Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
11 พฤษภาคม 2553

นั่งรถไฟไปเมืองมรดกโลก (2)



แล้วทำไมรถไฟสายแรกต้องเป็นกรุงเทพ-นครราชสีมา
คงต้องย้อนกลับไปเมื่อสองร้อยปี คราวต้นรัตนโกสินทร์
เมื่ออาณานิคมโลกใหม่ ทำสงครามประกาศอิสรภาพกับเจ้าอาณานิคมอังกฤษ
คราวนั้น ฝรั่งเศสคู่รักคู่แค้นให้การสนับสนุนอเมริกาอย่างเต็มที่

ผลของสงครามก็คือ อังกฤษพ่ายแพ้ต้องปล่อยอเมริกาเป็นอิสระ
แต่ท้องพระคลังของฝรั่งเศสก็แทบจะว่างเปล่า
ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกประชาชนที่หิวโหยโค่นล้มราชบัลลังค์
เกิดเป็นประเทศสาธารณรัฐ ต้นแบบแห่งประเทศประชาธิปไตย

แต่สุดท้ายอำนาจที่ได้มาจากกษัตริย์ก็มิได้หอมหวานเหมือนที่เจ้าของแนวคิดได้วาดฝัน
กิโยตินที่คิดค้นโดยกลุ่มปฏิวัติได้ย้อนกลับมาบั่นคอเจ้าของเสียเอง
สังคมฝรั่งเศสตกอยู่ในความสับสนวุ่นวาย และอาจจะถูกแก้แค้น
จากประเทศเพื่อนบ้าน ที่กลุ่มปฏิวัติบังอาจสังหารราชินีของพระเจ้าแผ่นดิน
อันเป็นราชนิกูลของจักรววรดิออสเตรีย-ฮังการีที่ยิ่งใหญ่

นายทหารปืนใหญ่ผู้เกรียงไกร นโปเลียน โบนาปาร์ต
ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำเผด็จการที่ยิ่งใหญ่ แทนกลุ่มนักปฏิรูปหัวก้าวหน้า
และมีความฝันที่จะฟื้นคืนอำนาจประเทศให้กลับมายิ่งใหญ่เหมือนเดิม
ด้วยสงครามรูปแบบใหม่ ที่ในช่วงแรกนั้นเหมือนจะไม่มีประเทศใดจะต่อต้านได้

แต่ด้วยความหนาวเย็นแห่งรัสซียได้ดับความฝันของผู้ที่เป็นจักรพรรดิลงสิ้น
และสงครามครั้งสุดท้ายกับคู่แค้นชาวอังกฤษในยุทธภูมิ Waterloo
ก็ทำให้เค้าถูกส่งไปจองจำในคุกบนเกาะอันห่างไกล และจบชีวิตลงที่นั่น
ฝรั่งเศสจมปลักกับสงครามมาอย่างยาวนานจนกลับไปสู่ระบบสาธารณรัฐ
เกือบห้าสิบปีต่อมาหลานของนโปเลียนได้รับการเลือกตั้งในตำแหน่งประธานาธิบดี

เมื่อประเทศเงยหน้าขึ้นอีกครั้ง ก็พบว่าประเทศอังกฤษที่ห่างไปเพียงช่องแคบกั้น
ได้ใช้กองเรืออันกียงไกร สร้างดินแดนที่พระอาทิตย์ไม่มีวันจะตกดินไปเสียแล้ว
ในเอเชียพวกเค้าได้เอาชนะพวกมหาราชาแห่งอินเดียและรวบรวมดินแดนอันกว้างใหญ่
ไล่เลยไปยังมาลายาและพม่า อันจะเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญที่จะส่งกลับมาป้อนโรงงาน
ที่เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และเป็นตลาดอันกว้างใหญ่ที่มีประชากรมากมายอีกด้วย

นโปเลียนที่ 3 เข้ารุกรานเวียดนามใต้ และปีต่อมากษัตริย์แห่งกัมพูชา
ประเทศราชของไทย ก็ได้แอบทำสนธิสัญญาขอเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส
ก่อนที่รัชกาลที่ 4 จะทรงสวรรคตจากการเสด็จประพาสหว้ากอในปีต่อมา

เมื่อลุถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทรงขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมพรรษาเพียง 15 ปี
ต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
ตัดทอนอำนาจและบารมีของเหล่าขุนนางทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคลง
แต่นั่นก็คงยังไม่เพียงพอ เพราะหลังจากมหาอำนาจได้รุมทึ้งดินแดนชายฝั่งของจีนไปจนหมดสิ้นแล้ว
อังกฤษและฝรั่งเศส จ้องตาเป็นมันไปยังแหล่งทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์
ของดินแดนที่อันอยู่ห่างไกล ใจกลางประเทศจีน มณฑลยูนนาน

อังกฤษนั้นครอบครองพม่าอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว อาศัยการขนส่งทางบก
อันมีมาตั้งแต่อดีตกาล ของการค้าขายระหว่างประเทศจีนและพม่า
แต่ก็พบว่าหนทางผ่านไปมานั้นแสนจะลำบาก จากการต้องผ่านดินแดนขุนเขาเสียดฟ้า
ฝรั่งเศสถึงมาช้าแต่ก็หมายตาไปยังแม่น้ำโขง ที่สมัยนั้นยังไม่มีใครรรู้ว่ามันมาจากไหน

แต่การจะไปให้ถึงแม่น้ำโขงคงมีทางเลือกเดียว คือครอบครองดินแดนล้านช้าง
อันเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรไทย แต่ด้วยวัฒนธรรมที่มีมาอย่างยาวนาน
ว่าเป็นดินแดนสองฝั่งฟ้า ส่งบรรณาการให้ทั้งไทยและเวียดนามไม่ต่างไปจากเขมร
อันอาจจะเป็นเหตุให้มหาอำนาจส่งกำลังเข้ารุกรานและอ้างสิทธิ์อันชอบธรรม

การสร้างทางถไฟ จะเป็นการง่ายต่อการส่งกำลังทหารและเข้าถึงประชาชน
สร้างความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทย แต่ก่อนที่ทางรถไฟจะไปถึงชายโขง
ก็เกิดคดีพระยอดเมืองขวาง อันนำไปสู่วิกฤติการณ์ รศ 112 ที่น่าเจ็บปวด
จากการรุกรานของมหาอำนาจชาติตะวันตก และข้อห้ามของฝรั่งเศสที่มีต่อสยาม

มิให้ไทยตั้งกองกำลังทหารหรือสร้างทางรถไฟประชิดริมแม่น้ำโขง
ที่มีผลต่อมาอีกนานหลายปี จนถึงยุครัชกาลที่ 6
เราถึงสามารถแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมนี้ลงได้



Create Date : 11 พฤษภาคม 2553
Last Update : 6 มีนาคม 2555 10:59:25 น. 3 comments
Counter : 1720 Pageviews.  

 
อ่านแล้วก็ต้องถอนหายใจเฮือก ๆ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 11 พฤษภาคม 2553 เวลา:15:06:33 น.  

 
ทักทายยามเย็น ทานข้าวให้อร่อยนะคะ :)


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 11 พฤษภาคม 2553 เวลา:17:49:01 น.  

 
กว่าจะสร้างทางรถไฟได้ลำบากมากนะ
แต่เราเคยนั่งรถไฟฟรี ยังบ่นได้อีก อิอิ
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


โดย: pragoong วันที่: 27 พฤษภาคม 2553 เวลา:14:47:44 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]