Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มกราคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
21 มกราคม 2558

สักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน พ.ศ. 2558 (2)

Untitled


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ
เผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ครั้งที่ ๒/๒๕๕๘ กิจกรรมบรรยายพิเศษ
เรื่อง พระพุทธรูปปางประทานพร ในศิลปะอินเดียและเอเชียอาคเนย์

วิทยากร รศ. ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี
อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
วันอาทิตย์ที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

จากคราวที่แล้ว พูดถึงพระถังซัมจั๋งและการเผยแพร่พุทธศาสนาในจีน
ดูเหมือนว่า เราน่าจะมาทำความรู้จักการสร้างรูปเคารพหรือพระพุทธรูป
ที่เป็นเครื่องมือหนึ่งของการเผยแพร่ศาสนาที่สำคัญ
ผ่านยุคสมัยต่างๆ ของศิลปะอินเดีย

อย่างที่เคยเล่าให้ฟังว่า ทุกครั้งที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
จัดแสดงนิทรรศการพิเศษก็จะมีการจัดการบรรยายประกอบนิทรรศการ
ในปีใหม่ พ.ศ. 2558 นี้ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติก็ได้นำพระพุทธรูปสำคัญ
มาจัดแสดงในชุด สักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน

ในตอนแรกที่ผมได้รับข่าวสารชิ้นนี้ ก็ลังเลอยู่จนกระทั่งถึงวันงาน
เพราะดูหัวข้อนั้นไม่น่าสนใจ พระพุทธรูปปางประทานพรคืออะไร
ลำพังแค่ผมดูพระอยุธยายังแทบจะหาความแตกต่างแทบไม่ได้
แล้วนี่จะไปฟังทำไม ช่วงนี้อากาศหนาวเสียด้วย ไม่อยากออกไปไหน

ในที่สุดผมก็สลัดความขี้เกียจ คว้าหมวกและออกจากบ้าน


Untitled


หลังพุทธกาลพุทธศาสนิกชนรำลึกถึงพระพุทธเจ้าผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ
เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถูป ธรรมจักร กวางหมอบ เป็นต้น
ซึ่งที่เรารู้จักกันและมีชื่อเสียงก็คงเป็นช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ 4
พระเจ้าอโศกมหาราชได้สมณทูตเพื่อเผยแผ่ศาสนาถึงลังกาและสุวรรณภูมิ

ราวพุทธศตวรรษที่ 5 พระสงฆ์กลุ่มหนึ่งก็มีความเห็นแตกออกไป
พวกเค้าเชื่อว่า การยึดมั่นตามพระไตรปิฏก เรื่องการปฏิบัติส่วนตนเพื่อบรรลุนั้น
เป็นพวกเห็นแก่ตัว พระสงฆ์ควรทำตนดั่งพระโพธิสัตว์ที่ช่วยเหลือมนุษย์โลก
ให้พ้นจากวัฏสงสารและหลุดพ้นไปพร้อมๆ กัน

เกิดเป็นนิกายมหายานซึ่งได้รับความนิยมมาก และเผยแพร่ไปสู่เทือกเขาหิมาลัย
ธิเบต จีนและญี่ปุ่น อีกสายหนึ่งมายังอินโดนีเซียเป็นสิ่งก่อสร้างบุโรพุทโธ
อาณาจักรศรีวิชัย และส่งต่อไปยังเมืองพระนครจนปรากฏอย่างเด่นชัด
ในพุทธศตวรรษที่ 11 เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สร้างปราสาทต่างๆ เพื่อถวาย

หลังจากนั้นนิกายมหายานก็ได้เผยแพร่จากเขมรและศรีวิชัยถึงทวารวดี
และถูกกลืนหายไปโดยนิกายเถรวาทที่ผ่านมาจากมอญ พม่าในเวลาต่อมา

ย้อนกลับไปในราวพุทธศตวรรษที่ 6 ที่แคว้นคันธาระ ในอัฟกานิสถาน
พระพุทธรูปกำเนิดขึ้นครั้งแรก โดยได้รับอิทธิพลการสร้างรูปปั้นของชาวกรีก
พระพุทธรูปจึงเหมือนชาวยุโรป เช่นพระนาสิกโด่ง พระกรรณยาว พระขนงโก่ง
ที่เหนือความเป็นจริง คือมีพระอุษณีษะ หรือการรวบผมเป็นมวยดังเปลวเพลิง
เพื่อทำให้รูปปั้นของพระพุทธเจ้านั้นแตกต่างไปจากพระสาวกอื่นๆ

ลายจีวรเป็นริ้วแบบการใส่เสื้อคลุมของคนเมืองหนาว
ซึ่งต่อมาแม้ลายจีวรนี้จะหายไปในศิลปะอินเดีย แต่มันยังคงอยู่ในพระพุทธรูป
ของประเทศจีนและญี่ปุ่น และพระพุทธรูปของไทยที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4


170px-Gandhara_Buddha_(tnm)


พระพุทธรูปในยุคแรกนี้เริ่มต้นจากแบบมุทรากลางที่ไม่ผูกติดกับพุทธประวัติ
เช่นปางประทานอภัย หรือปางแสดงธรรม ซึ่งสามารถปั้นแบบเดี่ยวๆ
ต่อมาก็ได้มีแนวคิดไปผูกติดกับพุทธประวัติ เช่น เอาปางทานอภัยไปใส่ใน
ตอนยมกปาฏิหาริย์ ตอนเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตอนปูหญ้าคา เป็นต้น

ต่อมาได้วิวัฒนาการโดยสร้างปางแบบมุทราที่ผูกกับพุทธประวัติ
เช่น ปางสมาธิสำหรับตอนบำเพ็ญสมาธิ ปางมารวิชัยตอนตรัสรู้
หรือแม่กระทั่งปางกำนิ้วเพื่อใช้ในตอนยมกปาฏิหารย์
ศิลปะแบบคันธาระมีความเจริญในช่วง พ.ศ. 700-1000

ความเจริญทางการปั้นพระพุทธรูปได้ส่งผ่านย้อนกลับมาที่ประเทศอินเดีย
ผ่านยุคราชวงศ์คุปตะอยู่ในระหว่าง พ.ศ. 800-1100 ถือเป็นยุคทองของศิลปะอินเดีย
เบื้องต้นตั้งอยู่เมืองเมืองปาตลีบุตร ต่อมาย้ายไปที่เมืองโกสัมพี พาราณสี อุชเชนีเจดี
และสัญจีตามลำดับ มหาวิทยาลัยนาลันทาเป็นศูนย์กลางแห่งศิลปวัฒนธรรม

พระพุทธรูปในศิลปะแบบคุปตะ นิยมสร้างเป็นรูปสลักขนาดใหญ่
แสดงภาพเต็มตัว พระพักตร์มีลักษณะกลมอิ่ม สีพระพักตร์สงบค่อนข้างขรึม
พระโอษฐ์อิ่ม พระนาสิกไม่โด่งเหมือนพระพุทธรูปที่สร้างสมัยแรก
ลายจีวรเริ่มถูกทำให้แนบเนื้อ เพื่อแสดงความโค้งของพระวรกายพระพุทธรูป

พระพุทธรูปปางประทานพรได้ถือกำเนิดขึ้นในยุคสมัยนี้
โดยปรับเปลี่ยนมุทรามาจากปางประทานอภัย
โดยเปลี่ยนจากการยกมือขวาขึ้นมาเป็นวางมือขวาลงและแบออก
มือซ้ายเดิมจากยกขึ้นจับชายจีวรมาเป็นก้มลงจับชายจีวร

ทำให้เหมือนว่าความแตกต่างของปางทั้งสองเป็นการยกมือขึ้นลงสลับกันเท่านั้นเอง
แต่ที่สำคัญคือ ช่างเริ่มใส่ความงามเข้าไปในพระพุทธรูปโดยการใส่ติภังค์
หรือการเยื้องย่างของท่าทางของพระพุทธรูป เพื่อเพิ่มความอ่อนช้อยงดงาม



Create Date : 21 มกราคม 2558
Last Update : 26 มกราคม 2558 9:54:24 น. 7 comments
Counter : 1794 Pageviews.  

 
เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมากๆ ค่ะ


โดย: sawkitty วันที่: 21 มกราคม 2558 เวลา:16:43:21 น.  

 
เดี๋ยวมาเก็บใหม่อีกรอบค่ะ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
sirivinit Hobby Blog ดู Blog
wicsir Travel Blog ดู Blog
kae+aoe Parenting Blog ดู Blog
สาวไกด์ใจซื่อ Food Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น



โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 21 มกราคม 2558 เวลา:21:25:35 น.  

 
โหวตหมวดความรู้ให้ค่ะ

เพิ่งรู้ว่าปางประทานพรเกิดในยุคนี้หละค่ะ แหะๆ


แสดงว่าเมื่อก่อนไปญี่ปุ่นบ่อยเหรอคะ?


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 22 มกราคม 2558 เวลา:10:39:05 น.  

 
....พระพุทธรูปจึงเหมือนชาวยุโรป เช่นพระนาสิกโด่ง พระกรรณยาว พระขนงโก่ง ที่เหนือความเป็นจริง คือมีพระอุษณีษะ หรือการรวบผมเป็นมวยดังเปลวเพลิง เพื่อทำให้รูปปั้นของพระพุทธเจ้านั้นแตกต่างไปจากพระสาวกอื่นๆ


แต่พระพักตร์แบบนี้ งามมากนะคะ


*** ร้านนายถึก ทางผ่านค่ะ เอาสะดวกเข้าว่า พอลองสั่งเมนูอื่นที่แตกต่างจากที่เคยสั่ง ผลก็เป็นเช่นนั้นล่ะค่ะ เลยเป็นเหตุผลว่า ทำไมไปร้านเดิม แล้วยังสั่งแต่เมนูเดิม


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 23 มกราคม 2558 เวลา:6:24:26 น.  

 
โหวตด้วยค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 23 มกราคม 2558 เวลา:16:24:10 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เริงฤดีนะ Movie Blog ดู Blog
ญามี่ Literature Blog ดู Blog
kae+aoe Parenting Blog ดู Blog
Close To Heaven Food Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

newyorknurse


โดย: newyorknurse วันที่: 23 มกราคม 2558 เวลา:16:46:31 น.  

 

มาเยี่ยมชม มาทักทายครับ

น่าเสียดายที่ผมไม่ได้ไปฟังงานนี้ครับ ผมเคยข่าวประชาสัมพันธ์อยู่เหมือนกันครับแต่คิดว่าไม่น่าสนใจ พอได้มาอ่านเรื่องในบล็อกนี้แล้วก็รู้สึกว่าพลาดที่ไม่ได้ไปฟังครับ

อิอิ



โดย: อาคุงกล่อง วันที่: 23 มกราคม 2558 เวลา:21:15:34 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]