Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
11 ตุลาคม 2555

วัดทองธรรมชาติ : จิตกรรมฝาผนังพุทธประวัติ (1)



มีคำถามว่า อาคารสำคัญในวัดมักจะมีสองหลัง
ถ้าหลังหนึ่งเขียนทศชาติแล้วอีกหลังจะเขียนอะไร
คำตอบคือวัดในขนบมักจะเลือกเขียนพุทธประวัตินั่นเอง

ถ้ายกจิตรกรรมวัดสุวรรณารามเป็นตัวอย่างการเขียนทศชาติ
คงจะยกตัวอย่างภาพจิตรกรรมแบบพุทธประวัติก็คงต้องเป็นที่นี่
ที่ที่ซึ่งฝีมืองดงามไม่แพ้กัน แต่อาจจะต้องวนเวียนไปหลายครั้งกว่าจะได้เข้าชม

วัดทองธรรมชาติหรือชาวบ้านมักเรียกขานติดปากว่าวัดทองบน
คู่กับวัดทองล่างหรือวัดทองนพคุณ อีกหนึ่งวัดทองของย่านคลองสาน
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
เมื่อเสียกรุงครั้งที่สอง ชาวบ้านก็คงแตกกระสานไปกลายเป็นวัดร้าง

เมื่อแรกตั้งกรุงเทพเป็นราชธานี พระองค์เจ้าหญิงกุพระขนิษฐาในรัชกาลที่ 1
หรือกรมหลวงนรินทรเทวี กับกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่
แต่ยังไม่ทันเสร็จสมบูรณ์ กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ ผู้เป็นพระภัสดาสิ้นพระชนม์ลง

จนมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ทรงโปรดเกล้าให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาเดชาดิศร เป็นแม่กองสานต่อการปฏิสังขรณ์วัดจนเสร็จสมบูรณ์
แล้วพระราชทานชื่อวัดว่า วัดทองธรรมชาติ หน้าบันพระอุโบสถจำหลักไม้
เป็นรูปเทพพนมบนลายก้านขดเป็นฝีมือของช่างสมัยอยุธยา



บานประตูหน้าต่างด้านนอกลงรักเขียนลายทองมีลักษณะเป็นลายกลับสองชั้น
พระประธานในพระอุโบสถนี้เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้พระราชทานนามว่า
พระพุทธชินชาติ มาศธรรมคุณ มีพระอัครสาวกอยู่ด้านซ้ายและขวาสององค์

พระอุโบสถมีขนาดเล็ก ถ้าจำไม่ผิดน่าจะแค่ 4 ห้อง ด้านหลังพระประธานไตรภูมิ
ด้านล่างวิถีชีวิตผู้คนในหมู่เรือนไทยและตึกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
คาดว่าเป็นชุมชนวังบูรพาภิรมย์ เนื่องด้วยเป็นชุมชนเดิมของผู้คิดจะซ่อมสร้างวัด
ถ้าใช่ก็เป็นหลักฐานชั้นดี เนื่องด้วยเพราะตัววังในปัจจุบันนั้นไม่เหลือให้เห็นแล้ว

ด้านตรงข้ามพระประธานเป็นภาพพระพุทธประวัติตอนมารผจญ
ด้านข้างบนของพระอุโบสถก็เป็นภาพเทพชุมนุมสามแถว
ต่ำลงมาเป็นภาพพุทธประวัติอันเป็นจุดสำคัญที่เราจะมาดูกัน
คำถามสำคัญคือเราจะทำอะไรก่อนเมื่อเข้าไปในโบสถ์

บางคนจะเดินหน้าถ่ายไปทั่ว สุดท้ายก็ไม่มีประโยชน์อันใด
เพราะเมื่อกลับไปถึงบ้านแล้วก็ลืมว่ารูปนี้ถ่ายจากมุมไหน
เมื่อไม่รู้ว่าถ่ายอะไร ก็ไม่รู้ว่าจะเก็บภาพบริเวณไหนของจิตรกรรม
คนที่ดูจิตรกรรมถึงขีดสุด เค้าจะเดินตัวเปล่าโดยไร้กล้องในมือเลย

เมื่อเข้าไปในอุโบสถ สิ่งแรกที่ต้องนึกถึงคือเรากำลังอยู่ต่อหน้าพระพุทธรูป
มันคือบริเวณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ สิ่งที่ควรทำคือนั่งลงตรงหน้าพระประธาน
รู้สึกให้ได้ถึงความขลังและศักดิ์สิทธิ์ เพราะอุโบสถแต่ละที่ล้วนมีแสงน้อย
ที่จะช่วยขับพระประธานสีเหลืองทองให้มลังเมลืองงามระยับจับจิตใจ



พระประธานในบางวัดก็เป็นพระพุทธรูปสำคัญในระดับคู่บ้านคู่เมือง
ฉะนั้นมันจึงไม่ใช่การเสียเวลาหากเราจะค่อยพิจารณาถึงความงาม
เก็บภาพในความทรงจำในมุมกว้างของของพระอุโบสถไว้
จากนั้นจึงค่อยไปดูและเก็บภาพด้านหลังพระประธาน
ด้านหน้าพระประธานและเทพชุมนุมที่อยู่สองข้างตามลำดับ

จากนั้นจึงเดินไปมุมซ้ายมือพระประธานด้านหลังเพราะที่นี่มักเป็น
จุดเริ่มต้นของเรื่องราวเสมอ ถ้าไม่ใช่เราก็เดินไปรอบๆ เพื่อหาจุดเริ่มต้นก่อน
ถ้าหาไม่ได้ เราจะเรียงเรื่องไม่ถูก จำไว้ว่าสองตาเราคือกล้องถ่ายภาพที่ดีที่สุด
ไม่ว่าเราจะใช้กล้องและเลนส์ดีเพียงใด ก็ไม่มีทางที่เก็บภาพนั้นไว้ได้เท่าที่ตาเห็น

เมื่อเข้าใจการเดินเรื่องทั้งหมด เราจึงค่อยเก็บภาพ แต่ละห้องเริ่มจากภาพทั้งหมด
จากนั้นเมื่อเราเข้าใจ ค่อยซูมเก็บภาพรายละเอียด จากต้นเรื่องไปจนจบ
เทคนิคที่แนะนำคือเปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุด ปรับ ISO สูงที่สุด
ปรับ WB ไปที่แสงแบบหลอดทังสเตน ปรับ EV ลงมาซัก -1

แต่ละที่นั้นมืดไม่เท่ากัน สำหรับผมได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น เพราะการเปิด Flash
เป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง แม้เราไม่รู้ว่ามันมีผลต่อจิตรกรรมอย่างไร
แต่เมื่อเราเชื่อว่ามันเสี่ยงที่จะทำอันตรายภาพวาดอันเก่าแก่เราก็ไม่สมควร
จะเก็บความงามนี้ไป โดยไม่คำนึงว่าคนรุ่นหลังเค้าจะมีโอกาสเช่นเราหรือไม่



Create Date : 11 ตุลาคม 2555
Last Update : 11 ตุลาคม 2555 10:06:18 น. 1 comments
Counter : 3280 Pageviews.  

 
ถึงได้ภาพไม่ค่อนชัดอยู่เสมอนะคะ ขาตั้งเราก็ใช้ไม่เป็น


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 12 ตุลาคม 2555 เวลา:15:28:15 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]