Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
8 ตุลาคม 2555

วัดสุวรรณาราม : จิตกรรมฝาผนังตอนจบ



สีที่ใช้ระบายภาพเตรียมจาก ธาตุ หรือแร่ เช่น สีดำได้จากเขม่า หรือถ่านของไม้
สีเหลือง สีนวล ได้จากดินตามธรรมชาติ สีแดงได้จากดินแดง
ก่อนเขียนต้องนำมาบดให้ละเอียดสีจะละลายน้ำได้ง่ายน้ำที่ใช้ผสมกับน้ำกาว
เตรียมจากหนังสัตว์ หรือกาวกระถิน โดยผสมในภาชนะเล็กๆ เช่น โกร่งหรือกะลา

เมื่อใช้ไปสีแห้งก็เติมน้ำ ใช้สากบด ฝนให้กลับเป็นน้ำสีใช้งานได้อีก
สีแดง เหลือง เขียว คราม ขาว ดำ ใช้เป็นหลักโดยนำมาผสมกันเกิดเป็นสีอื่นๆ ได้อีก
นอกจากนี้ยังมีสีทองคือแผ่นทองคำเปลวใช้ปิดส่วนสำคัญที่ต้องการความแวววาว
ก่อนปิดทองต้องทากาว เช่น กาวได้จากยางต้นรักหรือจากยางต้นมะเดื่อ

หลังจากปิดทองแล้วจึงตัดเส้นเป็นรายละเอียด การตัดเส้นมักตัดด้วยสีแดง
หรือสีดำ เพราะ ๒ สีนี้ช่วยขับสีทองให้เปล่งประกายได้ดีกว่าสีอื่น
จิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
นิยมปิดทองมาก เช่น ภาพพระราชาที่เครื่องแต่งพระองค์ เครื่องสูง
ปราสาทราชมณเฑียร ราชรถ ตลอดจนเครื่องประดับฉากอื่นๆ

การตัดเส้นใช้พู่กันขนาดเล็ก เรียกกันว่า พู่กันหนวดหนู ทำจากขนหูวัว
มีขนาดใหญ่ขึ้นตามการใช้งาน เช่น ระบายบนพื้นที่ขนาดเล็ก
แปรงสำหรับระบายพื้นที่ขนาดใหญ่ทำจากรากต้นลำเจียก
หรือจากเปลือกต้นกระดังงาโดยนำมาตัดเป็นท่อนพอเหมาะต่อการใช้

นำไปแช่น้ำแล้วทุบปลายข้างหนึ่งให้แตกเป็นฝอย เพื่อใช้เป็นขนแปรง
เพื่อแตะ แต้มหรือที่เรียกว่า กระทุ้ง ให้เกิดเป็นรูปใบไม้เป็นกลุ่มเป็นพุ่ม
นิยมทำกันในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์แทนการระบายสีและตัดเส้นด้วยพู่กัน
ให้เป็นใบไม้ทีละใบแบบที่ทำกันในช่วงเวลาของสมัยกรุงศรีอยุธยา



หากเปิดหนังสือคู่มือแต่ละจังหวัด ที่แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว
ไม่น้อยกว่า 30% จะกล่าวถึงวัดต่างๆ ที่สำคัญในจังหวัดนั้นๆ
และเขียนว่าต้องไปดูภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนได้อย่างดงาม
แต่ไม่เคยมีใครสักคนที่จะออดมาบอกว่า แล้วเราจะดูมันอย่างไร

เครื่องมือที่ดีที่สุดของการชม มิใช่กล้องหรือเลนส์ที่มีราคาแพงมากมาย
เมื่อเข้าไปในพระอุโบสถ สิ่งแรกที่ควรทำคือชมความงามโดยรวม
แต่ละวัดล้วนมีมนต์เสน่ห์ที่แตกต่างกันไป หลังจากนั้นค่อยเพ่งมอง
ภาพจิตรกรรมที่อยู่ด้านหน้าและด้านหลังพระประธานอย่างพิจารณา

จากนั้นค่อยพิจารณาภาพเทพชุมนุมที่อยู่ด้านข้างบนสุดทั้งสองด้าน
ไล่ไปทีละองค์ๆ เพราะส่วนมากนั้นช่างมักจะไม่เขียนซ้ำแบบกันเลย
จากนั้นจึงเริ่มลุกไปเดินหาจุดเริ่มต้นของเรื่องราวระหว่างช่องผนังหน้าต่าง
สาวนมากมักจะเริ่มที่ด้านในซ้ายมือของพระประธานเป็นส่วนใหญ่

เรื่องราวถ้าเป็นทศชาติก็ต้องเริ่มจากพระเตมีย์หรือมหาชนก
ถ้าเป็นพุทธประวัติก็เริ่มจากพระอินทร์ไปทูลเชิญพระโพธิสัตว์
ให้ลงมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะบนโลกมนุษย์ แต่ถ้าเป็นโบสถ์ต่างจังหวัด
ที่มีขนาดเล็กมักจะเขียนแค่พระเวสสันดรชาดกที่ครบทั้ง 13 กัณฑ์

หลังจากนั้นจึงค่อยถ่ายภาพเป็นที่ระลึกเรียงตามลำดับที่ดูไป
เมื่อมาดูทีหลังเราจะได้นึกออกว่าแต่ละภาพนั้นอยู่ตรงไหนของผนัง
เพื่อที่เรามีข้อสงสัยเราจะกลับย้อนมาดูได้ นอกจากนี้เราจะได้รายละเอียด
เล็กๆ น้อย เช่นวิถีชีวิตชาวบ้าน การแต่งกาย หรือภาพที่ช่างแอบซ่อนไว้

หวังว่านี่จะเป็นแรงบันดาลใจให้หลายคนหันมาสนใจจิตรกรรมฝาผนัง
ที่เป็นอีกหนึ่งในความอ่อนช้อย งดงาม ที่คงยากจะหาชนชาติใดมาเทียบได้
ผมเองมิใช่ผู้เชี่ยวชาญอันใด ยังด้อยความรู้อยู่มากโข เป็นเพียงเด็กอนุบาลทางศิลปะ
แต่ก็ยังอยากที่จะถ่ายทอดสิ่งที่ต่างๆ ให้รับฟัง เพราะคงมีคนเขียนถึงวัดโน้นวัดนี้

แต่คงยังไม่มีใครคนใด จะมาเขียนถึงวิธีการดูจิตรกรรมเช่นนี้มาก่อน





Create Date : 08 ตุลาคม 2555
Last Update : 8 ตุลาคม 2555 16:33:05 น. 2 comments
Counter : 2126 Pageviews.  

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 8 ตุลาคม 2555 เวลา:19:05:56 น.  

 
ได้ความรู้ขึ้นเยอะเลยครับ ^^


โดย: กาแฟเย็นใส่นมเยอะๆ วันที่: 8 ตุลาคม 2555 เวลา:19:50:47 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]