Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
15 พฤษภาคม 2555

เชียงใหม่ : พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ



น่าเสียดายที่ตกเครื่องบินทำให้เวลาหายไปหนึ่งวัน แผนการเดินทางวันนี้
จบลงที่พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ สำหรับหลายคนอาจจะเป็นหนึ่ง
ในจุดหมายหลักของการมาเยือนเมืองเชียงใหม่ด้วยความเชื่อ
และความศรัทธาที่มีต่อพระพิฆเนศของคนไทยนั้นมีมาอย่างยาวนาน

อินเดียเป็นจุดกำเนิดของศาสนาสำคัญ หลังการเสด็จดับขันธ์ของพระพุทธเจ้า
เกิดการเดินทางค้าขายระหว่างรัฐในอินเดียตอนใต้ กับดินแดนสุวรรณภูมิ
โดยอาศัยการเดินเรือใบเลียบชายฝั่งมายังเมืองท่าในอ่าวเมาะตะบันของพม่า
เลาะเรื่อยลงมาผ่านชายฝั่งตะนาวศรี จนลงไปถึงดินแดนทางภาคใต้

ก่อให้เกิดเส้นทางการค้าข้ามสมุทรของสินค้าอินเดียที่มาจากฝั่งทะเลอันดามัน
ไปแลกเปลี่ยนกับผลิตภัณฑ์จากประเทศจีนที่มาจากเมืองในแถบอ่าวไทย
เกิดความเจริญรุ่งเรืองของเมืองท่าสองฟากฝั่งมหาสมุทร
การเดินทางแต่ละครั้งจำเป็นต้องอาศัยลมที่พัดมาเพียงหนึ่งครั้งต่อฤดูกาล



เมื่อการพักค้างอ้างแรมก็มีการสร้างศาสนสถานของตนเองขึ้น
และเผยแผ่แนวความคิดและความเชื่อมาสู่ชนพื้นเมือง
ดังนั้นศาสนาแรกๆ ที่เข้ามาดินแดนในแถบถิ่นนี้นั่นก็คือศาสนาฮินดู

พระพิฆเนศ ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอยู่ที่หมู่บ้านปิลไลยาร์ปัตติ รัฐทมิฬนาดู
เทวาลัยแห่งนี้เป็นที่เคารพนับถือของผู้คนจำนวนมาก ผู้ที่มากราบไหว้บูชา
จะได้รับพรให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาจนเป็นที่เลื่องลือ

มีผู้ให้สมญานามท่านว่า กัลปกะ วินายักกา หมายถึง ผู้ประทานสิ่งที่ต้องการ
เสมือนต้นกัลปพฤกษ์ เพราะขอสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้น จารึกบนหินมีอายุ พ.ศ. 943
คติการนับถือพระพิฆเนศ น่าจะเข้ามาถึงประเทศไทยในช่วงเวลาเดียวกัน



เทวาลัยของพระพิฆเนศที่เก่าที่สุดในเมืองไทยอยู่ที่ แหล่งโบราณคดีเขาคา
จ.นครศรีธรรมราช มีอายุในพุทธศตวรรษที่ 12 เทวรูปพระพิฆเนศที่เก่าที่สุด
ก็พบทางภาคใต้ของไทย เชื่อว่า คงจะนับถือตามแบบอินเดียคือเป็นเทพผู้ขจัดอุปสรรค

เทวรูปพระพิฆเนศ เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยที่ได้รับวัฒนธรรมจากขอม
พบเทวรูปเหล่านี้ในปราสาทหินหลายแห่ง ทั้งที่เป็นเทวรูปลอยองค์
สำหรับบูชา และอยู่บนทับหลังหรือหน้าบันในลักษณะภาพแกะสลักนูนสูง
คติการนับถือพระพิฆเนศในช่วงนี้ คือเป็นเทพองค์สำคัญในไศวะนิกาย

รวมทั้งการบูชาในฐานะเทพแห่งอุปสรรค และเทพแห่งการประพันธ์ด้วย
เทวลักษณะ คือประทับนั่งชันพระชานุข้างหนึ่งแบบมหาราชลีลาสนะ
หรือประทับนั่งขัดสมาธิราบ หรือประทับยืนตรงๆ ไม่ใช่ยืนเอียงแบบอินเดีย



เทวลักษณะที่ประทับยืนตรงของพระพิฆเณศแบบขอม
ได้ต่อเนื่องมาถึงพระพิฆเนศแบบเชียงแสนและสุโขทัยด้วย
การนับถือพระพิฆเนศก็คงเป็นไปตามแบบทีได้อิทธิพลจากขอม
แต่ก็น่าจะเสื่อมคลายลงมาก เพราะได้มีการให้ความสำคัญต่อศาสนาพุทธ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ที่ศาสนาพุทธเฟื่องฟูมาก
ล่วงถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ศาสนาฮินดูได้กลับมามีความสำคัญในราชสำนักอีกครั้ง
มีหลักฐานว่าได้มีการหล่อพระพิฆเนศ และ พระเทวกรรม
คือพระพิฆเนศในฐานะที่เป็นครูช้างขึ้นมาหลายองค์

หลักฐานคือเทวรูปสำริดขนาดใหญ่ที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
รวมทั้งเทวรูปศิลาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระราชวังจันทร์เกษม
แต่ก็ยังคงมีความสำคัญตามคติที่ได้รับจากขอม คือเป็นเทพผู้ขจัดอุปสรรค
เป็นเทพที่จะต้องบูชาก่อนอื่นในพิธีกรรมสำคัญ และเป็นเทพแห่งการประพันธ์คัมภีร์



Create Date : 15 พฤษภาคม 2555
Last Update : 15 พฤษภาคม 2555 17:05:01 น. 7 comments
Counter : 3160 Pageviews.  

 
ไม่เคยเข้าไปชมแบบนี้เลยค่ะ ส่วนมากจะเป็นแต่วัด


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 15 พฤษภาคม 2555 เวลา:18:23:27 น.  

 
ขอบคุณที่นำมาฝากกันชมค่ะ

ถ้ามีโอกาสจะเข้าไปเที่ยวชมเช่นกันค่ะ..


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 15 พฤษภาคม 2555 เวลา:19:48:19 น.  

 


โดย: Kavanich96 วันที่: 16 พฤษภาคม 2555 เวลา:7:25:26 น.  

 
ใน เฟสบุ๊คหาไม่เจอ ค่ะ แต่กลับมาเจอตรงนี้


//www.nakhonratchasima-city.com/th/content/pages/watisan_02292012_s.aspx


ลอกมาทั้งดุ้นเลยแถมบอกว่าเขาเรียบเรียงอีกต่างหาก


https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tuk-tukatkorat&month=22-10-2010&group=40&gblog=18


ก็ทำใจแล้วค่ะว่าทำเพราะใจรัก และเป็นวิทยาทาน
ก็เลยไม่คาดโลโก้ ลงที่รูป



โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 16 พฤษภาคม 2555 เวลา:10:31:54 น.  

 
ปล. อีกอย่างนะคะ

แสดงว่าเราเขียนดี น่าอ่าน จนไม่รู้จะแก้ไขตรงไหน เลยลอกมาเลย


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 16 พฤษภาคม 2555 เวลา:10:34:20 น.  

 
นำมาให้ชมเป็นตัวอย่างนะคะ
ได้ก็อปเก็บเอาไว้ เจ้าของ fb นี้เขาลบข้อความนี้ไปแล้ว

***

ภาพหลายภาพ บางทีก็จำไม่ได้หรอกนะว่าไปนำมาจากลิ้งค์ไหนเวปไหนบ้าง แต่ที่แน่ๆไม่ได้เป็นผู้ไปถ่ายมาเองแน่นอน ฉะนั้น ถ้าใครหวงภาพใดก็อย่านำลงเวปใดจะดีกว่า จะได้ไม่มีคนสนใจนำไปลงต่อไป เบื่อพวกที่ใจแคบจัง....(จำไม่ได้หรอกว่านำมาจากไหนบ้าง)ภาพเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ลงไว้เยอะแยะหลายที่ไป
Thursday at 11:55pm · Like

อย่างเวลาเราลงอะไรเรายังไม่หวงเลย ไม่ใจแคบด้วยหากใครจะนำไปลงต่อ ยินดีถือว่าเผยแพร่ต่อไปกันเป็น วิทยาทาน
Thursday at 11:56pm · Like

เรา ... เพิ่งรู้ว่าคนที่คนที่นำภาพมาลงเวปเป็นคนใจแคบ ...
42 minutes ago · Like

เรา ... เพิ่งรู้ว่าคนที่นำภาพของคนอื่นมาลงในเวปตัวเองเป็นคนใจกว้าง
41 minutes ago · Like

เรา ... ให้เครดิต แปลว่า ให้เกียรติคนที่เขียน คนที่ค้นคว้า ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่กลับเป็นมารยาทที่ดีของคนที่เนำของเขามาลงนะ

เรา ... ไม่ใช่แค่รูปนะ เนื้อหาข้อความเสียด้วย

แล้วเขาก็ลบข้อความทั้งหมดนี้ออกไปหมดค่ะ


แต่เราก็อปเอาไว้ก่อน ด้วยความเซ็งสุดขีด


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 16 พฤษภาคม 2555 เวลา:12:32:09 น.  

 
ถ้าเป็น Art Historian เื่มื่อวานเข้าไปดูเพลินเลยค่ะ เขามีความรู้มากจริง ๆ นับถือเลย


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 16 พฤษภาคม 2555 เวลา:21:25:31 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]