีนค่ะ ขอบคุณที่เอามาแบ่งปันนะคะ

วันนี้โหวตเต็มแล้ว พรุ่งนี้มาโหวตให้นะคะ


สลัดเคยลงค่ะ แต่เป็นร้านที่เชียงใหม่ ลงไปนานแว้ววว 555 ของกรุงเทพฯ มีร้านมังสวิรัติอยู่ค่ะ แต่ยังไม่ได้ทำเลย แง้ว


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 10 มิถุนายน 2559 เวลา:11:07:44 น.  

 
อ่านแล้วนึกถึงเรื่องโขนเลยค่ะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 10 มิถุนายน 2559 เวลา:17:19:16 น.  

 
ซูรูฮะ ขายของสารพัดเลยค่ะ ยา เครื่องสำอาง เวชสำอาง ขนม ของใช้

แม็กซ์แวลู ที่เจพาร์ค ของญี่ปุ่นก็เยอะค่ะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 10 มิถุนายน 2559 เวลา:17:20:57 น.  

 
โหวตความรู้ให้นะคะ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 11 มิถุนายน 2559 เวลา:7:04:32 น.  

 
สวัสดีค่ะ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น



โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 13 มิถุนายน 2559 เวลา:9:26:36 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]