Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กันยายน 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
20 กันยายน 2564

เที่ยวปราจีนบุรี : พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติปราจีนบุรี (1)



สถานที่แรกก็พลาดแล้ว ไปต่อดีกว่าที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติปราจีนบุรีอันอยู่ห่างไปไม่ไกล
จะบอกว่าที่นี่คือเป้าหมายหลักของการเดินทางในครั้งนี้ เพราะเคยเห็นแต่อินเตอร์เนทว่า
ที่นี่มีทับหลังเก่าสมัยก่อนเมืองพระนคร และจารึกปราสาทเขาน้อยสีชมพู ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
นั่นคือความรู้ก่อนที่ผมจะเดินทางไป แต่เมื่อมานั่งหาข้อมูลถึงพบว่า จารึกที่เก่าที่สุดคือ จารึกบ้านวังไผ่
 
พ.ศ.2508 กองโบราณคดีได้ทำการสำรวจขุดแต่งโบราณสถาน ในจังหวัดปราจีนบุรี 
และจังหวัดใกล้เคียงหลายแห่ง พบศิลปะโบราณวัตถุที่สำคัญเป็นจำนวนมาก
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ และโบราณคดี 
กรมศิลปากรจึงได้มีดำริให้จัดสร้างแห่งชาติปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. 2515 
 
แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 5 ห้อง ได้แก่ ห้องประวัติศาสตร์และโบราณคดีภาคตะวันออก
ห้องชุมชนโบราณในภาคตะวันออก ห้องพัฒนาการของชุมชนและเมืองโบราณในภาคตะวันออก
ห้องวัฒนธรรมลุ่มน้ำบางปะกง และห้องเมืองศรีมโหสถ นครรัฐแรกเริ่มแห่งลุ่มน้ำบางปะกง 
 
โบราณวัตถุที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ส่วนมากได้มาจากแหล่งโบราณคดีสำคัญ
ได้แก่ เมืองโบราณดงละคร เมืองศรีมหโสถ เมืองโคกพนมดี และปราสาทเขมรในพื้นที่
โดยมีมากมายหลายชิ้น ดังนั้น ผมจะขอนำเฉพาะชิ้นสำคัญๆ มาเล่าให้ฟังก็แล้วกัน
 

1. เจ้าแม่โคกพนมดี
 
แหล่งโบราณคดีโคกพนมดีตั้งอยู่ที่ อ. พนัสนิคม จ. ชลบุรี
จากหลักฐานโบราณดีแสดงให้เห็นว่า มีการตั้งถิ่นฐานเมื่อราว 3500-4000 ปีก่อน
เป็นชุมชนล่าสัตว์และจับสัตว์น้ำเป็นอาหาร มีประเพณีฝังศพที่เป็นแบบแผน
มีการทำภาชนะดินเผาหลายรูปแบบ มีสังคมที่มีระดับชนชั้น
มีการแบ่งงานกันทำ เป็นกลุ่มช่างฝีมือ และมีการแลกเปลี่ยนสินค้ากับชุมชนใกล้เคียง
 
สิ่งจัดแสดงเด่นในห้องนี้ คือเจ้าแม่โคกพนมดี ซึ่งก็คือโครงกระดูกของสตรี เมื่อราว 3600 ปีก่อน
ที่ถูกประดับตกแต่งด้วยเครื่องประดับ ลูกปัดที่ทำจากเปลือกหอยจำนวนมาก ราว 120,000 ชิ้น
รวมถึงเครื่องอุทิศอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก แสดงว่าเธอเป็นผู้มีบทบาททางสังคมที่สูงมาก
 


2.1 ทับหลังปราสาทเขาน้อย แบบสมโบว์ไพรกุก จำนวน 2 ชิ้น
 
แน่นอนว่าพื้นที่แถบนี้ได้รับอิทธิพลของเขมร มาตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนคร
แต่ที่สวยงามในความเป็นศิลปะ คือทับหลังแบบสมโบว์ไพรกุก มีอายุประมาณ พ.ศ. 1150-1200
ซึ่งอาจจะพบมากในประเทศกัมพูชาอันเป็นดินแดนต้นกำเนิด แต่เมื่อพบในประเทศไทยซึ่งอยู่ห่างไกลนั้น
จึงถือว่าสำคัญมากโดยอย่างยิ่งชิ้นที่สมบูรณ์เช่นนี้
 
ทับหลังมีวิวัฒนาการมาจากพวงมาลัยดอกไม้สด ที่ชาวบ้านนำมาสักการบูชาเทพเจ้า
เป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินนำมาสลัก ติดกับศาสนสถานเป็นการถาวร
ลักษณะทับหลังแบบสมโบว์ไพรกุก คือมีมกรหรือนาคที่มีวงงแบบช้าง อยู่สองข้าง
มีเทวดาขี่ตัวมกร คลายท่อนพวงมาลัยที่มีความโค้งเล็กน้อย ตรงกลางท่อนพวงมาลัยมีวงกลมสามวง
 
ใต้ท่อนมาลัยมีพวงอุบะห้อย ภาพภายในวงกลมเป็นบุคคลขี่ช้าง คงหมายถึงพระอินทร์
ในขณะที่ชิ้นพิงอยู่ที่ประตูทิศใต้เป็นภาพหงส์ จึงน่าจะหมายถึง พระพรหม



2.2 ทับหลังปราสาทเขาน้อย ศิลปะแบบไพรกเมง จำนวน 2 ชิ้น

อายุราวพ.ศ.1185-1250 ต้นแบบคือปราสาทไพรกเมง ที่สร้างโดยพระเจ้าภววรมันที่ 2
ทับหลังแบบไพรกเมงนั้น คลี่คลายมาจากทับหลังแบบสมโบว์ไพรกุก ที่มีความเป็นอินเดีย
โดยตัดตัวมกรด้านข้างออกไป ตรงกลางเน้นลวดลายใบไม้และดอกไม้แทน
 
ถามว่าทับหลังแบบไพรกเมง มีรูปแบบมาตรฐานเดียวกันที่เห็นแล้วบอกได้เลยหรือไม่
คำตอบคือไม่ บางชิ้นแทบดูไม่ออกเลย แต่ทับหลังชิ้นนี้ดูค่อนข้างง่าย โดยเปลี่ยนจากมกร
ที่อยู่ริมทั้งสองด้านเป็นรูปบุคคลชันเข่า ช่วงตรงกลางเปลี่ยนจากพวงมาลัยเป็นลายใบไม้
ยังคงมีวงรูปไข่อยู่ตรงกลาง ใต้วงโค้งสลักลายอุบะ สลับดอกไม้และพวงมาลัย



3. จารึกปราสาทเขาน้อย
 
ถูกกล่าวถึงในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. V เมื่อ พ.ศ. 2496
ซึ่งในครั้งนั้น ศ. ยอร์ช เซเดส์ ได้คัดความเพียงบางส่วนของจารึกมาตีพิมพ์
พ.ศ. 2513 ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงแปลข้อเขียนของ ศ. ยอร์ช เซเดส์
และนำไปตีพิมพ์ลงในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4
 
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 กองหอสมุดแห่งชาติได้รับสำเนา 2 หลัก
จากภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
คือสำเนาจารึกวัดกุดแต้ ซึ่งมี 10 บรรทัด อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต
เป็นจารึกของพระเจ้าภววรมันที่ 2

และจารึกวัดเขาน้อยสีชมพู อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต 9 บรรทัด
และเป็นภาษาเขมร 26 บรรทัด ระบุศักราช 559 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1180
อันเป็นสมัยของพระเจ้าภววรมันที่ 2 เมื่อตรวจสอบสำเนาจารึกพบว่า
จารึกวัดเขาน้อยสีชมพู ตรงกับจารึกเขาน้อย K. 506 ที่ ศ.ยอร์ช เซเดส์
ได้กล่าวถึงในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. V

 


กองหอสมุดแห่งชาติจึงให้เจ้าหน้าที่นักภาษาโบราณ งานบริการหนังสือภาษาโบราณ
 เดินทางไปสำรวจและจัดทำสำเนาจารึก ณ วัดเขาน้อยสีชมพู อำเภออรัญประเทศ
จังหวัดสระแก้ว เมื่อวันที่ 9-11 มกราคม พุทธศักราช 2530

ต่อมาได้มีการอ่านและแปลจารึกวัดเขาน้อยสีชมพู โดย นายชะเอม แก้วคล้าย
และนายบุญเลิศ เสนานนท์ ถูกนำไปตีพิมพ์ในหนังสือ ปราสาทเขาน้อย
เนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน
ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการพิเศษในวันอนุรักษ์มรดกไทย เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2533
 
เนื้อความค่อนข้างขาดหาย ใจความสำคัญคือ ช่วงต้นเป็นภาษาสันสกฤต
มีการบูชาพระวิษณุ ประวัติการต่อสู้ของพระเจ้าศรีภววรมัน และกล่าวถึงเมืองเชษยฐปุระ

ส่วนต่อมาเป็นภาษาเขมร กำหนดศักราช พ.ศ.1180 กล่าวถึงขุนนางชื่อ
โกลญเชยษฐปุระได้ถวายสิ่งของแก่กัมรเตง ทำให้ทราบว่าปราสาทหลังนี้
แรกสร้างนั้นเพื่อถวายแด่พระวิษณูในลัทธิไวษณพนิกาย
สัมพันธ์กับอายุของทับหลัง ที่กำหนดอายุศิลปะแบบสมโบว์ไพรกุก ต่อกับแบบไพรกเมง 
 



4. ทับหลังศิลปะเกาะแกร์ จำนวน 2 ชิ้น
ไม่ปรากฏว่าพบปราสาทแบบเกาะแกร์ในภาคตะวันออก 
ที่เคยได้ยินจะเป็นเมืองเสมาหรือพนมวัน จึงเป็นไปมากว่า มาจากศาสนสถานแถบอื่น
หรืออาจจะมาจากประเทศอื่น เพราะทับหลังเกาะแกร์หาได้น้อยมาก
จึงค่อนข้างน่าตื่นเต้น ลักษณะเด่นของศิลปะสกุลนี้ คือเน้นความใหญ่โต 
 
ชิ้นแรกคือ ทับหลังพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ระบุเพียงว่าได้มาจากจังหวัดปราจีนบุรี
ชิ้นที่สองคือ ศิลาจำหลักนารายณ์บรรทมศิลป์ ระบุว่ามาจากอรัญประเทศ สระแก้ว
 


5 พระคเณศ

กำหนดอายุศิลปะแบบทวารวดี พบที่เมืองศรีมโหสถ เป็นหินจำหลักที่มีความสูงราว 2 เมตร
ประกอบขึ้นใหม่จากชิ้นส่วนชำรุด เป็นพระคเณศประทับเหนือฐานสี่เหลี่ยมมีร่องน้ำสรง
มีศิลปะแบบช้างตามธรรมชาติ ไม่ทรงเครื่องประดับ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12



Create Date : 20 กันยายน 2564
Last Update : 30 กันยายน 2564 13:15:10 น. 5 comments
Counter : 1742 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณtuk-tuk@korat, คุณหอมกร, คุณSertPhoto, คุณKavanich96, คุณทนายอ้วน, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณnewyorknurse, คุณhaiku, คุณ**mp5**


 
เดี๋ยวจะค้นเรื่องบุคคลในวงกลมรูปไข่ก่อนค่ะ
คลับคล้ายคลับคลาว่าเป็นพระอาทิตย์ ไม่แน่ใจนะคะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 20 กันยายน 2564 เวลา:17:22:08 น.  

 
จะสักกี่คนนะที่จะสนใจเรื่องของพ่อคนโบราณ



โดย: หอมกร วันที่: 20 กันยายน 2564 เวลา:17:31:16 น.  

 
ไปค้นรูปดูก็ไม่มีรูปไหนชัดเหมือนกันค่ะ
แม้จะเป็นรูปในเลคเชอร์


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 21 กันยายน 2564 เวลา:13:54:46 น.  

 
ไม่ทราบว่าได้ดูละยัง แต่ไม่เห็นร่องรอย เลยมาชวนไปเที่ยวค่ะ

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tuk-tukatkorat&month=18-05-2019&group=28&gblog=51

รูปภาพประธานของทับหลังสมโบร์ไพรกุก
เป็นบุคคลถือดอกบัวสองมือ
ถ้าเป็นอย่าง อ.กระติกว่าไว้ก็เป็นพระอาทิตย์ค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 25 กันยายน 2564 เวลา:8:45:43 น.  

 
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ


โดย: **mp5** วันที่: 26 กันยายน 2564 เวลา:11:55:23 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]